ศิลปะการออกแบบหน้าจอ
ความโปร่งแสงและการสะท้อนกลับ: Digital Art และ สุนทรียศาสตร์ของการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (Interface Design) Jay David Bolter และ Diane Gromala ส่วนที่ปรากฏอยู่ใน Fishwick, P.(ed.) Aesthetic computing, MIT press, 2004 พอล ฟิชวิค (Paul Fishwick) ได้นิยามความหมายของ สุนทรียศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) ว่าเป็น “การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีและการปฏิบัติทางศิลปะกับการประมวลผล” ฟิชวิค (Fishwick) ได้เปรียบเทียบสุนทรียศาสตร์ของการประมวลผลว่าเป็นเสมือนการทำงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์หรือเรียกอีกอย่างว่า Digital art ที่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงออกและการสร้างสรรค์ โดยจะเน้นในการพิจารณาความหมายของ Digital art ในแง่ของการสะท้อนความสุนทรีย์ของเทคโนโลยีเกี่ยวกับดิจิตอลและการออกแบบ ศิลปินหลายคนหรือส่วนใหญ่ในช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 20 ถึงต้นยุคศตวรรษที่ 21ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลว่าเป็นวิธีการนำเสนอหรือเป็นเนื้อหาสาระในงานศิลปะของพวกเขากันแน่ ดังนั้นจึงมาดูกันว่า Digital art จะให้บทเรียนที่สำคัญสำหรับการออกแบบระบบการประมวลผลอย่างไร ศิลปะการออกแบบหน้าจอ ในการศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์การประมวลผล จะเริ่มต้นจาก 2 ประเด็นคือ “จากภายใน” หรือ “จากภายนอก” โดย “จากภายใน” หมายถึง รหัส (code) ส่วน “จากภายนอก” หมายถึง ส่วนที่ต่อประสานกับผู้ใช้งาน (interface) เมื่อมองในแง่ของ code อาจบอกได้ว่านั่นคือ สุนทรียวัตถุ (Aesthetic object) ในขณะที่สุนทรีศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) จะหมายถึงการศึกษาหลักการที่ทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบของศิลปะ ทั้งนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเป็นสิ่งที่ดูสวยงาม สื่อความหมายได้ และเป็นพื้นที่ของการแสดงออกสำหรับศิลปินได้เช่นเดียวกับ ดินเหนียว หรือสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ Ars Electronica คืองานนิทรรศการและการสัมนาเกี่ยวกับ Digital Art ที่มีชื่อเสียงและถูกจัดขึ้นหลายครั้ง โดยสามารถเข้าไปดูภาพงานนิทรรศการที่จัดขึ้นในปี 2003 ได้โดย theme ของงานในปีนั้นคือ “Code: The Language of Our Time” เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้เห็น code ในการเขียนโปรแกรม พวกเขาจึงไม่มีโอกาสชื่นชมความงามในระดับนั้น สิ่งที่ผู้ใช้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยก็คือ Interface นั่นเอง ซึ่ง Interface คือส่วนที่ผู้ใช้โปรแกรมมีการโต้ตอบโดยตรงในขณะใช้งาน ไม่ว่าเขาจะมองเห็นคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์บน interfaceนั้น ๆ หรือไม่ ผู้ที่ชื่นชอบมุมมองแบบ code จะพัฒนาความสุนทรีย์ที่ค่อนข้างเป็นระเบียบ เพราะภาษาคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนอย่างเข้มงวด และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของมันดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับการปรับ code ให้เหมาะสม อาจจะมีแค่นักเขียนโปรแกรมหรือนักออกแบบที่ทำงานด้านนี้เท่านั้นที่สามารถชื่นชมความความสุนทรีย์ของ code ได้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบมุมของของ interface อาจจะปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานหรือปรับรูปลักษณ์ในแบบที่ต้องการเพื่อเพิ่มคุณค่าในแง่สุนทรีย์มากขึ้น ซึ่งวิธีการทั้งสองนี้เป็นส่วนประกอบซึ่งกันและกัน โดยในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ interface ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ interface มีความ “น่ารักขึ้น” การปรับใช้หลักสุนทรียศาสตร์กับ interface อาจจะไม่ใช่การทำซอฟต์แวร์ให้ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น แต่ความสุนทรีย์ควรจะเป็นการโต้ตอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลงาน Digital art ร่วมสมัยจำนวนมาก จะเน้นวิธีการทำให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งที่มองเห็นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่าน interface และสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ได้ เหล่าศิลปินกำลังศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ “ผู้คนในแวดวง HCI” หรือ Human Computer Interaction (การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์) เรียกว่า “รูปแบบในใจของผู้ใช้” หรือ อะไรคือสิ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า “epistemology (ญาณวิทยา หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้)” ของผู้ใช้ ที่มีต่อ interface ศิลปะการออกแบบหน้าจอ