BANGKOK GRAPHIC

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบสิ่งพิมพ์

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ หลักการเรื่อง การออกแบบ กริด

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น นักออกแบบจะสื่อสารแนวความคิด โดยการนำองค์ประกอบต่างๆ ทั้งในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นภาพ ส่วนที่เป็นตัวอักษร และส่วนที่เป็นองค์ประกอบทางการออกแบบ อื่นๆ มาจัดวางอยู่รวมกันในพื้นที่หน้ากระดาษโดยอาศัยหลักการทางการออกแบบเพื่อให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่สวยงาม หากสิ่งพิมพ์ที่ทำการออกแบบเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีหน้าหลายหน้า เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร นักออกแบบยังต้องมีภาระเพิ่มเติมขึ้นจากการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษแต่ละหน้าให้สวยงาม คือ ต้องพยายามในการควบคุมให้ภาพรวมของทุกๆ หน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือกลมกลืนกัน เพื่อให้สิ่งพิมพ์ทั้งเล่มดูมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะอาศัยการจัดวางตามหลักการออกแบบแล้ว นักออกแบบเรขศิลป์ยังมีเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างสูง เครื่องมือนั้น ก็คือ ระบบกริด (grid system) ระบบกริดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อนแบ่งซอยพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่เดียว โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็นมุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษหากจะเปรียบเทียบการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษกับการสร้างบ้านเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนซึ่งประกอบกันเป็นตารางนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหน้ากระดาษเปรียบเสมือนเสาและคานซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้าน ส่วนภาพหรือตัวอักษรซึ่งนำมาวางลงในตารางนี้ก็เปรียบเสมือนฝาผนังและประตูหน้าต่างที่นำมายึดติดเอาไว้กับเสาและคานในภายหลัง

ระบบกริด นี้เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการออกแบบเพราะระบบกริดจะมีส่วนช่วยในการจัดวางองค์ประกอบในด้านตำแหน่งและขนาด 2 ประการ คือ

  1. ช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการจัดวางองค์ประกอบ โดยในการจัดวางองค์ประกอบ ลงในหน้ากระดาษนั้น นักออกแบบสามารถจะจัดวางองค์ประกอบ ลงไปตามแนวเส้นกริดได้อย่างรวดเร็ว
  2. ช่วยในการกำหนดขนาดขององค์ประกอบ โดยนักออกแบบ สามารถเลือกที่จะใช้ขนาด พื้นที่ที่ถูกแบ่งให้เล็กลงในหน้ากระดาษ เป็นตัวช่วยกำหนดขนาด ขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ความกว้างของคอลัมน์ ความกว้างยาวของภาพ

ส่วนประกอบที่สำคัญของ กริด

ในการนำระบบกริดมาใช้ในการออกแบบนั้น จะต้องทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดเสียก่อน โดยส่วนประกอบที่สำคัญ มีดังนี้
  1. 1) ยูนิตกริด (grid unit) คือ ส่วนประกอบที่เป็นพื้นที่ย่อยที่เกิดขึ้นจากเส้นในแนวตั้งและแนวนอนที่ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ย่อยเหล่านี้จะใช้ในการวางองค์ประกอบต่างๆ โดยในพื้นที่หน้ากระดาษหนึ่งๆ นั้นจะมียูนิตกริดจำนวนเท่าใดก็ได้ และแต่ละยูนิตกริดจะมีขนาดเท่ากันหมดหรือแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
  2. 2) อัลลีย์ (aliey) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างยูนิตกริดแต่ละยูนิตที่ร่วมกันอยู่เป็นกลุ่ม ในการออกแบบกริดส่วนใหญ่นิยมมีอัลลีย์เพราะจะช่วยให้เกิดการอ่านได้ง่ายเมื่อวางตัวอักษรลงไปในยูนิตที่อยู่ติดกัน คือ จะเกิดเป็นช่องว่างคั่นอยู่ระหว่างแต่ละคอลัมน์ อย่างไรก็ตาม ในสิ่งพิมพ์บางอย่างอาจจะไม่มีส่วนประกอบนี้ก็ได้ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีภาพประกอบมากๆ หรือภาพประกอบขนาดใหญ่โดยไม่มีส่วนที่เป็นข้อความมากนัก
  3. 3) ชอบว่าง หรือ มาร์จิน (margin) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างโดยรอบกลุ่มยูนิตกริดทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วจะนิยมออกแบบยูนิตกริดให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบทั้ง 4 ด้านไว้เนื่องจากหากมีการวางองค์ประกอบลงไปในบริเวณขอบเหล่านี้ก็อาจจะขาดหายไปในตอบที่ทำการเจียนขอบกระดาษได้ (ยกเว้นการใช้ภาพตัดตก) ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากองค์ประกอบนั้นเป็นตัวอักษรข้อความ ดังนั้นจึงนิยมที่จะเว้นที่ว่างให้รอบๆ ขอบทั้ง 4 ด้านของกลุ่มยูนิตกริด
  4. 4) กัดเดอร์ (gutter) คือ มาร์จินในส่วนที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวาของสิ่งพิมพ์ ซึ่งเหตุผลในการเว้นนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการเว้นมาร์จิน เพราะหากไม่มีการเว้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาในการอ่านเมื่อนำเอาหน้าทั้งหมดของสิ่งพิมพ์นั้นมาเย็บเล่มเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหนังสือที่มีความหนา การเว้นที่เว้นว่างในส่วนนี้ไว้จะช่วยให้นักออกแบบไม่ลืมว่าไม่ควรวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในบริเวณนี้
  ส่วนประกอบที่สำคัญทั้ง 4 นี้ มักมีอยู่ร่วมกันในระบบกริดส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบกริดทุกอันจะต้องมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 อย่าง ในบางระบบกริดนักออกแบบอาจจะตั้งใจที่จะไม่มีอัลลีย์โดยไปคอยระมัดระวังในการคอลัมน์ ในขณะจัดวางองค์ประกอบก็ได้ นักออกแบบที่ชำนาญอาจจะสามารถจัดส่วนประกอบทั้งสี่ให้เกิดความแตกต่างไปจากระบบกริดที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปเพื่อทำให้สิ่งพิมพ์นั้นๆ มีเอกลักษณ์ที่พิเศษและง่ายแก่กาสังเกตและจดจำ เช่น อาจจะเป็นมาร์จินทั้งด้านซ้ายและขวากว้างกว่าปกติมาก เป็นต้นสำหรับหน่วยในการวัดส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดนั้น ก็ใช้หน่วยเดียวกัน กับการวัดขนาดและความยาวของตัวพิมพ์ คือ ใช้หน่วยพอยต์ในการวัดในแนวตั้ง เช่น การวัดความสูงของยูนิตกริด และใช้หน่วยไพก้าในการวัดในแนวนอน เช่น การวัดความกว้างของยูนิตกริต เป็นต้นในการนำระบบกริดไปใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น จะต้องไม่ลืมว่าในความเป็นจริงแล้ว ในการมองดูสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตสารต่างๆ ผู้ดูจะมองทั้งหน้าซ้ายและหน้าขาวพร้อมๆ กันก่อนที่จะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละหน้าเสมอ เพราะฉะนั้นนักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมของหน้าคู่ (spread) โดยจะต้องถือเสมือนว่าเป็นหน้าเดี่ยวใหญ่ๆ 1 หน้า แทนที่จะเป็นหน้าเล็กๆ 2 หน้าคู่กัน   การออกแบบระบบกริดก้อจะต้องคำนึงถึงภาพรวมที่ว่านี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในการออกแบบระบบกริด จึงมักจะออกแบบทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาไปพร้อมกัน โดยนักออกแบบจะมีทางเลือกในการออกแบบ 3 ทาง ได้แก่
  1. 1) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา (repeat) นิยมใช้กับในสิ่งพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  2. 2) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งในหน้าซ้ายและหน้าขวา แต่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน (mirror) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันในสิ่งพิมพ์ทั่วไปในหนังสือ นิตยสารแผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  3. 3) ใช้กริดที่หน้าซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้ว ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นักออกแบบมักจะเลือก 2 ทางเลือกแรกมากกว่าทางเลือกที่3 ซึ่งมีน้อยมาก และมักจะใช้ในกรณีที่เป็นหนังสือเท่านั้น

ประเภทระบบกริด

ประเภทระบบกริด ระบบกริดที่เป็นที่นิยมใช้กันในการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1. 1) เมนูสคริปต์ กริด (Manuscript Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุดกว่าจะระบบกริดประเภทอื่นๆ การพิมพ์หนังสือในสมัยโบราณจะใช้ระบบกริดในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตที่สี่เหลี่ยม 1 ยูนิต โดยมีขนาดใหญ่เกือบเต็มหน้า และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความจำนวนมากและมีขนาดยาวต่อเนื่องกัน และไม่มีภาพประกอบหลากหลายมากนัก เช่น หนังสือ
  2. 2) คอมลัมน์ กริด (Column Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้งซับซ้อนมากกว่า เมนูสคริปต์ กริด รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิตโดยแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นทางตั้งออกเป็นคอลัมน์คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า ขนาดความกว้างของแต่ละคอมลัมน์จะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างคอลัมน์ และมีมาร์จินล้อมรอบ
  3. 3) โมดูลาร์ กริด (Modular Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากกว่าสองประเภทแรก รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยและเหมาะกับการใช้ในสิ่งที่มีการออกเผยแพร่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  4. 4) ไฮราซิเคิล กริด (Hietrarchical Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อน และแปลกเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นเฉพาะกรณี รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริลสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแต่ละยูนิตมีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ จะมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิตหรือวางซ้อนทันกับก็ได้ และจะมีหรือไม่มีมาร์จินล้อมรอบก็ได้กริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและภาพอยู่ด้วย เช่น หนังสือที่มีภาพประกอบจำนวนมาก แคตตาล็ก หรือโปสเตอร์