5 ทักษะที่ Graphic Designer มีใว้ยังใงก็ไม่อดตาย!
มาดูกันซิว่าเครื่องมือที่จำเป็นมากๆต่อ Graphic Designer แท้ที่จริงมีอะไรบ้างที่สำคัญ แม้ว่าการเป็นนักออกแบบที่สุดยอดนั้นควรมีทักษะเยอะๆ มีความสามารถหลากหลาย ใช้งานเครื่องมือออกแบบต่างๆได้อย่างคล่องแคล่วเชี่ยวชาญ แต่ในการทำงานจริงๆ เราก็พบข้อจำกัดมากมายที่ไม่เอื้อให้เราได้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หลายๆครั้งเราจำเป็นต้องใช้ทักษะเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ในการสร้างงานให้สำเร็จให้ได้และต้องดีด้วย อย่างไรก็ตามไม่ใช่เรื่องเลวร้ายถ้าเราจะใช้เครื่องมือเดิมๆเพื่อออกแบบให้งานออกมาได้ทันกำหนดส่ง และมันก็เป็นงานที่ดีได้หากคุณเพิ่มพูนความชำนาญในทักษะนั้นๆได้อย่างเชี่ยวชาญจริงๆ แบบที่เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคประจำตัวได้เลยทีเดียว และด้วยทักษะพื้นฐานเหล่านี้เองที่จะช่วยแยกงานระดับ Professional กับมือสมัครเล่นออกจากกันได้ ด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ผมพบว่ามีทักษะจำเป็นไม่กี่อย่างหรอกที่เรานำมาใช้เป็นประจำ แต่หากเราใช้มันอย่างชำนาญแล้ว อย่างไรเสียก็ไม่อดตายแน่นอน เพราะมันครอบคลุมการทำงานได้แทบหมดบนโลกนี้ ( อันนี้ก็ดูโม้ไปนิด โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ) 1. Die-Cut การไดคัทจะว่าง่ายก็ไม่แน่เสมอไป เช่นถ้าเจอสถานการณ์ยากๆอย่าง รูปคุณภาพต่ำ ฉากหลังรกรุงรัง สภาพแสงแย่ๆ ก็ทำเอาเรื่องง่ายๆกลายเป็นงานหินได้เหมือนกัน การไดคัทของมือโปรกับมือใหม่แยกออกง่ายมาก สังเกตุได้จากเส้นขอบ งานดีๆจะเห็นว่าส่วนที่ควรคมก็จะคม ส่วนที่ควรฟุ้งก็จะฟุ้งและส่วนที่ปรับเซียนสุดๆก็คือ เส้นผมหรืออะไรทำนองนั้นหละครับที่จะทำให้งานทั้งหมดออกมาแน่ได้เลยหากว่าไดคัทไม่เนียน ก็เลยเอา Tutorial เกี่ยวกับการไดคัทเส้นผมมาฝากกันเป็นของแถม มีหลายเทคนิค / วิธีการให้เลือกเอาตามใจชอบนะครับ ฝึกฝนบ่อยๆก็จะได้คล่องแคล่วถ้าทำเรื่องยากๆอย่างเส้นผมได้ดีส่วนอื่นๆก็ไม่ต้องกังวัลแล้วครับ Die Cut Hair 1 | Die Cut Hair 2 | Die Cut Hair 3 2. Pen Tool ปากกาคือสุดยอดเครื่องมือที่ช่วยคุณเนรมิตสิ่งต่างๆให้เป็นจริงได้ การวาดเส้นคือจุดเริ่มต้นของทุกๆอย่าง ไม่ว่าคุณจะดร๊าฟภาพจากรูปถ่าย หรือจะวาดเส้นจากภาพสเก็ต การไดคัทภาพ หรือแม้แต่สร้างรูปทรงต่างๆตามใจต้องการก็ตาม ยิ่งวาดคล่องงานยิ่งเร็ว ยิ่งวาดบ่อยๆงานยิ่งดีขึ้นหากคุณสามารถควบคุมเส้นได้ดั่งใจไม่ว่าจะดัดโค้งหรือยึกยักไปมาคุณก็สามารถสร้างกราฟฟิกอะไรบนโลกนี้ก็ได้ครับ 3. Blend Mode อันนี้ผมถือเป็นไอเทมลับเลย การใช้ Blend Mode เนี่ย พูดง่ายๆว่ามันคือ การกำหนดค่าให้ Layer มีคุณสมบัติในการโปร่งใสเมื่อค่าสีใดสีหนึ่งมาเจอกับอีกสี อะไรทำนองนั้นนะครับ ไม่ว่าจะในโปรแกรม Illustrator หรือ Photoshop มันจะทำหน้าที่แบบเดียวกัน และมีให้เลือกเยอะมากๆเลย จนบางทีเราสับสนไม่รู้อะไรเป็นอะไร แต่ถ้าเราให้เวลากับการทดลองทับไปมาเรื่อยๆ บางครั้งเราก็จะพบว่าได้ผลลัพธ์ดีๆที่ไม่คาดคิดมาก่อนแต่โดยส่วนใหญ่ อันที่ใช้กันบ่อยก็จะมี Multiply , Screen , Overlay , Soft Light วันนี้เอาตารางไปดูความแตกต่างของแต่ละแบบก่อนนะครับ ผมขอเวลารวบรวมเรียบเรียงข้อมูลเพื่ออธิบายว่าแต่ละโหมดทำหน้าที่แบบไหน อย่างไร ใว้ในโอกาสหน้าแล้วกันนะครับ 4. Color Taste
พูดกันตรงๆก็คือรสนิยมในการเลือกใช้สีนั่นแหละครับ สีเดียวอาจจะยังไม่เท่าไหร่แต่เมื่อต้องใช้สีมากกว่า 2 สีทีไรก็มักสร้างปัญหาให้ Graphic Designer มือใหม่ได้อยู่เสมอๆ บางครั้งใช้คู่สีที่จัดว่าดีแล้วแต่ค่าความสด ความเข้ม ความสว่าง ไม่สมดุลกันก็ทำให้ภาพรวมของงานดูกร่อยไปในทันที ทางออกก็ไม่ยุ่งยากอะไรเลยครับ เราแค่ดูว่างานสวยๆเค้าใช้สีแบบไหน คู่สีแบบไหน สมดุลสีแบบไหน ดูให้เยอะๆเข้าใว้ เราก็จะจำได้เองอัตโนมัติ และยิ่งตอนนี้ก็มีเครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกสีให้เราใช้งานเยอะแยะมากมายทั้งในตัวโปแกรมออกแบบเอง และตามเว็บไซต์ต่างๆก็จงใช้ให้เป็นประโยชน์เถิดครับ งานดีๆมาดับด้วยการใช้สีเยอะแล้วครับ ตัวช่วยออนไลน์ เว็บชุดสีที่ตามเทรนด์และมีหลายประเภทให้เลือกหยิบมาใช้ครับ –http://goo.gl/fNlbzU เว็บสร้างชุดสีของ Adobe มีสียอดนิยมอัพเดทด้วยนะครับ –https://goo.gl/3SMWnm 5. Right Images การเลือกใช้ภาพก็เช่นเดียวกันกับการเลือกใช้สี เพราะภาพที่ดีนั้นทำให้งานออกแบบชนะไปแล้ว 50% แต่การได้มาซึ่งภาพที่ดีก็ต้องลงทุนนะครับ เช่นต้องจ้างช่างภาพถ่ายให้ หรือถ่ายเองก็ตามที รวมทั้งการซื้อภาพจาก Stockphoto ต่างๆ หรือแม้แต่จะโหลดภาพฟรีจากเว็บไซต์อย่าง http://goo.gl/1mnzQxก็ตามทีเราล้วนต้อง “เลือก” ภาพที่ใช่ในงานของเราอยู่เสมอ เคล็ดลับสำคัญของการเลือกภาพที่จะนำมาใช้ 1.ภาพมีขนาดภาพใหญ่พอกับชิ้นงานเรา ควรใช้รูปคุณภาพสูงๆ เพราะถ้ามาแบบเล็กกระจิ๋วเอามาแต่งแทบตายยังใงก็ดูแย่อยู่ดี 2.ภาพต้องมีความชัดระดับนึง เป็นคนละเรื่องกับขนาดนะครับมันคือเรื่องของวัตถุในภาพที่จะต้องคมพอ แม้เราจะอยากเบลอมันภายหลังก็ควรนำภาพที่คมชัดที่สุดมาใช้ก่อนดีกว่า 3.ภาพต้องช่วยสื่อสารเรื่องราวของเราได้ เพียง 5 ทักษะนี้ที่ Graphic Designer ควรมีใว้และหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ สามารถใช้ได้กับงานทุกประเภทอย่างแน่นอน และเชื่อเถอะว่ายิ่งคุณทำมันได้ในระดับผู้เชี่ยวชาญมากเท่าไหร่ โอกาสของคุณจะยิ่งมากและขับให้ตัวคุณโดดเด่นออกมาจาก Graphic Designer คนอื่นๆ อย่างชัดเจนจริงๆ