BANGKOK GRAPHIC

ชุดโครงการท่องเที่ยวราชบุรี

ชุดโครงการท่องเที่ยวราชบุรี

ท่องเที่ยวราชบุรี File Present[/caption] ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2553 -2556 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ศักยภาพ (SWOT Analysis) จังหวัดราชบุรี 1.1 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่สำคัญ จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว นานาประเทศหันกลับมาให้ความสำคัญด้านปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากรายงานสถาบันด้านเศรษฐกิจโลก ในปี 2553 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มอาจจะปรับตัวดีขึ้นในภาพรวมซึ่งอาจจะใช้เวลาในการฟื้นตัว แม้ว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวการณ์ชะลอตัวดังกล่าว แต่สถานการณ์ของอุปสงค์และอุปทานอาหารของโลกมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากความต้องการด้านพลังงานทดแทนและการเกิดภัยธรรมชาติ ความต้องการด้านอาหารของโลกและประเทศในอาเซียนเข้มงวดในเรื่องความปลอดภัยและปลอดสารพิษ ซึ่งการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหารจะต้องปรับตัวกับมาตรการด้านต่างๆของประเทศคู่ค้า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีแนวโน้มเริ่มเข้าสู่ระดับที่ถือได้ว่ามีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องมาจากภาพโดยรวมของภาคการค้าของโลก ซึ่งจะช่วยหนุนให้ทิศทางของภาคการส่งออกของไทย จะมีการขยายตัวได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึงปัจจัยบวกจากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปี 2552 – 2553 ตามแผนปฏิบัติการ “ไทยเข้มแข็ง” ที่จะเริ่มมีการใช้จ่ายได้ตั้งแต่ในช่วงปลายปี2552 ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี2553 ขยายตัวมากขึ้น นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ ที่จะสร้างการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและมั่นคง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร ในส่วนพัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ ดำเนินการปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจพัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล นโยบาย เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ เสริมสร้างจิตสำนึกความรักชาติและความสามัคคีของคนในชาติ โดยใช้วัฒนธรรม ประเพณี และกีฬาเป็นสื่อในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคี 1.2 ศักยภาพโดยรวมของจังหวัดราชบุรี จังหวัดราชบุรี มีอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – 2551 เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี และอัตราการขยายตัวการผลิตด้านเกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 – 2551 เฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี โดยเฉพาะในปี 2551 จังหวัดราชบุรีมีมูลค่าการผลิตในภาคเกษตร จำนวน 17,640 ล้านบาท ทังนี้ เนื่องจากจังหวัดราชบุรี มีศักยภาพที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เช่น มีพื้นที่การ เพาะปลูกพืชผักผลไม้ จำนวน 1,027,340 ไร่ สามารถผลิตพืชผัก ผลไม้ ประมาณ 2,218,641 ตันต่อปี เนื่องจากมีระบบการชลประทานที่ดี มีตลาดกลางสินค้าเกษตร ถึง 2 แห่งในการระบายสินค้าไปทั้งภาคกลางภาคใต้ และและภาคอื่นๆ ในด้านการปศุสัตว์ มีการผลิตสุกรได้มากที่สุดของประเทศ ประมาณ 1,313,000 ตัว มูลค่า 3,940 ล้านบาท นอกจากนี้จังหวัดราชบุรี ยังมีศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านศิลปะการผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เช่นโอ่งมังกร จึงเป็นสินค้าทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าการผลิต สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ในปี 2550 จังหวัดราชบุรีมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 1,206.84 ล้านบาท ด้านสังคม ประชากรจังหวัดราชบุรีประกอบด้วยเชื้อสาย 8 ชนเผ่า มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย จึงเป็นทุนทางสังคมที่จะส่งเสริมการพัฒนาในด้านต่างๆ แต่เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความแตกแยกทางความคิดจากภายนอก ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ความคิดเห็นทางการเมืองที่นำไปสู่การแบ่งกลุ่ม การเลียนแบบวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม การบังคับใช้กฎหมายจึงเป็นปัจจัยที่จะต้องแร่งรัดแก้ไขต่อไป จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าจังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการเกษตร แต่เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังต้องใช้ระยะเวลาการฟื้นตัว ประกอบกับในปัจจุบันความต้องการด้านอาหารให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ตลอดจนภาคสังคมที่ปรารถนาที่เป็นสังคมสมานฉันท์ ดังนั้น ตำแหน่งยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดราชบุรี จึงเป็น เมืองน่าอยู่ เกษตรปลอดภัย ปัจจัยสำคัญที่จังหวัดราชบุรีจะทำให้ ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนา พัฒนาสำเร็จได้นั้น จะต้องมีความระมัดระวังและห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ เพราะทั้งสองอย่างเป็นปัจจัยเกื้อหนุนความสำเร็จของการพัฒนาตำแหน่งยุทธศาสตร์ ที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในการบริหารจัดการ การคิด และการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของจังหวัดโดยประชาชนมีส่วนร่วม จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ     Download : กลยุทธ์ Download แผนพัฒนา Download : รายละเอียดความร่วมมือ   Download : file ออกแบบ