BANGKOK GRAPHIC

ประวัติ และปรัชญาทางสุนทรียศาสตร์

ประวัติ และปรัชญาทางสุนทรียศาสตร์

ผศ.ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

วิชา สุนทรียศาสตร์ 

            เป็นวิชาที่ว่าการเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความงามในแง่นี้จะเน้นไปที่การศึกษาปรัชญาทางความงามด้านศิลปะ อะไรเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความงาม หือความงามเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้คำว่าสุนทรยศาสตร์เพิ่งเกิดขึ้นช่วง ศตวรรษที่ 18 โดย บอมการ์เทน ฉะนั้นก่อนหน้านั้นยังไม่พบว่ามีมโนทัศน์เกี่ยวกับ สุนทรยะแต่อย่างใด เริ่มแรกที่ ความงาม ถูกตั้งคำถาม และเกิดการจดบันทึกจะพบได้ในยุคสมัยแห่งต้นน้ำทางความรู้ของมนุษยชาติอย่าง ยุคสมัยกรีกโบราณ ที่มนุษย์เจริญไม่แต่อารยธรรม บ้านเมือง แต่ยังเจริญสูงไปด้วยปัญญา จึงก่อเกิดนักปรัชญาที่มีชื่อเสียง เป็น School มากมาย เมื่อคำถามถึง ความรู้สึกอะไรที่ว่างาม และเกิดขึ้นได้อย่างไรมีขึ้นในสมัยนี้ แน่นอนเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการตอบย่อมอยู่ในบริบทของปรัชญา 

            เริ่มแรกที่จะศึกษาในรายวิชา ต้องแยกความแตกต่างของคำว่า สวย กับ คำว่า งาม ออกจากกันโดยคุณสมบัติและเงื่อนไขก่อน ทั้งนี้เพราะ Sense ผัสสะเบื้องต้นมันทำงานใกล้เคียงกัน สวย กับ งาม มันต่างกันที่เงื่อนไขของเวลา ความงาม เป็นความสุข อิ่มใจ เพลิดเพลิน ที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับสวย แต่ งาม จะมีความจีรังกว่า

            หากเปรียบเทียบ Subject หรือวัตถุที่นิยมกันในหมู่ศิลปิน ความนิยมนำมาสรรค์งานศิลปะ เรามักจะพบว่า ความสวย จะไม่รับความสนใจเพราะมันแทบจะจบในตัวมันเอง สิ่งใดเล่าที่ศิลปินจะนำมาเล่าใหม่ หรือจะเหลือพื้นที่ใดในการทำงานด้านความงามผ่านผลงานทัศนศิลป์ ประติมากรรมต่างๆ แต่หากลองดู Subject อย่างคนชรา ริ้วรอย ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์แห่งชีวิตที่ให้มามันมีเนื้อหาในนั้นมากเพียงพอที่ศิลปินจะหยิบยกมาเป็นแรงแห่งบันดาลใจ มีพื้นที่ มีเนื้อหา เพียงพอที่จะรังสรรค์สร้างเสน่ห์บนพื้นผ้าใบให้ก่อเกิดภาวะแห่งความงาม ได้อย่างน่าสนใจ ตรงตามองค์ประกอบแห่งเงื่อนไขทางปรัชญาที่ว่าด้วย ความจริง :  สะท้อนมิติมุมมองอะไรบางอย่างอย่าง ความดี : ภายใต้ริ้วรอยแห่งประสบการณ์สั่งสม คนคนหนึ่ง ให้สามารถเห็นถึงความเที่ยงจริงแท้อะไรบางอย่า ตระหนักรู้ถึงวันเวลที่เปลี่ยนไปอย่างไม่ประมาท ความดีตรงนี้ก็ทำงานและแสดงให้เห็นเชิงะจักษ์ผ่านผลงานที่สร้างขึ้นจากเนื้อหาที่ศิลปินคัดสรรจากธรรมชาติแต่เลือกมาเล่าเรื่องใหม่ บริบใหม่ ความเข้าใจใหม่ๆ ความงาม : จึงสะท้อนอกมาเพราะมันเป็นอมตะ หากแม้แต่คุณยายจะไม่อยู่ในผัสสะชีวิตจริง แต่ภาพเขียนที่เปรียเสมือนภาพแทนคุณยายแต่ไม่ใช่คุณยายที่ใครๆ จารู้จัก (อันนี้เป็น Spirit หนึ่งของบรรยายากาศหลังยุค Romantic – Realistic) หาใช่จดจำตัวบุคคล แต่ให้จำการตักเตือนในแง่การใช้ชีวิต อันนี้ต่างหากที่ความงามอันจีรังทำหน้าที่ 

ความงาม :  เป้าหมายคือเพื่อยกระดับมาตราฐานทางจิตใจ ฉะนั้นในที่นี้เราจะพูดแตกออกไป 2 ประเด็น  การนิยาม การให้ความหมายคำนี้ จำเป็นต้องใช้ปรัชญา เพราะ… หาใช่ว่า จะตอบคำถามโดยใชตรรกะอะไรบางอย่างที่เพียงพอ มันยังคงเป็นขอพิพากระหว่าง ศิลปะ หรือ ความงามอะไรที่มาก่อนกัน และที่มาของศิลปะต้องตอบหลังจากเกิดความรู้สึกว่างามใช่หรือไม่ ฉะนั้นมันทั้งคู่จึงจัดอยู่ใน เรื่อเดียวกัน ศิลปะจึงสามารถ Share กันได้ในองค์ประกอบ ความจริง ความดี ความงาม = ศิลปะ หากเช่นนั้น ความงามยกระดับจิตใจ ศิลปะ ก็ยกระดับความจริง ในฐานะภาพแทนความจริงไปสู่จุดสูงสุดในระนาบเดียวกันกับ วิทยาศาสตร์ในช่วงท้ายๆ ของเนื้อหา แต่แยกทางเดินในเรื่อง Utility เพราะสุดท้าย ศิลปะ มีแค่ประโยชน์ นั่นคือ ความงาม ในยุคปัจจุบัน ในนาม Art for Art sake ศิลปะไม่ควรขึนกับใคร = ไม่ควรหาประโยชน์จากศิลปะ

หากยังควมองหาประโยชน์ในงานศิลปะ งานอย่าง the sream ของ edvardMund คงไม่โด่งดั่ง เป็นตัวแทนความเจ็บปวดของมนุษยชาติ ถือเป็หนึ่ในผลงาน master พีช นหนึ่งของโลก

ภววิทยา ของวัตถุ คือ การศึกษาการเำรงอยู่ของวัตถุ exist ในขณะเดียวกัน ในด้าน ณาณวิทยา ศึกษาไปพร้อมกัน เพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง ความรู้ ทีีมีต่อวัตถุ โดยวิพาก โต้แย้ง เมื่อเราพูดถึงความรู้ จะเปน agen กับการให้ความสำคัญ ของ บุคคล บทบาท ของวัตถุของ ด้อยลง มันจึงเปนเรื่อง ภาพแทน ของ ปรากฎการทางความรู้ สำนึกรู้ 

เช่น แน่นอน มด ไม่สามารถ มีความรู้ ความเข้าใจ ของตัวมันเอง แต่ มนุษย์ ซึ่งเปนผู้ศึกษา ต่างหาก ที่เปนผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ มด หรือง่ายๆ ว่า เรารู้จัก มด ผ่าน แว่น ความรู้ ของมนุษย์ด้วยกันเอง แล้ว อุปโลกน์ สร้าง วัฒนธรรม สังคม แห่ง ข้อมูลดังกล่าว so ทำให้ อันที่จริงแล้ว ฌานวิทยา ยืนอยู่บน ทางแยก ระหว่าง พหุ ทางธรรมชาติ ที่ซึ่ง มนุษย์เปนผู้สร้างภาพแทน สู่วัฒนธรรม แยกออกระหว่าง ผู้รู้ กับผู้ที่ถูกรู้ ออกจากกัน ทุกครั้งที่เราศึกษา คงามจริง ในวัตถุ ธรรมชาติ แท้ที่จริงแล้ว เรา ศึกษา พหุ ภาพแทนดั่งกล่าว ที่มนุษย์สร้างนั่นเอง หาใช่วัตถุ โดยตรง  ดังนั้น ความรู้ ความงาม ที่เรามี มันจึงเปนเพียงควาทสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเรา Being กับ object ซึ่ง เรา ในฐานะผู้มีความรู้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ object 

ความรู้จึงถูกแบ่ง เปน 3 category : เรารู้ว่าเรารู้ /  เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ / เราไม่รู้ว่าเรารู้ 

การหันมาสนใจ ภาววิทยา วิพาก ณาณวิทยา  ที่ยืนอยู่บนสมมุติ ว่าด้วย วัตถุ เราไม่สามารถเข้าถึงได้  เนื่องด้วย วัตถุ โดยเฉพาะธรรมชาติ มันถูกจัดหรือถือกำเนิดของมันมาอยู่แล้ว ทำให้ เราไม่สามารถ รู้ว่าจะรู้ได้ ฉะนั้นมันจึงมี วาทกรรม เรื่อง พระเจ้า ที่เป็นผู้ creation ของทุกสิ่ง ทำให้เราอยู่ใน สำนึกว่าด้วย การเปนผู้กระทำ มากกว่าเปนผู้ถูกกระทำ มนุษย์วิทยา สมัยใหม่จึงวิพาก สำนึกดังกล่าว ให้ถอยมาใช้ being เล็ก เพื่อมองว่าเราเปนส่สนหนึ่ง ของวัตถุ ที่ถูกศึกษา มันจึงเปน สายธารใหม่ ใหญาของญาณวิทยา ซึ่งภาพฉายดังกล่าว เคยปรากฏมาในช่วง romanticism หรือ สัจนิยม ที่พยายามความเข้าใจต่อสำนึกใหม่ ของมนุษย์กับการศึกษาความงาม มาสู่การพัฒนาในช่วง realism แต่ยังคงอยู่ในขอบเขตของมนุษย์ด้วยกัน

นัดคิดนักปรัชญา วิโนแกรน ย้ำถึง ความจริงในภาพถ่าย ที่ ภาพถ่ายทำหน้าที่ เปนภาพแทนของความจริง ของโลก  ว่า ผลงานอย่างภาพถ่าย หรือภาพวาด ปิโนแกรน จะเรียกว่า โลกในภาพถ่าย ไม่ใช่ภาพถ่ายของโลก สำหรับภาพถ่ายแล้ว มันคือ ภาพแทนของคนถ่าย ไม่ใช่ภาพถ่ายของโลก 

สิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้  known known ปรากฎการฌ์นี้ มาในช่วงวิทยาศาสตร์เป็นใหญ่ เหตุผลนิยม 

สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเรารู้ unknown known ปรากฎการณ์นี้ มาในช่วง ภาษานิยม โลกเต็มไปด้วยสัญญะ เต็มไปด้วยอคติ  เราแยกไม่ออกในสิ่งที่เราถูกกำกับ  

สิ่งที่ไม่รู้ว่าเราไม่รู้ : 2 มิติ คือ บางสิ่งเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่ กับ บางอย่างไม่อนุญาตให้เรารู้ อย่างสาย เทวนิยม 

สิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้ : ปรากฎในช่วง การหาความจริงหลายระดับ โดยเฉพาะกลุ่ม romanticism / realism neo Plato ว่าด้วยความจริงในจินตนาการ เราเขื่อในความจริงในระดับ จิตสำนึก โดยเริ่มจากเพลโต มาขยาย นั่นค่อ โลกแห่งแบบ มาเปนภาวะจิตนิยม 

สิ่งเหล่านี้  เราอาจสรุปได้ถึง การพัฒนาเครื่องมือ ได้มาซึ่งความรู้ category ที่ดูอ่อนสุด ค่อ เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้ คือ มนุษย์มีข้อจำกัดทางเข้าถึงคยามรู่ แต่อีกมิติ ที่มีสิ่งที่ดำรงอยู่แต่มองไม่เห็นอย่าง เชื้อโรค วิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาได้ แต่บาวอย่างที่ไม่อนุญาตอันนี้ เราไม่สามารถสร้างเครื่องมือได้ 

ทำให้นักปรัชญารุ่นลังอย่าง รอย บาสกา เสนอข้อสรุปวิธีการอธิบายปรากฏการณ์ การมองโลก 2 แบบ คือ ระบบปิด และระบบเปิด

Art for art sake เปรียบเสมือนสายสิญจน์กั้นตัวมันออกจากโลกภายนอกหลังศตวรรษที่14 หรือหลังจากรับใช้ ศาสนจักรมานมนาน หันมาศรัทธาความเป็นมนุษย์มากขึ้นนั้น ทำให้สถานะศิลปะเปลี่ยนไป ผลงานมากมายรับใช้ความจริง Spirit แห่งยุคสมัย สะท้อนมิติความจริงของมนุษยชาติ ให้ความดีกันต่างวาระ ต่างรูปแบการนำเสนอ พอเริ่มต้นเข้าสู่ Human Center ที่ขับเคลื่อนด้วย freewill จากคำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์ราวกับ god version modern ของ เรเน่ เดอการ์ด : I think therefore I am ทำให้มนุษย์ตื่นรู้ทางปัญญา เป็นอิสระทางความคิดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำนึกแบบ Ronald ในหมวด ฉันรู้ ว่าฉันรู้ ไปสู่ ฉันรู้ ว่าฉันไม่รู้ แยก Circle : ความจริง ความดี ความงาม ออกจากกัน แต่สัมพันธ์กันแบบ Share ความหมาย หากยังติด ทับซ้อนกัน มนุษญ์ไม่มีพบความเป็น freewill จาก. ศาสนจักร เป็นแน่แท้ ฉันรู้แล้วว่าฉันม่รู้นี้เปิดทางสู่การหาเครื่องมือใหม่ โดยเฉพาะการค้นพบทวีปอเมริกา โคลัมบัส การมาซึ่งโลกกลมแรงโน้มถ่วง นิวตัน แต่บรรยากาศยังคงตื่นตัวกับวิทยาศาสตร์ ในฐานะการหาความจริง ไร้ซึ่ง ความจริง แบบศาสนจักร แต่หลังจากปฎิวัติอุตสาหกรรม สำนึกมนุษยชาติเปลี่ยน Cultural Turn สู่สำนึกแบบ แบบช่วงต้นของ ฉันไม่รู้ว่า ฉันรู้ ทำให้วิทยาศาสตร์ยกระดับสู่ Utility หรืออรรถประโยชน์ มากกว่าการหาความจริง ยิ่งยุคหลังโครงสร้างนิยม Post Modern  ฉันไม่รู้ ว่า ฉันรู้ ยิ่งเข้มข้น คื ไม่สนใจว่าอะไรจริง ไม่จริงแต่ยอมรับสิ่งที่ไม่จริงตามความความที่มันให้ก็เพียงพอ ว่าด้วยเรื่อง การกำเนิดสัญญะ นยุคสมัย linguistic turn ภาษาศาสตร์ รื้อถอนโครสร้างนิยม 

หากเข้าใจกันแล้วถึงเหตุผลในการรียนความงามในฐานะปรัชญา ในหน้านี้จึงจะขอแบ่ง ปรัชญาบริสุทธิ์แบ่งออกเป็น 3 Domain ดังนี้ อภิปรัชญา (ปรัชญาที่ว่าด้วยการหาความจริงสูงสุด อาทิ โลกทำไมจึงกลม – ญาณวิทยา การหาคำตอบที่มาซึ่งความรู้ – และคุณวิทยา (วิทยาที่ว่าด้วยศีลธรรม จรรยา) โดยยกความงามให้อยู่ในข้อ คุณวิทยา ทั้งนี้คุณวิทยา ในตัวมันเองมีองค์ประกอบสำคัญ ที่ทั้งเป็นคุณูปการให้กับยุคหลังๆ และก่อร่างสร้างปัญหาในช่วงแรก ประกอบด้วย 3 เงื่อนไขอันสำคัญ ได้แก่ ความจริง ความดี และความงาม ในกรณีช่วงแรกที่ตัวมันไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน เมื่อมันเอามาทับซ้อน จึงเป็นที่มาของยุโรปถูกแช่แข้งในยุคมืดบอดแห่งปัญญา มาเกือบ 400 ปีได้ เพราะเอาเงื่อนไงที่สำคัญทับซ้อนกันอย่าง เอาความรู้ (ความจริง) ไปคู่กับความดี เอาเข้าจริงๆ มโนทัศน์ในบรรยากาศตอนั้นยังแยกไปออกระหว่าง ความจริงกับความรู้ที่ชัดเจน ดังที่จะแสดง ของ Donald Rumsfeld ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับวิถีวิธีการหาคำตอบในเรื่องความงามในด้านญาณวิทยา ontology ว่าด้วย 4 หมวดแห่งความเข้าใจในการด้าซึ่งความรู้ของมนุษย์กับวัตถุ กลับมาที่องค์ประกอบ ความจริง ความดี ความงาม ที่เป็นเงื่อนไขแห่งปัญหาในช่วงแรก เมื่อยุคแห่งความศรัทธาแบ่งบาน เงื่อนไขสำคัญคือ มโนสำนึกของคนในยุคนั้นถูกตรึงไปด้วยความเข้าใจว่า จะมีความรู้ต้องคู่ความดี จึงกลายเป็นคำที่สรุปได้คือ “ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว God”  แล้งชีวิตที่สุนทรีย์จึงจะเกิด 

สำหรับในวิชานี้จะเป็นการศึกษาปัญหาในตามแต่ละยุคสมัย โดยที่มีนักปรัชญาซ่อนในการขับเคลื่อน อยู่เบื้องหลังดังกล่าว ภาพเขียนที่พัฒนารูปทรง form จาก Figurative ไปสู่ Non Figurative ล้วนมีนักคิด นักปรัชญาอยู่เบื้องหลัง ที่ให้คุณค่าตาม spirit แห่งยุคสมัย และบรรยากาศที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่ ยุคกลาง Mid-Eva โรเนอซอง ยุคสมัยแห่ง Human Centricism บาโรค รอคโคโค การรื้อฟื้นศิลปะสมัยเก่า นีโอเพลโต ได้เห็นวิธีการแก้เกมของศาสนจักร ท่ามกลาง มนุษยนิยม หรือหลังยุคการศรัทธาตัวบุคคล ยุค Pre Modern หรือยุค การตื่นรู้แห่งปัญญา ที่ขับเคลื่อนด้วย freewill เจตจำนงเสรี แห่ง ยุคสมัยใหม่ modernism สุดท้าย ยุคแห่งการปฎิวัติเกือบทุกด้าน ท้าทายทุกเรื่องที่ modern และ classic ทำไว้ การปฎิวัติทางภาษาเป็นตัวขับเคลื่อน

มี Keywords ที่สำคัญที่ Share กันอยู่ภายใต้การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ ความงามกับศิลปะ อย่าง บทบาทของนักปรัชญาแห่งยุคสมัย กรีกโบราณ กับการหาคำตอบอะไรที่ว่างาม สู่ต้นตอของเรื่อง อะไรคือสาเหตุที่ทำให้งาม ด้วยวิธีแบบปรัชญา ผ่านงานศิลปะอย่าง shool of athen  และการซ้อนทับกันระหว่าง 3 Circles : ความจริง ความดี ความงาม ความจริงถูกสื่อความด้วยภาพเขียน ที่ซึ่งเป็นภาพแทนความจริง representation ยุคสมัยโบราณมักสื่อสารความจริงผ่านผลงานศิลปะ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เพลโตพยายามต่อต้าน เพียงเพราะการตั้งคำถามที่ว่า อะไรคือ ความจริงสูงสุด Absolute of truth ผ่านงานเขียนของ ไมเคิล แองเจโล อย่าง the creation of adam ว่าด้วยมนุษย์เป็นตัวแทนของพระเจ้า สิ่งที่มนุษย์คิด มนุษย์เข้าใจ ล้วนมาจากพระเจ้า ที่เป็นซึ่งสูงสุดแห่งแบบ ฉะนั้นการจะเข้าใจความจริงต่างๆ = ความดี ย้อนกลับความดี คือ แบบอย่างพระเจ้า (ศาสนจักร) กำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นมานั่นเอง  ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว (circle ที่ซ้อนทับ) แต่เกิดเป็นแสงไฟนำทางความรู้บานใม่ขงมิติความงาม = ความเป็นระเบียบ ระเบียบ ? แห่งจักรวาล หรือ the order of cosmos  

ปรัชญาทางศิลปะถูกซ่อนใส่รหัสไว้ด้วยศิลปินอย่างราฟาเอล ด้วยเครืองมือทางศิลปะอย่างภาพเขียน School of Athen จุดตรงกลางของภาพคือ นักปราชญที่เข้ามาสร้างความคิด สำนึกรู้ของมนุษยชาติไปตอดกาล อย่าง เพลโต อริสโตเติล ที่ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันแบบครูกับลูกศิษย์ แต่ความคิดแตกต่ากันชัดเจนจากหรสภาษากายที่ราฟาเอลทิ้งไว้ เพลโต ชี้ขึ้น นั่นคือ โลกแห่งแบบ The World of Ideal และอริสฌตเติล ชี้ลง โลกแห่งผัสสะ จับต้องได้ มีอยู่จริงจากการสัมผัส อันที่จริงราฟาเอล ได้วาดตัวเค้าอยู่ในภาพเขียนให้จับผิดเล่นด้วย 

ขอเริ่มต้นการนำเสนอวิชาว่าด้วย ความงาม และความเข้าใจปัญหาทางความงาม ในแบบ Martin Hiedeger ในงานเขียน Being and Times ซึ่งเป็นงานเขียนที่หวือหวาและเต็มไปด้วยภาษาและการตีความที่ซับซ้อน ต้องรอให้งานเขียนบางเรื่องที่ใกล้เคียงกันออกมาก่อนแล้วย้อนกลัไปอ่านถึงจะเครีย ในตัว hiedeger ในความพยามที่จะสื่อความมาย มโนทัศน์หรือแนวคิดอันหนึ่งในงานเขียน Being & Times ที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาสุนทรียศาสตร์ คือ เรื่อง การตั้งกติกาว่าด้วย การแยกคำระหว่าง Spirit และ Mind ซึ่ง Spiritจะไปตรงกับงาเขียนของ เรเน เดอดการ์ด และ Soul ของเพลโตในความรู้ยุค classic ที่ให้ความหมายถึง จิต ที่ไม่ผูกสัมพันธ์กันกับร่างการ หรือผัสสะทางกายภาพ แบบอริสโตเติล กับ Mild ที่เป็นจิตเหมือนกันแต่ยังผูกติดกับผัสสะ ทางกาย หรือกายภาพ ที่ไปพร้อมกันขณะที่สำนึกรู้ ฉะนั้นหาเปรียบเทียบ คำที่คล้ายกันที่สร้างความหมายชัดเจนในด้านตีความควางาม นั่นคือ Spirit จะเท่ากับ Intuition หรือการรู้ได้ด้วยสำนึกรู้ของตเองแต่บอกสาเหตุไม่ได้ กับ Mild = logic ตรรกะ หรือการมีอยู่ของเหตุผล หากให้ยกตัวอย่าง ในสวนที่สวยงาม เรา หากไปในฐานนักท่องเที่ยว เราจะอิ่มแอมกับความสวยงามขงธรรมชาติและสวนดอก นั่นคือ Spirit /Intution ทำงาน เพราะความงามไม่หวังซึ่งผลประโยชน์ มันมาเพื่อทำให้เรารู้สึกอิ่มแอม เพลิดเพลินยกรับจิต อีกด้าน หาก เรา ในฐานะคนจัดสวน ทุกขณะที่เราจัดเรียงดอกไม้ มัมาด้วยเหตุผลเชิงประโยชน์ คือ ทำงานให้เสร็จและรับเงินกลับบ้าน เราจะลืมความงามทามกลางดอกไม้ทันที แต่หน้าที่ให้เสร็จความรับผิดชอบเข้ามาแทน สิ่งนี้ Heidegger เรียกว่า Funsion = logic = Mild 

             สรุปวิชาสุนทรียศาสตร์ คือ สิ่งที่เรากำลังดีลกันระหว่าง มนุษย์ในฐานะผู้รับ แล้วจะมีทฤษฎี Democacy of object เข้ามาอีกที คือ เราในฐาระผู้รับจะมองว่าเป็น agen หรือ มองในฐานะส่วหนึ่งองวัตถุศึกษา กับวัตถุที่เป็นฝ่ายแสดงตัวแห่งความงาม เราศึกษาและให้ความสำคัญกับดีลนี้นั่นเอง

            ฉะน้นจึงแบ่งออกเป็น 2. หมวดหลักๆ คือ ทฤษฏีวัตถุวิสัย:  ทฤษฏนี้เชื่อว่าความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุเอง ความงามเป็นสิ่งที่ติดตัวมากับัตถุนั้นๆ อยูแล้ว และยังคงเป็นอยู่ตลอดไป เราอาจอธิบายแบบนี้ได้ว่า สื่อกลางทางการรับรู้ความงาม = ตัววัตถุนั่นเอง

ทฤษฏีจิตวิสัย : ทฤษฏนี้เชื่อว่าความงามไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของวัตถุ คุณสมบัติวัตถุเป็นเพียงเงื่อนไขทางคุณค่า เป็นกติกา เป็นรหัส ให้เราเรียนรู้ แยกแยะได้ในระดับหนึ่ง อะไรความงาม ไ่ม่งาม มนุษย์หรือผู้รับต่างหากที่เป็นตัวกำหนดคุณค่านั้นๆ

            ตัวอย่าง การวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะ ด้วยนักข้อถกเถียง ว่าด้วยปัญหาทางสุนทรยศาสตร์ อย่างไรถึงเรียนว่างามในคุณค่าของงานชิ้นนี้ ภาพเขียน The Pair of Shoes คู่นี้ ยังนำมาสู่งานเขียนและบทความของ Heidegger ใน Being & Times ถึงการแสดงสถานะ Being หรือ Exis การมีอยู่ของ Subject และ agen โดยศิลปิน สิ่งใด ที่ เป็น Being ในกรณีของ Being & Times Hiedegger นี้ เสนอว่า Being ใหญ่ ด้วย ศิลปิน ที่มีบทบาทเป็น agen หรือ ผู้ควบคลุม อะไรแสดงความเป็น exis ในภาพวาด หากภาพชินนี้ ไม่ได้เป็นของ แวนกาะ คุณค่าเชิง being เล็กยังมีอยู่ไหม แล้วคือรองเท้าใคร อะไรคือความจริงที่ภาพเขียนชิ้นนี้แสดงตัวออกมา ต่อมาอีกข้อเสมอคือ หากภาพไม่มีลายเซ็น ยังมีคุณค่าทาง Being ใหญ่อยู่ไหม หรือลายเซ็นถูกพลักออกเทียบเท่ากรอบรูป เป้นแค่ปัจจัยภายนอก ความจริงของ being เล็กต่างหากที่นำเสนความจริง น้ำหนักดังกล่าวเราจะให้คุณค่าความจริงกับอะไร 

ศิลปะยุคกลาง

ยุคกลาง (Middle Ages) ของสังคมตะวันตกนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคกรีกและ โรมันเป็นอย่างมาก ทั้งในทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ครอบคลุมระยะเวลานับตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ 5-15 หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกสมัย กลางว่า “ยุคมืด” (Dark Ages) เนื่องจากเชื่อว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์ของยุโรปตกอยู่ในความ มืดมน เพราะมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างแรงกล้าจนถึงขั้นงมงาย จนทำให้เกิดความมืดมิดทาง ปัญญา และลดความสำคัญของการใช้ความคิด เหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ลงไป แต่จาก การศึกษาทางประวัติศาสตร์ในภายหลัง ทำให้ความเข้าใจที่มีต่อยุคสมัยนี้เปลี่ยนไป เกิดการเรียก ขานอีกชื่อว่า “ยุคแห่งศรัทธา” (The Age of Faith) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของสมัยกลางก็คือ การเกิดขึ้นของศาสนาคริสต์

 ในยุคกรีกและโรมันมนุษย์ให้ความสำคัญและสนใจในโลกกายภาพ และความเป็นปัจเจก ภาพ โดยผ่านการใช้หลักการที่เป็นเหตุผล สถานะของมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลก และมีความสำคัญเหนือสิ่งใดๆ แต่เมื่อคริสต์ศาสนาถือกำเนิดขึ้น ทำให้มุมมองของมนุษย์ต่อ สังคม และโลกแวดล้อมหันเหไปสู่การเคารพ และเชื่อฟังในคำสั่งสอน และพระบัญชาของพระเจ้า เพียงองค์เดียว โดยเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นจากความว่างเปล่า ความเป็นไป ทั้งหลายในธรรมชาติล้วนแล้วแต่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ คำสั่งสอนของพระองค์ถือ เป็นสัจธรรม และเป็นสิ่งสมบูรณ์อันสูงสุด (Absolute) ไม่สามารถโต้แย้งได้ ศรัทธาต่อคริสต์ ศาสนาดังกล่าวทำให้เกิดระบบทางความคิดเกี่ยวกับโลกว่า โลกประกอบด้วย (Creator) กับสิ่งที่ถูกสร้าง (Created) มนุษย์กลายสถานะเป็นสิ่งที่ถูกควบคุม ได้มาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า พระผู้สร้าง ความรู้ต่างๆ

ปัญหาของญาณวิทยาที่ว่าด้วยการเข้าถึงความจริงแท้ของโลกภายนอก จึงเหมือนจะสูญหาย ไปในสมัยนี้ เนื่องจากสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ถูกมอบมาจากพระเจ้าโดยตรง และเป็นความจริงที่ไม่ สามารถโต้แย้งได้ ปัญหาของระบบการสร้างสรรค์ส่วนบุคคล และการใช้เหตุผล จึงเหมือนจะ สูญหายไปด้วย เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับพลังอำนาจจากภายนอกของพระเจ้าทั้งสิ้น อิทธิพลของ ศาสนาคริสต์ได้ก่อให้เกิดรูปแบบของงานศิลปะ และสถาปัตยกรรมเพื่อศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ในช่วงแรกของยุคกลาง ซึ่งยังไม่มีการแบ่งศาสนาออกเป็นสองนิกายนั้น เรียกว่า สมัยคริสเตียน ตอนต้น (Early Christian) แต่ช่วงนี้ยังไม่มีรูปแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน หลัง จากสมัยคริสเตียนตอนต้นผ่านพ้นไป จึงเกิดการพัฒนารูปแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมต่อ เนื่องกัน 3 รูปแบบที่สำคัญ คือ ไบแซนทีน (Byzantine) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 โรมาเนสก์ (Romanesque) หลังคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 13 และกอธิก (Gothic) คริสต์ศตวรรษที่ 13-15

พื้นฐานความคิดเรื่องความงาม (Beauty) จากสมัยกรีกที่เคยเชื่อว่า เราเข้าใจความงาม ผ่านสิ่งที่ปรากฏ (Appearance) ด้วยความสมมาตร ได้ถูกเปลี่ยนไปสู่ความงามที่อยู่เหนือไป จากกายภาพที่ปรากฏให้เห็น (Transcendental Beauty) ไม่สามารถเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ความงามของกรีกวางอยู่บนพื้นฐานระเบียบของจักรวาล (Order of Cosmos) หรือจักรวาลวิทยา (Cosmology) แต่ในยุคกลางความเชื่อเรื่องระบบจักรวาลวิทยาเปลี่ยนไป เพราะเชื่อว่าพระเจ้า เป็นผู้สร้างโลก ทุกสรรพสิ่งที่พระเจ้าสร้างล้วนมีความสมบูรณ์ มนุษย์คู่แรกที่เกิดขึ้นก็ทรงสร้าง จากภาพลักษณ์ (Image) ของพระองค์ ดังนั้น ความงามในยุคกลางจึงอยู่บนพื้นฐานความสมบูรณ์ ที่พระเจ้าสร้างขึ้น นัยยะของความงามไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่มีองค์ประกอบสอดรับกันอย่างลงตัว หรือมีความสมมาตรเท่านั้น แต่ยังมีอีกนัยยะหนึ่งคือ ความงามเป็นสัญลักษณ์ของความดี

 ในศิลปะยุคกลางสุนทรียะในการสื่อสารถึงพระเจ้าอยู่ที่เสียง จึงมีการออกแบบอาคารเป็น รูปโดม เพื่อเวลาสวดมนต์เสียงจะได้ก้องกังวาน นอกจากนี้แสงยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทาง สุนทรียะ การสาดส่องของแสงเป็นตัวแทนของพระเจ้า จึงมีการกำหนดจุดโฟกัสให้แสงสาดส่อง ลงมาที่จุดเดียวเนื่องจากเชื่อว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาจาก Image ของพระเจ้า การกล่าวถึงพระเจ้าก็ คือการนำาเสนอ Image ของพระองค์ด้วยภาพวาด โดยแสดงความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าด้วยแสง การวาดภาพทางศาสนามีความสำคัญต่อคติความเชื่อทางศาสนา เพราะต้องการจะสื่อความหมาย พื้นฐานของศาสนา “The restoration of human relationship with god after the fall.”

รูปแบบทางศิลปะทั้งหมดจึงเป็นการพยายามไถ่ถอนความผิด (Redemption) เพื่อให้ พระเจ้าทรงเห็นว่ามนุษย์ยังศรัทธาในพระองค์ ศิลปะในยุคกลางจึงพูดถึงพลานุภาพของพระเจ้า ผ่านแสง มีจุดกำเนิดของแสงแสดงให้เห็นว่า มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยเพราะแสง หรือ พระเจ้า มนุษย์ไม่รู้ว่าหน้าตาของพระเจ้าเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่ามนุษย์เป็น Image ของพระองค์ ภาพวาดจึงแสดงภาพของมนุษย์ โดยมีการไล่เฉดแสงลงมาจากมุมมองในที่สูง (Bird’s Eye View) ซึ่งสื่อแทนมุมมองของพระเจ้า สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดพื้นฐานในยุคกลาง ความงามไม่ได้อยู่ที่รูป ทรงของคนในภาพ แต่ความงามอยู่ที่ความลงตัวของสัดส่วนองค์ประกอบทั้งหมด (Proportion) ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่พลานุภาพของพระเจ้า

ศิลปะในยุคกลางไม่ใช่การยกย่องสรรเสริญพระเจ้า แต่เป็นการพยายามไถ่ถอนความผิดที่ มีต่อพระเจ้า ด้วยการเชื่อมความสัมพันธ์ โดยแสดงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า รูปแบบของ จิตรกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ธรรมดาสามัญ สื่อความหมายว่ามนุษย์ทุกคน อยู่ในสายตาของพระเจ้า ทุกคนมีชีวิตอยู่ได้ด้วยพระเจ้า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อาณาจักรของ พระเจ้า บุคคลในภาพจะไม่แสดงลักษณะบ่งบอกชัดเจนว่าเป็นใคร เนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญ กับบุคคลในลักษณะปัจเจก และไม่ได้แสดงภาพพระเจ้าว่ามีรูปร่างหน้าตาเช่นไร แต่เรารู้ได้ว่ามีพระเจ้าอยู่ก็ด้วยแสง เช่นเดียวกับที่เราไม่เคยเห็นแสง แต่เราเห็นความสว่าง และความมืด อุปมา อุปไมยถึงพระเจ้า ความสว่างทำให้รู้ว่าอานุภาพของพระเจ้าคืออะไร

แสงไม่มีคู่ตรงข้าม และมนุษย์มองไม่เห็นแสง แต่รู้ว่ามีแสงอยู่ เพราะสิ่งที่เราเห็นผ่านแสง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ตรงข้าม ความมืด ความสว่าง ในความมืดไม่ได้แปลว่าไม่มีแสง เพียง แต่เราไม่เห็น ที่เราเห็นความสว่าง เพราะเราเห็นความจ้าของแสง คุณค่าของสุนทรียศาสตร์ ความงามไม่ได้อยู่ที่วัตถุที่เรามองเห็น แต่อยู่ที่จิตวิญญาณของเราที่ซึมซับพลานุภาพของพระเจ้า ศิลปะคือแบบของความงามในพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏออกมาในสิ่งต่างๆ ทำให้มนุษย์เห็นพลานุ ภาพของพระเจ้า จากความประทับใจในสิ่งที่เห็น และซึมซับสู่จิตวิญญาณ ศิลปะมีความสัมพันธ์ กับความดี ความงาม และความจริง เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ผ่านรูปทรงของความงามของวิถีชีวิต ที่เป็นจริงของมนุษย์ ที่ดำรงอยู่ได้ด้วยแสง หรือพระเจ้า การเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับพระเจ้า ทำให้มนุษย์เข้าใจถึงความดี เพราะฉะนั้นความงามจึงเป็นสัญลักษณ์ของความดี ศิลปะคือการ ทำสามสิ่งนี้ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม

สิ่งที่ทำให้เห็นแสง หรือความสว่างของแสงคือสี น้ำหนักของแสงปรากฏผ่านเรื่องของการ ใช้สี บทบาทของแสงและสีนำมาสู่ลักษณะที่สำคัญ คือ ความทันทีทันใด (Immediately) เช่น ภายในโบสถ์ที่มืดจะมีศูนย์กลางของแสงสว่างอยู่ที่หนึ่ง การเดินไปในที่มืด แล้วเกิดมีแสงสว่าง ขึ้น จุดนั้นจะเป็นที่รวมความสนใจของมนุษย์ นั่นเป็นภาวะของพระเจ้า สิ่งสำคัญอีกประการคือ * การแสดงความเรียบง่าย (Simplify) ของวิถีชีวิตมนุษย์ เป็นวิถีที่มนุษย์สัมพันธ์กับพระเจ้า เรา เห็นสิ่งนี้ได้ด้วยแสง สัญลักษณ์แทนแสงในภาพวาดอาจแทนด้วยประทีป หรือเทียน ซึ่งอุปมาอุปไมยถึงสิ่งที่ดีงาม องค์ประกอบทั้งหมดต้องมีความกลมกลืน โดยความกลมกลืนของชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่คือ แสงที่ทอดผ่าน แสดงความสัมพันธ์ที่กลมกลืนของมนุษย์กับพระเจ้า

 องค์ประกอบที่สำคัญในภาพวาด คือ มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ใช่ศูนย์กลางในภาพ เพราะมนุษย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เห็นถึงการมีอยู่ของพระเจ้า แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในภาพ สิ่งสำคัญคือแสง และความคิดเรื่องพระเจ้า เพราะฉะนั้นในยุคกลางจึงไม่มีการวาดภาพธรรมชาติ ล้วนๆ หรือวาดภาพบุคคลสำคัญ อิทธิพลของเสียงมีผลต่อการจัดวางองค์ประกอบที่สมมาตร ของศิลปะแขนงต่าง ๆ ความสมมาตรของทัศนธาตุก็เหมือนกับจังหวะที่ลงตัวของเสียง เป็นความ สมมาตรของจังหวะแต่ละห้องเสียง เสียงเข้ามามีบทบาทพร้อมพิธีกรรมเกี่ยวกับพระเจ้า ความ งามของเสียงคือความกลมกลืนของการสวดมนต์ การออกแบบสถาปัตยกรรมจะคำนึงถึงเสียง ด้วย โดยการคำนวณจะใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง ซึ่งเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง โดยพวก อาหรับเปอร์เซีย ตัวอย่างเช่น การสร้างสุเหร่ามัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปโดม เพื่อให้เสียงสวด ก้องกังวาน ศิลปะในยุคกลางยังไม่ถูกมองในฐานะวัตถุที่เป็นผลงานศิลปะ (Art Work หรือObject) แต่เป็นแบบของความงามในจิตของพระผู้เป็นเจ้า (Form) ที่เชื่อมโยงกับวิญญาณ (Soul) ของมนุษย์ที่รับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า

ศรัทธาอันแรงกล้าต่อศาสนาและพระเจ้าทำให้ปรัชญาทางสุนทรียศาสตร์เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ในยุคกรีกโรมันนั้นการสร้างงานศิลปะจะเป็นแบบธรรมชาตินิยมที่สะท้อนถึงความ เป็นจริงในธรรมชาติ แต่ในยุคกลางได้เปลี่ยนไปสู่งานศิลปะในเชิงสะท้อนถึงศรัทธาของมนุษย์ ต่อพระเจ้าแทน และไม่สนใจในรายละเอียดเชิงปรากฏการณ์ตามจริงในภาพ เช่น แสงและเงา ของวัตถุ แต่มุ่งถ่ายทอดคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคล หรือสถานที่ด้วยรูปแบบนามธรรม และ อาจเป็นเพียงสองมิติที่ต่างไปจากความเป็นจริง เช่น บุคคลสำคัญในภาพอาจมีขนาดใหญ่กว่า สิ่งที่อยู่ข้างหน้าก็ได้ ถึงแม้จะอยู่ในตำแหน่งของฉากหลังก็ตาม

ผลงานศิลปะในช่วงเวลานั้นจึงเป็นเหมือนการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และ Y ศาสนา เป็นเครื่องมือในการบันทึกและเผยแพร่ศาสนาสู่สังคมอย่างถาวร ความศรัทธาในคริสต์ ศาสนายังก่อให้เกิดความคิดใหม่อีกประการ คือ รูปทรงที่จะแสดงออกถึงความงามต้องเป็นรูป ทรงที่พระเจ้าเป็นผู้บัญญัติขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะค้นพบรูปทรงสมบูรณ์ดังกล่าวได้อย่างไร หากงานศิลปะไม่ได้วางอยู่บนความเป็นจริงของโลกอีกต่อไปแล้ว แต่กลับสะท้อนถึงสิ่งที่อยู่เหนือ เกินกว่าผัสสะของมนุษย์จะเข้าถึงได้โดยตรง ซึ่งทำให้มนุษย์ไม่อาจนำเอาสิ่งอ้างอิงจากสภาพ แวดล้อมมาใช้ได้อีกต่อไป

            สำหรับกรีกในช่วงแรกจะเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยม ความงาม จะเป็นไปในทาง วัตถุนิยม Objectivism หมายถึง วัตถุที่งามจะมีมาตราส่วนที่วัดได้เชิงคณิตศาสตร์ คำนวณโดยตัวมันเอง วัตถุที่งามจะสัมพันธ์กับสัดส่วนที่เทียบท่ากับธรรมชาติ ที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความงาม ตามแนวคิด The Order of Cosmos สัดส่วนมาตรฐานของจักรวาลวิทยา สำหรับกลุ่มนักปรัชญาทั้ง ธาเลส พิธากอรัส และยูลิค ที่เชื่อในฝั่งวัตถุนิยมนั้น มีอีกแนวคิด ทฤษฏีที่ว่าด้วยเรื่อง ประชาธิไตยของวัตถุที่ share ร่วมกันได้ โดยกล่าวถึง วัตถุทุกชนิดบนโลก ต่างมีสถานะหรือคุณสมบัติที่เทียบเท่ากัน ในข้อเสนอแง่นี้จึงสรุปออกมาได้ว่า O ใหญ่และ s เล็ก object ใดที่ตรงกับเงื่อไขเรื่องสัดส่วนที่เทียบกับสัดส่วนที่คำนวณผ่านคิตศาสตร์ได้แล้วผลลัพธ์ออกมาเท่ากัน สิ่งนั้น เรียกว่างาม

            โสกราตีส. : ถ้าจะนับว่า โสกราตีส เป็นคนยุคใด หลักการ คือ เป็นคนยุคเดียวกันกับพระเจ้า (พุทธ) ตอนที่ โสกราตีส แสดงปรัชญาให้ชาวกรีก พระเจ้าก็แสดงธรรมที่อินเดีย ฉะนั้นคนในยุคนั้นจะมีลักษณะคิด มุมมองต่อโลกคล้ายๆ กัน  โสกราตีส เป็นคนศึกษาความรู้ด้วตนเอง ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเค้า คือ เป็นคนสอนคนด้วย คำถาม …. แต่ที่เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโสกราตีสได้เพราะ ลูกศิษย์โปรดที่ชื่อ “เพลโต” เป็นคนจดบันทึก คำสอนที่โดดเด่น คือ อะไรที่ว่าดอกไม้งาม… จะมีลักษณะเหมือน คนอะไรที่ว่าบุคคลคนนั้นเป็นคนพิเศษ คนน่านับถือ….  ฉะนั้นในยุคนั้น โสกราติสจึงมีผู้ปกครองที่เป็นนักการเมืองเกลียดเยอะ เพราะสอนลูกให้ละจากลาภยศ  ที่ผ่านมาจะเห็นว่า นักปรัชญาคนก่อนหน้า พยายามนำธรรมชาติมาก่อนจิต ผิดกับโสกราติส ที่เชื่อว่า หากจิตที่บรุสุทธิ์ มีความพร้อม มีระดับชั้น – รสนิยม จะทำให้มองเห็นความงาม หรือคุณค่า ในตัววัตถุต่างกันออกไป และคิดเพิ่มขึ้นอีกเรื่อง นั่นคือ ให้ความสำคัญกับเหตุผลทั้งต้นทางกรมีอยู่ Being ของตัววัตถุและปลายทางที่วัตถุนั้นมีอยู่พื่ออะไร แล้วผู้รับได้อะไรไป = being   โสเครติส ให้ทรรศนะ เราไม่สามารถรับรู้ Object ผ่าน Object ได้ Objectless

            เพลโต : Republic คือ หนังสือที่โดดเด่นของ เพลโต Theory of Form  ของทุกสิ่งบนโลก เพลโตเชื่อว่า สุดท้ายลดทอนเหลือแค่ไม่กี่อย่าง : ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม  ฉะนั้นสิ่งที่ เพลโต พยายาจะอธิบาย คือ เค้ามองเห็นความงดงาน มานานแล้ว โดยมองข้ามสิ่งที่วัตถุแสดง แต่ให้พินิจ วิเคราะห์ความเป็นแบบของวัตถุ เช่น รูปปั้นเดวิด ความงามอยู่ที่แบบที่นำมาปั้น concept ทีนำมาใช้ ทักษของศิลปิน ตลอดจน imagin ของศิลปิน นั่นต่างากที่งามกว่าแบบ   วึ่งแยกออกเป็น 2 แนวคิดที่หักล้างกันเอง คือ  Sensible Wold : การับรู้โลกแห่งวัตถุทางกายภาพ ซึ่งเป็นโลกที่หยาบ เพราะเรารับรู้ด้วยผัสสะ เป็นเพียงด่านแรกที่เข้าถึงความงามแบบฉาบฉวย  2. World of Ideas หรือ การรับรู้วัตถุ การเข้าถึงความจริงเบื้องหลังผัสสะแห่งวัตถุ ด้วย Ideal Form เป็นความงามเชิงมโนคติ จีรัง ไม่เปลี่ยนแปลง ความเป็น สากล /มาตราฐาน : แบบ ในมโนคติ หาใช่พบเห็นจากผัสสะ แนวคิดที่สำคัญ….. มนุษย์ คือ ตัวแทนพระเจ้า  พระเจ้า… คือ สากล มาตราฐาน …..ที่มาของ ยุคกลาง (มโนคติ) และรื้อฟื้น Platonian – เรอเนอซอง… The creation of adam

            อริสโตเติล Aristotle  ความเป็น สากล เกิดจาก การรับผ่านผัสสะ บ่อยๆ รูปธรรม และการเข้าถึงผัสสะใช้เหตุผล จึงจะเห็นความจริงแท้ของวัตถุ   ต่างจากเพลโต : เราจะทำหนังสือ ทำอาคาร เราต้องนึกถึงแบบของหนังสือ,อาคาร

ทัศนะการสร้างสรรค์งานศิลปะ

เพลโต :

ศิลปะ ลอกเลียน ธรรมชาติ —> ธรรมชาติ ลอกเลียนแบบ โลกแห่งแบบ ด้วยแนวคิดนี้จึงทำให้ คุณค่าศิลปะ ดูลดลง

อริสโตเติล : 

เสนอว่า ศิลปะเป็นตัวแทน หรือให้ความจริงในระดับพิเศษ มากกว่าความจริงที่เรารับรู้จากธรรมชาติ – Martin Hiedegger  – เลยเสนอแนวทางการเป็นตัวแทนของธรรมชาติ 2 ทางด้วยกันคือทัศนศิลป์ .โศกนาฎกรรม

ศิลปะ มีธรรมชาติเป็นแบบ ก่อให้เกิดกระบวนการลอกเลียนแบบ = กิจกรรม กระบวนการทางศิลปะ ในส่วนนี้ยังส่งเสริมภาวะทางสุนทรียะ ได้ด้วย  ซึ่งแนวคิดแบบนี้ทำให้คณค่าศิลปะเป็นกิจกรรมที่พิเศษ

นอกจากนี้ อริสตเติล ยังกล่าวถึง กิจกรรมของมนุษย์ ไว้ 2 ชนิดด้วยกันคือ  กิจกรรมทางทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม, ประติมากรรม ต่างๆ   กิจกรรมทาง บทละคร หรือเรียนกว่า โศกนาฏกรรม โดยมองว่า บทละครแบบ โศกนาฏกรรม นั้นให้สติปัญญากว่า สุขนาฏกรรม

สรุป สุนทรียะ มีส่วนสัมพันธ์ระหว่าง :; อารมณ์ ความรู้สึก + เหตุผล ตรรกะ  = ความพึงพอใจ

            ทฤษฏีการลอกเลียนแบบ 

 ในภาษากรีก การเลียนแบบธรรมชาติ จะเรียกว่า Mimesis  แม้ทั้ง เพลโต และอริสโตเติล จะใช้คำนี้สำหรับการลอกเลียนแบบจากสิ่งที่อยู่ภายนอกเหมือนกันแต่ก็ มีแนวคิดต่างกันคือ ทำให้การประเมินคางานศิลปะแตกต่าง  เพลโต : Particular Thing : การที่ศิลปะลอกเลียนแบบธรรมชาตินั้นเป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์  

อริสโตเติล  Universal Thing : รูปร่าง รูปทรงที่ปรากฏในงานศิลปะ ล้วน เป็นสิ่งสากล เพราะ Form ที่ศิลปินเลือกมาใช้สร้างสรรค์เป็นรูปแบบศิลปะนั้นเป็นตัวแทนของแบบตามธรรมชาติ

            Medieval Ages สุนทรียศาสตร์ ยุโรปยุคกลาง

ยุคกลาง (Middle Ages) ของสังคมตะวันตกนั้น  มีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคกรีกและ โรมันเป็นอย่างมาก  ทั้งในทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ  ครอบคลุมระยะเวลานับตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ 5-15 หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน   นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกสมัย กลางว่า “ยุคมืด” (Dark Ages)

เนื่องจากเชื่อว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์ของยุโรปตกอยู่ในความ มืดมน เพราะมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างแรงกล้าจนถึงขั้นงมงาย จนทำให้เกิดความมืดมิดทาง ปัญญา และลดความสำคัญของการใช้ความคิด เหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ลงไป   แต่จาก การศึกษาทางประวัติศาสตร์ในภายหลัง ทำให้ความเข้าใจที่มีต่อยุคสมัยนี้เปลี่ยนไป เกิดการเรียก ขานอีกชื่อว่า “ยุคแห่งศรัทธา” (The Age of Faith)

ในยุคกรีกและโรมัน มนุษย์ให้ความสำคัญและสนใจในโลกกายภาพ และความเป็นปัจเจก ภาพ โดยผ่านการใช้หลักการที่เป็นเหตุผล สถานะของมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลก และมีความสำคัญเหนือสิ่งใดๆ   แต่เมื่อคริสต์ศาสนาถือกำเนิดขึ้น ทำให้มุมมองของมนุษย์ต่อ สังคม และโลกแวดล้อมหันเหไปสู่การเคารพ และเชื่อฟังในคำสั่งสอน และพระบัญชาของพระเจ้า เพียงองค์เดียว โดยเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นจากความว่างเปล่า ความเป็นไป ทั้งหลายในธรรมชาติล้วนแล้วแต่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ คำสั่งสอนของพระองค์ถือ เป็นสัจธรรม และเป็นสิ่งสมบูรณ์อันสูงสุด (Absolute) ไม่สามารถโต้แย้งได้ ศรัทธาต่อคริสต์ ศาสนาดังกล่าวทำให้เกิดระบบทางความคิดเกี่ยวกับโลกว่า   โลกประกอบด้วย (Creator) กับสิ่งที่ถูกสร้าง (Created) มนุษย์กลายสถานะเป็นสิ่งที่ถูกควบคุม ได้มาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า  พระผู้สร้าง ความรู้ต่างๆ ไม่ **** แนวคิด The One ภาพแทน พระเจ้า = มนุษย์

เซนต์ออกุสติน ( ST,Augustin, 354-430A.D. )

 เป็นรากฐานของทฤษฎีในงานศิลปะตลอดสมัยกลาง เขาเชื่อว่าโลกนี้ถูกจัดระบบอย่างมีเหตุผล ทั้งความวุ่นวายหรือความเป็นระเบียบที่พบเห็น จะถูกวางอยู่ภายใต้ระบบอัตราส่วนทางคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน ความงามเป็นสิ่งที่กำหนดโดยระเบียบแบบแผน และจำนวนทางคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุนี้รูปทรงที่มีความงามสมบูรณ์จึงเป็นรูปทรงที่อยู่ภายใต้สัดส่วนและความกลมกลืนกันทางคณิตศาสตร์และอยู่ในจำนวนหนึ่งๆ ที่ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบแบบแผน และความงามซึ่งสะท้อนกลับไปถึงระบบสากลของโลกอีกทอดหนึ่ง

ความงาม (Beauty ) ไว้ว่า เป็นคุณค่าเกิดจากการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวขององค์ประกอบย่อย ความงามชนิดนี้ถือเป็นคุณสมบัติขององค์รวม(The Whole)เป็นคงามงามที่จบในตัวเอง คำกล่าวที่ว่า ความงามเชิงวัตถุย่อมประกอบด้วยสัดส่วนที่พอดีขององค์ประกอบย่อยๆ และความลงตัวของสี ความคิดที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับทฤษฎีความงามของออกุสติน เอกภาพ(Unity)จำนวน(Number ) ความเท่ากัน(Equally )สัดส่วน(porprotion) ระเบียบ(Order)

เอกภาพเป็นพื้นฐานของความจริงทั้งหมดเพราะสิ่งที่เป็นจริงต้องเป็นหนึ่ง (One) สิ่งที่เป็นหนึ่งต้องมีความเป็นเอกภาพ สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งหมดจึงมีตวามเป็นเอกภาพต่างกัน เท่าเทียมกัน หรือเหมือนกันเป็นสิ่งที่สองที่สำคัญ ต้องมีความเปรียบเทียบด้วยความเท่ากัน หรือไม่เท่ากัน และจำนวน จำนวนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ออกุสตินให้ความสำคัญซึ่งได้รับอิทธิพลจสกเพลโตในเรื่องที่ว่า จำนวน คือ กฎพื้นฐานในการสร้างโลกของพระเจ้า

นอกจากนี้ยังมีเอกภาพอีกชนิดหนึ่งที่สูงกว่าเอกภาพที่กล่าวมา เอกภาพที่ว่านี้เป็นผลรวมขอควาทคิดข้างต้น คือ เอกภาพ การเท่ากัน จำนวน สัดส่วน ระเบียบ สิ่งที่เป็นองค์ประกอบเดียวที่มีความเป็นเอกภาพ เพราะไม่มีความหลากหลาย แต่สิ่งที่ซับซ้อน และสิ่งที่รวมกันจากสิ่งที่แตกต่างกันหลายสิ่งรวมกันมีความเป็นเอกภาพ เพราะมันมีความหลากหลาย บังเกิดเป็นเอกภาพไหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราพบในธรรมชาติและศิลปะ

 ข้อสรุปเรื่อง การตัดสินความงาม ในความคิดของออกุสตินมี 2 เรื่อง ดังนี้คือ

1.การตัดสินความงามมี2ระดับ คือระดับการมองเห็น และการฟังกับระดับการรรับรสและกลิ่น โดยระดับแรกจะสูงกว่าระดับหลัง เนื่องจากมีระเบียบ  มีลักษณะของเหตุผล เหตุผลจึงจำเป็นต่อการเข้าใจระเบียบ

2.การตัดสินความงามต้องมีลักษณะแบบปรวิสัย (Objective) คือ ต้องมีเกณฑ์เดียวเนื่องจากสิ่งที่มีระเบียบถูกรับรู้ และเข้าใจว่าสิ่งที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินก็คือ ระเบียบ หรือเอกภาพ ที่มีมาก่อนการรับรู้ของเรา คือมาจากแบบ หรือความคิดในจิตใจของพระเจ้า ซึ่งมีเพียงแบบเดียว หรือมาตรฐานเดียวเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือสัมผัสกับสิ่งอื่น

โดยแบ่งความคิดของออกุสตินคือความหลุดพ้นจากความเชื่อเก่าที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบที่จริงแล้วศิลปะคือการคิดไหม่ (Invention) หรือจินตนาการ(Imagination) 

 เซนต์โธมัส อไควนัส (ST.thomas Aquinus, 1225-1274 A.D.)

ความงามองค์ประกอบหนึ่งของความดี และเป็นที่เรียกว่า คำเชิงเปรียบเทียบ(Ana-logical Term) ความคิดนี้มาจากความคิดด้านอภิปรัชญาของอไควนัส ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอริสโตเติลเรื่องคงามคิดสามแง่คือ เอกภาพ(Unity) ความจริง(True)ความดี(Good)

เอกภาพ สิ่งเป็นอยู่ที่ถูกพิจารณาให้แยกจากสิ่งอื่น สิ่งเป็นอยู่มีทั้งที่เป็นสิ่งเชิงเดี่ยว( ไม่สามารถแยกย่อย) คือมีเนื้อหาเป็นอันเดียว ไม่สามารถแยกออกได้และสิ่งซับซ้อนที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบย่อย

ความจริง(True) สิ่งเป็นอยู่ที่ถูกพิจารณาในความสัมพันธ์กับความคิด

ความดี(Good) สิ่งเป็นอยู่ที่ถูกพิจารณาในความสัมพันธ์กับความต้องการ(Desire) ทุกๆสิ่งที่ต้องการ แต่ความดีมี 3 อย่าง คือ ความพอดี ประโยชน์ใช้สอยและความเพลิดเพลิน(Pleasure) ความงาม(Beauty) ความงามเกิดจากการได้เห็นแต่การเห็นสำหรับอไควนัสคือการรู้ชนิดหนึ่ง และเป็นการรู้ที่ไว้วางใจได้มากที่สุด ดังนั้น การเห็นจึงจัดอยู่ในสมรรภาพทางความเข้าใจ

 สามเงื่อนไขของความงาม คือ

1.ความเป็นหนึ่งเดียว หรือความสมบูรณ์ (integrity or Perfection)

2..สัดส่วน หรือความกลมกลืน(Proportion or Harmony)

3.ความเจิดจ้า หรือความชัดเจน (Brightness or Clarity) มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ถึงความจริง หรือความงามระดับเทพ

สิ่งที่มองเห็นได้นั้นจะมีระยะสัดส่วนกับการมองเห็นของผู้มองและเงื่อนไขที่สามคือ ความเจิดจ้า หรือความชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับสมัย Platonic ซึ่งกล่าวว่า แสงสว่าง(light) เป็นสัญลักษณ์ของความงามความจริงของพระเจ้า ความชัดเจน(clarity) เป็นความวิเศษงดงามของแบบที่ส่องแสงลงไปที่เป็นส่วนหนึ่งในแบบของตัวเอง

ปัญหาของญาณวิทยา ที่ว่าด้วยการเข้าถึงความจริงแท้ของโลกภายนอก  จึงเหมือนจะสูญหาย ไปในสมัยนี้  เนื่องจากสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ถูกมอบมาจากพระเจ้าโดยตรง และเป็นความจริงที่ไม่สามารถโต้แย้งได้  ปัญหาของระบบการสร้างสรรค์ส่วนบุคคล และการใช้เหตุผล จึงเหมือนจะ สูญหายไปด้วย เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับพลังอำนาจจากภายนอกของพระเจ้าทั้งสิ้น   อิทธิพลของศาสนาคริสต์ได้ก่อให้เกิดรูปแบบของงานศิลปะ และสถาปัตยกรรมเพื่อศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ ในช่วงแรกของยุคกลาง ซึ่งยังไม่มีการแบ่งศาสนาออกเป็นสองนิกายนั้น เรียกว่า  สมัยคริสเตียน ตอนต้น (Early Christian) แต่ช่วงนี้ยังไม่มีรูปแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน หลัง จากสมัยคริสเตียนตอนต้นผ่านพ้นไป จึงเกิดการพัฒนารูปแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมต่อ 

เนื่องกัน 3 รูปแบบที่สำคัญ คือ   

สุนทรียะ = การติดต่อสื่อสารพระเจ้า สุนทรียะ =  การไถ่บาป  redemption  สุนทรียะ = แสง การเพ้นท์กระจก ซึ่งต่อมามีอิทธิพลกับงานจิตรกรรม

leo tolstoy 

แนวคิดแบบ Idealist มันทำให้ยุ่งยากซับซ้อน  แนวคิด Idealist มันต้องอาศัยความพยายามในการสร้างคุณค่าแห่งความงาม ด้วยการอุทิศตน  จนทำให้ ศิลปะ ถูกจัดระบบเป็นชั้นสูง ที่ต้องวิจิตรเพียงเท่านั้น ทุกคนถึงสัพัสความงาม  อย่าง โขน กว่าจะเต้นโขนได้ต้องถูก Train อย่างแสนสาหัส ….สิ่งเหล่านี้นั่นเองที่ทำให้ ตอลสตอย พยายามหาแนวคิดมาหักล้าง ถึงขนาดกล่าวว่า “ศิลปะถูกจัดอยู่ในกลุ่มความชั่วร้ายที่พยายามกระทำชำเรากับนุษย์”   ตอลสตอย พยายามต่อต้านด้าน ความพยายามที่ยกศิลปะไปสู่สังคมชั้นสูง ที่ต้องแลกมากับความพยายาม จากคนชนชั้นที่ล่างกว่า มันเท่ากับว่า ศิลปะ มอบความสุขกับคนบางกลุ่ม ทุกข์กับคนบางกลุ่ม ตอลสตอย จึงเสนอให้ยกเลิก มหาลัยทางศิลปะ ให้หมด เพราะพวกนี้ผลิต “นักเทคนิค” มากกว่าศิลปิน ยิ่งฝึก ยิ่งเรียน ยิ่งห่างความเป็นศิลปิน ศิลปะ แนวคิดพวกนี้ ก็มาจาก เฮเกล, ชอเวนฮาเวอร์   ตอนที่ 2 ทฤษฏี การให้กำเนิดศิลปะ จาก ชานดาวิน กล่าวว่า ศิลปะ มาจากการเล่นให้สนุก ความบันเทิง ความสนุกของมนุษย์ อย่าง ศิลปะ ดนตรี ชนเผ่า เคารพพระเจ้า ด้วยเสียงดนตรี และทำให้คนในชุมชนอยู่ด้วยความสุข ซึ่งตรงข้ามกับ พวก Academy ตรงนี้เอง สรุปคือ ศิลปะควรเยียวยา ความทุก์มนุษย์  เวลาพูดถึงศิลปะ ให้เลิกคิดถึงความงาม ในแนวคิดสุนทรียศาสตร์ : ความจริง ความดี ความงาม  แต่ศิลปินคือ ผู้ถ่ายทอด เล่าเรื่อง อย่างไรก็ได้ ให้ผู้รับ “รู้สึก” หรือหลักๆ คือ ศิลปะ =  การสื่อสารความรู้สึก Comminication of Feeling  ศิลปะทำให้เกิดสังคมมนุษย์ มีมาก่อนสังคมการเมือง ในแง่นี้ตีความไ้ด้ว่า กิจกรรมวิถีชีวิตธรมดา = ศิลปะ

R.G. Collingwood

The Principle of Art  Art as an Expressionism – Express Emotion ซึ่งต่างกับ ลีโอ ตอลสตอย ว่าด้วย Art = Communication (นัยยะวารู้เรื่อง) ซึ่ง คอลิน ขยายความหมายการรับรู้

Art – Intuition : งานศิลปะต้องเข้าถึงด้วย intuition ที่ไ่ม่ใช่เข้าถึงด้วยตา Non Sense /Reason หมายถึง ทุกคนรับรู้ความงามแต่อธิบาไม่ได้ เช่น เพลงที่เพราะ เรารับรู้ความไพเราะเกินกว่าที่จะเอาเหตุผลมาจำกัด ความไพเราะ So Intusion มันให้การรับรู้เกินคำอธิบาย โคลินวูด จึงเชิญชวนให้สัมพัสงานศิลปะ แบบยังไม่ต้องใช้ เหตุผล  การตั้งคำถาม : ศิลปินแตกต่างยังไงกับช่างหรือคนทั่วไป แตในทัศนะ โคลินวูด ให้เท่ากัน ในแง่ active กับ Passive คนสร้างความงาม กับคนรับความงาม ในแง่ที่เวลาเราวิเคราะห์งานศิลปะ คือ ต้องแยกงานศิลปะไม่ผูกติดกับผลงาน  วิธีวินิจฉัย Concept อยู่ 2 ชุด  Mean & Aim Expression Emotion อย่างตู้พระธรรม เรามี Aim = ใส่ใบลาน | Mean เราต้องสร้าง ความน่าเครพยกย่อง ความวิจิตร ปราณีต ให้คนเคารพ ** การให้ความหมาย และจุดประสงค์ ** ีแค่ Mean แต่งานศิลปะ ลอยตัวกว่านั้น รูปเขียนทั่วไป ไ่มีระโยชน์ นอกจากแขวนไว้ดู  งานช่างจึงเป็นงานที่ arouse emotion แต่งานศิลปะ arouse Express Emotion  อย่าง ในพับบาร์ เปิดเพลงเสียงดัง เพราะมัน Aloud Emotion  ** บางอย่างที่ Non-arouseแต่ Express ด้วยตัวมันเองได้ ก็มีคุณสมบัติเป็นศิลปะ ที่แบ่งแยกจากช่าง คือ ให้ผู้รับตรวจสอบ ว่าสิ่งใดกันแน่ที่กระทบเรา แม้ขาดการรับรู้ทั้งสัมพัสทั้ง 5 Perception แบบปกติ นั่นคือ การรับรู้แบบ intuition – Sense

งานศิลปะ เกี่ยวข้อโดยตรงกับอารมณ์มนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผล  อารมณ์ มีประโยชน์ ไม่แพ้เหตุผล ฉะนั้นต้องทำใ้พัฒนาอารมณ์ ศิลปะ ช่วยพัฒนาอารมณ์

Benedetto Croce

ความงามเป็นนามธรรม การทำให้ศิลปะเป็นรูปธรรมได้ต้องแสดงออกผ่าน งานศิลปะ   Art – Aesthetics – Beauty เป็นคำชุดเดียวกัน งานศิลปะจึง อมตะ  ซึ่งกรณีนี้จะเห็นแตกต่างจาก เตอสตรอย

Corce ชื่นชมผลงานของ เฮเกล เรื่อง จิตนิยม เป็นที่มาของ ในส่วนของศิลปะ : “Spirit & Mind” คำแรก Spirit แยกออกจาก Mind เพราะอิสระจากส่วนสมอง = Logic   พอ Spirit (วิญญาณ) อิสระ Croce จึงวาง กรอบไว้ 4 ส่วน ที่มา แนวคิดจิตนิยม  คุณสมบัติ 4 ห้อง logic  Aesthetic  Practical Sign Morality   Logic : ตรรกะวิทยา คณิตศาสตร์ หา trust ซึ่ง Croce วางไ้ตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์ Aesthetic หาความงาม Practical Since : Utility *** สิ่งที่วิทยาศาสตร์หา = utility (ประโยชน์ใช้สอย เปลี่ยนแปลงได้ตลอด) Morality : Goodness ** สิ่งเหล่านี้ เป็นการตอบคำถามใหญ่ในยุค กรีก > Dark Ages   Croce ให้ความสำคัญกับ ศิลปะ + ปรัชญาภาษา Lingistic ปรัชญา การความศิลปะ = การเล่นคำ  ความต่าง Intuition กับ Logic || Logic  แนวคิด คือ ของเท่กันย่มเท่ากัน 1+1 = 2

ความจริง ความงาม ความดี croce เพิ่มมาอีกข้อ = Utinity

Croce เสนอแนวคิด ทฤษฏีทางสุนทรียะ = Expression Expression = Intuition หมายถึงว่าการที่เราจะรับรู้ได้นั้นต้องใช้ ประสาทสัมพัสทั้ง 5 การรับรู้แบบ Utinity = logic   งานช่าง เร้า Emotion | งานศิลปะ เร้า Expression Expression มีในคนทุกคน เป็นคุณสมบัติ จิต มนุษย์ ทุกคนย่อมได้ spirit ที่ถูกแบ่งจากพระเจ้า ทุกคนเท่ากันในแง่นี้  ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงความงามแม้ไ่ได้เป็นศิลปิน มีสิทธิ์ตีควาทางความงาม มีส่วนร่วม

Linguistic = ปรัชญาภาษา  สำหรับ Croce ให้ สุนทรียศาสตร์ เท่ากับปรัชญาภาษา   ศิลปะ = กวี | ศิลปิน = นักกวี ฉะนั้นต้องมีความลึกซึ้งในเนื้อหา เช่น ปอป ดีแล่น  หมายถึง การประเมินว่า ใครเป็นศิลปินนั้น ก็ต้องให้เจ้าของผลงานนนั้นๆ อธิบายควาลึกซึ้งในตัวผลงาน ที่มา แรงบันดานใจ ภาษามนุษย์ แบ่งออกเป็น Primitive กับ Non-Primitive คือ ภาษาทางวรรณกรรม กับภาษาทั่วไป ภาษาพูด ซึ่งภาษา Non-Primative. จุดสังเกตที่ทำให้ตัวมันอยู่รอดได้ คือต้อง มีกาารพัฒนาตัวเอง ส่วน Primative ไม่จำเป็นถึงมีก็ต้องยอมรับในความสวยงามในระดับหนึ่ง ถึงอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ส่งผลกับการอยู่รอด ตัวมันมีเสน่ห์จากการมีความเป็น organic ลึกซึ้ง สวยงาม  — Croce เอาศิลปะกับภาษาเป็นเรื่องเดียวัน So มาตราฐานความงาม = คุณภาพกวี ึกซึ้ง ทำให้เค้าเชื่อว่า นี่คือการแยกระหว่างงานช่างกับศิลปะ – ศิลปิน

Martin Heidegger

The Origin of the Work of Art – OWA. เขตแดนของงานศิลปะ ในปัจจุบัน มีความเห็นร่วมกับ Hegel : The Death of Art ว่า ศิลปะถ้าไม่ได้อยู่กับ ความจริง ความดี มันครอบครองแค่ ความงาม  Pure Aesthetics สถานะมันเป็นแค่ สิ่งของ Entity-NonHoly   เฮเกล ถึงขนาด หมดยุคแห่งการสร้างศิลปะที่ยิ่งใหญ่ แต่ ไฮเดกเกอ์เห็นต่าง มองว่า ความิ่งใหญ่ยังอยู่กับภาระหน้าที่มนุษย์เสมอ ตราบใดที่ศิลปะยังมี สุนทรียะ ให้เกาะ   ประสบการณ์ = Pre Expectation เรามีพื้นฐานเดิม ตามมาจึงเป็นความคาดหวัง หาใช่ประสบการณ์ ในปัจจุบันไม่ มัเป็นเพียงความเข้ใจใหม่ที่เิมเข้าไป ,,,, สานต่อ เฮเกล  ความรู้แบบ Ready to hand = เรารับรู้สิ่งรอบตัวก่อน เช่น จับค้อนเรารู้ถึงความสัมันธ์เรากับค้อน แต่ Present to hand = เรากับค้อน เป็นอิสระกัน  สนใจ การมีอยู่ เช่น ช้าง ? อะไรทำให้เรา้ว่าช้างมีอยู่

แนวคิดที่ผ่านมาทั้งหลายกำลังมุ่งไปสู่จุดจบ  อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าอย่างมากในวิทยาการทางการผลิตและ วิทยาการด้านสื่อและคอมพิวเตอร์ ที่สามารถผลิตซ้ำ   ทั้งวัตถุ ข่าวสาร และวัฒนธรรม สังคมแบบโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นสังคมของการบริโภคสัญญะ สื่อ (Sign)  ไม่ใช่การบริโภควัตถุโดยตรง เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ล้ำความจริง (Hyperreality )   ซึ่งเป็นเพียงแค่การจำลอง ( Simualtion) ทำให้เกิดความสับสนลวงตาระหว่างความจริงกับสิ่งจำลอง หรือสิ่งจริงกับสิ่งปรากฏ ทำให้สิ่งจำลองมีความจริงยิ่งกว่าความเป็นจริง     ประเด็นในการนำเสนอตัวแทน (Representation) ทำให้การนำเสนอตัวแทนไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ โพสต์โมเดิร์นจึงปฏิเสธการนำเสนอตัวแทน และเชื่อว่าสิ่งที่สามารถทำได้คือ การสื่อซ้ำ(Re-Presentation) ถึงสิ่งที่ปรากฏมาแล้วในอดีตพวกเขาปฏิเสธแนวคิวแบบนิยมที่มองมนุษย์เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ และปฏิเสธเวลาในเชิงเส้นตรง(Linearity)    โดยมองร่างกายในฐานะที่เป็นโครงการ (Project) ไม่ใช่ร่างกายที่มีสภาวะสมบูรณ์ดังเช่นร่างกายแบบสมัยคลาสสิค แต่เป็นร่างกายที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เป็นร่างการที่มีค่าในเชิงพาณิชย์     ในทศวรรษ 1960 สังคมตะวันตกสนใจการพัฒนาการทางด้านภาษา โดยเฉพาะด้านภาษาศาสตร์ ที่นำเอากระบวนการทางภาษามาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงศิลปะด้วย นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมีความสัมพันระหว่างวัตถุในโลกกับภาษาที่เราใช้กันเพื่ออธิบายว่าทำไมคำๆหนึ่งจึงหมายถึงวัตถุนั้นๆและมีความหมายต่างจไปจากคำอื่นๆเป็นการหาคำตอบด้านโครงสร้างของภาษา

นักปรัชญายุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ท้าทายความสามารถ 20 เคลฟเคลฟ เบลล์ (Clive Belt) นักวิจารณ์และนักวิจารณ์ ปัญญาประดิษฐ์ ได้เบิร์ดว่า… คิดไอเดียใหม่ในการกำหนดศิลปะประดิษฐ์ …  ทดลองเรียนของปัญญาหรือปัญญาอ่อนของทฤษฎี ของเบลล์เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของวงการศิลปะในยุคสมัยใหม่หรือโมเดิร์น (Modernism) เพื่ออธิบายแนวคิดเบื้องหลังศิลปะแบบนามธรรม (abstract) ซึ่งไม่ได้เลียนแบบสิ่งใด (representation) และไม่ได้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวที่มาจากชีวิตมนุษย์ เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ (art for art’s sake) อย่าง แท้จริง

ศิลปินคือผู้ที่เข้าถึงรูปทรงที่มีนัยสำคัญ (significant form) โดยการเข้าถึงนี้ไม่ใช่การรับรู้ในเชิง ประจักษ์ด้วยประสาทสัมผัส (empirical) แต่เป็นการเข้าถึงในลักษณะที่เป็นการหยั่งรู้ได้เอง (intuition) เมื่อศิลปินมองสิ่งต่างๆ เขาจะเห็นรูปทรงบริสุทธิ์ (pure form) อันเกิดจากการรวมตัวกันของเส้นสีที่มี ความสัมพันธ์กลมกลืนกัน ศิลปินจะเกิดความรู้สึกทางสุนทรียะในการเห็นรูปทรงอันบริสุทธิ์นั้น และเกิด แรงบันดาลใจในการแสดงออกถึงสิ่งที่รู้สึกให้ปรากฏออกมาในผลงานศิลปะ ทำให้ผู้ชมเกิดความซาบซึ้ง สามารถเข้าถึงโลกแห่งความงามหรือความรู้สึกทางสุนทรียะได้เช่นเดียวกับศิลปิน ดังนั้น ศิลปะที่แท้จริง จึงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาสาระที่ปรากฏอยู่ในผลงาน หากแต่อยู่ที่รูปทรงที่มีนัยสำคัญ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของเส้นสีที่สัมพันธ์กันด้วยสัดส่วนที่ลงตัว แนวคิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Formalism ซึ่งมีเกณฑ์ใน การพิจารณาตัดสินคุณค่าของศิลปะที่รูปทรง โดยไม่เกี่ยวข้องกับบริบทใดๆ (Isolationism)

ในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี ค.ศ.1945) ศิลปะไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือ ความสำนึกผิดจากความโหดร้ายของสงครามได้ ธีโอดอร์ อะดอร์โน (Theodor W.Adorno) กล่าวว่า ศิลปะคือสื่อที่แสดงออก และเปิดเผยสิ่งที่แฝงความไม่จริง และในขณะเดียวกันก็ควรแฝงความเป็นจริงให้ ปรากฏเห็นทั่วไป ศิลปะควรเป็นดั่งกระจกสะท้อนความไร้เหตุผลของโลกให้เด่นชัด โดยใช้รูปแบบของ ความไร้สาระเป็นขบวนการแสดงออก ชี้ให้เห็นความผิดพลาดในโลกนี้ เพื่อนำไปสู่โลกที่สมบูรณ์กว่า ระบบอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ที่มีอิทธิพลเหนือศิลปะ ทำให้ศิลปะมีค่าเพียงเพื่อสนองความต้องการ ของตลาดและยังกลืนผู้คนให้กลายเป็นสังคมดาษดื่น ขาดการกระตุ้นทางปัญญา ศิลปะจึงควรสร้างมาจาก ปัญญา เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดปัญญา

เนลสัน กู๊ดแมน (Nelson Goodman) นักปรัชญาชาวอเมริกันกล่าวว่า ศิลปะคือสัญลักษณ์ (symbol) ที่มีความหมายแทนสิ่งหนึ่ง หรือเป็นสื่อสำหรับบ่งบอกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการบ่งบอกนั้นไม่ จำเป็นต้องใช้รูปลักษณ์ที่ “เหมือน” เป็นสื่อ ความเหมือนไม่ใช่คุณสมบัติที่จะทำให้สิ่งหนึ่งเป็นตัวแทน (representation) อีกสิ่งหนึ่งได้ ภาพเหมือนจริงย่อมไม่อาจเป็นตัวแทนในสิ่งที่วาดได้สมบูรณ์ เพราะ ภาพวาดเป็นการแสดงมุมมองเพียงมุมมองเดียว ดังนั้น จึงไม่มีศิลปะใดที่สามารถแสดงความจริงได้อย่าง แท้จริง สิ่งที่เราคิดว่าเหมือนจริงนั้นเป็นเพราะเราตัดสินจากความเคยชินทางการเห็นของเราเอง ซึ่งอาจ กลายเป็นอย่างอื่นในเวลาอื่น หรือวัฒนธรรมอื่นได้ ศิลปะจึงไม่ใช่การลอกเลียนสิ่งหนึ่ง แต่เป็นการแสดง สิ่งนั้นให้มีลักษณะแบบหนึ่ง จากการมองโลกด้วยสายตาหนึ่ง แล้วสร้างผลงานตามทัศนะนั้นขึ้นมาใหม่ ในการทำความเข้าใจผลงานศิลปะจึงต้องใช้วิธีการตีความสัญลักษณ์ โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ และ ความคิดของผู้ชมเป็นสำคัญ

คุณค่าของศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัตถุ หากแต่อยู่ที่ความสามารถในการแสดง ความหมายของวัตถุนั้น ดังแนวคิดของ อาเธอร์ ซี.ดันโต้ (Arthur C.Danto) นักวิจารณ์ศิลปะและนัก ปรัชญาชาวอเมริกันที่กล่าวว่า วัตถุชิ้นหนึ่งจะแตกต่างจากวัตถุทั่วไป และกลายเป็นผลงานศิลปะได้ ก็ ต่อเมื่อสามารถบ่งบอกได้ว่าผลงานชิ้นนั้นเกี่ยวกับอะไร (aboutness) และทำให้เกิดการแสดงความหมาย ได้ โดยใช้โครงสร้างของการอุปมาอุปมัย (methaphor)นอกจากนี้ในการตีความผลงานจะต้องพิจารณา ถึงเวลา สถานที่ สถานการณ์ และวัฒนธรรม หรือบริบทที่ผลงานศิลปะนั้นถูกสร้างขึ้น (Contextualism) ทฤษฎีและข้อมูลแวดล้อมต่างๆ มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจในผลงานศิลปะ เพราะความเป็น ศิลปะจะขึ้นอยู่กับทฤษฎีเหล่านี้เสมอ (Art as Theory)