หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์ Newspaper design
หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์
การออกแบบหนังสือพิมพ์ ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์นั้นสามารถนับถอยหลังไปได้กว่าสี่ร้อบปี แต่การนำเสนอข่าวในรูปแบบที่เป็นการเขียนหรือพิมพ์ลงในกระดาษแล้วแจกจ่ายนั้นมีมานานนับได้ตั้งแต่ยุคอาณาจักรโรมันแล้ว สมาพันธ์หนังสือพิมพ์โลก (World Newspaper) ถือว่าหนังสือพิมพ์รีเลชันส์ (Relations) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1605 เป็นหนังสือพิมพ์สมัยใหม่ฉบับแรกของโลก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าหนังสือพิมพ์ลอนดอน กาเซนท์ (London Gazette) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลกที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษ โดยเริ่มพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1666 น่าจะถือเป็นหนังสือพิมพ์แท้จริงฉบับแรกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในทวีปอเมริกา คือ หนังสือพิมพ์ออคเคอร์เรนซ์ (Public Occurrences)
ในปี ค.ศ.1690 โดยเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่อย่างในปัจจุบัน แต่มีขนาดเพียว 7 นิ้ว และประกอบด้วยหน้าหนังสือเพียง 4 กน้าเท่านั้น ก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาจะแยกออกจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษได้เกิดหนังสือพิมพ์ที่สำคัญมากมายหลายฉบับ เช่น บอสตัน กาเซนท์ (Boston Gazette) และนิวยอร์ก กาเซนท์ (New York Gazette)ความสามารถในการผลิตกระดาษในราคาที่ถกลง และเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นในช่วงการปฏิวัตอุตสาหกรรม ทำให้เกิดหนังสือพิมพ์ขึ้นมากมายทั่วโลก ต่อมาเครื่องโทรเลขได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1844 ทำให้การเสนอข่าวไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในช่วงคริสต์ศตรรษที่ 19 ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ ที ลักษณะเป็นตัวหนังสือขนาดเล็กจำนวนสมากตั้งๆตลอดทั้งหน้าการนำภาพถ่ายฮาฟโทน(halftone)มาใช้ในหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1880 และต่อมามีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นพัฒนาการสำคัญที่ทำให้รูปแบบของหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปจนราวปีค.ศ.1900 หนังสือพิมพ์เริ่มมีรูปลักษณ์ในแบบที่พบเห็นได้ในปัจจจุบันหนังสือพิมพ์มีขนาดใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น และหนาขึ้น และเริ่มมีการแบ่งข่าวสารออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น อาชญากรรม ต่างประเทศ กีฬา ฯลฯ และมีการใช้ภาพถ่ายมากขึ้นด้วยในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับการออกแบบมากนัก ดังจะเห็นได้จากรูปแบบที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากนับตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์จึงมีลักษณะเหมือนการจับเอาตัวอักษรและภาพมาบรรจุลงไปในพื้นที่ว่างของหน้ากระดาษให้เต็มเหมือนการเล่นต่อภาพ สถานการณ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีสภาพดีกว่าในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว หนังสือพิมพ์ชั้นแนวหน้าหลายฉบับในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป มีการจ้างผู้กำกับศิลป์ที่มีฝีมือเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบรูปลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ให้มีเอกลักษณ์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกๆที่มีการจ้างผู้กำกับศิลป์มาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้หนังสือพิมพ์ของตน เช่น หนังสือพิมพ์ชิคาโก ทรีบูล (Chicago Tribune) และนิวยอร์กไทมส์ (New York Times) ได้ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จของการผสมผสานการออกแบบเข้ากับเนื้อหาที่ดี ซึ่งนิตยสารหลายฉบับใช้เป็นสูตรของความสำเร็จอยู่แล้วมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ได้สร้างรูปแบบใหม่ของหนังสือพิมพ์ที่เรียกได้ว่าเป็ฯหนังสือพิมพืสำหรับคนโตมากับโทรทัศน์ คือ มีการเนอข่าวที่สั้นกระสั้นกระชับ ใช้ภาพจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายแผนที่หรือแผนภูฒิ มีการออกแบบที่สวยงาม เต็มไปด้วยสีสันอย่างที่ไม่เคยมีการใช้ในหนังสือพิมพ์มาก่อน จนมีผู้เรียกหนังสือพิมพ์นี้ว่า “แมคเปเปอร์” (McPaper) คำวิพากษ์วจารณ์หนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ต้องเงียบเสียงลงเมื่อหนังสือพิมพ์สามารถดำรงสภาพเป็นหนังสือพิมพ์ระดับประเทศมาจนทุกวันนี้รูปแบบที่เป็นแนวนิยมของหนังสือพิมพ์สมัยใหม่นั้น ไม่ได้มุ่งนำเสนอข้อมูลข่างสารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งที่จะกระตุ้นความตื่นตัว มีชีวิตชีวาเพื่อการแข่งขันได้กับสื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้น โดยมีจุดที่น่าสังเกต ดังนี้1)
การใช้สี – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่จะเน้นภาพที่มีสีสันมากขึ้น โดยหน้าแรกจะพิมพ์สี่สีกลายเป็นสิ่งปกติของหนังสือพิมพ์ทั่วไป และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการใช้หน้าสีในหน้าในมากขึ้นเรื่อยๆ หนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจบางฉบับมีการพิมพ์สี่สีตลอดทั้งเล่ม การใข้สีที่นี้รวมไปถึงการใช้ภาพจำนวนมากและมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นด้วย2) การใช้องค์ประกอบอื่นทางเรขศิลป์ – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่ไม่ได้นำเสนอข้อมูลด้วยข้อความเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังนำเสนอด้วยการสร้างแผนภูมิ แผนที่แบบต่างๆ เพื่อให้สถิติหรือข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น3) การจัดกลุ่มเนื้อหา – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่มุ่งสนองรูปแบบชีวิตอันเร่งรีบของคนสมัยใหม่ด้วยการจัดกลุ่มเนื้อหาที่เป็นความสนใจเดียวกันเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการค้นหา4)
การจัดวางองค์ประกอบ – หนังสือพิมพ์ สมัยใหม่จะใช้ระบบกริดเป็นโครงสร้างในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆทำให้เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารแต่ละเรื่องมีรูปร่างเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่างๆที่ถูกนำมาจัดเรียงไว้ด้วยกันในหน้ากระดาษเรื่อง I การจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีความเป็นไปได้ในการเลือกองค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่หลากหลายช่นเดียวกันกับความหลากหลายของประเภทหนังสือพิมพ์ การทราบว่าหนังสือพิมพ์ที่จะทำการออกแบบจัดเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดจะช่วยให้เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา รวมทั้งผู้อ่านที่เป็นปลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถเลือกใช้องค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์นั้นๆได้ดีขึ้น หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ถือเป็นสื่อหลักและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีการศึกษาเพื่อจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์อยู่หลายวิธีโดยทั่วไปแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีการแบ่งตามความหนักเบาของเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ1)
- หนังสือพิมพ์ประชานิยม (popular newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่สนองความนิยมของผู้อ่านจำนวนมากๆ เน้นการเสนอข่าวที่มีเนื้อหาเร้าอารมณ์และความรู้สึกตื่นเต้น เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวภัยพิบัติ ข่าวความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีรูปแบบการนำเสนอที่เต็มไปด้วยจินตนาการและมีสีสัน ใช้ภาพประกอบและพาดหัวจำนวนมาก2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ (quality newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นการเสนอเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวจริงจัง มุ่งเสนอสาระ ความรู้ ทัศนคติ การวิเคราะห์ หรือความคิดเห็น เช่น ข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การต่างประเทศ โดยเนื้อหานี้จะมีประโยชน์โดยตรงที่เป็นรูปธรรมกับผู้อ่าน เช่น ช่วยในการตัดสินใจเลือกลงทุน หรือ สามารถเสนอความเห็นโอกาสต่างๆหากพิจารณาจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ตามลักษณะเนื้อหา จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1) หนังสือพิมพ์ทั่วไป (general newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะหลากหลายรวมอยู่ในฉบับเดียว คือ มีทั้งเนื้อหาที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ และเรื่องราวของเนื้อหาก็หลากหลาย เช่น เรื่องสตรี เรื่องศิลปะ เรื่องบันเทิง กีฬา เรื่องเศรษฐกิจการค้า เป็นต้น เหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกว้าง2)
- หนังสือพิมพ์เฉพาะ(specialized newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเนื้อหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจ หนังสือพิมพ์กีฬา หรือหนังสือพิมพ์บันเทิง ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาจะมีทั้งที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ แต่เรื่องราวก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไป หากพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไปหากจะพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมม์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1)
- หนังสือพิมพ์รายวัน (daily newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกวัน โดยอาจจะมีการออกเป้นหนังสือพิมพ์ฉบับเข้า (morning newspaper)ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนเช้าตรู่ของวัน หรือหนังสือพิมพ์ฉบับบ่าย (afternoon newspaper) และหนังสือพิมพ์ฉบับเย็น(evening newspaper) ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนบ่ายหรือเย็นตามลำดับ หนังสือพิมพ์รายวันส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าแต่มีบางฉบับที่มีการออกทั้งเป็นแบบเช้าและบ่าย2)หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ (weekly newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยอาจจะเลือกออกในวันใดวันหนึ่งเป็นประจำบางครั้งหนังสือพิมพ์ประเภทนี้ก็ไม่ได้ออกเป็นรายสัปดาห์ จึงเรียกว่า หนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้รายวัน (non daily newspaper)นอกจากนี้แล้ว ยังจำแนกหนังสือพิมพ์ตามรับดับของการนำออกเผยแพร่ได้ด้วย ซึ่งจะสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ1)
- หนังสือพิมพ์ระดับนานาชาติ (international newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีการผลิตจากแหล่งเดียวกันหรือแยกผลิตในแต่ละประเทศโดยมีเนื้อหาเดียวกัน2) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (national newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ทั่วกันพร้อมทั้งประเทศ โดยมีเนื้อหาเดียวกันครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านทั้งประเทศ3)
- หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น (local newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในม้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านในท้องถิ่นนั้นๆการจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ที่นิยมทำกันอีกแนวทางหนึ่ง คือ การแบ่งประเถทตามขนาดรูปเล่ม ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1)
- หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่ (broadsheet newspaper หรือบางครั้งที่เรียก full size newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่พบเห็นกันเป็นส่วนมาก จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 15-17 นิ้ว และความสูงประมาณ 22-23 นิ้ว2)
- หนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก (tabloid newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ในอดีตนั้นนิยมใช้เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชวบ้าน คือไม่เน้นเนื้อหาสาระที่เป็นข่าวจริงจังแต่ในปัจจุบัน ในต่างประเทศนั้น หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กได้พัฒนาขึ้นครอบคลุมตลาดทั้งหมดไม่ว่าเป็นตลาดบน (up-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ (quality) ตลาดกลาง (middle-market)
สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (popular) และตลาดล่าง (down-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวเร้าใจ(sensational) ส่วนในประเทศไทย จะพบเห็นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กจะมีขนาดประมาณ 11-12 นิ้ว และความสูงประมาณ 15-17 นิ้ว3)หนังสือพิมพ์แผ่นกลาง (berliner or midi newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่อาจจะไม่ได้พบเห็นกันมากนัก แต่ก็มีใช้ในหลายประแทศในทวีปยุโรป จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 12นิ้ว และความสูงประมาณ 18 นิ้วโดยสรุป การจำแนกหนังสือพิมพ์ทำได้หลายแบบ โดนอาจจะแยกตามประเภท เนื้อหา ความหนักเบาของเนื้อหา การนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ ระดับการนำออกเผยแพร่ หรือตามขนาดรูปเล่มเรื่อง I ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบที่ต้องการการออกแบบ ดังนี้1. หน้าแรกหน้าแรกเป็นหน้าที่นำเสนอให้ผู้อ่ารทราบว่ามีสิ่งใดที่หนังสือพิมพ์จะมีให้แก่ผู้อ่านมากที่สุดก็ว่าได้ ส่วนประกอบที่มีปรากฏในหน้าแรก มีดังนี้
1.1 แถบชื่อ ( name plate flag title plate) หรือ “หัวหน้งสือ” คือ ชื่อของหนังสือพิมพ์ โดยมักมีส่วนตัวพิมพ์ที่แสดงวันที่ออก (dateline) เอาไว้ด้วย1.2หัวข่าว (headline) หรือ “พาดหัว” เป็นข้อความสำคัญที่นอกจากจะบ่งชี้ถึงข่าวเรื่องนั้นๆ แล้วยังทำหน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็น ส่วนประกอบนี้มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหน้าอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยจะเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.2.1) ชุดหัวข่าว (bank)คือ หัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โยมีความยาว 1บรรทัด ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า บรรทัด (line)
1.2.2) ขั้นหัวข่าว (deck) คือ ชุดของหัวข่าวที่เป้นตัวพิมพ์เรียงกันโดยมีความยาวประมาณ 1 แถวขึ้นไป
1.3) หัวรอง (sub headline) คือ หัวข่าวเล็กเพื่อขยายความหัวข่าวเด่นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อนำผู้อ่านสู้เนื้อข่าว
1.4) ตัวเนื้อเรื่อง (body matter หรือ text) เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าวซึ่งหากมีใบหน้าแรกก็มักจะมีเป็นการเริ่มนำเท่านั้น มักจะมีการนำเสนอเนื้อข่าวอันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าในอื่นๆ
1.5) ภาพประกอบข่าว เป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว ภาพประกอบในหน้าแรกนี้มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข่าวที่ใหญ่ที่สุดภาพประกอบนี้อาจจะมีจำนวน 1 ภาพหรือมากกว่าก็ได้ โดยในการรำเอาภาพประกอบข่าวนั้นมาใช้ มักนิยมให้มีคำบรรยายภาพ(cutline caption legend underline) เพื่อเสริมความเข้าใจด้วย 2 หน้าในส่วนประกอบที่มีปรากฏอยู่ในหน้าในนี้ มีดังนี้
2.1) หัวข่าว หรือ พาดหัว เป็นข้อความในลักษณะเดียวกันกับหัวข่าว หรือ พาดหัวในหน้าแรก โดยหัวข่าวนี้นอกจะมีอยู่ในหน้าแรกแล้วยังมีอยู่ในหน้าอื่นๆ ด้วย
2.2) หัวรองเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ แต่เล็กกว่าข่าว โดยมีหัวรองแทรกอยู่ นอกจากนี้หากเนื้อหาของข่าวมีหลายประเด็นอาจจะใช้ประโยชน์จากหัวรองนี้ได้เช่นกัน
2.3) หัวต่อ (jump head)เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำหน้าที่บ่งบอกให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต่อจากหัวข่าวใดในหน้าแรก หัวต่อจะเป็นคำหรือวลีที่ทำให้ผู้อ่านมองหาและติดตามข่าวได้ง่ายขึ้น
2.4) หัวคอลัมน์ประจำ (standing head)เป็นชื่อของคอลัมน์ซึ่งเป็นเนื้อหาข่าวประเภทที่มีอยู่ประจำในทุกฉบับ เช่น คอมลัมน์บทบรรณาธิการ คอลัมน์วิเคราะห์ ข่าวต่างประเทศ เป็นต้น
2.5) ตัวเนื้อเรื่องเป็นข้อความที่นำเสนอเนื้อหาข่าวอันเป็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาข่าวที่ต่อมาจากข่าวในหน้าแรกหรือเป็นเนื้อหาข่าวของเรื่องในหน้าในหน้านั้นๆ
2.6) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) หรือพิมประกาศ (masthead)เป็นส่วนประกอบที่ระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้พิมพ์ ในบางครั้งอาจจะมีการระบุผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์นั้นๆๆ ด้วย
2.7) ภาพประกอบข่าวเป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว นอกจากภาพประกอบข่าวแล้วยังมีคำบรรยายภาพเพื่อเสริมความเข้าใจก็ได้
2.8) องค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์
3.เนื้อหาโฆษณาเนื้อหาที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีขนาดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะมีขนาดใหญ่ ขนาดมาตรฐานของเนื้อที่โฆษณาที่พบเห็นกันทั่วไป มีดั้งนี้
3.1) เต็มหน้า (full page) คือ ใช้พื้นที่ทั้งหมดของหน้ากระดาษ ตัวอย่างเช่นหน้งสือพิมพ์ มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25 นิ้ว และคอมลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอมลัมน์ x 1.25 นิ้ว ) x 20นิ้ว3.2) ครึ่งหน้า (half page) คือ ฝช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้าของกระดาษตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25นิ้วและคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอลัมน์x 1.25 นิ้ว) x 10 นิ้วปกติแล้วจะเป็นแนวนอน ปต่ปัจจุบันมีการฝช้แนวตั้งด้วย
3.3) เศาหนึ่งส่วนสี่หน้า (quarter page)คือใช้พื้นที่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของกระดาษ จัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอมลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5 ไพก้า หรือ 1.25 นิ้ว และคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณาเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า คือ 7.5 นิ้ว (6 คอลัมน์ x 1.25 นิ้ว)x 10 นิ้ว ขนาดโฆษณามีความสะดวกสำหรับผู้ที่ลงโฆษณามรสื่อนิตยาสารด้วย เพราะจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน
3.4) จูเนียร์เพจ (junior page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณใกล้เคียงกับขนาดหน้านิตยสาร พื้นที่โฆษณานี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โฆษณาเดียวกันทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับโฆษณาขนาดพิเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า
3.5) แถบโฆษณา (strip advertising) คือใช้พื้นที่เป็นแถบด้านบนหรือด้านล่างตลอดความกว้างของหน้าหนังสือพิมพ์ และสูงประมาณไม่เกิน 5 นิ้วนอกจากเนื้อที่โฆษณาขนาดมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการซื้อเนื้อที่ในลักษณะที่เป็น คอลัมน์นิ้ว คือ กำหนดขนาดความกว้างของเนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างกี่คอลัมน์ ส่วนสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 6 คอลัมน์ หมายถึง ขนาดพื้นที่ที่กว้าง 1.83 นิ้ว และ สูง 1 นิ้ว หากต้องการลงพื้นที่โฆษณาขนาด 3 คอลัมน์ x6 นิ้ว หมายถึง ขนาดพื้นที่กว้าง 5.5(1.83×3) นิ้ว และสูง 6 นิ้วเ ป็นต้น2. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ (newspaper magazine หรือ special section หรือ supplement magazine
ส่วนพิเศษส่วนสุดท้ายของหนังสือพิมพ์ คือ ส่วนนิตยสาร แทรกในหนังสือพิมพ์โดยมากแล้วส่วนนี้จะมีสัปดาห์ละครั้ง แยกส่วนออกมาเป็นพิเศษ มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาหลากหลาย แต่มักเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นข่าวซึ่งต้องเสนออย่างรวดเร็ว เช่นเรื่อง สถานที่ท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ฯลฯโดยสรุปเมื่อพิจารณาในด้านการออกแบบแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน คือ หน้าแรก หน้าใน เนื้อที่โฆษณาและนิตยาสารแทรกในหนังสือพิมพ์โดยแต่ละส่วนประกอบจะมีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเลือกและจัดองค์ประกอบที่แตกต่างกันเรื่อง I การเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบหนังสือพิมพ์เนื่องจากหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะถูกทำขึ้นเพื่อออกเผยแพร่ทุกวันเป็นประจำการออกแบบหนังสือพิมพ์จึงเป็นเรื่องที่แข่งต่อเวลามากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์อื่นๆนอกจากนี้หากไม่ใช่หนังสือพิมพ์ฌฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์กีฬาแล้ว เนื้อหาข้อมูลที่เป็นข่าวสารซึ่งเป็นประกอบเป็นหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปมีหลายด้าน เช่น การ เมือง บันเทิง ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเพียงแค่พิจารณาตัวแปรสองประกาศดังกล่าวข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าการออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของนักออกแบบอย่างมากนอกจากนี้หนังสือพิมพ์ยังเป็นสื่อที่ครอบคลุมกลุ่มผู้อ่านที่กว้างขวาง
แม้ว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับย่อมจะต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลักเช่น ผู้อ่าน ที่อยู่ในเมือง หรือ ผู้อ่านในชนบท แต่ด้วยราคาขายที่ไม่แพงมากนัก ทำให้หนังสือพิมพ์มีผู้ซื้ออยู่วงที่กว้าง นักออกแบบจึงควรที่จะนำปัจจัยนี้มาประกอบการพิจารณาด้วยว่ารูปแบบของหนังสือพิมพ์ที่จะออกมานั้น แม้ว่าจะต้องทำให้ถูกใจผู้อ่านที่เป้นกลุ่มเป้าหมายหลักแต่ก็ควรจะไม่ทำให้ผู้อ่านในกลุ่มอื่นๆ รู้สึกว่าถูกกีดกันออกไปการออกแบบหนังสือพิมพ์มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็นไปตามการเตีรยมการก่อนการออกแบบ และการปฏิบัติการออกแบบ อย่างไรก็ตาม
หนังสือพิมพ์ มีส่วนที่ประกอบแตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่น ดังนั้นจึงมีในรายละเอียดเพิ่มเติมนี้แบ่งออกเป็น 2 รเอง คือ
1.สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์
2.การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ฃ1. สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นอกจากจะต้องปรฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมการก่อนออกแบบ ยังมีเรื่องที่จะต้องการกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติ่ม ดังนี้
1.ศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ก่อนที่จะทำการออกแบบได้ นักออกแบบก็ต้องพยายามหาข้อมูลจากเจ้าของและบรรณาธิการถึงนโยบายต่างๆ ทิศทางการดำเนินการและวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งศึกษารูปแบบเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดและต้องการให้มีบุคลิกภาพแบบไหน ซึ่งจะมีผลให้ทราบถึงลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าเจตนาจะมุ่งที่ใครเป็นหลักและคนกลุ่มรี้มีพฤติกรรมและความชอบ ไม่ชอบอย่างไร2.การกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์นั้น สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงก็คือความสะดวกสบายในการถืออ่านและจัดเก็บ นอกจากนี้นังต้องนึกถึงความประหยัดในด้านต้นทุนการพิมพ์และการผลิต โดยทั่วไปแล้วขนาดของหนังสือพิมพ์ที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานในประเทศไทยจะมีอยู่
2 ขนาด คือ2.1) ขนาดเต็มแผ่น หรือ ขนาดใหญ่ บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไปในหนังสือพิมพ์รายวัน2.2) ขนาดครึ่งแผ่น หรือขนาดเล็ก บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นขนาดที่นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชาวบ้านหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่นหนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นส่วนกระดาษที่ใช้พิมพ์หน้งสือพิมพ์นั้น โดยทั่วไปจะใช้กระดาษปรู๊ฟ (newsprint paper) ซึ่งผลิตเป็นม้วนใหญ่ มีสีขาวคล้ำ แต่บางครั้งก็อาจพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ (bond paper) ซึ่งมีสีขาว เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจต่างๆ
3.รูปแบบของหน้าแรกหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ควรจะได้รับการออกแบบให้มีรูมาตรฐานในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวอักษรและภาพซึ่งรูปแบบนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้ใช้ทุกฉบับต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความคุ้นเคยแลกจดจำได้ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งและขนาดของตัวอักษรและภาพ อย่างไรก็ตามรูปแบบมาตรฐานนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากภาพและตัวอีกษรของแต่ละฉบับนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับข่าวของแต่ละวันว่ามีปริมาณและคุนภาพเป็นอย่างไร เช้น หากวันใดมีสภาพที่สื่อสารได้ดีก็อาจลดขนาดตัวอีกษรที่เป็นหัวข่าวพาดหัวให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น
รูปแบบของหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นั้นมีพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมาจนเกิดเป็นรูปแบบมาตรฐานหลายแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3ประเภทคือ
1)แบบนิตยสาร เป็นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือนนิตยสาร คือ มีการใช้ภาพหรือองค์ประกอบเรขศิลป์อื่นๆ ขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก ส่วนเนื้อหา ที่เป็นข่าวนั้นมีการประกอบเป็นส่วนย่อย
2)แบบศูนย์ข้อมูล เป้นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือยศูนย์กลางหรือสารบัญที่บ่งบอกถึงเนื้อหาที่อยู่ภายในหน้าในของหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบนี้จะมีส่วนที่เรียกว่า “ทีเซอร์” (teaser) ซึ่งเป็นข้อความและถาพเปิดเผยเรื่องที่อยู่ในหน้าในว่ามีเรื่องเด่นอะไรอยู่หน้าใด ทีเซอร์นี้ทำหน้าที่เหมือนโฆษณาเนื่อหาภายในของหนังสือพิมพ์ในวันนั้นๆ ตำแหน่งของทีเซอร์จะอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าแรก คือ บน ล่าง ซ้าย หรือขวา และไม่ตวรวางปะปนอยู่กับส่วนที่เป็นข่าวนอกจากรูปแบบมาตรฐานของหน้าแรกแล้ว ในอดีตยังต้องมีการกำหนดด้วยว่าจะมีการพิมพ์หน้าแรกเป็นสีหรือไม่ แต่ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะพิมพ์หน้าแรกเป็นสี่สีอยู่แล้ว ส่วนกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้กระดาษแบบเดียวกันทั้งหมดทุกหน้าทั้งฉบับ
4.รูปแบบของหน้าในรูปแบบของหน้าในของหนังสือพิมพ์ จะต้องมีการกำหนดจำนวนหน้า โดยจะต้องจัดให้มีจำนวนหน้าที่หาร 4 ได้ลงตัว บางครั้งอาจจะมีหน้าโฆษณาเพิ่อขึ้นมาใบบางวันก็ได้ แต่ส่วนที่เป็นเนื้อหาข่าวมักจะมีจำนวนเท่าเดิมในทุกๆ วัน นอกจากจำนวนหน้าแล้วจะต้องมีการกำหนดเรื่องการพิมพ์ว่าจะพิมพ์หน้าในหน้าใดบ้างเป็นสี่สี แล้วเลือกจัดคอลัมน์ต่างๆ ให้เหมาะสมว่าจะอยู่ในหน้าใด5. รูปแบบและขนาดตัวอักษรเนื่องจากความหลากหลายในประเภทเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์ ทำให้ดูเหมือนกับว่า จะต้องมีการใช้ตัวอักษรหลากหลายรูแปบบเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทเนื้อหาของข่าวแต่ละเรื่อง ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่ แต่หากมีการเลือกใช้รูปแบบของตัวอักษรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ทั้งในด้านประโยชนใช้สอย คือ อาจจะเกิดความสับสนและซับซ้อนในการอ่านและติดตามข่าว นอกจากนี้ยังจะมีผลทำให้ผู้อ่านไม่สามารถจับภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ เนื่องจากขาดความสม่ำเสมอในการออกแบบด้วยเหตุนี้ ก่อนจะทำการออกแบบ จึงควรมีการกำหนดรูปแบบของตัวพิมพ์ที่จะมีการนำมาใช้เอาไว้ล่วงหน้า โดยทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดไว้ใช้เพียง 1 รูปแบบเพราะย่อยไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ควรกำหนดไว้สักสองหรือสามรูปแบบเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น พร้อมกันนั้น ก็ควรจะมีการกำหนดลักษณะของการนำตัวพิมพ์ที่กำหนดไปใช้ด้วย เช่น กำหนดตัวพิมพ์เนื้อเรื่องซึ่งมีขนาดเล็กไว้สักสองรูปแบบ หรือกำหนดตัวพิมพ์หัวข่าวซึ่งมีขนาดใหญ่ไว้สักสามรูปแบบ เป็นต้นหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่อาจจะพัฒนาแบบของตัวพิมพ์ของตนเองขึ้นใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มมาจากในอดีตที่หนังสือพิมพ์ไทมส์ของประเทศอังกฤษได้สร้างตัวพิมพ์ ไทมส์ นิว โรมัน ขึ้นใช้ การพัฒนาแบบตัวพิมพ์ขึ้นใช้เป็นการเฉพาะจำให้ได้ลักษณะตัวพิมพที่เหมาะสมกับภาพรวมของการออกแบบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมเอกลักษณของหนังสือพิมพ์ให้เป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นด้วย แบบตัวพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจีการใช้ตัวพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจมีการใช้ตัวพิมพ์ไม่มีหัว หรือตัวตกแต่งบ้านในกรณีที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น ตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวหัวข่าว หรือหัวรองนอกจากรูปแบบของตัวพิมพ์แล้ว ขนาดของตัวพิมพ์ก็ควรจะมีการกำหนดด้วยทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นเช่นเดียวกันโดยขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพเนื้อเรื่องนั้นไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 9 พอยต์ ส่วนตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ นั้นควรจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 18 พอยต์เป็นต้นไป
6. แบบและจำนวนภาพประกอบภาพประกอบในหน้าในของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาพข่าว ซึ่งจะมีมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลือจากเนื้อหาข่าว ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถกำหนดจำนวนแน่นอนลงไปได้ลวงหน้า มักขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของข่าวในวันนั้นๆ จะมียกเว้นในส่วนที่เป็นคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่อาจจะมีการวางแผนได้นานกว่าส่วนที่เป็นข่าว ทำให้สามารถกำหนดลักษณะและจำนวนภาพล่วงหน้าได้
2. การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นไปตามการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ และหลักการออกแบบและระบบกริด และมีรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะ คือ เรื่องระบบกริด เรื่องสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ และเรื่ององค์ประกอบการจัดวางองค์ประกอบ ในส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ระบบกริดสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการออกแบบหนังสือพิมพ์ทุกฉบับจะต้องใช้ระบบกริดเพื่อใช้เป็นโครงสร้างและรักษาภาพรวมของหนังสือพิมพ์โดยจะต้องเริ่มด้วยการเลือกประเภทระบบกริดเสียก่อน โดยทั่วไประบบกริดที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ1.คอลัมน์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแบ่งออกเป็นคอลัมน์ คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า แต่มีความกว้างของแตละคอลัมน์เท่ากันหรือไม่เทากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นวางระหว่างคอลัมน์ และมีมารจินล้อมรอบ คอลัมน์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดเต็มแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความที่ไม่ต่อเนื่องกันยาวนัก และมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยกันสำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 6-11 คอลัมน แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 6 คอลัมน์ สำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 3-6 คอลัมน์ แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 4 หรือ 5 คอลัมน์
2. โมดูลาร์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยเส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบ โมดูลาร์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพหลายๆ ภาพอยู่ด้วยกันสูตรของการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น มีรูปแบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ จนเรียกได้ว่า เป็นสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ(layout formula) แยกออกเป็นหลายสูตร ดังนี้1. แบบแนวตั้ง (Vertical layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุด โดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเรียงกันเป็นคอลัมน์ในแนวตั้งต่อ ๆ กัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ความเรียบง่ายที่ช่วยให้ติดตามข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวันละพาดหัวที่เรียงกันเป็นแถวนั้นดูน่าหดหู่ จนบางครั้งก็พาดหัวที่เรียงต่อๆ กันนี้ว่าป้ายหลุมศพ (tombstone) ซึ่งในการออกแบบนั้นควรแก้ไขด้วยการปรับขนาดหรือรูปแบบี่พาดหัวที่เรียงต่อกันให้มีลักษณะแตกต่างกัน หรือแทรกภาพคั่นไว้บ้าง สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแนวตั้งนี้ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน แต่มีการปรับพาดหัวหรือภาพให้เป็นแนวนอนแทรกระหว่างตัวเนื้เรื่องที่เป็นแนวตั้ง2.แบบแนวนอน (horizontal layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเป็นแนวซ้อน ๆ กันและมีการใช้เส้นแบ่งข่าวเป็นเส้นตรงในแนวนอน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดี คือความเรียบง่ายี่ช่วยให้ติดต่มข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือน ๆ กันทุกวัน อย่างไรก็ตามสูตรการจัดองค์ประกอบแบบแนวนอนนี้มีความยืดยุนมากจนได้รับความนิยมใช้กันมากในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน
3. แบบสมดุลสมมาตร (symmetrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษแล้ว จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะเหมือนกันหรือคล้ายกัน และดูมีน้ำหนักเท่าๆ กัน การจัดวางหน้าแรกในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าเชื่อถือ แต่ก็มีข้อเสียคือ ภาพรวมจะดูนิ่ง ไม่น่าตื่นเต้น อีกทั้งเป็นรูปแบบที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้วจะรู้สึกเหมือนเดิมซ้ำๆ กันทุกวันรูปแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนักในปัจจุบัน
4. แบบสมดุลอสมมาตร (asymmentrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาไม่เท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษจะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะต่างกัน และดูมีน้ำหนักไม่เท่ากัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา อีกทั้งเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้ว หน้าตาจะรู้สึกไม่ซ้ำๆ กันทุกวัน รูปแบบอสมมาตรนี้จึงเป็นที่นิยมใชค่อนข้างมากในการหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน
5. แบบแบ่งสี่ (quadrants layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน และให้ความสำคัญเท่าๆกัน มีข้อดี คือ การให้ความสำคัญกับทั้งหน้ากระดาษไม่ใช่เพียงตอนบนของหน้าแต่ก็มีข้อเสียมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่ยืดหยุ่นในการจัดวาง อีกทั้งยังอาจสร้างจุดเด่นหลายจุดขึ้นมาแข่งกัน สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแบ่งสี่นี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นักในปัจจุบัน
6. แบบยืดโยง (brace) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะคล้ายตัวอักษรแอล (L) แล้วยึดโยงข่าว หลายๆ เรื่องกันด้วยการวางกลับไปกลับมาได้ ในปัจจุบันรูปแบบของหน้าแรกแบบยืดโยงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนัก7. แบบละครสัตว์ (circus)เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าว และองค์ประกอบที่เป็นภาพอย่างไม่เป็นทางการและคาดเดาไม่ได้ รูปแบบหน้าแรก ลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา แต่ก็มีข้อเสียคือ บางครั้งจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือแม้จะมีสูตรในการจัดวางองค์ประกอบที่เป็นทีนิยมใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่ารูปแบบในการจัดวางองค์ประกอบของหนังสือมีอยู่เพียงเท่านี้ หรือเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ไม่ได้ นักออกแบบมีอิสระที่จะเลือกทดลองรูปแบบใหม่ๆที่เห็นว่าเหมาะกับ หนังสือพิมพ์และผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นอกจากระบบกริดและสูตรในการจัดวางองค์ประกอบแล้ว หนังสือพิมพ์ยังมีส่วนประอบที่แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นในรายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบส่วนประกอบทีสำคัญแต่ละส่วน ดังนี้
1. หน้าแรกหน้าแรก คือ ส่วนของหนังสือพิมพ์ซึ่งผู้ดูเห็นและอ่านก่อนหน้าอื่นๆ และเนื่องจากผู้ที่ผ่านไปมานั้นเลือกซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพราะข่าวที่นำเสนอ สิ่งที่นักออกแบบจะทำได้ในการใช้หน้าแรกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็คือการเลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นหัวเรื่องหรือ พาดหัว และภาพอย่างชัดเจน ง่ายแก่การอ่านหรือดูรู้เรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็วนักออกแบบจะต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งปรากฎอยู่ในหน้าแรก ดังนี้
1.1) แถบชื่อและรายละเอียดของฉบับแถบชื่อ หรือ “หัวหนังสือ” ของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มักวางอยู่ที่ส่วนบนของหน้ากระดาษ โดยนิยมออกแบบเป็น 2 ลักษณะ คือ1) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ มาจัดเรียง โดยเน้นให้ดูมีระเบียบแบบแผน น่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา2) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้นๆ มาดัดแปลงให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยอาจจะออกแบบตัวอักษรพิเศษขึ้นมาเป็นชื่อหรือจัดองค์ประกอบให้เกิดเป็นตราสัญลักษญ์ประเภทตัวอักษร (logo)เพื่อเน้นให้เกิดความโดดเด่น และง่ายแก่การจดจำ หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจนำภาพลายเส้นง่ายๆ มาประกอบกับชื่อเป็นสัญลักษณ์ผลม(combination mark)ส่วนที่วันที่หนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่นั้น จะใช้ตัวพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่นักและมักวางอยู่ด้านล่างของแถบชื่อนอกจากชื่อของหนังสือพิมพ์แล้ว บางหนังสือพิมพ์อาจจะมีการจัดวางคำขวัญ (slogan)ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ ประกอบไปกับชื่อด้วย โดยคำขวัญนี้ก็จะเป็นตัวอักษร ขนาดเล็กวางอยู่ด้านบนหรือล่างของแถบชื่อ1.2) หัวข่าว หรือ “พาดหัว”เนื่องจากหัวข่าวหรือพาดหัวเป็นเสมือนจุดขายที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ การเลือกใช้ตัวอักษรที่จะมาเป็นหัวข่าวจึงต้องมีความพิเศษแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้า ทั้งในแง่ของขนาดซึ่งจะต้องมีความใหญ่เด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ทั้งหมด และยังจะต้องเลือกรูปแบบที่มีความโดดเด่นกว่าปกติด้วย โดยอาจจะเลือกเอาจากตัวพิมพ์ประเภทตัวไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง ซึ่งมีสำเร็จรูปอยู่มากมายหลายพันแบบ หรืออาจจะมีการออกแบบตัวพิมพ์สำหรับหัวข่าวขึ้นใช้เองเป็นพิเศษสำหรับ หนังสือพิมพ์นั้นๆ โดยเฉพาะก็ได้ขนาดของหัวข่าวก็ควรมีขนาดที่เห็นได้ชัดจากระยะไกล มีขนาดมากกว่า 100 พอยต์ขึ้นไป จนอาจมีความสูงถึง 1-2 นิ้ว และมักนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเส้นหนาหรือ เส้นหนามาก ทั้งนี้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวนี้อาจจะมีสีที่แตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้าแรก เช่น ตัวพิมพ์เนื้อเรื่องปกติเป็นสีดำ อาจจะใช้พิมพ์ที่เป็นหัวข่าวเป็นสีน้ำเงินเป็นต้นนอกจากสีของตัวอักษรเองแล้วก็อาจจะใช้สีของพื้นหลังของตัวพิมพ์มาเพื่อแยก หัวข่าวนั้นให้โดดเด่นออกจากส่วนอื่นๆ โดยอาจจะเป็นการใช้สีง่ายๆ เช่น การเปลี่ยนพื้นหลังเป็นสีดำและตัวอักษรเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีเขียว เป็นต้นในส่วนของการจัดวางนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของหัวข่าวหรือพาดหัวของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ ชุดหัวข่าว ซึ่งเป็นหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาว 1 บรรทัด และชั้นหัวข่าว คือหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัดขึ้นไป ทั้งนี้ในการเรียนแบบชั้นหัวข่าวนั้น ตัวอักษรในแต่ละบรรทัด ไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดเดียวกัน อาจจะมีบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งใหญ่กว่าบรรทัดอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเน้นคำหรือวลีที่เห็นว่าน่าจะเป็นจุดสนใจได้การปรับแนวบรรทัดสำหรับพาดหัว มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้การจัดวางพาดหัวทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้1.2.1)
แบบแบนเนอร์ (banner) หรือ “หัวยักษ์พาดตลอดน้า” คือ การจัดวางแบบพาดหลายคอลัมน์ หรือตลอดแนวคอลัมน์ที่เป็นข่าวเรื่องนั้นๆ การวางแบบนี้พบเห็นได้บ่อยที่สุดและเหมาะกับการใช้วางพาดหัวข่าว 1.2.2)
แบบคิดเคอร์ (kicker) หรือ “หัวพาดนำ” คือ การจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดนำซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าบรรทัดหลัก การวางแบบนี้มักใช้กับเครื่องพิเศษในฉบับ1.2.3)
แบบแฮมเมอร์ (hommer) หรือ “หัวพาดนำใหญ่” คือการจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองที่เป็นบรรทัดรอง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษนฉบับ1.2.4)
แบบแสลมเมอร์ (slemmer) คือ การจัดวางแบบ 2 ตอนในบรรทัดเดียวกัน โดยแต่ละตอนใช้ตัวพิมพ์ที่มีความหนาแตกต่าง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษในฉบับเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.5)
แบบไทรพอต (tripod) หรือ “หัวแบบสามแยก” คือ การจัดวางแบบมีบรรทัดหลัก 1 บรรทัด แล้วตามด้วยบรรทัดรอง 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองและสามที่เป็นบรรทัดรองการวางแบบนี้มักใช้กับเรืองพิเศษในฉบับ1.2.6)
แบบรอว์ แวรบ (raw wrap หรือ Dutch wrap) คือ การจัดวางแบบหลายบรรทัดโดยบีบข้อความพาดหัวทั้งหมดให้อยู่ในคอลัมน์ การวางแบบนี้มักใช้กับการใช้วางพาดหัวข่าว และเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.7)
แบบไซด์ แซดเดิล (side saddle) คือ การวางแบบนี้คืการใช้วางพาดหัวข่าวละเรื่องพิเศษในฉบับ1.3) หัวรองหัวรองเป็นข้อความสำคัญเพื่อดึงความสนใจและชี่นำเนื้อหาของข่าว คือทำหน้าที่เดียวกับการพาดหัว แต่ใช้สำหรับข่าวสำคัญรองลงมาดังนั้นตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นหัวรอง จังเป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่าพาดหัวข่าวได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องอย่างเห็นได้ชัดส่วนการจัดวางหัวรองนั้น ใช้หลักเดียวกันกับการจัดวางพาดหัว คือ ทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น แบบแบนเนอร์ แบบคิคเคร์ ฯลฯ1.4)
ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าว หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะเลือกนำเสนอส่วนประกอบขงข่าวเด่นทั้งหมด คือทั้งพาดหัวและตัวเนื้อเรื่องทั้งหมดในหน้าแรก แต่บางครั้งหนังสือพิมพ์อาจจะนำเสนอข่าวหลายๆ ข่าว โดยทุกข่าวจะมีพาดหัวและมีตัวเนื้อเรื่องส่วนหนึ่งในหน้าแรกเพื่อทำหน้าที่เหมือนเกริ่นนำข่าวเทานั้น แล้วจึงนำเสนอเนื้อข่าวันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าอื่น ๆรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเนื้อเรื่องนี้ เหมือนกับเรื่องตัวเนื้อเรื่องในหน้าในของหนังสือพิมพ์ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป1.5)
ภาพประกอบข่าว ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นไม่เหมือนกับภาพถ่ายในสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น หนังสือหรือนิตยสาร กล่าวคือ ภาพประกอบในสิ่งพิมพ์อื่นๆ นั้นนักออกแบบสามารถกำหนดหรือออกแบบตามจินตนาการแล้วมอบหมายให้ช่างภาพไปถ่ายภาพตามที่กำหนดไว้ได้ แต่ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นเป็นภาพข่าว ซึ่งหมายถึงว่า นักออกแบบไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าภาพจะมีลักษณะและคุณภาพเป็นอย่างไรดังนั้นการที่จะวางแผนล่วงหน้าที่จะใช้ภาพในลักษณะที่จะตัดเอาพื้นหลังออก หรือมีกรอบรูปเป็นรูปวงรี ฯลฯ นั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากจะทำได้ภาพทีใช้จึงมักมีลักษณะเป็นภาพในกรอบสี่เหลี่ยมธรรมดาสิ่งที่นักออกแบบจะมีส่วนในการตัดสินใจเกียวกับภาพถ่ายได้ ก็คือ เรื่องของขนาดและสัดส่วนของภาพว่าควรจะมีการย่อยหรือขยายภาพให้ใหญ่หรือเล็กมากน้อยเท่าใด หรือจะวางสัดส่วนของกรอบภาพให้เป็นสี่เปลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมฝืนผ้าที่กว้างยาวเท่าใดสำหรับภาพประกอบในลักษณะอื่นนั้นที่ไม่ใช่ภาพถ่าย จะไม่ค่อยนิยมใช้ในหน้าแรกนักข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับภาพประกอบในข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) เลือกใช้ภาพถ่ายจากเหตูการณ์จริงมากกว่าภาพที่จัดฉากถ่ายขึ้น2)ภาพที่มีทิศทางควรจะหันเข้าสู่ส่วนตัวเนื้อหาข่าวี่เกี่ยวข้องกับภาพนั้น เช่นภาพคนเหลือบตาไปทางขวา (ของผู้อ่านหนังสือพิมพ์)ก็ควรส่วนตัวเนื้อข่าวไว้ทางด้านขวาของภาพ เป็นต้น3) ภาพใหญ่ภาพเดียวมักจะดีกว่าการใช้ภาพเล็กสองภาพ4)
เมื่อวางภาพหลายๆ ภาพไว้ด้วยกัน ควรจัดวางภาพเด่นให้มีขนาดใหญ่เดนกว่าภาพอื่นๆ ไม่ควรวางเป็นภาพขนาดเท่าๆ กันหมด5) ควรปรับขนาดภาพในหน้าเดียวกันให้แตกต่างกันนอกจากภาพประกอบข่าวแล้วบงครั้งก้อาจจะมีข้อความเพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพมากขึ้น เรียกว่า คำบรรยายภาพ ซึ่งคำบรรยายภาพมักจะใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างกันไปจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น อาจจะใช้ตัวเอียง หรือตัวหนา เป็นต้นคำบรรยายภาพจะต้องวางติดกับภาพเสมอ โดยสามารถเลือกวางคำบรรยายไว้ได้หลายตำแหน่ง ดังนี้1)
ด้านล่างของภาพ ใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว2) ด้านข้างของภาพ หากวางด้านซ้ายของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดขวา หากวางด้านขวาของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดชิดซ้าย3) วางระหว่างภาพ เมื่อมีภาพประกอบข่าว 2 ภาพวางคู่กัน อาจเลือกวางคำบรรยายภาพทั้งสองไว้ตรงกลางระหว่างภาพใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงเต็มแนวข้อสังเกตและข้อแนะนี่เกี่ยวกับคำบรรยายภาพในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ควรวางคำบรรยายภาพไว้ติดกับภาพเสมอ2) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านข้างของภาพ ควรกำหนดให้คำบรรทัดมีความกว้างอย่างน้อย 6 ไพก้า3) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านล่างของภาพ ควรกำหนดให้บรรทัดมีความกว้างเท่าๆ กับความกว้างของภาพ และห้ามยาวยื่นเลยความกว้างของภาพออกไป แต่ให้ทำเป็น 2 บรรทัดแทน 1.6)
องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าแรกนั้น มักจะเป็นพวกเส้น เส้นล้อมกรอบ กล่อง หรือแรเงา ที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน ในบางครั้งอาจมีการใช้แผนภูมิหรือแผนผังบ้าง แต่ไม่ปรากฏบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม ก็มีหนังสือพิมพ์ที่ใช้แผนภูมิจำนวนมากในหน้าแรกและประสบความสำเร็จด้วยดี เช่น หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) ซึ่งสื่อสารข้อมูลในลักษณะแผนภูมิในรูปแบบต่างๆ อย่างสวยงาและดึงดูดความน่าสนใจ2.หน้าในหน้าในของหนังสือพิมพ์เป็นหน้าที่รวมความหลากหลายของข่าวประเภทต่างๆ โดยทั้วๆ ไปหนังสือพิมพ์จะแบ่งหน้าต่างๆ เป็นเรื่อง ๆ คือ นำข่าวที่เป็นเรืองเดียวกันมาไว้ในหน้าเดียวกัน เช่น หน้ากีฬา หน้าการศึกษา หน้าสังคม เป็นต้น สำหรับหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ต้องการจะเน้นเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษก็อาจจะแยกเรื่องนั้นๆ ออกมาเป็นอีกส่วน (section) ต่างหากก็ได้ การแบ่งหน้าในลักษณะนี้จะมีผลดีต่อนักออกแบบคือ จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ สามารถออกแบบให้ทั้งหน้าหรือทั้งส่วนนั้นกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวได้ นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการผลิตอีกด้วย การออกแบบหน้าในนี้จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆได้แก่2.1)
หัวข่าว หรือ “พาดหัว”ตัวอักษรที่จะนำมาใช้เป็นหัวข่าวในหน้านี้ก็ต้องมีขนาดใหญ่ตัวอีกษรที่เป็นตัวพิมพ์เนื้อเรื่องทั่วไปเช่นเดียวกันกับหัวข่าวในหน้าแรกเพียงแต่ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับในหน้าแรก เนื่องจากความจำกัดในเรื่องเนื้อที่ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องการจำนำเสนอมากประกอบกับข่าวในหน้าในไม่จำเป็นต้องเรียกร้องความสนใจ เท่ากับหัวข่าวในหน้าแรกนอกจากความแตกต่างจากเนื้อเรื่องในแง่ขนาดแล้ว ยังอาจสร้างความเด่นของหัวข่าวได้ด้วยเปลี่ยนรูปแบบของตัวพิมพ์ให้แตกต่างออกไป โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือเปลี่ยนสีตัวอักษรหรือสีพื้นหลังให้เด่นชัดขึนมาจากสีของกระดาษก็ได้การวางพาดหัวนั้นนิยมวางยาวพาดคอลัมน์ตลอดเนื้อหาของข่าวเรื่องนั้นๆ เช่น ข่าวนั้นกินพื้นที่ 4 คอลัมน์ ก็อาจจะวางพาดหัวยาวตลอด 4 คอลัมน์ก็ได้ การวางพาดหัวพาดข้ามคอลัมน์นี้จะช่วยให้ไม่ต้องวางตัวอักษรขนาดใหญ่หลาย ๆ บรรทัด ซึ่งจะยากแก่การอ่านและไม่ค่อยสวยงาม การพิจารณาว่าจะวางพาดหัวกี่คอลัมน์นี้มีหลักการง่ายๆคือ ยิ่งวางอยู่ในคอลัมน์ขึ้น ขนาดของตัวพิมพ์จะต้องยิ่งเพิ่มขึ้น เช่น พาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 1 คอลัมน์ อาจจะมีขนาด 20-40 พอยต์หากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 3 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 40-50 พอยต์ และหากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 6 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 50-70 พอยต์ เป็นต้นการปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวข่าวมักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับพาดหัวในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ขนาดของพาดต้งสัมพันธ์กับความสำคัญขงข่าว ข่าวยิ่งสำคัญพาดหัวยิ่งมีขนาดใหญ่ ข่าวที่สำคัญมักจะวางไว้ส่วนบนของหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้นพาดหัวขนาดใหญ่จังมักอยู่ที่ส่วนของหนังสือพิมพ์ด้วย ยิ่งต่ำลงมาพาหัวนิ่งจะเล็กลง2) ไม่ควรวางภาพหรือองค์ประกอบของเรขศิลป์อื่น ๆ ระหว่างพาดหัวกับส่วนเรื่องข่าวนั้นๆ3) ไม่ควรวางพาดหัวของข่าวสองเรื่องที่ติดกันด้วยตัวพิมพ์ขนาดเท่ากันเพราะจะทำให้ผู้อ่านคิดว่าเป็นพาดเดียวกัน2.2)หัวรองหัวรองมักจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเน้อเรื่องแต่เล็กกว่าหัวข่าว หัวรองแทรกอยู่ในส่วนเนื้อเรื่อง การวงหัวรองอาจจะพาดหลายคอลัมน์ก็ได้ รูปแบบของตัวพิมพ์บางครั้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้การปรับแนวบรรทัดหรับหัวรอง มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ 2.3) หัวต่อหัวต่อมกจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเนื้อเรื่องแต่เล็กว่าหัวข่าว มีขนาดใกล้เคียงกับหัวรอง โดยจะอยู่นำในส่วนเนื้อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อเรื่งที่ต่อมาจากหน้าแรกหรือหน้ในหน้าอื่น การวางหัวต่อมักจะไม่วางพาดหลายคอลัมน์ คือ จะเป็นหลายบรรทัดในคอลัมน์เดียวมากกว่า รูปแปปของตัวพิมพ์สำหับหัวต่อบางคร้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้ การปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวตอ มักนิยมเรียงชิซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้2.4) หัวคอลัมน์ประจำหัวคอลัมน์ประจำนี้ทำหน้าทีระบุชื่อของคอลัมน์และชื่อผู้เขียน มักนิยมใช้ตัวอักษรที่พิศษแตกต่างไปจากตัวอักษรธรรมดาที่ใช้ในส่วนประกอบอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยแจจะเป็นตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือบางครั้งอาจออกแบบเป็นตราสัญลักษณ์ เช่น อาจจะเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐขึ้นมาเป็นพิเศษและอาจจะมีภาพประกอบเล็กๆ ด้วยก็ได้ซึ่งภาพประกอบที่นิยมใช้กันมาก คือ ภาพของผู้เขียนคอลัมน์ประจำนั้น ๆหัวคอลัมน์ประจำนี้อาจจะอยู่ในส่วนต่างๆ ของหนังสือ เช่น ส่วนบันเทิง หรือ กีฬา ซึ่งแต่ละส่วนของหนังสือนี้ยังอาจจะมีการอยกกันด้วยตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วน (section logo) ซึ่งทำหน้าที่ระบุว่าเนื้อหาในส่วนนั้นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรในการออกแบบตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วนนั้นจะต้องคำนึงถึงภาพรวมของหนังสือพิมพ์ด้วย คือ ต้องออกแบบให้ดูแตกต่างกันในแต่ละส่วน แต่ก็ต้องมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ คือ ทุกๆ อันจะต้องดูเป็นชุดเดียวกัน ผู้อ่านสามารถระบุได้ว่าอยู่ในหนังสือฉบับเดียวกัน2.5)
ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาข่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นข้อความที่มีขนาดยาวที่สุด การเรียงจะเรียงเป็นคอลัมน์ตามระบบกริดที่ได้วางเอาไว้ คอลัมน์ของตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อหาข่าวนั้นบางครั้งก็เรียกว่า ขา (leg) โดยขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ก็ไม่ควรจะกว้างหรือยาวเกินไป เพราะจะมีผลต่อการอ่านง่ายในการกำหนดขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ จะต้องคำนึงถึงขนาดของตัวอักษรเป็นสำคัญ คือ ควรจะมีความกว้างแปรผันตามขนาดของตัวอักษร ตัวอักษรยิ่งเล็กคอลัมน์ยิ่งแคบ (บรรทัดสั้น) ตัวอักษรยิ่งใหญ่คอลัมน์ ยิ่งกว้าง (บรรทัดยาว) วิธีหนึ่งในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์คือ การกำหนดให้บรรทัดมีความยาวเป็นไพก้ากับ 2 เทาของขนาดพอยต์ของตัวพิมพ์ที่เลือกใช้ เชนหากตัวพิมพ์ใช้มีขนาด 12 พอยต์ ก็ควรให้บรรทัดยาวประมาณ 24 ไพก้า (12 พอยต์ x 2)เป็นต้น อย่างไรก็ตามนักออกแบบอาจไม่มีอิสระมากนักในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ เนื่องจากหน้าหนังสือพิมพ์มักจะถูกแบ่งตัวระบบกริดเป็นคอลัมน์ไว้แล้ว ซึ่งขนาดคอลัมนมักจะค่อนข้างแคบ ดังนั้นขนาดของตัวพิมพ์ที่เหมาะสมจึงเป็นขนาดที่ใหญ่นัก คือ ระหว่าง10-14 พอยต์ ตัวอักษรขนาดใหญ่ในคอลัมน์แคบอาจจะทำให้ช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างคาดูไม่สม่ำเสมอและลดทอนความอ่านง่ายลง ส่วนแบบของตัวอักษรที่เหมาะจะใช้เป็นเนื้อข่าวนั้น ภาษาไทยควรเป็นตัวพิมพ์แบบมีหัวและภาษาอังกฤษควรเป็นตัวพิมพ์แบบเซอริฟ และเนื่องจากตัวอักษรเนื้อข่าวมักมีขนาดเล็ก จึงควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษที่มีความสูงเอ็กซ์มากและมีความสูงเส้นทางบกและความสูงหางล่างสั้น และควรเลือกตัวพิมพ์ภาษาไทยที่มีความสูงระหว่างเส้นฐานและเส้นหลักมาก และส่วนที่เป็นสระบนและสระล่างนั้น เพราะจะช่วยให้ตัวอักษรดูมีขนาดใหญ่การปรับแนวบรรทัดสำหรับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมเรียงเต็มแนวคอลัมน์เสมอ แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้การเรียงชิดซ้าย เช่น คำบรรยายภาพ หรือ ภาพในกล่องข้อความ ที่แยกจากเนื้อข่าวเนื่องจากการเรียงตัวเนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นคอลัมน์ ดังนั้นนักออกแบบจึงมีทางเลือกในการวางภาพรวมของเนื้อหาแต่ละเรื่องในลักษณะต่างๆ กันได้ ตัวอย่างเช่น ตัวเนื้อเรื่องที่เรียง 1 คอลัมน์และสูง 12 นิ้วนั้น นักออกแบบสามรถเลือกที่จะแบ่งเนื้อเรื่องนี้ออกเป็นลักษณะต่างๆเช่น 2 คอลัมน์ๆ ละ 6 นิ้ว หรือ 3 คอลัมน์ ๆ ละ 4 นิ้ว หรือ 4 คอลัมน์ ๆ ละ 3 นิ้ว หรือ 5 คอลัมน์ๆ ละ 2.4 นิ้ว หรือ 6 คอลัมน์ๆ ละ 2 นิ้ว การใช้คอลัมน์น้อยๆ และความสูงหรือลึกมาก จะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ในขณะที่การใช้คอลัมน์หลายๆ คอลัมน์และความสูงหรือเล็กน้อยจะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอนตัวเนื้อเองที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวตั้งจะมีข้อดี คือ ดูสะอาดสวยงามและง่ายต่อการติดตามข่าว เนื่องจากเป็นการอ่านไล่จากด้านบนลงด้านล่างเพียงอย่างเดียวแต่ก็มีข้อเสียคือ หากมีความสูงหรือลึกมากๆ อาจจะทำให้เกิดความล้าทางสายตาในการอ่านและในการออกแบบนั้นจะยากในการวางพาดหัว เพราะจะต้องวางแบบ รอว์ แวรบ นอกจานี้หากมีการเรียงตัวเนื้อเรื่องเป็นแท่งสูงๆตลอดทั้งหน้าหนังสือพิมพ์จะทำให้ภาพรวมดูน่าเบื่อตัวเนื้อเรื่องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวนอนจะมีข้อดีคือ ดูสบายตาและหลอกตาว่าเนื้อข่าวสั้นกว่าที่เป็นจริง และแม้มีข้อดีในการในการวาง8พาดหัวได้หลายๆแบบในกรณีที่ไม่สามารถเรียงเนื้อหาของข่าวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าได้ เนื่องจากต้องมีที่สำหรับวางภาพ หรือพื้นที่โฆษณานักออกแบบควรจะพยายามวางให้เนื้อหาทั้งหมดเกิดเป็นภาพรวมที่เรียบง่ายที่สุดหรือใกล้เคียงสีเหลี่ยมผืนผ้าที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ไม่ควรวางเนื้อหาเป็นคอลัมน์ที่มีความสูงแตกต่างกันหลายๆ คอลัมน์ต่อๆ กัน และไม่ควรนำเอาภาพหรือพื้นที่โฆษณาขนาดใหญ่มาคั่นระหว่างส่วนตัวเนื้อข่าวเรื่องเดียวกันส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของตัวเนื้อเรื่องเรียกว่า “ข้อความในเรื่องยกมาโปรย (lift-out) หรืออัญพจน์ (quote) ซึ่งหมายถึงคำพูดเด่นๆ ของบุคคลในข่าว เนื้อหาส่วนนี้ต้องแยกออกมจากส่วนตัวเนื้อเรื่องอย่างเด่นชัด โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่หรอหนา หรือใช้ตัวพิมพ์แบบอื่นเป็นพิเศษ นอกจานั้นยังอาจจะใสภาพถายขนาดเล็กของผู้ที่เป็นเจ้าของคำพูดประกอบด้วยก็ได้ ส่วนตำแหน่งที่วางนั้น ไม่ควรจะวางปะปนไปกับส่วนตัวเนื้อหาอย่างสะเปะสะปะ แต่ควรอยู่ในตำแหนงที่เฉพาะเจาะจง เช่น อยู่ติดกับภาพ อยู่ด้านบน ล่าง ซ้าย หรือขวา ของส่วนตัวเนื้อเรื่อง เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีส่วนที่อาจจะดูไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญอย่างมาก คือ ส่วนชื่อเจ้าของผลงาน (byline) ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุชื่อผู้เป็นนักขางและช่างภาพในกรณีที่มีภาพ ส่วนนี้จะนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น ใช้เป็นตัวหนาหรือตัวเอน แต่ไม่นิยมใช้ให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องมากนัก โดยใช้ข้อความสั้นๆ ว่า “โดย (ชื่อผู้สื่อข่าว).” และอาจมีชื่อสำนักข่าวประกอบอยู่ด้วยก็ได้ ส่วนชื่อเจ้าของผลงานนี้มักจะวางไว้ตอนบนต่อจากพาดหัว หรือหัวต่อ หรือหัวรอง หรือไม่ก็จะวางไว้ตอนท้ายหลังจากจบส่วนตัวเนื้อเรื่องของข่าวนั้นๆ แล้วข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับการเลือกแบบ และการจัดวางตัวเนื้อเรื่องในหนังสือพิมพ์ ดังนี้1) ตัวเนื้อเรื่องที่ดีนั้น ควรจะมีความสูงหรือลึกไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และไม่ควรมากกว่า 12 นิ้ว2)
โดยทั่วไปแล้วขนาดความกว้างของคอลัมน์ที่ง่ายแก่การอ่าน ไม่ควรจะน้อยกว่า 10 ไพก้า และไม่ควรจะกว้างกว่า 20 ไพก้า3) ควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเอน ตัวหนา หรือตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษอื่นๆ ในจำนวนน้อยคือ ใช้สำหรับส่วนที่ต้องการเน้นให้แตกต่างจริงๆ เท่านั้น4) ตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 พอยต์ จะยากต่อการอ่าน จึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันมากนัก และไม่ควรวางบนพื้นที่สีพิมพ์สกรีนเทา เพราะจะยิ่งทำให้อ่านยากยิ่งขึ้นอีก2.6)
พิมพ์ลักษณ์พิมพ์ลักษณ์เป็นส่วนประกอบที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในหนังสือพิมพ์นั้น ๆปกติแล้วมักใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กเช่นเดียวกับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมใส่กรอบแยกออกจากตัเน้อเรื่อง หรือวางพาดตลอดแนวยาวด้านล่างของหน้า ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่หน้าในหน้าแรกหรือหน้าสุดท้าย
2.7 ภาพประกอบข่าวดังได้กล่าวไปแล้ว การใช้ภาพถ่ายในการอกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบอาจะไม่ได้มีบทบาทมากนักเมื่อเทียบกันการออกแบบในสิ่งพิมพ์อ่นๆ อย่างไรก็ตามการใช้ภาพถ่ายในหน้าในของหนังสือพิมพ์นี้ นักออกแบบมีอิสระที่นำมาใช้ได้อย่างมีลูกเล่นมากกว่าในหน้าแรก เนื่องจาเนื้อข่าวบางเรื่องเป็นเรื่อที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้า ทำให้นักออกแบบมีเวลี่จะเลอกและนำภาพถ่ายนั้นมาปับปรุงหรือตกแต่งให้มีรูปบบที่พิเศษขึ้นจากภาพสี่เหลี่ยมธรรมดาภาพถ่ายส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเป็นภาพในแนวตั้งและภาพในแนวนอน เมื่อนำภาพถ่ายมาวางกับตัวเนื้อเรื่อแล้ว ภาพรวมของพื้นที่ข่าวทั้งหมดทั้งภาพและตัวอักษรควรจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้งหรือแนวนอนแล้วแต่ความต้องการภาพรวมของหน้าหนังสือพิมพ์ภาพถ่ายที่นิยมใช้ในกรณีที่ไม่มีภาพเด่นๆ เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวมาแสดง คือ มัคช้อท (mug shot) ซึ่งหมายถึง ภาพบุคคลครึ่งตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนรูปที่ใช้ติดบัตรต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพขนาดไม่ใหญ่ มักมีความกว้างเท่ากับคอลัมน์เดียวและมีคำบรรยายภาพระบุว่าบุคคลในภาพเป็นใครและอาจจะมีเนื้อความข้อมูลขยายอีกนิดหน่อยว่าเกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวอย่างไรตำแหน่งที่ดีของมัคช้อทคือที่ส่วนบนสุดของคอลัมน์คืออยู่เหนือพาหัวและตัวเนื้อเรื่องการวางภาพไว้ตรงกลางของตัวเนื้อเรื่อง อาจจะทำให้ผู้อ่านนึกว่าเรื่องนั้นๆ จบลงแล้วส่วนการวางภาพไว้ตอนล่างของตัวเนื้อเรื่องอาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าเป็นภาพโฆษณาหรือภาพของข่าวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนตำแหน่งการวางมัคช้อทในตัวเนื้อเรื่องที่จัดเรียงในลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแนวนอนนั้น สามารถจัดวางได้ทั้งคอลัมน์นางซ้ายสุด คอลัมน์ขวาสุด และคอลัมนตรงกลางนอกจากภาพถ่ายแล้ว นักออกแบบยังอาจจะมีเลาพอที่จะสร้างภาพประกอบในลักษณะภาพวาด หรือลักษณะอื่นๆ ขึ้นมาเพิ่มเติมจากการใช้ก็ได้นอกจากภาพประกอบข่าวแล้ว บางครั้งก็อาจจะมีคำบรรยายภาพ ซึ่งมีแนวางในการออกแบบเหมือนการใช้คำบรรยายภาพในหน้าแรก2.8 องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าในนั้นจะมีมกกว่ามนหน้าแรก ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบพวกเส้น เส้นล้อกรอบ กล่องหรือแรเงาที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน หรือแผนภิ หรือแผนผังต่างๆ ที่เป็นส่วนช่วยส่งเสริมเนื้อหาข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลประเภทสถิติต่างๆ ซึ่งยากตอการติดตามเมื่ออ่านเอาจากข้อความ3. เนื้อที่โฆษณาเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับในนิตยสาร คือ เป็นเนื้อที่มีผลกระทบต่อการออกแบบหน้ากระดาษมกกว่าเนื่องจากในเนื้อที่โฆษณาในนิตยสารนั้นมักจะเป็นการใช้เนื้อที่ทั้งหน้ากระดาษไม่มาเกี่ยวข้องหรือแทรกอยู่ระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อหาเหมือนอย่างในหนังสือพิมพ์ แม้ว่าในหนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะมีเนื้อที่โฆษณาเต็มหน้าก็ตามแต่ก็จะยังมีเนื้อที่โฆษณาแทรกอยู่กับส่วนที่เป็นเนื้อหาอยู่ดีเนื้อที่โฆษณานี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกจะเรียกว่าโฆษณาย่อย (classified advertiising) ซึ่งหมายถึงโฆษณาขนาดเล็กๆ รวมอยู่ด้วยกันทั้งหน้า คือ เป็นหน้าสำหรับโฆษณาโดยเฉพาะ ในกรณีนี้นักออกแบบจะไม่มีภาระในการแก้ปัญหาการจัดวางเนื้อที่ที่เป็นข่าว เพราะส่วนโฆษณานั้นได้แยกออกมาต่างหากแล้วส่วนลักษณะที่สอง เป็นเนื้อที่โฆษณาที่แรกอยู่กับสวนที่เป็นข่าวในหน้าแรก หรือหน้าในของหนังสือพิมพ์เนื้ที่โฆษณาลักษณะนี้เป็นสิ่งที่นักออกแบบหนังสือพมพ์ต้องคอยกั้ญหาเพราะเน้อที่โฆษณาในแต่ละวันนั้นจะแต่กตางกันเนื่องจากโฆษณาส่วนใหญ่ที่ลงในหนังสสือพิมพ์มักจะลลงเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เช่นหนึ่งหรือสองวัน โยจะต้องคอยรักษาสมดุลของส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นเนื้อที่โฆษณา เพาะเนื้อที่โฆษณาที่มีขนาดใหญ่ย่อมจะมีผลต่การดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไปจาเนื้อหาของที่นำเสนอในกรณีที่เนื้อที่โฆษณาเป็นตามขนาดมาตรฐาน คือ ขนาดเต็มหน้า ครึ่งหน้า เศษหนึ่งส่วนสี่หน้า จูเนียร์เพจ หรือแถบโฆษณา ก็จะไม่มีผลให้การจัดวางส่วนเนื้อขายากลำบากมากนัก เพราะพื้นที่ที่เหลือจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สามารถนำเอาส่วนเนื้อข่าวมจัดวางได้ไม่ยากส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาในการจัดวางจะเกิดขึ้นก็เมื่อมีการขายโฆษณาในลักษณะที่เป็น“คอลัมน์นิ้ว” คือกำหนดขนาดความกว้างของเสฃนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างที่คอลัมน์ ส่วนความสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ให้ในหน้ากระดาษมีโฆษณาขนาดเล็กๆหลายชิ้น นักออกแบบไม่ควรจะวางโฆษณาเล็กๆ เหล่านี้ให้กระจายปะปนไปกับส่วนเนื้อข่าวหรือเอาไปแรกไว้ระหว่างเนื้อข่าวเรื่องใดเรื่องแต่ควรจะจัดเอามาวางไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม โดยพยายามวางให้พื้นี่ที่เหลือจากเนื้อที่โฆษณามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากทำไม่ได้จะทำให้ พื้นที่ที่เหลือมีลักษณะเป็นขั้นบันได อันทำให้ต้องวางส่วนเนื้อข่าวเป็นขั้นบันไดไปด้วย ในกรณีนี้นักออกแบบควรจะพิจารณาไม่นำภาพประกอบข่าวใส่เข้าไปหากไม่จำเป็น เพราะจะยิ่งทำให้หน้ากระดาษแน่นไม่น่าดูยิ่งขึ้นไปอีก4. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ส่วนพิเศษส่วนนี้แม้จะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ แต่มีธรรมชาติของเนื้อหา รวมทั้งลักษณะทางการออกแบบเหมือนนิตยสารจนอาจจัดเป็นนิตยสารประเภทหนึ่งได้ การออกแบบจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการออกแบบนิตยสาร (บทที่ 7)โดยสรุป การออกแบบส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์จะต้องพิจารณาถึงเรื่องสำคัญสองเรื่อง คือ สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ และองค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในกาออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยในเรื่องของสิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์จะต้องเริ่มด้วย การศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ ตามด้วยการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ รูปแบบของปกหน้า รูปแบบของหน้าใน แบบและขนาดตัวอักษรพิมพ์ แบบและจำนวนภาพประกอบ ส่วนในเรื่ององค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบจะต้องพิจารณาถึงขนาดและรูปแบบขององค์ประกอบต่างๆ รวมถึงรูปแบบการจัดวางที่เหมาะสมในแต่ละหน้า