สีทุกสีล้วนเกี่ยวข้องกันและเป็นที่รักของคู่สีตรงข้าม Marc Chagall
อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เรารู้สึกให้นะดราม่าอธิบายพอมาเป็นสีได้ เช่น “มืดมนต์” “จืดชืด” และ “ระยิบระยับ”
นักออกแบบใช้สีในการสื่อสารผ่านงานออกแบบ เช่น การใช้สีเพื่อให้จุดสนใจโดดเด่นชึ้นมา หรือลดความโดดเด่นขององค์ประกอบบางส่วน ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมโยงของภาพการเน้น หรือซ่อนบางอย่างไว้ด้วยสี
ในยุคหนึ่งงานออกแบบกราฟิกนั้นมีแค่สีขาวดำ เพราะสีนั้นยังหายากและมีราคาที่แพง แต่ในปัจจุบันสีสันกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป จับต้องได้ง่าย ทำให้งานออกแบบดูมีพลัง, น่าหลงใหล
แต่เดิมนั้นพื้นฐานงานออกแบบมีแค่เรื่องของแสงและเงา (การวาดและการแรเงา) ยังไม่ได้มีเรื่องของสี (เนื้อสี, ความเข้ม, ความสว่าง) เพราะงานออกแบบนั้นเน้นที่รูปร่าง, ลักษณะเป็นหลักที่ชัดเจน ส่วนเรื่องสีเป็นเพียงความชอบที่ไม่แน่นอนของแต่ละบุคคล
แน่นอนว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ สีจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อผู้ชมได้เห็น เราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสีได้ จนกระทั่งแสงนั้นตกกระทบกับวัตถุและสะท้อนเข้าตา
การรับรู้สีของเรานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงเม็ดสีของพื้นผิวภายนอกเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสว่างและลักษณะของแสงโดยรอบนอกจากนั้นเรายังรู้ถึงความสัมพันธ์อื่นๆของสี เช่น โทนสีสว่างจะดูสว่างมากขึ้นถ้าตัดกับพื้นสีเข้ม
ในทำนองเดียวกัน สีจะมีความหมายที่ต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม สีขาวเป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์และสะอาดในตะวันตก แต่เป็นสีแห่งความตายในวัฒนธรรมฝั่งตะวันออก สีแดงเป็นสีที่เจ้าสาวจะสวมใส่ในวันแต่งงานในญี่ปุ่นนั้น กลับถูกมองว่าเป็นสีที่เผ็ดร้อนและเร้าอารมณ์ในยุโรปและอเมริกา
ในวงการแฟชั่น สีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของงานออกแบบในแต่ละฤดูกาลหรือทั้งปี
แม้เวลาหรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปจะส่งผลกับเรื่องของสีอย่างมาก แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าสีเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายความหมายในงานออกแบบไม่ได้ โค้ดสีถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้นักออกแบบ, ซอฟต์แวร์, เครื่องพิมพ์เข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนในการเลือกสีในการออกแบบเพื่อสื่อสารกับผู้ชม
ในบทนี้เราจะสรุปในเรื่องของพื้นฐาน และความสัมพันธ์ของสีในการใช้งาน
ทฤษฎีสีพื้นฐาน (Basic Color Theory)
ในปี 1665 เซอร์ไอแซก นิวตัน ค้นพบการหักเหของแสงจากแท่งปริซึมที่แยกเป็นสีต่างๆ ได้แก่ แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, น้ำเงิน, คราม และม่วง และได้จัดเรียงสีเป็นวงล้อเหมือนกับศิลปินในปัจจุบัน ที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสี
วงล้อสีมีประโยชน์อย่างไร ?
สีที่อยู่ใกล้ในวงล้อสีนั้นมีความใกล้เคียงกันมาก การนำมาใช้ร่วมกันจะทำให้เกิดความกลมกลืนกันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะมันผสมมาจากแม่สีเดียวกัน สีข้างเคียง (Analogous Colors) นั้นยังมีอุณหภูมิของสิ่งที่สัมพันธ์กัน ต่างกับสี 2 สีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงล้อสีจะมีอุณหภูมิของสีที่ตรงข้ามกัน (โทนอุ่นกับโทนเย็น) การเลือกใช้สีที่คล้ายกัน หรือตัดกันนั้นส่งผลต่อพลังของภาพและอารมณ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ
การตัดสินใจเลือกใช้สีคู่ตรงข้าม หรือตัดกันนั้น จะส่งผลต่อการกระตุ้นและอารมณ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ