BANGKOK GRAPHIC

ปรัชญาสุนทรียศาสตร์ ตะวันตก

สุนทรียศาสตร์ ตะวันตก

แนวคิด ทฤษฏีการรับรู้ ปรัชญาสุนทรียศาสตร์ ตะวันตก

วิชา สุนทรียศาสตร์ 

                                                                เป็นวิชาที่ว่าการเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความงามในแง่นี้จะเน้นไปที่การศึกษาปรัชญาทางความงามด้านศิลปะ อะไรเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความงาม หือความงามเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้คำว่าสุนทรยศาสตร์เพิ่งเกิดขึ้นช่วง ศตวรรษที่ 18 โดย บอมการ์เทน ฉะนั้นก่อนหน้านั้นยังไม่พบว่ามีมโนทัศน์เกี่ยวกับ สุนทรยะแต่อย่างใด เริ่มแรกที่ ความงาม ถูกตั้งคำถาม และเกิดการจดบันทึกจะพบได้ในยุคสมัยแห่งต้นน้ำทางความรู้ของมนุษยชาติอย่าง ยุคสมัยกรีกโบราณ ที่มนุษย์เจริญไม่แต่อารยธรรม บ้านเมือง แต่ยังเจริญสูงไปด้วยปัญญา จึงก่อเกิดนักปรัชญาที่มีชื่อเสียง เป็น School มากมาย เมื่อคำถามถึง ความรู้สึกอะไรที่ว่างาม และเกิดขึ้นได้อย่างไรมีขึ้นในสมัยนี้ แน่นอนเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการตอบย่อมอยู่ในบริบทของปรัชญา 

เริ่มแรกที่จะศึกษาในรายวิชา ต้องแยกความแตกต่างของคำว่า สวย กับ คำว่า งาม ออกจากกันโดยคุณสมบัติและเงื่อนไขก่อน ทั้งนี้เพราะ Sense ผัสสะเบื้องต้นมันทำงานใกล้เคียงกัน สวย กับ งาม มันต่างกันที่เงื่อนไขของเวลา ความงาม เป็นความสุข อิ่มใจ เพลิดเพลิน ที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับสวย แต่ งาม จะมีความจีรังกว่า

                                                                หากเปรียบเทียบ Subject หรือวัตถุที่นิยมกันในหมู่ศิลปิน ความนิยมนำมาสรรค์งานศิลปะ เรามักจะพบว่า ความสวย จะไม่รับความสนใจเพราะมันแทบจะจบในตัวมันเอง สิ่งใดเล่าที่ศิลปินจะนำมาเล่าใหม่ หรือจะเหลือพื้นที่ใดในการทำงานด้านความงามผ่านผลงานทัศนศิลป์ ประติมากรรมต่างๆ แต่หากลองดู Subject อย่างคนชรา ริ้วรอย ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์แห่งชีวิตที่ให้มามันมีเนื้อหาในนั้นมากเพียงพอที่ศิลปินจะหยิบยกมาเป็นแรงแห่งบันดาลใจ มีพื้นที่ มีเนื้อหา เพียงพอที่จะรังสรรค์สร้างเสน่ห์บนพื้นผ้าใบให้ก่อเกิดภาวะแห่งความงาม ได้อย่างน่าสนใจ ตรงตามองค์ประกอบแห่งเงื่อนไขทางปรัชญาที่ว่าด้วย ความจริง :  สะท้อนมิติมุมมองอะไรบางอย่างอย่าง ความดี : ภายใต้ริ้วรอยแห่งประสบการณ์สั่งสม คนคนหนึ่ง ให้สามารถเห็นถึงความเที่ยงจริงแท้อะไรบางอย่า ตระหนักรู้ถึงวันเวลที่เปลี่ยนไปอย่างไม่ประมาท ความดีตรงนี้ก็ทำงานและแสดงให้เห็นเชิงะจักษ์ผ่านผลงานที่สร้างขึ้นจากเนื้อหาที่ศิลปินคัดสรรจากธรรมชาติแต่เลือกมาเล่าเรื่องใหม่ บริบใหม่ ความเข้าใจใหม่ๆ ความงาม : จึงสะท้อนอกมาเพราะมันเป็นอมตะ หากแม้แต่คุณยายจะไม่อยู่ในผัสสะชีวิตจริง แต่ภาพเขียนที่เปรียเสมือนภาพแทนคุณยายแต่ไม่ใช่คุณยายที่ใครๆ จารู้จัก (อันนี้เป็น Spirit หนึ่งของบรรยายากาศหลังยุค Romantic – Realistic) หาใช่จดจำตัวบุคคล แต่ให้จำการตักเตือนในแง่การใช้ชีวิต อันนี้ต่างหากที่ความงามอันจีรังทำหน้าที่ 

ความงาม :  เป้าหมายคือเพื่อยกระดับมาตราฐานทางจิตใจ ฉะนั้นในที่นี้เราจะพูดแตกออกไป 2 ประเด็น  การนิยาม การให้ความหมายคำนี้ จำเป็นต้องใช้ปรัชญา เพราะ… หาใช่ว่า จะตอบคำถามโดยใชตรรกะอะไรบางอย่างที่เพียงพอ มันยังคงเป็นขอพิพากระหว่าง ศิลปะ หรือ ความงามอะไรที่มาก่อนกัน และที่มาของศิลปะต้องตอบหลังจากเกิดความรู้สึกว่างามใช่หรือไม่ ฉะนั้นมันทั้งคู่จึงจัดอยู่ใน เรื่อเดียวกัน ศิลปะจึงสามารถ Share กันได้ในองค์ประกอบ ความจริง ความดี ความงาม = ศิลปะ หากเช่นนั้น ความงามยกระดับจิตใจ ศิลปะ ก็ยกระดับความจริง ในฐานะภาพแทนความจริงไปสู่จุดสูงสุดในระนาบเดียวกันกับ วิทยาศาสตร์ในช่วงท้ายๆ ของเนื้อหา แต่แยกทางเดินในเรื่อง Utility เพราะสุดท้าย ศิลปะ มีแค่ประโยชน์ นั่นคือ ความงาม ในยุคปัจจุบัน ในนาม Art for Art sake ศิลปะไม่ควรขึนกับใคร = ไม่ควรหาประโยชน์จากศิลปะ

หากยังควมองหาประโยชน์ในงานศิลปะ งานอย่าง the sream ของ edvardMund คงไม่โด่งดั่ง เป็นตัวแทนความเจ็บปวดของมนุษยชาติ ถือเป็หนึ่ในผลงาน master พีช นหนึ่งของโลก

ภววิทยา ของวัตถุ คือ การศึกษาการเำรงอยู่ของวัตถุ exist ในขณะเดียวกัน ในด้าน ณาณวิทยา ศึกษาไปพร้อมกัน เพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง ความรู้ ทีีมีต่อวัตถุ โดยวิพาก โต้แย้ง เมื่อเราพูดถึงความรู้ จะเปน agen กับการให้ความสำคัญ ของ บุคคล บทบาท ของวัตถุของ ด้อยลง มันจึงเปนเรื่อง ภาพแทน ของ ปรากฎการทางความรู้ สำนึกรู้ 

เช่น แน่นอน มด ไม่สามารถ มีความรู้ ความเข้าใจ ของตัวมันเอง แต่ มนุษย์ ซึ่งเปนผู้ศึกษา ต่างหาก ที่เปนผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ มด หรือง่ายๆ ว่า เรารู้จัก มด ผ่าน แว่น ความรู้ ของมนุษย์ด้วยกันเอง แล้ว อุปโลกน์ สร้าง วัฒนธรรม สังคม แห่ง ข้อมูลดังกล่าว so ทำให้ อันที่จริงแล้ว ฌานวิทยา ยืนอยู่บน ทางแยก ระหว่าง พหุ ทางธรรมชาติ ที่ซึ่ง มนุษย์เปนผู้สร้างภาพแทน สู่วัฒนธรรม แยกออกระหว่าง ผู้รู้ กับผู้ที่ถูกรู้ ออกจากกัน ทุกครั้งที่เราศึกษา คงามจริง ในวัตถุ ธรรมชาติ แท้ที่จริงแล้ว เรา ศึกษา พหุ ภาพแทนดั่งกล่าว ที่มนุษย์สร้างนั่นเอง หาใช่วัตถุ โดยตรง  ดังนั้น ความรู้ ความงาม ที่เรามี มันจึงเปนเพียงควาทสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเรา Being กับ object ซึ่ง เรา ในฐานะผู้มีความรู้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ object 

ความรู้จึงถูกแบ่ง เปน 3 category : เรารู้ว่าเรารู้ /  เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ / เราไม่รู้ว่าเรารู้ 

การหันมาสนใจ ภาววิทยา วิพาก ณาณวิทยา  ที่ยืนอยู่บนสมมุติ ว่าด้วย วัตถุ เราไม่สามารถเข้าถึงได้  เนื่องด้วย วัตถุ โดยเฉพาะธรรมชาติ มันถูกจัดหรือถือกำเนิดของมันมาอยู่แล้ว ทำให้ เราไม่สามารถ รู้ว่าจะรู้ได้ ฉะนั้นมันจึงมี วาทกรรม เรื่อง พระเจ้า ที่เป็นผู้ creation ของทุกสิ่ง ทำให้เราอยู่ใน สำนึกว่าด้วย การเปนผู้กระทำ มากกว่าเปนผู้ถูกกระทำ มนุษย์วิทยา สมัยใหม่จึงวิพาก สำนึกดังกล่าว ให้ถอยมาใช้ being เล็ก เพื่อมองว่าเราเปนส่สนหนึ่ง ของวัตถุ ที่ถูกศึกษา มันจึงเปน สายธารใหม่ ใหญาของญาณวิทยา ซึ่งภาพฉายดังกล่าว เคยปรากฏมาในช่วง romanticism หรือ สัจนิยม ที่พยายามความเข้าใจต่อสำนึกใหม่ ของมนุษย์กับการศึกษาความงาม มาสู่การพัฒนาในช่วง realism แต่ยังคงอยู่ในขอบเขตของมนุษย์ด้วยกัน 

นัดคิดนักปรัชญา วิโนแกรน ย้ำถึง ความจริงในภาพถ่าย ที่ ภาพถ่ายทำหน้าที่ เปนภาพแทนของความจริง ของโลก  ว่า ผลงานอย่างภาพถ่าย หรือภาพวาด ปิโนแกรน จะเรียกว่า โลกในภาพถ่าย ไม่ใช่ภาพถ่ายของโลก สำหรับภาพถ่ายแล้ว มันคือ ภาพแทนของคนถ่าย ไม่ใช่ภาพถ่ายของโลก 

สิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้  known known ปรากฎการฌ์นี้ มาในช่วงวิทยาศาสตร์เป็นใหญ่ เหตุผลนิยม 

สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเรารู้ unknown known ปรากฎการณ์นี้ มาในช่วง ภาษานิยม โลกเต็มไปด้วยสัญญะ เต็มไปด้วยอคติ  เราแยกไม่ออกในสิ่งที่เราถูกกำกับ   

สิ่งที่ไม่รู้ว่าเราไม่รู้ : 2 มิติ คือ บางสิ่งเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่ กับ บางอย่างไม่อนุญาตให้เรารู้ อย่างสาย เทวนิยม 

สิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้ : ปรากฎในช่วง การหาความจริงหลายระดับ โดยเฉพาะกลุ่ม romanticism / realism neo Plato ว่าด้วยความจริงในจินตนาการ เราเขื่อในความจริงในระดับ จิตสำนึก โดยเริ่มจากเพลโต มาขยาย นั่นค่อ โลกแห่งแบบ มาเปนภาวะจิตนิยม 

สิ่งเหล่านี้  เราอาจสรุปได้ถึง การพัฒนาเครื่องมือ ได้มาซึ่งความรู้ category ที่ดูอ่อนสุด ค่อ เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ คือ มนุษย์มีข้อจำกัดทางเข้าถึงคยามรู่ แต่อีกมิติ ที่มีสิ่งที่ดำรงอยู่แต่มองไม่เห็นอย่าง เชื้อโรค วิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาได้ แต่บาวอย่างที่ไม่อนุญาตอันนี้ เราไม่สามารถสร้างเครื่องมือได้ 

ทำให้นักปรัชญารุ่นลังอย่าง รอย บาสกา เสนอข้อสรุปวิธีการอธิบายปรากฏการณ์ การมองโลก 2 แบบ คือ ระบบปิด และระบบเปิด

Art for art sake เปรียบเสมือนสายสิญจน์กั้นตัวมันออกจากโลกภายนอกหลังศตวรรษที่14 หรือหลังจากรับใช้ ศาสนจักรมานมนาน หันมาศรัทธาความเป็นมนุษย์มากขึ้นนั้น ทำให้สถานะศิลปะเปลี่ยนไป ผลงานมากมายรับใช้ความจริง Spirit แห่งยุคสมัย สะท้อนมิติความจริงของมนุษยชาติ ให้ความดีกันต่างวาระ ต่างรูปแบการนำเสนอ พอเริ่มต้นเข้าสู่ Human Center ที่ขับเคลื่อนด้วย freewill จากคำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์ราวกับ god version modern ของ เรเน่ เดอการ์ด : I think therefore I am ทำให้มนุษย์ตื่นรู้ทางปัญญา เป็นอิสระทางความคิดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำนึกแบบ Ronald ในหมวด ฉันรู้ ว่าฉันรู้ ไปสู่ ฉันรู้ ว่าฉันไม่รู้ แยก Circle : ความจริง ความดี ความงาม ออกจากกัน แต่สัมพันธ์กันแบบ Share ความหมาย หากยังติด ทับซ้อนกัน มนุษญ์ไม่มีพบความเป็น freewill จาก. ศาสนจักร เป็นแน่แท้ ฉันรู้แล้วว่าฉันม่รู้นี้เปิดทางสู่การหาเครื่องมือใหม่ โดยเฉพาะการค้นพบทวีปอเมริกา โคลัมบัส การมาซึ่งโลกกลมแรงโน้มถ่วง นิวตัน แต่บรรยากาศยังคงตื่นตัวกับวิทยาศาสตร์ ในฐานะการหาความจริง ไร้ซึ่ง ความจริง แบบศาสนจักร แต่หลังจากปฎิวัติอุตสาหกรรม สำนึกมนุษยชาติเปลี่ยน Cultural Turn สู่สำนึกแบบ แบบช่วงต้นของ ฉันไม่รู้ว่า ฉันรู้ ทำให้วิทยาศาสตร์ยกระดับสู่ Utility หรืออรรถประโยชน์ มากกว่าการหาความจริง ยิ่งยุคหลังโครงสร้างนิยม Post Modern  ฉันไม่รู้ ว่า ฉันรู้ ยิ่งเข้มข้น คื ไม่สนใจว่าอะไรจริง ไม่จริงแต่ยอมรับสิ่งที่ไม่จริงตามความความที่มันให้ก็เพียงพอ ว่าด้วยเรื่อง การกำเนิดสัญญะ นยุคสมัย linguistic turn ภาษาศาสตร์ รื้อถอนโครสร้างนิยม 

หากเข้าใจกันแล้วถึงเหตุผลในการรียนความงามในฐานะปรัชญา ในหน้านี้จึงจะขอแบ่ง ปรัชญาบริสุทธิ์แบ่งออกเป็น 3 Domain ดังนี้ อภิปรัชญา (ปรัชญาที่ว่าด้วยการหาความจริงสูงสุด อาทิ โลกทำไมจึงกลม – ญาณวิทยา การหาคำตอบที่มาซึ่งความรู้ – และคุณวิทยา (วิทยาที่ว่าด้วยศีลธรรม จรรยา) โดยยกความงามให้อยู่ในข้อ คุณวิทยา ทั้งนี้คุณวิทยา ในตัวมันเองมีองค์ประกอบสำคัญ ที่ทั้งเป็นคุณูปการให้กับยุคหลังๆ และก่อร่างสร้างปัญหาในช่วงแรก ประกอบด้วย 3 เงื่อนไขอันสำคัญ ได้แก่ ความจริง ความดี และความงาม ในกรณีช่วงแรกที่ตัวมันไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน เมื่อมันเอามาทับซ้อน จึงเป็นที่มาของยุโรปถูกแช่แข้งในยุคมืดบอดแห่งปัญญา มาเกือบ 400 ปีได้ เพราะเอาเงื่อนไงที่สำคัญทับซ้อนกันอย่าง เอาความรู้ (ความจริง) ไปคู่กับความดี เอาเข้าจริงๆ มโนทัศน์ในบรรยากาศตอนั้นยังแยกไปออกระหว่าง ความจริงกับความรู้ที่ชัดเจน ดังที่จะแสดง ของ Donald Rumsfeld ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับวิถีวิธีการหาคำตอบในเรื่องความงามในด้านญาณวิทยา ontology ว่าด้วย 4 หมวดแห่งความเข้าใจในการด้าซึ่งความรู้ของมนุษย์กับวัตถุ กลับมาที่องค์ประกอบ ความจริง ความดี ความงาม ที่เป็นเงื่อนไขแห่งปัญหาในช่วงแรก เมื่อยุคแห่งความศรัทธาแบ่งบาน เงื่อนไขสำคัญคือ มโนสำนึกของคนในยุคนั้นถูกตรึงไปด้วยความเข้าใจว่า จะมีความรู้ต้องคู่ความดี จึงกลายเป็นคำที่สรุปได้คือ “ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว God”  แล้งชีวิตที่สุนทรีย์จึงจะเกิด 

สำหรับในวิชานี้จะเป็นการศึกษาปัญหาในตามแต่ละยุคสมัย โดยที่มีนักปรัชญาซ่อนในการขับเคลื่อน อยู่เบื้องหลังดังกล่าว ภาพเขียนที่พัฒนารูปทรง form จาก Figurative ไปสู่Non Figurative ล้วนมีนักคิด นักปรัชญาอยู่เบื้องหลัง ที่ให้คุณค่าตาม spirit แห่งยุคสมัย และบรรยากาศที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่ ยุคกลาง Mid-Eva โรเนอซอง ยุคสมัยแห่ง Human Centricism บาโรค รอคโคโค การรื้อฟื้นศิลปะสมัยเก่า นีโอเพลโต ได้เห็นวิธีการแก้เกมของศาสนจักร ท่ามกลาง มนุษยนิยม หรือหลังยุคการศรัทธาตัวบุคคล ยุค Pre Modern หรือยุค การตื่นรู้แห่งปัญญา ที่ขับเคลื่อนด้วย freewill เจตจำนงเสรี แห่ง ยุคสมัยใหม่ modernism สุดท้าย ยุคแห่งการปฎิวัติเกือบทุกด้าน ท้าทายทุกเรื่องที่ modern และ classic ทำไว้ การปฎิวัติทางภาษาเป็นตัวขับเคลื่อน

มี Keywords ที่สำคัญที่ Share กันอยู่ภายใต้การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ ความงามกับศิลปะ อย่าง บทบาทของนักปรัชญาแห่งยุคสมัย กรีกโบราณ กับการหาคำตอบอะไรที่ว่างาม สู่ต้นตอของเรื่อง อะไรคือสาเหตุที่ทำให้งาม ด้วยวิธีแบบปรัชญา ผ่านงานศิลปะอย่าง shool of athen  และการซ้อนทับกันระหว่าง 3 Circles : ความจริง ความดี ความงาม ความจริงถูกสื่อความด้วยภาพเขียน ที่ซึ่งเป็นภาพแทนความจริง representation ยุคสมัยโบราณมักสื่อสารความจริงผ่านผลงานศิลปะ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เพลโตพยายามต่อต้าน เพียงเพราะการตั้งคำถามที่ว่า อะไรคือ ความจริงสูงสุด Absolute of truth ผ่านงานเขียนของ ไมเคิล แองเจโล อย่าง the creation of adam ว่าด้วยมนุษย์เป็นตัวแทนของพระเจ้า สิ่งที่มนุษย์คิด มนุษย์เข้าใจ ล้วนมาจากพระเจ้า ที่เป็นซึ่งสูงสุดแห่งแบบ ฉะนั้นการจะเข้าใจความจริงต่างๆ = ความดี ย้อนกลับความดี คือ แบบอย่างพระเจ้า (ศาสนจักร) กำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นมานั่นเอง  ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว (circle ที่ซ้อนทับ) แต่เกิดเป็นแสงไฟนำทางความรู้บานใม่ขงมิติความงาม = ความเป็นระเบียบ ระเบียบ ? แห่งจักรวาล หรือ the order of cosmos  

ปรัชญาทางศิลปะถูกซ่อนใส่รหัสไว้ด้วยศิลปินอย่างราฟาเอล ด้วยเครืองมือทางศิลปะอย่างภาพเขียน School of Athen จุดตรงกลางของภาพคือ นักปราชญที่เข้ามาสร้างความคิด สำนึกรู้ของมนุษยชาติไปตอดกาล อย่าง เพลโต อริสโตเติล ที่ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันแบบครูกับลูกศิษย์ แต่ความคิดแตกต่ากันชัดเจนจากหรสภาษากายที่ราฟาเอลทิ้งไว้ เพลโต ชี้ขึ้น นั่นคือ โลกแห่งแบบ The World of Ideal และอริสฌตเติล ชี้ลง โลกแห่งผัสสะ จับต้องได้ มีอยู่จริงจากการสัมผัส อันที่จริงราฟาเอล ได้วาดตัวเค้าอยู่ในภาพเขียนให้จับผิดเล่นด้วย 

ขอเริ่มต้นการนำเสนอวิชาว่าด้วย ความงาม และความเข้าใจปัญหาทางความงาม ในแบบ Martin Hiedeger ในงานเขียน Being and Times ซึ่งเป็นงานเขียนที่หวือหวาและเต็มไปด้วยภาษาและการตีความที่ซับซ้อน ต้องรอให้งานเขียนบางเรื่องที่ใกล้เคียงกันออกมาก่อนแล้วย้อนกลัไปอ่านถึงจะเครีย ในตัว hiedeger ในความพยามที่จะสื่อความมาย มโนทัศน์หรือแนวคิดอันหนึ่งในงานเขียน Being & Times ที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาสุนทรียศาสตร์ คือ เรื่อง การตั้งกติกาว่าด้วย การแยกคำระหว่าง Spirit และ Mind ซึ่ง Spiritจะไปตรงกับงาเขียนของ เรเน เดอดการ์ด และ Soul ของเพลโตในความรู้ยุค classic ที่ให้ความหมายถึง จิต ที่ไม่ผูกสัมพันธ์กันกับร่างการ หรือผัสสะทางกายภาพ แบบอริสโตเติล กับ Mild ที่เป็นจิตเหมือนกันแต่ยังผูกติดกับผัสสะ ทางกาย หรือกายภาพ ที่ไปพร้อมกันขณะที่สำนึกรู้ ฉะนั้นหาเปรียบเทียบ คำที่คล้ายกันที่สร้างความหมายชัดเจนในด้านตีความควางาม นั่นคือ Spirit จะเท่ากับ Intuition หรือการรู้ได้ด้วยสำนึกรู้ของตเองแต่บอกสาเหตุไม่ได้ กับ Mild = logic ตรรกะ หรือการมีอยู่ของเหตุผล หากให้ยกตัวอย่าง ในสวนที่สวยงาม เรา หากไปในฐานนักท่องเที่ยว เราจะอิ่มแอมกับความสวยงามขงธรรมชาติและสวนดอก นั่นคือ Spirit /Intution ทำงาน เพราะความงามไม่หวังซึ่งผลประโยชน์ มันมาเพื่อทำให้เรารู้สึกอิ่มแอม เพลิดเพลินยกรับจิต อีกด้าน หาก เรา ในฐานะคนจัดสวน ทุกขณะที่เราจัดเรียงดอกไม้ มัมาด้วยเหตุผลเชิงประโยชน์ คือ ทำงานให้เสร็จและรับเงินกลับบ้าน เราจะลืมความงามทามกลางดอกไม้ทันที แต่หน้าที่ให้เสร็จความรับผิดชอบเข้ามาแทน สิ่งนี้ Heidegger เรียกว่า Funsion = logic = Mild 

                                                                 สรุปวิชาสุนทรียศาสตร์ คือ สิ่งที่เรากำลังดีลกันระหว่าง มนุษย์ในฐานะผู้รับ แล้วจะมีทฤษฎี Democacy of object เข้ามาอีกที คือ เราในฐาระผู้รับจะมองว่าเป็น agen หรือ มองในฐานะส่วหนึ่งองวัตถุศึกษา กับวัตถุที่เป็นฝ่ายแสดงตัวแห่งความงาม เราศึกษาและให้ความสำคัญกับดีลนี้นั่นเอง

                                                                ฉะน้นจึงแบ่งออกเป็น 2. หมวดหลักๆ คือ ทฤษฏีวัตถุวิสัย:  ทฤษฏนี้เชื่อว่าความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุเอง ความงามเป็นสิ่งที่ติดตัวมากับัตถุนั้นๆ อยูแล้ว และยังคงเป็นอยู่ตลอดไป เราอาจอธิบายแบบนี้ได้ว่า สื่อกลางทางการรับรู้ความงาม = ตัววัตถุนั่นเอง

ทฤษฏีจิตวิสัย : ทฤษฏนี้เชื่อว่าความงามไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของวัตถุ คุณสมบัติวัตถุเป็นเพียงเงื่อนไขทางคุณค่า เป็นกติกา เป็นรหัส ให้เราเรียนรู้ แยกแยะได้ในระดับหนึ่ง อะไรความงาม ไ่ม่งาม มนุษย์หรือผู้รับต่างหากที่เป็นตัวกำหนดคุณค่านั้นๆ

                                                                ตัวอย่าง การวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะ ด้วยนักข้อถกเถียง ว่าด้วยปัญหาทางสุนทรยศาสตร์ อย่างไรถึงเรียนว่างามในคุณค่าของงานชิ้นนี้ ภาพเขียน The Pair of Shoes คู่นี้ ยังนำมาสู่งานเขียนและบทความของ Heidegger ใน Being & Times ถึงการแสดงสถานะ Being หรือExis การมีอยู่ของ Subject และ agen โดยศิลปิน สิ่งใด ที่ เป็น Being ในกรณีของ Being & Times Hiedegger นี้ เสนอว่า Being ใหญ่ ด้วย ศิลปิน ที่มีบทบาทเป็น agen หรือ ผู้ควบคลุม อะไรแสดงความเป็น exis ในภาพวาด หากภาพชินนี้ ไม่ได้เป็นของ แวนกาะ คุณค่าเชิง being เล็กยังมีอยู่ไหม แล้วคือรองเท้าใคร อะไรคือความจริงที่ภาพเขียนชิ้นนี้แสดงตัวออกมา ต่อมาอีกข้อเสมอคือ หากภาพไม่มีลายเซ็น ยังมีคุณค่าทาง Being ใหญ่อยู่ไหม หรือลายเซ็นถูกพลักออกเทียบเท่ากรอบรูป เป้นแค่ปัจจัยภายนอก ความจริงของ being เล็กต่างหากที่นำเสนความจริง น้ำหนักดังกล่าวเราจะให้คุณค่าความจริงกับอะไร 

อาจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

สุนทรียศาสตร์ กับศิลปะดิจิทัล

ออกแบบเว็บไซต์

Relational Aesthetics สุนทรียศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ ในศิลปะยุคดิจิทัล (นิวมีเดีย)

การตอบสนองทางสุนทรีย์ (aesthetic response) (ซึ่งเดิมทีถูกพัฒนามาจากการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงวรรณกรรมเพื่อค้นหาผลกระทบที่มีต่อผู้อ่าน) ควรจะถูกพบในบริบทกว้าง ๆ ของหลายทฤษฎีที่เน้นในเรื่องโครงสร้างของงานที่กระตุ้นในเกิดประสบการณ์เชิงสุนทรีย์ (aesthetic experience) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ในขอบเขตของทฤษฎีที่มุ่งเน้นด้านสัญศาสตร์ของงานศิลปะโดยผ่านมุมมองทางปรัชญาของแนวคิดเกี่ยวกับ ช่วงก่อนการศึกษาพฤติกรรมสังคม (post-structuralism) ของ Umberto Eco และ วิธีการว่าด้วยศาสตร์ของปรากฎการณ์ (phenomenological approaches) ที่มีต่อกระบวนการอ่านของ Wolfgang Iser

The open work of art (ลวดลายของศิลปะ)

                  พูดถึงการวิจัยของ Umberto Eco ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของผู้ชมในการทำความเข้าใจงานศิลปะ โดยการศึกษาจากงานวรรณกรรม เพลง และทัศนศิลป์ที่ให้ความอิสระทางความคิดแก่ผู้ชม อันได้แก่ ผู้อ่าน ผู้ตีความ หรือผู้สังเกตการณ์ในการทำความเข้าใจงานศิลปะ โดยเขานิยามว่า การเปิดกว้างทางความคิดนี้ว่าเป็นการใช้เหตุผลการคิดคำนึงของผู้ชมผู้ซึ่งสามารถตีความข้อมูลเชิงศิลปะได้อย่างอิสระ ทั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่ ผู้ชมจะเข้ามามีส่วนร่วมในชิ้นงานที่มีลักษณะของการเปิดกว้างทางความคิด มีความเคลื่อนไหว และมีการเชิญชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานร่วมกับศิลปิน โดยตัวศิลปินเองจะมีบทบาทในการเล่นหรือควบคุมความเป็นไปได้ของการตีความและเงื่อนไขสำคัญบางอย่างของผลงานชิ้นนั้น ๆ ซึ่งลักษณะที่สำคัญของงานแบบนี้คือ จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนหรือเป็นสิ่งที่ยังมีโครงสร้างไม่สมบูรณ์

                  ดังนั้น สิ่งที่กล่าวถึง คือ ความสมดุลระหว่าง “โอกาส” และ “การควบคุม” ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง “การเปิดรับ” และ “การตัดสินล่วงหน้า” และบ่อยครั้งที่ทั้ง 2 กรณีนี้ ยังอยู่บนประเด็นของการถกเถียงเกี่ยวกับ interactive art

The blank space (ช่องว่าง)

                  คำว่า ช่องว่าง (The blank space) เป็นคำศัพท์เฉพาะทางที่ Wolfgang Iser ยืมมาจากทฤษฎีข้อมูล (information theory) ในข้อโต้แย้งของเขาที่ว่า “เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (contingency)” เป็นปัจจัยหนึ่งที่ชักนำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ เขาเชื่อว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (contingency) เกิดขึ้นจากการสื่อสารแบบตัวต่อตัวเมื่อวิธีการเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่ได้ถูกปรับให้สอดคล้องกัน และจำเป็นต้องมีการตีความในส่วนของคู่สนทนา

                  เขาแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับผู้อ่านจากสถานการณ์แบบตัวต่อตัวซึ่งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ว่าเนื้อหาจะไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อ่านคนใหม่ได้ ในขณะเดียวกัน ผู้อ่านเองก็ไม่รู้ว่าการตีความของเขานั้นถูกต้องหรือไม่ นอกจากนั้น กรอบบริบทและวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจสามารถช่วยให้เกิดการตีความได้นั้นก็มีอย่างจำกัด อีกทั้ง พื้นฐานของการสื่อสารแบบตัวต่อตัวนั้น อาศัยเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างวิธีการเกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนั้น

ทั้งการสื่อสารแบบต่อตัวต่อตัวและความสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับเนื้อหา จึงขึ้นอยู่กับ “รากฐานที่ไม่สมดุล (fundamental asymmetry)” จากทั้ง 2 กรณี Iser พิจารณาว่า ช่องว่างดังกล่าวนี้เป็นเหมือนการกระตุ้น ดังนั้น “สิ่งต่าง ๆ อันได้แก่ ความไม่สมดุล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน รวมถึงความว่างเปล่า คือ รูปแบบที่แตกต่างกันขององค์ประกอบของช่องว่างที่ไม่ชัดเจน ที่แอบมีอิทธิพลต่อกระบวนการทั้งหมดของการปฏิสัมพันธ์ Iser เชื่อว่า องค์ประกอบของช่องว่างนี้จะถูกเติมเต็มด้วยภาพที่วาดไว้หรือแผนการที่วางไว้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ในช่วงเวลาของการปฏิสัมพันธ์

                  ตามความเห็นของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ แนวคิดของเหตุการณ์ไม่คาดฝัน (contingency) และความไม่สมดุลดูจะมีประโยชน์มากกว่าในแง่ของ interactive art เมื่อเทียบกับแนวคิด­เกี่ยวกับช่องว่าง (blank space) ทว่า นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้สนับสนุนแนวคิด blank space ในฐานะของกระบวนทัศน์ของสุนทรียศาสตร์ในการรับรู้และในฐานะของการเป็นเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) สำหรับการทดสอบอย่างมีวิจารณญาณของ interactive art

Wolfgang Kemp ไม่ได้มอง interactive media art ว่าเป็นประเภทของศิลปะที่สามารถกระตุ้นผู้ชมได้ แต่เขากลับมองโครงสร้างของ interactive media art ว่ามีแนวโน้มที่จะกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการก่อให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดหรือความสัมพันธ์เชิงสนทนากับผู้สังเกตการณ์ เขากล่าวว่าการโต้ตอบกับศิลปะแบบ interactive media art จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร แทนที่จะเป็น “การใช้เทคโนโลยีในการทำให้เกิดการสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน… พันธะผูกพันที่สำคัญที่สุดของศิลปะแบบนี้ อันหมายถึงการหาแนวทางปล่อยให้ผู้สังเกตการณ์เป็นอิสระ คือการนำไปสู่การตั้งโปรแกรม” Kemp โต้แย้งว่า เสรีของการเลือกสามารถถูกจำลองได้แต่ไม่ใช่การถูกวางโปรแกรม หรือ “มีเพียงแค่ทางเลือกจอมปลอมเท่านั้นที่สามารถถูกวางโปรแกรมได้”

Dieter Mersch ได้โต้แย้งถึง “ศิลปะคอมพิวเตอร์ (computer art)”ในแง่ของการถูกจำกัดด้วยการวางโปรแกรมและกำหนดพฤติกรรม (determinism) ของระบบ ซึ่งเขาถือว่าสำหรับศิลปะประเภทนี้ แม้แต่สิ่งที่คาดเดาไม่ได้ก็ยังต้องการกฏเกณฑ์ที่จะทำให้มันคาดเดาได้

ข้อโต้แย้งเหล่านี้ควรจะถูกทำความเข้าใจในฐานะของปฏิกิริยาที่มีต่อผู้ชมในช่วงปี 1990s ที่ media art ถูกคาดว่ามีผลกระทบในเชิงโครงสร้างสำหรับสังคมสื่อ (media society) และต้องพึ่งพา interactive art ในการให้อิสระแก่ผู้ชม รวมถึงเปลี่ยนผู้ชมจากผู้สังเกตการณ์มาเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ การโต้แย้งเหล่านี้ให้สมมติฐานว่า interactive media art จะเป็นหนทางไปสู่การเปลี่ยนตำแหน่งในการมีส่วนร่วมของกลุ่มหัวก้าวหน้าสมัยใหม่ (neo avant garde) ไปสู่สื่อดิจิตอล

ในที่สุดการโต้แย้งนี้ได้กลายเป็นการตอบสนองต่อการประเมิน interactive media art ในฐานะของงานศิลปะที่เปิดกว้างทางความคิดโดยการสามารถทำให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่าอยู่นอกเหนือขอบเขตของการโต้ตอบที่ถูกเปิดกว้างโดยช่องว่าง (the blank space) ซึ่งอยู่ในงานวรรณกรรมหรือภาพวาด ดังที่เราเห็นจะว่า interactive media art นั้น เดิมทีไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบของความหมายที่ผู้ชมต้องเติมเต็มให้สมบูรณ์หรือแม้แต่การสร้างขึ้นด้วยวิธีของการเชื่อมโยง หากแต่ขึ้นอยู่กับการเชื้อเชิญผู้ชมให้เข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการ (processual) ด้วยการให้ผู้ชมมีการตอบสนองผ่านการกระทำของพวกเขาเอง ซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์งานร่วมกันนี้อาจจะมีบทบาทสำคัญในงานศิลปะเชิงตอบโต้บางชิ้น ซึ่งพวกมันไม่สามารถถูกพิจารณาให้เป็นลักษณะสำคัญของศิลปะแนวนี้ได้

ดังนั้น ถ้าสื่อถูกใช้ในงานศิลปะ หรือในทางกลับกัน ถ้าประสบการณ์ทางศิลปะถูกชักนำผ่านสื่อ เช่นนั้น สิ่งนี้ก็เป็นเสมือนการสะท้อนของแรงตึงซึ่งมีอยู่ในความสัมพันธ์

Inline by อาจารย์ ดร พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ