BANGKOK GRAPHIC

เกมศิลปะ (Art game)

เกมศิลปะ (Art game)

ศิลปะ การออกแบบเกม

เกมศิลปะ (หรือarthouse game)หรือบางกลุ่มรู้จักกันว่าauteur gameเป็นงานศิลปะสื่อซอฟท์แวร์ดิจิตัลเชิงตอบโต้รูปแบบใหม่ และเป็นเกมศิลปะซึ่งอยู่ในกลุ่มย่อยของวีดีโอเกมประเภทซีเรียส (serious video game). คำว่าเกมศิลปะเริ่มใช้ทางวิชาการเป็นครั้งแรกในปี 2002 และเป็นที่เข้าใจกันว่าใช้อธิบายถึงวีดีโอเกมอย่างหนึ่งที่ถูกออกแบบให้เน้นด้านศิลปะหรือมีโครงสร้างที่จงใจสร้างปฏิกิริยาบางอย่างต่อคนดู เกมศิลปะเป็นเกมเชิงตอบโต้ (interactive)(โดยปกติจะแข่งขันกับคอมพิวเตอร์ กับตัวเอง หรือกับผู้เล่นคนอื่น) และเป็นเจตนาทางศิลปะของอีกฝ่ายเพื่อให้เกิดการคิดต่อในชิ้นงานนั้น ทั้งยังพยายามอย่างมากให้มีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร และบ่อยครั้งยังโดดเด่นในด้านความงามทางสุนทรียะศาสตร์และความซับซ้อนในการออกแบบ แนวความคิดนี้ได้ถูกนำไปขยายต่อโดยผู้สร้างทฤษฎีศิลปะจนกลายไปเป็นกลุ่มของเกมประยุกต์ (modded, modified gaming)โดยได้ประยุกต์เกมที่ไม่ใช่เกมศิลปะ(non-art game)ที่มีอยู่แล้วให้มี กราฟฟิกที่เห็นได้ว่ามีการนำเสนอความเป็นศิลปะ ซึ่งต่างจากการประยุกต์ที่ตั้งใจเปลี่ยนฉากที่เล่นหรือเปลี่ยนเรื่องเล่า เกมประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะ บางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ศิลปะวีดีโอเกม” (video game art) เกมศิลปะมักถูกพิจารณาว่าเป็นการนำเสนอวีดีโอเกมในฐานะงานศิลปะ  

เกมส์ศิลปะ (เกม ในฐานะงานศิลปะ) Game Art

คำจำกัดความของเกมศิลปะนั้นถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ Tiffany Holmes(สาขาศิลปะ สถาบันแห่งชิคาโก) ในรายงานปี 2003 ของเธอสำหรับการประชุม เมลเบิร์น ดีเอซี หัวข้อ “Arcade Classicsก้าวสู่ ศิลปะ? แนวโน้มปัจจุบันของประเภทเกมศิลปะ”ศาสตราจารย์ Holmesนิยามเกมศิลปะว่าเป็น “ผลงานเชิงตอบโต้ มักเป็นในทางขบขัน โดยศิลปินทัศนศิลป์ซึ่งทำสิ่งต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า:ท้าทายลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรม นำเสนอบทวิจารณ์สังคมหรือประวัติศาสตร์ที่สำคัญ หรือเล่าเรื่องในเชิงวรรณกรรม” ในรายงานยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าเกมศิลปะต้องมีลักษณะอย่างน้อย 2ข้อต่อไปนี้ (1) “มีวิธีที่จะชนะหรือประสบความสำเร็จในการแข่งขันทางปัญญาอย่างชัดเจน” (2) “มีการเดินทางผ่านระดับ (level)ต่างๆ (ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นไปตามลำดับขั้น)” (3) “มีตัวละครหลักหรือคนที่มีชื่อเสียงเป็นตัวแทนผู้เล่น” คำจำกัดความนี้ถูกทำให้กระชับขึ้นในรายงานเดือน ตุลาคม ปี 2003 ของ Rebacca Cannonซึ่งเน้นการแบ่งประเภทตามลักษณะการแข่งขันมุ่งสู่เป้าหมายมานิยามเกมศิลปะว่า“หมายรวมถึงเกมที่เล่นได้ง่ายทั้งหมด (หรือง่ายในบางระดับ) เกมศิลปะจะมีรูปแบบเชิงตอบโต้เสมอ และการตอบโต้นั้นมีพื้นฐานมาจากการอยากแข่งขันโดยหลักๆแล้วเกมศิลปะจะค้นหารูปแบบเกมในวิธีใหม่เพื่อการเล่าเรื่องที่วางแผนไว้หรือการวิจารณ์วัฒนธรรม” ภายใต้หัวข้อเรื่องเกมศิลปะนั้น มีการเสนอให้แบ่งแยกย่อยเพิ่มเติม ในรายงานปี2003 Tiffany Holmesได้แบ่งเกมศิลปะเป็น 2กลุ่มหลักๆคือ “เกมศิลปะสิทธิสตรี”(feminist art game)(เป็นเกมศิลปะที่ก่อให้เกิดแนวความคิดเรื่องเพศและการผูกขาดบทบาท) และ“เกมศิลปะย้อนยุค”(retro-styled art game)(เป็นเกมศิลปะที่ใช้ กราฟฟิกความละเอียดต่ำคู่กับเนื้อหาทางวิชาการหรือทางทฤษฎีและยกเลิกรูปแบบของเกมArcade Classicsเพื่อหันไปผลักดันแผนปฏิบัติการที่มีแนวความคิดสร้างสรรค์) ในปี 2005นักทฤษฎีศิลป์ Pippa Tshabalalanée Stalker นิยาม เกมศิลปะอย่างกว้างๆว่าเป็น “วีดีโอเกม ที่มักอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มากกว่าเครื่องคอนโซล ซึ่งโดยทั่วไปจะขุดคุ้ยประเด็นทางสังคมหรือทางการเมือง แต่ก็ไม่เสมอไป โดยใช้วีดีโอเกมเป็นสื่อกลาง”เธอได้นำเสนอวิธีจัดกลุ่มที่แตกต่างกัน2 ข้อตามสาระสำคัญและตามประเภทเพื่อการแบ่งแยกย่อยต่อไป ในการแบ่งตามสาระสำคัญนั้น Stalker นิยาม “เกมศิลปะที่สวยงาม” ว่าเป็น “เกมศิลปะที่ใช้สื่อเกมมานำเสนอจุดประสงค์ทางศิลปะ”และเธอได้ยังนิยาม “เกมศิลปะที่มีการเมืองหรือแผนปฏิบัติการเป็นส่วนประกอบ”ว่าเป็น “เกมศิลปะที่มีจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง มากกว่าเรื่องความงามและมีประเด็นสำคัญคือใช้สื่อเกมคอมพิวเตอร์นำประเด็นนั้นออกสู่สาธารณชน หรืออย่างน้อยสู่โลกศิลปะ โดยตั้งใจที่จะดึงดูดแรงหนุนหรือความเข้าใจในหัวข้อนั้น”ในการแบ่งตามประเภทนั้น Stalkerระบุว่า “เกมประยุกต์ศิลป์(art mod)เป็น “เกมศิลปะที่แสดงออกผ่านร่างกาย” (ผู้เล่นมีการใช้ร่างกายเกี่ยวข้องในเกม มักมีผลทางร่างกาย อย่างเช่น เกิดความเจ็บปวดจากการกระทำของเขา) “ machinima”และ “เกมศิลปะตอบสนองแบบทันกาล 3 มิติ”(3D real-time art game)(เป็นเกมศิลปะที่แสดงลักษณะทั้งหมดของเกมในท้องตลาดอย่างสมบูรณ์ ทั้งด้านการเขียนโปรแกรมและการขาย) การระบุว่า เกมประยุกต์ศิลป์ กับmachinimaเป็นรูปแบบหนึ่งของเกมศิลปะนั้นขัดแย้งกับคำนิยามเรื่องเกมประยุกต์ศิลป์ของ Cannonซึ่งเน้นที่รูปแบบเชิงไม่ตอบโต้และไม่แข่งขันของสื่อรูปแบบนี้   ตั้งแต่คำนิยามในยุคต้นเหล่านี้มีการพัฒนาขึ้น นักทฤษฎีศิลป์ได้ย้ำเรื่องบทบาทในเจตนาทางศิลปะ (ของผู้เขียน หรือ ภัณฑารักษ์) และนิยามอื่นๆก็ได้ปรากฏขึ้นจากทั้งในโลกศิลปะและโลกวีดีโอเกม ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง “เกมศิลปะ” (art game)และสิ่งที่มีมาก่อนอย่าง“ศิลปะวีดีโอเกม”(video game art)ใจความหลักของนิยามทั้งหมดนี้ทำให้เกิดทางแยกระหว่าง ศิลปะและวีดีโอเกม และมักสับสนกับรูปแบบงานศิลปะที่ไม่มีการตอบโต้อย่าง“ศิลปะวีดีโอเกม” และแนวความคิดเรื่องวีดีโอเกมในฐานะงานศิลปะ(ซึ่งไม่ต้องคำนึงถึงเจตนาทางศิลปะ) ลักษณะสำคัญที่เกมศิลปะมีซึ่งเชื่อมโยงกับวีดีโอเกมได้นั้นคล้ายกับสิ่งที่หนังอาร์ตมีซึ่งเชื่อมโยงได้กับหนังนั่นเอง