BANGKOK GRAPHIC

ศิลปะการออกแบบหน้าจอ

ศิลปะการออกแบบหน้าจอ

ความโปร่งแสงและการสะท้อนกลับ: Digital Art และ สุนทรียศาสตร์ของการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (Interface Design) Jay David Bolter และ Diane Gromala ส่วนที่ปรากฏอยู่ใน Fishwick, P.(ed.) Aesthetic computing, MIT press, 2004   พอล ฟิชวิค (Paul Fishwick) ได้นิยามความหมายของ สุนทรียศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) ว่าเป็น “การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีและการปฏิบัติทางศิลปะกับการประมวลผล” ฟิชวิค (Fishwick) ได้เปรียบเทียบสุนทรียศาสตร์ของการประมวลผลว่าเป็นเสมือนการทำงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์หรือเรียกอีกอย่างว่า Digital art ที่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงออกและการสร้างสรรค์ โดยจะเน้นในการพิจารณาความหมายของ Digital art ในแง่ของการสะท้อนความสุนทรีย์ของเทคโนโลยีเกี่ยวกับดิจิตอลและการออกแบบ ศิลปินหลายคนหรือส่วนใหญ่ในช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 20 ถึงต้นยุคศตวรรษที่ 21ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลว่าเป็นวิธีการนำเสนอหรือเป็นเนื้อหาสาระในงานศิลปะของพวกเขากันแน่ ดังนั้นจึงมาดูกันว่า Digital art จะให้บทเรียนที่สำคัญสำหรับการออกแบบระบบการประมวลผลอย่างไร ศิลปะการออกแบบหน้าจอ ในการศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์การประมวลผล จะเริ่มต้นจาก 2 ประเด็นคือ “จากภายใน” หรือ “จากภายนอก” โดย “จากภายใน” หมายถึง รหัส (code) ส่วน “จากภายนอก” หมายถึง ส่วนที่ต่อประสานกับผู้ใช้งาน (interface) เมื่อมองในแง่ของ code อาจบอกได้ว่านั่นคือ สุนทรียวัตถุ (Aesthetic object) ในขณะที่สุนทรีศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) จะหมายถึงการศึกษาหลักการที่ทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบของศิลปะ ทั้งนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเป็นสิ่งที่ดูสวยงาม สื่อความหมายได้ และเป็นพื้นที่ของการแสดงออกสำหรับศิลปินได้เช่นเดียวกับ ดินเหนียว หรือสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ Ars Electronica คืองานนิทรรศการและการสัมนาเกี่ยวกับ Digital Art ที่มีชื่อเสียงและถูกจัดขึ้นหลายครั้ง โดยสามารถเข้าไปดูภาพงานนิทรรศการที่จัดขึ้นในปี 2003 ได้โดย theme ของงานในปีนั้นคือ “Code: The Language of Our Time” เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้เห็น code ในการเขียนโปรแกรม พวกเขาจึงไม่มีโอกาสชื่นชมความงามในระดับนั้น สิ่งที่ผู้ใช้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยก็คือ Interface นั่นเอง ซึ่ง Interface คือส่วนที่ผู้ใช้โปรแกรมมีการโต้ตอบโดยตรงในขณะใช้งาน ไม่ว่าเขาจะมองเห็นคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์บน interfaceนั้น ๆ หรือไม่ ผู้ที่ชื่นชอบมุมมองแบบ code จะพัฒนาความสุนทรีย์ที่ค่อนข้างเป็นระเบียบ เพราะภาษาคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนอย่างเข้มงวด และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของมันดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับการปรับ code ให้เหมาะสม อาจจะมีแค่นักเขียนโปรแกรมหรือนักออกแบบที่ทำงานด้านนี้เท่านั้นที่สามารถชื่นชมความความสุนทรีย์ของ code ได้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบมุมของของ interface อาจจะปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานหรือปรับรูปลักษณ์ในแบบที่ต้องการเพื่อเพิ่มคุณค่าในแง่สุนทรีย์มากขึ้น ซึ่งวิธีการทั้งสองนี้เป็นส่วนประกอบซึ่งกันและกัน โดยในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ interface ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ interface มีความ “น่ารักขึ้น” การปรับใช้หลักสุนทรียศาสตร์กับ interface อาจจะไม่ใช่การทำซอฟต์แวร์ให้ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น แต่ความสุนทรีย์ควรจะเป็นการโต้ตอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลงาน Digital art ร่วมสมัยจำนวนมาก จะเน้นวิธีการทำให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งที่มองเห็นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่าน interface และสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ได้ เหล่าศิลปินกำลังศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ “ผู้คนในแวดวง HCI” หรือ Human Computer Interaction (การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์) เรียกว่า “รูปแบบในใจของผู้ใช้” หรือ อะไรคือสิ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า “epistemology (ญาณวิทยา หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้)” ของผู้ใช้ ที่มีต่อ interface ศิลปะการออกแบบหน้าจอ  

สอนการสร้าง Stactic FBML iframe Tab Facebook

สอนการสร้าง Stactic FBML iframe Tab Facebook

  1. สร้าง Page ทางธุรกิจ แล้ว ค้นหา ชื่อ ตามภาพ Static tab html iframe
  2. จะเข้าสู่หน้าให้คุณเลือกใช้ App : Static – คลิก ใช้เลย
  3. จะเข้าสู่หน้า ให้เราเลือก Page ก็เลือก page ที่เราสร้าง
  4. ไปที่โปรแกรม Dreamweaver เลือกภาษา HTML
  5. เลือก Insert : image เลือกรูปที่เราเตรียม (Landing Page) 810 x 1300 px.
  6. คลิกที่รูป ในส่วนด้านล่างจะแสดง Map ตรง Properties Bar เลือกรูปทรง สี่เหลี่ยม
  7. Drag ในส่วนที่จะใช้ทำ Link บนรูป และ ใส่ URL. link หน้าที่ web ที่เราใช้ link ต่อไป เช่น www.bangkokgraphic.com
  8. ในส่วน มุมมอง Code จะสังเกตว่า เป็นรูปที่ดึงมาจาก เครื่องคอม เราเอง ยังนำไใช้ไม่ได้ ต้อง Up รูปขึ้น online
  9. ในส่วนขั้นตอน up รูปขึ้น online นั้น เราใช้ Weblog : WordPress
  10. สมัครใช้งาน และไปในส่วน Post : New Post
  11. แถบ Bar เลือก Upload image
  12. เมื่อรูปเข้ามาอยู่ใน Post คลิกขวา เลือก New Image Tap เพื่อเปิดเฉพาะรูป จุดสังเกต Code ที่จะนำไปใช้ได้ คือ URL. ต้องจบที่ Format ของตัวรูปเอง เช่น .jpg
  13. copy URL ดังกล่าว กลับไปที่ DreamW. จะสังเกตตรง code หลัง img src: ……. เอา url : รูป มา วางลงในตไแหน่งดังกล่าว
  14. copy ตั้งแต่ <img ….. />
  15. นำไปวางที่ Setting – Woobox editor ในช่อง HTML. และกด Save
  16. คลิก View Facebook Tab
 

สอน วิธีการ สร้าง Facebook Canvas

สอน วิธีการ สร้าง Facebook Canvas

สิ่งที่ต้องเตรียม : *** ส่วนสำคัญคือการเตรียมแผนการพัฒนางานออกแบบการสื่อสาร ผ่าน Facebook canvas ลองดูผลงาน FB-Canvas ได้ที่ clip ท้าย บทความ ได้เห็นถึงการทำงาน แล้วนำมาเป็นไอเดียในการออกแบบ ต่อไป

  1. logo
  2. คำโปรย – เนื้อหา โฆษณา
  3. รูปสินค้า * ออกแบบ คำโปรยลงไปในรูปเลย เช่น ราคา
  4. Video (ถ้ามี )
  5. Link : web หรือ App Store

1. ไปที่ Page ที่เราสร้าง   2. ตรงแถบซ้ายมือ เลือก Canvas   3. เลือกสร้าง New Canvas :> เลือก เพิ่มรูปแบบ > เลือกสร้างส่วนหัว   4. นำ Logo เข้ามาใส่ ส่วนหัว 5. และ เพิ่ม องค์ประกอบ ไปเรื่อยๆ ตาม การวางแผนตั้งแต่ในขั้นตอนแรก 6. เมื่อทำการออกแบบจนครบ จะมีแถบด้านบนช่อง Preview ให้ทำการบันทึก – แชร์ และตัวตัวอย่าง ขณะออกแบบ ได้เลย   สามารถคลิกดูตัวอย่าง ผลงาน Facebook Canvas https://www.youtube.com/watch?v=fvUODDyrfag 

bangkok graphic bangkok graphic

bangkok graphic bangkok graphic
bangkok graphic bangkok graphic 

การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

GMS. Economic Cooperation Program โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนแบบคู่ขนาน

  ลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงประชากรโลกกว่าหลายสิบล้านชีวิต แม้พื้นที่กว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตรนี้จะอุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ ประมง และพลังงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ภาวะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในห้วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา กลับเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้คนในพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งอย่างที่ควรจะเป็น   “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง” (Greater Mekong Subregion Program) หรือ “จีเอ็มเอส” จึงถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นตัวกลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐา นหลายแขนงที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศเขตหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ อันได้แก่ จีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย หรือสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก   โดยโครงการนี้มีชื่อเต็มว่า GMS Economic Corridors หรือ ก็คือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน, ยกระดับการครองชีพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน, การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก   เพื่อสร้างอนุภูมิภาคที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความปรองดอง และความมั่งคั่งตามวิสัยทัศน์ แผนงาน GMS ได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน 3 ด้าน ดังนี้
  1. สร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกันให้มากขึ้นผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ที่ยั่งยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (economic Corridors)
  2. เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ผ่านการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คน และสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมบูรณาการของตลาด กระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า
  3. สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community) ผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ถนน ทางด่วน หรือสะพาน มองเผินๆ อาจเป็นเพียงเส้นทางขนส่งเพื่อความสะดวกในการคมนาคม แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีเอ็มเอสตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เพราะถึงจะได้เปรียบจากเป็นเจ้าของธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ความหลากหลายของภูมิศาสตร์ในพื้นที่ กลับเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางระหว่างกัน จีเอ็มเอสจึงผุดไอเดีย “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridors) สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมพลังเศรษฐกิจที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ไปจนถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในพื้นที่
  โดยแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่
  1. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
  2. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West EconomicCorridor)
  3. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
  4. แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
  5. แผนงานซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)
  6. แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment)
  7. แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
  8. แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies)
  9. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
  10. แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management)
  11. แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารในศตวรรษที่ 21 เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เ ห็นได้จากการจัดตั้ง “เครือข่ายข้อมูลเกษตรจีเอ็มเอส” (GMS-AINS Agriculture Information Network Service) ซึ่งจะมาในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า (E-trade platform) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอุปสงค์อุปทานสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ไปจนถึงระบบการชำระเงินซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทั้งอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นที่คาดการณ์กันว่าเวทีเกษตรบนโลกไซเบอร์แห่งแรกนี้ จะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป   ในการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ทศวรรษที่ 3 ของจีเอ็มเอส ได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาใหม่ๆ ที่ขยายตัวออกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเส้นทางคมนาคม ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนพัฒนาภาคส่วนอื่นๆ อย่างมาตรการส่งเสริมคมนาคมและการค้าบริเวณชายแดนที่จะกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ และแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

พื้นผิวในงานออกแบบ

พื้นผิวในงานออกแบบ

พื้นผิวในงานออกแบบ Graphic Design

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… พื้นผิวในงานออกแบบ พื้นผิวเป็นส่วนประกอบสำคัญของศิลปะอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์พื้นผิวสามารถก่อให้เกิดปฎิกริยาทางด้านความรู้สึก รับรู้ได้ด้วยการรับสัมผัสทางตาและการจับต้องทางกายสัมผัส พื้นผิวจะปรากฎให้เห็นทางธรรมชาติและวัตถุ เช่น พื้นผิวของเปลือกต้นไม้ เปลือกหอย ผิวหนังสัตว์ ก้อนหิน ก้อนกรวด ฯลฯ หน้าที่ของนักออกแบบและศิลปินก็คือ การนำเอาพื้นผิวในลักษณะต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างสรรค์ความงามและประโยชน์ใช้สอย
  1. ความหมายของพื้นผิว
พื้นผิว หมายถึงบริเวณผิวนอกของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎให้เห็น รับรู้ได้ด้วยการรับสัมผัสทางตาและกายสัมผะส พื้นผิวสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกในลักษณะต่างๆ กันเช่น หยาบ ละเอียด มัน วาว ด้านและขรุขระ 2. ความสำคัญของผิว พื้นผิวมีความสำคัญมากสำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะการออกแบบ พื้นผิวจะถูกนำมาใช้ในลักษณะต่างๆ กันเช่น ในผลงานจิตรกรรม ศิลปะภาพพิมพ์ ฯลฯ ศิลปินจะใช้พื้นผิวสร้างความงามและค่าน้ำหนัก เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างรูปร่างหรือรูปทรง นักออกแบบสมัยใหม่ จะเลือกวัสดุนำสมัยที่มีพื้นผิวแตกต่างกันมาใช้ เช่น โครเมี่ยม กระจก พลาสติก เซลลูลอย หรือโลหะต่างๆ นำมาใช้ตกแต่งอาคารทั้งภายนอกและภายใน หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 3. การเกิดของพื้นผิว พื้นผิวเกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะคือ 3.1 เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ พื้นผิวของเปลือกไม้ ก้อนกรวด ก้อนหิน กิ่งไม้ ใบไม้ ผิวหนังสัตว์ ฯลฯ ( ภาพ 4-1 ) 3.2 เกิดขึ้นโดยมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ การขูด ขีด ระบาย ฯลฯ ให้เกิดเป็นร่องรอยพื้นผิวในลักษณะต่างๆ เช่น การเขียนเส้นด้วยปากกา ดินสอ การเขียนสีด้วยแปรงแห้งๆ การใช้ฟองน้ำแตะแต้มสีบนกระดาษ ใช้กระดาษเนื้อบางทาบบนพื้นผิวต่างๆ และใช้ดินสอหรือวัสดุอื่นๆ ถูด้านบนของกระดาษจะได้พื้นผิวลักษณะต่างๆ พื้นผิวในงานออกแบบ

องค์ประกอบในงานออกแบบ

องค์ประกอบในงานออกแบบ

h3>ความหมายและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ องค์ประกอบศิลป์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญ เป็นโครงสร้างหลักหรือแกนของศิลปะทุกประเภท สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาศิลปะเบื้องต้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้หลักขององค์ประกอบศิลป์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำมาเป็นหลักการออกแบบสร้างสรรค์ หรือการจัดวางส่วนประกอบต่างๆ ภายในงานศิลปะให้เกิดความเหมาะสม หลักขององค์ประกอบศิลป์ เป็นหลักเกณฑ์ที่สามารถยืดหยุ่นได้ ไม่ได้กำหนดให้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัว การจัดระเบียบภายในผลงานศิลปะ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเหตุผลเพราะการสร้างสรรค์องค์ประกอบทางศิลปะ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาทางด้านความงามของศิลปะแต่ละสาขาโดยตรง

ความหมายขององค์ประกอบศิลป์

คำว่า Composition มาจากภาษาละตินว่า Compositio หมายถึงการจัดเข้าด้วยกัน ในทางศิลปะ Composition “แปลว่าองค์ประกอบแห่งศิลป์” (อ้างถึงในสงวน รดอบุญ 2522 : 50) ซึ่งหมายถึงการนำส่วนประกอบสำคัญของศิลปะ (Elements of Art) มาจัดเข้าด้วยกันตามความคิดจินตนาการหรือประสบการณ์ของผู้สร้างแต่ละคนโดยอาศัยหลักของศิลปะสร้างให้เกิดประสานกลมกลืนกันอย่างเป็นเอกภาพ องค์ประกอบศิลป์ (Composition) ตามพจนานุกรมฉบับเว็บสเตอร์ (Webster 1961 : 196) ได้อธิบายไว้ข้อหนึ่งว่า ในทางวิจิตรศิลป์หมายถึงศิลปะหรือการปฎิบัติ กระทำให้เกิดการรวมกันของส่วนประกอบต่างๆในผลงาน และส่วนประกอบทั้งหมดนั้นจะต้องประสานกลมกลืนกัน ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับภาษาอังกฤษเป็นไทยของ สอ เสถบุตร (ม.ป.ป. : 144) ได้ให้ความหมาย Composition ไว้ว่าคือ ส่วนประกอบ สัดส่วน สิ่งที่ประกอบขึ้น ความเรียงเพลงที่แต่งขึ้น วัตถุผสม อาลเลน และ โฮลเดน (Allen and Holden 1979 : 194) ได้กล่าวถึงความหมายขององค์ประกอบศิลป์ไว้ว่าคือ การจัดระเบียบส่วนต่างๆ ภายในงานศิลปะให้ประสานกลมกลืนกันทั้งภาพรูปที่มีองค์ประกอบที่ดีและแสดงความสมดุลของรูปทรง การใช้สี ค่าน้ำหนักอ่อนแก่ ส่วนต่างๆบริเวณว่าง จังหวะ และเนื้อหาที่เป็นเอกภาพ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบศิลป์ หมายถึงการนำส่วนประกอบย่อยหรือส่วนประกอบที่สำคัญของศิลปะ ได้แก่ จุด เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ พื้นผิว หรือรูปร่าง รูปทรง นำมารวมเข้าด้วยกัน โดยการจัดระเบียบส่วนต่างๆ เหล่านั้น ให้ประสานกลมกลืนกันในงานศิลปะ  

ความสำคัญองค์ประกอบศิลป์

องค์ประกอบศิลป์เป็นวิชาที่มีความสำคัญมาก สำหรับผู้ที่สร้างสรรค์งานศิลปะ ถ้าขาดความรู้ในวิชานี้แล้ว ผลงานที่สร้างขึ้นก็ยากที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะงานศิลปะสมัยใหม่ที่แสดงเฉพาะ เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา พื้นผิว จังหวะ และบริเวณว่าง ยิ่งมีความจำเป้นต้องนำหลักขององค์ประกอบศิลป์มาใช้ หลักขององค์ประกอบศิลป์ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานทัศนศิลป์ ประเภทวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ การจัดภาพหรือการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดความงาม องค์ประกอบศิลป์จะมีบทบาทสำคัญและนำมาใช้กับผลงานทัศนศิลป์ทุกสาขา อาทิเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปะภาพพิมพ์ ภาพถ่าย และการออกแบบสาขาต่างๆ มีความจำเป็นต้องนำหลักขององค์ประกอบศิลป์ หรือการออกแบบเข้าร่วมสร้างสรรค์ความงามเสมอ

ความนิยมในการเรียกชื่อการจัดส่วนประกอบในงานศิลปะ

ความนิยมในการเรียกชื่อการจัดส่วนประกอบต่างๆ ภายในงานศิลปะในผลงานวิจิตรศิลป์จะเรียกว่า “องค์ประกอบศิลป์” (Composition) และผลงานทางด้านศิลปะประยุกต์จะเรียกว่า “การออกแบบ” (Design) ซึ่งการจัดระเบียบภายในงานศิลปะทั้ง 2 ประเภทนี้ จะนำส่วนประกอบสำคัญของศิลปะได้แก่ จุด เส้น สี น้ำหนักอ่อนแก่ พื้นผิว บริเวณว่าง หรือรูปร่างรูปทรงนำมาสร้างเป็นภาพหรือสัญลักษณ์อย่างเดียวกัน ซึ่งผู้ทำงานศิลปะอาจนำส่วนประกอบสำคัญของศิลปะมาเพียงบางส่วนหรือมาทั้งหมดเพื่อสร้างสรรค์หรืออกแบบงานศิลปะก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแต่กต่างของงานศิลปะแต่ละชิ้น นอกจากการนำส่วนประกอบของศิลปะมาสร้างสรรค์หรือออกแบบงานศิลปะแล้ว เรายังต้องใช้หลักเกณฑ์ขององค์ประกอบศิลป์ได้แก่ เอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่นและการเน้น เข้าร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะเหล่านั้นด้วยในงานวิจิตรศิลป์จะเรียกว่า “หลักขององค์ประกอบศิลป์” (Principles of Composition) ในงานศิลปะประยุกต์จะเรียกว่า “หลักของการออกแบบ” (Principles of Composition) ดังนี้เป็นต้น

อินโฟกราฟฟิก Infographics คืออะไร

อินโฟกราฟฟิก Infographics คืออะไร

เป็นคำนิยม Hot Hit เราได้ยินคำนี้กันบ่อยมากในช่วงน้ำท่วม เป็นหนึ่งในสื่อที่ใช้อธิบายที่มาของน้ำท่วม เป็นซี่รีย์เลยก็ว่าได้ประมาณว่าน้ำมาจะปฎิบัติอย่างไร หรือเมื่อน้ำไปจะทำอย่างไร นั่นก็คือสารคดี “รู้สู้Flood” 10 ตอน จากเว็บ http://th-th.facebook.com/ROOSUFLOODคลิปนี้เองที่ทำให้คนไทยตั้งแต่ชั้นแรงงานยันนักศึกษาสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายๆถึงสาเหตุน้ำท่วม รวมทั้งการปฎิบัติตนต่างๆสรุป Inforgraphics – อินโฟกราฟฟิก อินโฟกราฟฟิก Infographics คืออะไร จริงๆก็คือการอธิบายเรื่องราวต่างๆด้วยภาพ นำเสนอวิธีการแบบงานครีเอทีพโฆษณา แต่นำมาใช้อธิบายข่าวสารเชิงตัวเลข ข้อมูลต่างๆ อย่างที่เรียกว่า “Creative way” ด้วยวิธีการนี้ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ในระยะเวลาสั้น ๆด้วยการสื่อสารจากข้อมูลที่เป็นภาพนั่นเอง ซึ่งอาจนำเสนอในรูปภาพนิ่งแบบแบนเนอร์หรือคลิปวีดีโอก็ได้ เป็นเครื่องมือที่องค์กรสามารถนำมาประยุกต์ใช้อธิบายประวัติองค์กร สินค้า ใช้สื่อสารการตลาดตัวอย่างเพิ่มเติม อาทิการประยุกต์อินโฟกราฟฟิกพฤติกรรมการเก็บออมของประชากร, สาเหตุของการเกิดวิกฤตการเงินโลก, สัดส่วนการใช้เงินของนักศึกษา, อธิบายร้านค้าข้างถนนประเภทต่างๆ จากลิงค์ข้างล่างนี้ เป็นต้น Infographic คืออะไร ทำไมช่วงนี้มีแต่คนพูดถึงกันอย่างติดปาก เรียกว่าแม้แต่จะกินข้าว กินอย่างไรไม่ให้อ้วน ยังมี Infographic ให้เราได้เห็นกันทีเดียว แล้วเราเคยสังเกตมั๊ยล่ะว่า มันดูแล้วเข้าใจง่าย แค่ทำตาเหลือกขึ้นลง 2 ทีก็เข้าใจภาพรวมของทั้งหมดได้ จากเดิม บางคนอาจต้องอ่านข้อมูลที่มีแต่ตัวหนังสือครั้งละเป็นสิบหน้า แต่ Infographic ทำให้เราเข้าใจได้ง่ายๆ ด้วยภาพเพียงภาพเดียว “มันเจ๋งมั๊ยล่ะ”การเอาข้อมูลที่เข้าใจยาก หรือข้อมูลจำนวนมากมานำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ หรือที่เราเรียกว่า “Creative Way” นั่นเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดและปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลมากขึ้น ทำให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น ช่วยลดเวลาในการอธิบายเพิ่มเติม ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ ไม่จำเป็นว่า ต้องเป็นนักการตลาดเท่านั้น แต่เพราะข้อมูลที่อาจทำให้หลายคนเข้าใจตรงกันได้ยาก จึงเป็นที่นิยมในการนำมาประยุกต์ใช้ของนักการตลาดที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร รับออกแบบ Graphic เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากเจ้าปลาวาฬน้อยของกลุ่มจิตอาสา “รู้สู้ Flood” ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารให้กับจำนวนมากให้เข้าใจถึงข้อมูลในแบบภาพรวมของปัญหา แนวทางการรับมือ และการเตรียมตัวเพื่อเอาชีวิตรอด เรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม

ชุดโครงการท่องเที่ยวราชบุรี

ชุดโครงการท่องเที่ยวราชบุรี

ท่องเที่ยวราชบุรี File Present[/caption] ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2553 -2556 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ศักยภาพ (SWOT Analysis) จังหวัดราชบุรี 1.1 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่สำคัญ จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว นานาประเทศหันกลับมาให้ความสำคัญด้านปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากรายงานสถาบันด้านเศรษฐกิจโลก ในปี 2553 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอาจจะปรับตัวดีขึ้นในภาพรวมซึ่งอาจจะใช้เวลาในการฟื้นตัว แม้ว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวการณ์ชะลอตัวดังกล่าว แต่สถานการณ์ของอุปสงค์และอุปทานอาหารของโลกมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากความต้องการด้านพลังงานทดแทนและการเกิดภัยธรรมชาติ ความต้องการด้านอาหารของโลกและประเทศในอาเซียนเข้มงวดในเรื่องความปลอดภัยและปลอดสารพิษ ซึ่งการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหารจะต้องปรับตัวกับมาตรการด้านต่างๆของประเทศคู่ค้า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีแนวโน้มเริ่มเข้าสู่ระดับที่ถือได้ว่ามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องมาจากภาพโดยรวมของภาคการค้าของโลก ซึ่งจะช่วยหนุนให้ทิศทางของภาคการส่งออกของไทย จะมีการขยายตัวได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึงปัจจัยบวกจากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปี 2552 – 2553 ตามแผนปฏิบัติการ “ไทยเข้มแข็ง” ที่จะเริ่มมีการใช้จ่ายได้ตั้งแต่ในช่วงปลายปี2552 ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี2553 ขยายตัวมากขึ้น นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ ที่จะสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและมั่นคง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร ในส่วนพัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ ดำเนินการปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจพัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล นโยบาย เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ เสริมสร้างจิตสำนึกความรักชาติและความสามัคคีของคนในชาติ โดยใช้วัฒนธรรม ประเพณี และกีฬาเป็นสื่อในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคี 1.2 ศักยภาพโดยรวมของจังหวัดราชบุรี จังหวัดราชบุรี มีอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – 2551 เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี และอัตราการขยายตัวการผลิตด้านเกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – 2551 เฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี โดยเฉพาะในปี 2551 จังหวัดราชบุรีมีมูลค่าการผลิตในภาคเกษตร จำนวน 17,640 ล้านบาท ทังนี้ เนื่องจากจังหวัดราชบุรี มีศักยภาพที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เช่น มีพื้นที่การ เพาะปลูกพืชผักผลไม้ จำนวน 1,027,340 ไร่ สามารถผลิตพืชผัก ผลไม้ ประมาณ 2,218,641 ตันต่อปี เนื่องจากมีระบบการชลประทานที่ดี มีตลาดกลางสินค้าเกษตร ถึง 2 แห่งในการระบายสินค้าไปทั้งภาคกลางภาคใต้ และและภาคอื่นๆ ในด้านการปศุสัตว์ มีการผลิตสุกรได้มากที่สุดของประเทศ ประมาณ 1,313,000 ตัว มูลค่า 3,940 ล้านบาท นอกจากนี้จังหวัดราชบุรี ยังมีศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านศิลปะการผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เช่นโอ่งมังกร จึงเป็นสินค้าทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิต สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ในปี 2550 จังหวัดราชบุรีมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 1,206.84 ล้านบาท ด้านสังคม ประชากรจังหวัดราชบุรีประกอบด้วยเชื้อสาย 8 ชนเผ่า มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย จึงเป็นทุนทางสังคมที่จะส่งเสริมการพัฒนาในด้านต่างๆ แต่เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความแตกแยกทางความคิดจากภายนอก ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ความคิดเห็นทางการเมืองที่นำไปสู่การแบ่งกลุ่ม การเลียนแบบวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม การบังคับใช้กฎหมายจึงเป็นปัจจัยที่จะต้องแร่งรัดแก้ไขต่อไป จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าจังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการเกษตร แต่เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังต้องใช้ระยะเวลาการฟื้นตัว ประกอบกับในปัจจุบันความต้องการด้านอาหารให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ตลอดจนภาคสังคมที่ปรารถนาที่เป็นสังคมสมานฉันท์ ดังนั้น ตำแหน่งยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี จึงเป็น เมืองน่าอยู่ เกษตรปลอดภัย ปัจจัยสำคัญที่จังหวัดราชบุรีจะทำให้ ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา พัฒนาสำเร็จได้นั้น จะต้องมีความระมัดระวังและห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ เพราะทั้งสองอย่างเป็นปัจจัยเกื้อหนุนความสำเร็จของการพัฒนาตำแหน่งยุทธศาสตร์ ที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในการบริหารจัดการ การคิด และการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของจังหวัดโดยประชาชนมีส่วนร่วม จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ     Download : กลยุทธ์ Download แผนพัฒนา Download : รายละเอียดความร่วมมือ   Download : file ออกแบบ

แนวคิด บริโภคนิยม

แนวคิด บริโภคนิยม

จุดยืนทางทฤษฎีของโบดริยาร์ด (Baudrillard) โบดริยาร์ด ประสานแนวคิดหลักๆ ระหว่างทฤษฎีเศรษฐาสตร์การเมืองเข้ากับแนวคิดทาง สังคมสมัยใหม่ (Post-Modern) โดยให้นิยมรูปแบบการบริโภคหลังยุคสมัยใหม่ ไว้ดังนี้
  1. ปฎิเสธการแบ่งแยกระหว่าง
ศิลปะชั้นสูง กับชั้นล่าง / ความลุ่มลึก กับผิวเผิน /วัฒนธรรม กับสินค้า /ตัวหมาย กับสิ่งที่หมาย โบดริยาร์ดจึงให้ความสำคัญกับตัวสื่อ มากกว่าเนื้อสารในการวิเคราะห์
  1. ปฎิเสธการมองแบบรูปธรรม เหมือนดังมาร์กซิสต์เคยวิเคราะห์
อย่างยุคอุสาหกรรม มาร์กให้ความสำคัญกับสินค้า และราคา แต่หลังยุคอุตสาหกรรมกลับมาให้ ความสำคัญในรูปแบบนามธรรม อย่างการวิเคราะห์ในเรื่องของ “สัญญะ” (Sign) ความหมาย ในในแต่ละสินค้าที่ให้มันเกาะเกี่ยว
  1. การกระตุ้นการบริโภค
เมื่อสังคมในยุคศตวรรษที่ 20 พลังแห่งการผลิตได้พัฒนาก้าวหน้าไปจนสามารถผลิตได้อย่าง เกินพอ (ซึ่งแตกต่างจากยุคมาร์ซิสต์ ที่มีปัญหาเรื่องการผลิต เทคโนโลยีเครื่องจักรต่างๆ ผลิต อย่างไรให้เพียงพอกับผู้บริโภค) จนกลายเป็นปัญหาระดับสังคม คือ จะกระตุ้นอย่างไรให้คนหันมา บริโภคได้มากและรวดเร็ว