BANGKOK GRAPHIC

การใช้สีกับงานตกแต่งภายใน

การใช้สีกับงานตกแต่งภายใน

 

หลักการใช้สีและการออกแบบ บ้าน ที่ทำงาน

สี กับห้อง Space พื้นที่การทำงาน

บริษัทมากมายรู้ถึงพลังของสีและใช้มันพา Brand เข้าสู่ตลาด พวกเขาทุ่มและบางครั้งถึงขั้นทำวิจัยเพื่อให้ได้ถึงความมั่นใจว่าสีที่ใช้สื่อสารอัตลักษณ์ตัวผลิตภัณฑ์ได้ถูกกลุ่มเป้าหมาย สี ที่สร้างพฤติกรรมในแง่บวกกับที่ทำงานที่ที่ซึ่งเราใช้เวลาบางครั้งมากกว่าบ้าน เพราะที่ทำงานสิ่งที่เราควรจะได้รับจากมันยคือ กระตุ้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ต้องการสมาธิ จดจ่อกับงาน ต้องการความคิดสร้างสรรค์ ต้องการมิตรภาพ และต้อนรับแขกทุกครั้งที่มีแขกมาเยี่ยมเยียน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรพิจารณา

  1. บริบท บรรยากาศที่ผู้คนกำลังทำงานอยู่นั้นเป็นอย่างไร ตั้งแต่พืนที่เปิดโล่งจนถึงพื้นที่ที่แคบที่สุดอย่างห้องเก็บองุ่น
  2. พฤติกรรม ลองนึกดูว่าเราต้องการพฤติกรรมแบบไหนบ้างในที่ทำงาน แน่นอนการพักผ่อน ต้องมาที่หลังสุด การเติมพลังที่พอดีเพียงพอต่อการทำงานเป็นเป้าหมายหลัก เพราะพลังที่มากไป นำมาถึงความเครียด
  3. ความกลมกลืนของสี จำไว้ว่าควรใช้สีในกลุ่มเดียวกัน ตามมาด้วยความเข้มข้นของสี หลักการ คือ ความเข้มของสีที่จัด สร้างแรงกระตุ้น และความเข้มของสีที่อ่อน คือ ความปลอบประโลม
  4. สัดส่วน ของ จิทยาสี ทั้งแง่บวกของมันและแง่ลบของมัน
  5. จุดสังเกตเห็น คือ พฤติกรรมที่เพื่อนร่วมงานคุณสะท้อนออกมา

ความเชื่อผิดๆ กับแนวคิดของการให้สีในบ้าน

เหตุผลที่ 1 สี จริงอยู่มันสื่อสารกับเราด้วยภาษาทางอารมณ์ คนเราส่วนมากใช้สีต่อเมื่อต้องการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เรามักเริ่มต้นหาประโยชน์จากสีแบบนั้น สี กับที่ที่เราอยู่อาศัย โดยเฉพาะบ้าน หรือที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่เราอยู่กับมันเกือบทั้งวัน นับเป็นสัดส่วนก็ 80% ของชีวิต ดังนั้นแทนที่เราจะเริ่มต้นด้วยอสรมณ์ ให้เรามองหาพฤติกรรมหรือผลที่จะเกิดขึ้นกับมัน และเชื่อมโยงไปหาอารมณ์ เพราะอารมณ์เราจับต้องและมองเห็นไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้และส่งผลดีอย่างชัดเจน คือ เริ่มจาก เราต้องการการพักผ่อน ผ่อนคราย อารมณ์ตรงนี้เกิดจากพฤติกรรมใดภายในบ้าน เช่น ถ้าคุณเป็นคนผ่อนคลายด้วยการนั่งดูทีวี คุณจะเลือกสีอะไรเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมที่ผ่อนคลายและสีที่สนับสนุนดังกล่าว เหตุผลที่ 2 ประสบการณ์ที่ทั้งดีไม่ดีกับสี การเริ่มต้นจากประโยชน์เชิงพฤติกรรมจากข้างต้น ช่วยลด Bias และ connect กับสมาชิกในบ้านได้ เพราะการใช้สีมาจากเหตุผลที่เราหาได้ จับต้องได้ เหตุผลที่ 3 จงจำไว้อยู่อย่างว่า สี ทุกสี มีจิตวิทยาทั้งดี และลบ พอๆ กัน การใช้มันถูกบริบท ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้และพฤติกรรม การเข้าใจจิตวิทยาของสีทั้งบวกและลบ จะช่วยสนับสนุนผู้ใช้และพฤติกรรมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ สีแดงถูกใช้ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือการใช้สีเขียวสำหรับห้องนอนและห้องรับประทานอาหาร ก็ให้ผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกันเลย เพราะคุณอาจไม่รู้สึกหิวแต่คุณรู้สึกผ่อนคลายเวลานอน สีแดง พื้นที่ในบ้าน ห้องนอน อามรมณ์ความต้องการ ห้องอาหาร ช่วยเปิดบทสนทนา (ถ้ามากเกินสร้างอารมณ์ขุ่มมัวได้เร็ว) ควรหลีกเลี่ยง ห้องใดก็ตามที่ทำให้รู้สึกร้อน ห้องที่รับแดดโดยตรง ห้องทำงาน   สีชมพู ห้องเด็ก ผ่อนคลายความตึงเครียด ปลอบประโลม ห้องนอน ช่วยบรรเทา ความเหงา เศร้า ควรเลี่ยง ห้องออกกำลังกาย   สีเหลือง ทางเดินแสงน้อย จะช่วยเพิ่มความสว่าง บริเวณอาหารเช้า ช่วยเพิ่มความสดใสให้กับมื้อเช้า เพิ่มบทสนทนาที่เป็นมิตรภาพ ห้องรับแขก ใน offices เพิ่มมิตรภาพและการต้อนรับ อบอุ่น   สีส้ม ห้องครัว ห้องอาหาร ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์และความยากอาหาร ห้องนอน สีพีชอ่อนและส้มเอพริคอต เหมาะสมที่สุด ควรเลี่ยง ห้องทำงาน ห้องทำสมาธิ เพราะสีส้ม คือ ความสนุกสาน   สีน้ำตาล พื้นที่ต้องการแยกเราออกจากความวุ่นวาย ้เมื่อให้ความรู้สึกเช่นนี้ ธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากสีนี้มากสุด จึงเป็นธุรกิจด้าน สปา พื้นที่ที่ต้องการการผ่อนคลาย ควรหลีกเลี่ยง ห้องเด็ก เพราะอาจหมายถึงความแข็งกระด้าง ดื้อ สีฟ้า /น้ำเงิน ห้องนอน กับสีฟ้าโทนอ่อน ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ห้องทำงาน เป็นสีแห่งความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิ การคิดงานเป็นทีม ห้องน้ำ เทอร์คลอย ช่วยให้การตื่นเช้า ดู active แบบสดชื่น ควรเลี่ยง ห้องครัว บริเวณทางข้าว มันจะลดความอยากอาหาร   สีเขียว ห้องนอน Home offices ห้องนั่งเล่น แม่สีทางจิตวิทยา ฟื้นฟู คืนความอ่อนเยาว์ ในภาพรวม ควรเลี่ยง การใช้สีเขียวมะนาวในห้องนอน เพราะโทนเหลืองของมันมีแรงกระตุ้นมากเกินไป ต่แระบบประสาท สีม่วง เป็นสีที่เหมาะที่สุดในการให้สมาธิ เงียบสงบ ข้อเสีย อยู่ในห้องสีม่วงนานเกินไปทำให้เศร้าจากการหมกมุ่นแต่เรื่องตนเอง   สีเทา ใช้เป็นสีพื้นหลังได้เกือบทุกห้อง แต่ข้อเสียคือ จะทำให้เหนื่อยล้า เวลาอยู่นานเกินไป

inline by ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ