กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์
การ รับงานออกแบบสิ่งพิมพ์
สิ่งที่ต้องคำนึง คือ หลักการเรื่อง การออกแบบ กริดในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น นักออกแบบจะสื่อสารแนวความคิด โดยการนำองค์ประกอบต่างๆ ทั้งในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นภาพ ส่วนที่เป็นตัวอักษร และส่วนที่เป็นองค์ประกอบทางการออกแบบ อื่นๆ มาจัดวางอยู่รวมกันในพื้นที่หน้ากระดาษโดยอาศัยหลักการทางการออกแบบเพื่อให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่สวยงาม หากสิ่งพิมพ์ที่ทำการออกแบบเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีหน้าหลายหน้า เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร นักออกแบบยังต้องมีภาระเพิ่มเติมขึ้นจากการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษแต่ละหน้าให้สวยงาม คือ ต้องพยายามในการควบคุมให้ภาพรวมของทุกๆ หน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือกลมกลืนกัน เพื่อให้สิ่งพิมพ์ทั้งเล่มดูมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะอาศัยการจัดวางตามหลักการออกแบบแล้ว นักออกแบบเรขศิลป์ยังมีเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างสูง เครื่องมือนั้น ก็คือ ระบบกริด (grid system) ระบบกริดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อนแบ่งซอยพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่เดียว โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็นมุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษหากจะเปรียบเทียบการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษกับการสร้างบ้านเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนซึ่งประกอบกันเป็นตารางนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหน้ากระดาษเปรียบเสมือนเสาและคานซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้าน ส่วนภาพหรือตัวอักษรซึ่งนำมาวางลงในตารางนี้ก็เปรียบเสมือนฝาผนังและประตูหน้าต่างที่นำมายึดติดเอาไว้กับเสาและคานในภายหลัง
ระบบกริด นี้เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการออกแบบเพราะระบบกริดจะมีส่วนช่วยในการจัดวางองค์ประกอบในด้านตำแหน่งและขนาด 2 ประการ คือ
- ช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการจัดวางองค์ประกอบ โดยในการจัดวางองค์ประกอบ ลงในหน้ากระดาษนั้น นักออกแบบสามารถจะจัดวางองค์ประกอบ ลงไปตามแนวเส้นกริดได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยในการกำหนดขนาดขององค์ประกอบ โดยนักออกแบบ สามารถเลือกที่จะใช้ขนาด พื้นที่ที่ถูกแบ่งให้เล็กลงในหน้ากระดาษ เป็นตัวช่วยกำหนดขนาด ขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ความกว้างของคอลัมน์ ความกว้างยาวของภาพ
ส่วนประกอบที่สำคัญของ กริด
ในการนำระบบกริดมาใช้ในการออกแบบนั้น จะต้องทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดเสียก่อน โดยส่วนประกอบที่สำคัญ มีดังนี้- 1) ยูนิตกริด (grid unit) คือ ส่วนประกอบที่เป็นพื้นที่ย่อยที่เกิดขึ้นจากเส้นในแนวตั้งและแนวนอนที่ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ย่อยเหล่านี้จะใช้ในการวางองค์ประกอบต่างๆ โดยในพื้นที่หน้ากระดาษหนึ่งๆ นั้นจะมียูนิตกริดจำนวนเท่าใดก็ได้ และแต่ละยูนิตกริดจะมีขนาดเท่ากันหมดหรือแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
- 2) อัลลีย์ (aliey) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างยูนิตกริดแต่ละยูนิตที่ร่วมกันอยู่เป็นกลุ่ม ในการออกแบบกริดส่วนใหญ่นิยมมีอัลลีย์เพราะจะช่วยให้เกิดการอ่านได้ง่ายเมื่อวางตัวอักษรลงไปในยูนิตที่อยู่ติดกัน คือ จะเกิดเป็นช่องว่างคั่นอยู่ระหว่างแต่ละคอลัมน์ อย่างไรก็ตาม ในสิ่งพิมพ์บางอย่างอาจจะไม่มีส่วนประกอบนี้ก็ได้ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีภาพประกอบมากๆ หรือภาพประกอบขนาดใหญ่โดยไม่มีส่วนที่เป็นข้อความมากนัก
- 3) ชอบว่าง หรือ มาร์จิน (margin) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างโดยรอบกลุ่มยูนิตกริดทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วจะนิยมออกแบบยูนิตกริดให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบทั้ง 4 ด้านไว้เนื่องจากหากมีการวางองค์ประกอบลงไปในบริเวณขอบเหล่านี้ก็อาจจะขาดหายไปในตอบที่ทำการเจียนขอบกระดาษได้ (ยกเว้นการใช้ภาพตัดตก) ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากองค์ประกอบนั้นเป็นตัวอักษรข้อความ ดังนั้นจึงนิยมที่จะเว้นที่ว่างให้รอบๆ ขอบทั้ง 4 ด้านของกลุ่มยูนิตกริด
- 4) กัดเดอร์ (gutter) คือ มาร์จินในส่วนที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวาของสิ่งพิมพ์ ซึ่งเหตุผลในการเว้นนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการเว้นมาร์จิน เพราะหากไม่มีการเว้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาในการอ่านเมื่อนำเอาหน้าทั้งหมดของสิ่งพิมพ์นั้นมาเย็บเล่มเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหนังสือที่มีความหนา การเว้นที่เว้นว่างในส่วนนี้ไว้จะช่วยให้นักออกแบบไม่ลืมว่าไม่ควรวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในบริเวณนี้
- 1) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา (repeat) นิยมใช้กับในสิ่งพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
- 2) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งในหน้าซ้ายและหน้าขวา แต่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน (mirror) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันในสิ่งพิมพ์ทั่วไปในหนังสือ นิตยสารแผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
- 3) ใช้กริดที่หน้าซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้ว ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นักออกแบบมักจะเลือก 2 ทางเลือกแรกมากกว่าทางเลือกที่3 ซึ่งมีน้อยมาก และมักจะใช้ในกรณีที่เป็นหนังสือเท่านั้น
ประเภทระบบกริด
ประเภทระบบกริด ระบบกริดที่เป็นที่นิยมใช้กันในการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้- 1) เมนูสคริปต์ กริด (Manuscript Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุดกว่าจะระบบกริดประเภทอื่นๆ การพิมพ์หนังสือในสมัยโบราณจะใช้ระบบกริดในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตที่สี่เหลี่ยม 1 ยูนิต โดยมีขนาดใหญ่เกือบเต็มหน้า และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความจำนวนมากและมีขนาดยาวต่อเนื่องกัน และไม่มีภาพประกอบหลากหลายมากนัก เช่น หนังสือ
- 2) คอมลัมน์ กริด (Column Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้งซับซ้อนมากกว่า เมนูสคริปต์ กริด รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิตโดยแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นทางตั้งออกเป็นคอลัมน์คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า ขนาดความกว้างของแต่ละคอมลัมน์จะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างคอลัมน์ และมีมาร์จินล้อมรอบ
- 3) โมดูลาร์ กริด (Modular Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากกว่าสองประเภทแรก รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยและเหมาะกับการใช้ในสิ่งที่มีการออกเผยแพร่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- 4) ไฮราซิเคิล กริด (Hietrarchical Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อน และแปลกเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นเฉพาะกรณี รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริลสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแต่ละยูนิตมีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ จะมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิตหรือวางซ้อนทันกับก็ได้ และจะมีหรือไม่มีมาร์จินล้อมรอบก็ได้กริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและภาพอยู่ด้วย เช่น หนังสือที่มีภาพประกอบจำนวนมาก แคตตาล็ก หรือโปสเตอร์