ตัวอย่าง Design Brief
ดีไซน์บรีฟ (Design Brief) คือข้อกำหนดที่นักออกแบบนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ (Evaluate) ผลงานแต่ละชิ้นว่าตอบโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดย Design Brief ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1) ข้อมูลพื้นฐาน (Background)
2) วัตถุประสงค์ (Objective)
3) ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (Target audience)
4) สิ่งที่ต้องการจะบอก (Message)
5) อารมณ์และความรู้สึกของงาน (Mood & Tone)
ดีไซน์บรีฟจึงเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยเรื่องของการสื่อสารของสองฝั่งที่มีความรู้ไม่เหมือนกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันและสร้างประสิทธิภาพของงานที่ตอบโจทย์ทุกด้านอย่างเต็มที่ อุตสาหกรรมต่างๆ และการออกแบบในวันนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบรนด์ใหญ่และแบรนด์ใหม่ โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นสนามแข่งที่เป็นเกมที่ยุติธรรม เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับคนที่มีศักยภาพ แต่ก็มาพร้อมกับคู่แข่งหรือธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกันจำนวนมหาศาล เมื่อนี้การออกแบบจึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้แบรนด์นั้นโดดเด่นขึ้นมาได้
ดังนั้นดีไซน์บรีฟจึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้ทุกคนในการทำงานเห็นตรงกันว่านี่คือทิศทางเดียวกัน คำว่า “การทำงานร่วมกัน” ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่นักออกแบบหรือผู้ประกอบการ แต่ว่าคือทุกคน สื่อสารกันผ่านดีไซน์บรีฟเป็นเอกสารที่ใช้ในการเชื่อมการทำงานของส่วนต่างๆ ไปด้วยกัน
ดังนั้นดีไซน์บรีฟ เป็นเครื่องมือในการสรุปความต้องการของผู้ประกอบการและปัญหาของผู้ประกอบการ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบให้นักออกแบบ ทำให้เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเป็นการตรวจสอบ ผลงานแต่ละชิ้นว่าตอบโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และทำให้นักออกแบบและผู้ประกอบการมีความเห็นในทิศทางเดียวกัน