ขั้นตอนและวิธีการถอดอัตลักษณ์มาสู่ผลงานการออกแบบ
1). การจำแนกองค์ประกอบทั้งลบและบวก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค
เป็นแผนภูมิในการจำแนกโครงสร้างขององค์กรมีทั้งด้านบวก (จุดแข็งและโอกาส) และด้านลบ (จุดอ่อนและอุปสรรค) มีการแบ่งออกเป็น3ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม เศษฐกิจและสังคม
2). กระบวนการเฟ้นหาข้อมูลสู่การลำดับความสำคัญของข้อมูล
มีจุดเน้น จุดเด่น จุดผ่อน จุดเบา เพื่อจำแนกตามน้ำหนักและความสำคัญที่แตกต่างกัน
3). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาประเด็นสำคัญ (key word)
นำข้อมูลมาสรุปแล้วมาดีไซน์เป็นคำเฉพาะที่มีลักษณะเฉพาะของข้อมูลนั้นจนได้เป็นคำนิยามที่ได้ใจความคมคายโดยที่ขนาดของวงกลมสะท้อนถึงความสำคัญจากการระดมสมอง
4). การรวบรวมประเด็นสำคัญสู่การสร้างนิยามของโครงการ
แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนเนื้อหา (Content) มองเห็นและสัมผัสได้ เช่น สี ขนาด
ส่วนบทบริบท (Context) สัมพันธ์ทางอ้อม
5). การสร้างนิยามสู่การออกแบบลายเส้น
ออกแบบผ่านทางสัญลักษณ์เพื่อให้ภาพสื่อความหมายเป็น 2 มิติ
6). การคิดค้นรูปแบบของลวดลาย (Pattern) นำภาพ 2 มิติ มาเรียงเป็นลวดลายมีพื้นฐานเป็นภาพ 2 มิติ เป็นต้นแบบ
7). การนำนิยามมาเป็นตัวกำหนดสี (Colors) นำเนื้อหาและบริบทมาขยายผลไปสู่การเลือกคู่สีที่เหมาะสม
8). การออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) การนำเอาส่วน 1 ของแม่ลายกราฟิกมาออกแบบตราสัญลักษณ์ที่มีลายละเอียดน้อยและจดจำได้ง่าย
9). การออกแบบตัวอักษร (Font) ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากแผนภูมิแรก นำจุดเด่นที่น่าสนใจมาออกแบบเป็นตัวอักษร
10). การออกแบบที่นำอัตลักษณ์ มาใช้ในรูปแบบกราฟิกต่างๆเป็นการประมวลผลจากการถอดรหัสทำให้เกิดนิยามลวดลาย สีและการจัดวาง
1). นิยามนำมาสร้างสรรค์เป็นคำคม (Slogan)
2). ลวดลาย (Pattern) ใช้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบ
3). สี (Colors) ใช้สีจากการถอดรหัสมาเป็นองค์ประกอบ
4). การจัดวางองค์ประกอบ (Composition) นำอัตลักษณ์มาพัฒนาการออกแบบ 3 มิติ
11). การพัฒนาสู่การออกแบบภาพและการแบบเชิงนโยบาย สร้างอัตลักษณ์จากแนวความคิดส่งเสริมและพัฒนาเมืองเกิดเป็นนวัตกรรม ทำให้มีอัตลักษณ์และเอกภาพ