JOURNEY MAP + SCENARIO & STORY TELLING ระดมสมองโดยใช้แผนผังประสบการณ์ และการเล่าเรื่อง
Journey Map เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยคิดเชิงออกแบบได้ทั้งในขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อสร้างโจทย์(Define) และขั้นตอน การสังเคราะห์แนวคิดใหม่ (Ideate) Journey Map มีเส้นเวลาที่กระตุ้นให้ทีมเรียบเรียงข้อมูลและคิดหาวิธีแก้ปัญหาความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายเรียงตามลำดับขั้นตอนการใช้งาน และมีระดับอารมณ์ความรู้สึกความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงซึ่งเป็นผล มาจากจุดสัมผัส (Touchpoint) ในระบบเดิมที่เป็นอยู่อย่างละเอียด การใช้Journey Map ในการคิดสร้างทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ ทำได้โดย
พิจารณาจุดที่กลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์เป็นบวกมาก (Delight Point) และเป็นลบมาก (Pain Point) โดยเฉพาะจุดที่ทำให้กลุ่ม เป้าหมายล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำตามเป้าหมายหรือเลิกการใช้งาน (Bail Point)
ระบุโอกาสและคิดหาวิธีขยายหรือทำให้จุดที่ทำให้กลุ่มเป้า หมายมีความสุขชัดเจนขึ้น เช่น Starbucks พบว่ากลิ่นกาแฟ ทำาให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขและถูกดึงดูดเข้ามาในร้าน จึงใช้ น้ำหอมกลิ่นกาแฟพ่นด้านนอกร้าน
ระบุโอกาสและคิดหาวิธีเปลี่ยนจุดที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ พอใจหรือล้มเลิกความตั้งใจให้มีความรู้สึกเป็นบวกเช่น Starbucks พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เปลี่ยนใจไม่เข้ามาซื้อกาแฟเมื่อ เห็นว่าร้านไม่มีที่นั่ง ในจำนวนนั้นมีกลุ่มที่ต้องการที่นั่งริมกระจก เพียงเพื่อให้คนรู้จักมองเข้ามาเห็นว่าตนเป็นลูกค้าของ Starbucks สำหรับผู้ใช้กลุ่มนี้การเปลี่ยนไปใช้ถ้วย Starbucks ที่มี Logo ชัดเจน สามารถนำออกจากร้านไปใช้ทุกที่ในชีวิตประจำาวัน เอื้อให้มี ผู้พบเห็นว่าเขาเป็นลูกค้า Starbucks ได้มากกว่าการนั่งรอให้มี คนรู้จักเดินผ่านมาจึงนับเป็นวิธีแก้ปัญหาเปลี่ยนจุดลบ (Pain Point) จุดล้มเลิก (Bail Point) เป็นจุดบวก (Belight point) ซึ่งทั้งมีคุณค่าต่อลูกค้าและช่วยส่งเสริมแบรนด์อีกด้วย
VALUE PROPOSITION CANVAS การระดมสมองโดยใช้แม่แบบเสนอคุณค่า
การใช้ Value Proposition Canvas ในการคิดสร้างสรรค์ทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ ช่วยให้ทีมระดมความคิดแก้ปัญหาในจุดที่ กลุ่มเป้าหมายไม่พึงพอใจหรือมีความรู้สึกเป็นลบ (Pain) และคิดวิธีส่งเสริมคุณค่าที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเป็นบวก (Gain) ทำได้โดย
พิจารณาเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่กลุ่มเป้าหมาย ต้องการทำ (Customer Jobs) คุณค่าที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายมี ความสุข (Gains) และเป็นทุกข์หรือไม่พึงพอใจ (Pain)
จากนั้นคิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่(Products & Services) ที่มีคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมายคือสามารถสร้างความสุขความพึง พอใจ (Gain Creators) และสามารถแก้ปัญหาที่ทำให้เป็นทุกข์ หรือไม่พึงพอใจ (Pain Relievers)
ทีมอาจโยงเส้นความสัมพันธ์ระหว่างผลติภัณฑ์และบริการใหม่ กับการสร้างความสุขหรือแก้ปัญหาความไม่พึงพอใจเพื่อให้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าทีมได้คิดทางออกเพื่อสร้างคุณค่า ในจุดที่สำคัญได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และสามารถเปรียบเทียบ แนวคิดต่าง ๆ จากคุณค่าที่ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่นั้น ๆ สร้างขึ้น