BANGKOK GRAPHIC

ออกแบบ Motion Graphic

ออกแบบ Motion Graphic

ออกแบบ Motion Graphic สำหรับ งานออกแบบ Motion Graphic : Kinetic typography ,Polygon Graphic ,Typography Motion Download file : Music 01 Music 02 Music 03 Music 04 File Support Web link : https://www.hive.co/downloads/download/487094/spotlight/

การออกแบบกราฟิก สื่องานออนไลน์

การออกแบบกราฟิก สื่องานออนไลน์

การออกแบบกราฟิก และงานออกแบบเว็บไซต์

สื่อป้ายแบนเนอร์

หมายถึง สื่อโฆษณาประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในรูปแบบของภาพกราฟฟิค สามารถเชื่อมโยงเว็บไซด์ถึงกันได้หรือถูกจัดวางในตาแหน่งที่จองไว้เพื่อลงโฆษณาในโฮมเพจโดยเฉพาะ โดยส่วนมากแบนเนอร์จะถูกจากัดขนาดของไฟล์เพื่อการโชว์ที่รวดเร็ว ปัจจุบันแบนเนอร์ นิยมใช้รูปแบบของภาพเคลื่อนไหวเพราะจะสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า มาตรฐานที่ใช้ในการศึกษาวิจัยขนาดของป้ายแบนเนอร์จะอยู่ระหว่างความกว้าง 468×60 พิกเซล ขนาดเหล่านี้ถูกจัดตั้งให้เป็นขนาดมาตรฐานโดย Internet Advertising Bureau (IAB) ทาหน้าที่เสมือนป้ายประกาศหรือป้ายบอกทางที่จะเป็นช่องทางในการที่จะทาให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซด์นั้นสามารถเชื่อมโยงผ่านทางป้ายแบนเนอร์ไปยังเว็บไซด์สินค้าหรือบริการที่ต้องการจะโฆษณาและประชาสัมพันธ์ได้โดยมากจะปรากฏอยู่ในตาแหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น ด้านบนด้านล่างเป็นต้น

เว็บไซต์

หมายถึง การให้บริการรูปแบบหนึ่งในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถแสดงข้อมูลได้ทั้งในลักษณะข้อความ ภาพเคลื่อนไหวเสียงที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) โดย มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ ในลักษณะไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ผู้ที่ชมข้อมูลสามารถเลือกชมสิ่งที่ตนเองต้องการเพียงแค่ใช้อุปกรณ์เม้าส์(Mouse) เลือกในหัวข้อที่ต้องการ

ผู้ใช้บริการระบบ เวิลด์ ไวด์ เว็บ

หมายถึง บุคคลที่สามารถเข้าใช้บริการระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเป็นบริการรูปแบบหนึ่งในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นบุคคลที่สมัครเป็นสมาชิกเพื่อขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย หรือเป็นผู้ใช้บริการที่สังกัดในหน่วยงานที่มีการให้บริการของตนเอง เช่น สถาบันการศึกษา บริษัทต่างๆ หน่วยงานรัฐ โดยการสารวจครั้งนี้จะทาการสารวจจากผู้ใช้บริการระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

คลิ๊ก (Click)

หมายถึง การที่ผู้ใช้บริการกดปุ่มซ้ายของเม้าส์เพื่อเลือกในที่นี้หมายถึงการโต้ตอบกับป้ายแบนเนอร์ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมโดยการเลือกเข้าไปที่เว็บไซด์ของผู้โฆษณา แต่ไม่ได้หมายความรวมไปถึงว่าผู้เยี่ยมชมจะต้องเห็นเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณาตลอดทั้งหน้าเว็บไซด์นั้น แค่เพียงแต่เริ่มคลิ๊กเท่านั้น

  การเจริญเติบโตของป้ายสื่อแบนเนอร

อะไรคือสิ่งที่ทาให้นักการตลาดและนักโฆษณาเห็นความสาคัญกับสื่อนี้ ในขณะเดียวกันที่ บริษัทเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจประเภทสื่อโฆษณาหรือพับบลิชชิ่ง รวมทั้งบุคคลทั่วไปในเมืองไทย หลายรายเริ่มหันมาให้ความสาคัญกับธุรกิจสื่อโฆษณาชนิดนี้มากยิ่งขึ้น บริษัทเหล่านี้บางแห่งไม่ได้อาศัยการลงทุนใดๆ แต่เป็นการนาทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่น กรณีที่โด่งดังมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 นี่คือเว็บไซด์ที่ชื่อ www.sanook.com ได้มีนักลงทุนรายใหญ่จากแอฟริกาใต้ในนาม เอ็มไอเอช มาตกลงใจซื่อบริษัทนี้ในราคาเกือบ 100 ล้านบาทเพราะทาง เอ็มไอเอช ภายใต้บริษัท เอ็มเว็บไทยแลนด์ จากัดเอง มองเห็นการเติบโตของ ธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องการ

ขายพื้นที่โฆษณาในหน้า www.sanook.com บทสัมภาษณ์พิเศษ นายเควก ไวท์ ผู้บรหารของเอ็มเว็บ กล่าวว่า นอกจากเหตุผลในการซื้อที่กล่าวมาแล้วนั้นทางบริษัทเอ็มเว็บยังมองเห็นศักยภาพทางด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ส (Electronic commerce) หรือการค้าขายแบบออนไลน์ที่น่าจะไปได้ดีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าในประเทศไทย บรรดาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย Internet Service Provider (ISP) ซึ่งต้องมี การออกแบบเว็บไซด์ของตนเองอยู่แล้ว ประกอบกับการมีฐานลูกค้าผู้ใช้บริการของตนเองเข้าใช้ งานอยู่เป็นประจา และเพื่อให้เว็บไซต์ถูกออกแบบมาอย่างคุ้มค่า ประกอบกับเป็นการนาเสนอบริการที่ครบวงจร ISP ส่วนใหญ่จึงมีบริการในส่วนนี้เสริมเข้าไปด้วย ซึ่งสามารถทาผลกาไรให้กับ ISP พอสมควรทีเดียว แม้กระทังบริษัทผู้ให้บริการประเภทผลิตสื่อโฆษณาชนิดอื่นๆ อยู่แล้ว ก็ยังจาเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในการทาเว็บ นอกจากนั้นยังมีบางเว็บไซด์ที่เปิดบริการขึ้นจากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นซึ่งสามารถนาเสนอข้อมูลได้หลากหลายและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเว็บไซด์จริงๆอย่างเช่น www.pantip.com, www.hunsa.com เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี่มีรายได้หลักมาจากการให้เช่าพื้นที่โมษณาที่เรียกว่าป้ายแบนเนอร์นั่นเอง

อย่างไรก็ตามการที่บริษัท เอ็มไอเอช จากัดที่ได้ตัดสินใจซื่อ เว็บยอดนิยมอย่าง www.sanook.com นั้นยังมองว่าการวางแผนด้านการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เป็นเรื่องที่สาคัญมาก บริษัทได้ตั้งงบประมาณในการลงทุนเรื่องโฆษณาเว็บไซต์ไว้ที่ 15-20 ล้านในปี 2542 นี้ จุดนี้เองก็ แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์เองไม่สามารถโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตัวเองอย่างเดียวได้ ยังคงต้องใช้สื่ออื่นเพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์และสื่อหนึ่งที่สามารถจะทาหน้าที่ตรงนี้ได้ดีที่สุดก็คือ การโฆษณาผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตนั่นเอง ดังเช่นการมีป้ายแบนเนอร์เพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์อื่นๆอยู่มีโอกาสเข้าไปชมเว็บไซต์ของตนเองบ้าง

แนวคิดเรื่องการออกแบบป้ายแบนเนอร์

เป้าหมายของการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อต้องการให้ผู้ใช้ระบบ เวิลด์ไวด์ เว็บได้เข้ามา เยี่ยมชมในเว็บไซต์นั้น การวางแผนงานการโฆษณาออนไลน์ (Advertising Online) ก็เพื่อต้องการที่จะให้ผู้ชมทีเข้ามาชมรายละเอียดในเว็บไซต์นั้นได้เห็น (view) หรือคลิก (Click Through) ผ่านเข้า มาชมจากทางป้ายแบนเนอร์เพื่อนาไปสู่หน้าโฆษณา (Middle page) จนไปสู่หน้าเว็บไซด์ที่ต้องการ ให้ผู้ชมทราบข้อมูล

Matt Lindley ,Kevin wells ,1995 โครงสร้างของการออกแบบป้ายแบนเนอร์เปรียบเสมือนโปรแกรมในการจัดพิพิธภัณฑ์ที่จะต้องสร้างความน่าสนใจให้คนเข้ามาเยี่ยมชม ป้ายแบนเนอร์ทาหน้าที่เช่นเดียวกันเพราะว่าป้ายแบนเนอร์เป็นทิศทางแรกของแคมเปญโฆษณาที่จะสามารถทาให้ผู้ชมในระบบ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ได้เห็นงานความสาเร็จของป้ายแบนเนอร์อยู่ตรงที่ว่า ป้ายมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกันในหน้าเว็บไซต์ นั่นคือข้อจากัดของสื่อนั่นเอง และความท้าทายที่จะทาให้มีผู้ชมมาสนใจและเลือกเข้าไปชมในรายละเอียดของป้ายนั้น

เทคนิคที่ได้ผลของ Zdnet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้านข่าวโดยเฉพาะได้ให้แนวคิดใน การออกแบบป้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมให้คลิกได้ โดยเชิญชวนด้วยป้ายที่มีมากกว่าสินค้าและบริการเช่น ข้อเสนอพิเศษ (Value-Added Banner fácie) เช่น ฟรีดาวน์โหลด ฟรีซีดีรอม ทดลองเล่นฟรีก่อน เป็นต้น หรือสร้างสรรค์ข้อความในเชิงของคาถามมากกว่าคาตอบเพื่อเป็นการชักชวนให้คนอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและคลิ๊กเข้าไปชม

     

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

ออกแบบ website

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

การออกแบบกราฟิก อัตลักษณ์องค์กร

คำว่า ”อัตลักษณ์องค์กร” หรือ Corporate Identity (CI) หมายถึงการแสดงออกให้เห็นถึงภาพลักษณ์ (Image) ที่ปรากฏต่อสายตาผู้อื่นพร้อมๆกับแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ขององค์กรนั้นโดยอาศัยองค์ประกอบกราฟิกหรือกล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือหมายถึงสื่อสารภาพพลักษณ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรวมทั้งสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่องค์กรบุคลากรตลอดจนบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆจะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์องค์กรเป็นสิ่งที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรโดยเฉพาะในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างมากในปัจจุบัน   เนื่องจากโครงการเหล่านั้นต่างก็มีความต้องการที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งโครงการเช่นกันการสร้าง CI ก็เปรียบเสมือนกับการที่คนเรารู้จักปรุงแต่งรูปร่างหน้าตาการแต่งกายให้สวยงามเหมาะสมกับบุคลิคภาพของตนเพื่อดึงดูดความสนใจใครอยาก รู้จักเช่นเดียวกับองค์กรที่มี CI ที่ดีได้รับการออกแบบที่ดีผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการมีรูปลักษณ์ที่สวยงามก็จะสามารถดึงดูดหรือก่อให้เกิดความสนใจใคร่ลองใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆยิ่งถ้ามีคุณภาพดีด้วยแล้วก็จะยิ่งทาให้สินค้าหรือบริการนั้นประสบความสาเร็จในการเพิ่มยอดขายยิ่งขึ้นเราต้องยอมรับความจริงที่ว่าสินค้าที่วางจาหน่ายโดยใช้ชื่อผู้ผลิตที่แตกต่างกันนั้นในความเป็นจริงแล้วคุณภาพของสินค้าเหล่านั้นค่อนข้างใกล้เคียงกันดังนั้นสิ่งที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อก็คือความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในตราสินค้าเหล่านั้นซึ่งเกิดขึ้นจากการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าหรือบริษัทผู้ผลิตนั่นก็คือการสร้าง CI ที่ดีนั่นเอง ความสาคัญของ CI แม้ว่าองค์กรจะมีอัตลักษณ์ที่ดีเพียงใดแต่อัตลักษณ์นั้นมิได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะชนหรือผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอัตลักษณ์ที่ดีนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรเท่าที่ควรด้วยเหตุนี้องค์กรที่ประสบความสาเร็จหลายแห่งจึงได้กาหนดให้มีแผนสาหรับ CI รวมอยู่ในแผนการบริหารขององค์กรด้วยการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อความสาเร็จขององค์กรนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการบริหารงานภายในองค์กรเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอกอาทิสภาวการณ์ทางการตลาดคู่แข่งเป็นต้นการมีแผนสาหรับ CI ที่ดีจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยรับมือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเหตุที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องการ CI นั้นมักมีมาจากสาเหตุ 2 ประการคือ 1). องค์กรนั้นเป็นองค์กรสร้างขึ้นใหม่และมีคู่แข่งในธุรกิจจานวนมากจึงต้องการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัวสาหรับองค์กร 2). องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่ตั้งมานานพอสมควรและเห็นความจาเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบ CI เสียใหม่ซึ่งระเวลาที่เหมาะสมสาหรับการเปลี่ยนแปลง CI นั้นขึ้นอยู่กับ – ลักษณะของธุรกิจแต่ละประเภทเช่นถ้าเป็นธุรกิจแฟชั่นเครื่องแต่งกายเครื่องสาอางฯลฯอาจมีความจาเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน CI บ่อยครั้งกว่าธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงินเช่นธนาคารเป็นต้น – แผนการตลาดองค์กรต่างๆควรมีแผนบริการระยะยาวซึ่งรวม CI อยู่ในแผนนั้นๆด้วยเพื่อสร้าง CI เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางที่ชัดเจน เหตุผลในการปรับเปลี่ยน CI ไม่ว่าจะมีที่มาจากการที่ “สัญลักษณ์” ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สาคัญที่สุดในการสร้าง CI นั้นได้ใช้งานมานานพอสมควรแล้วหรือเกิดจากความต้องการของฝ่ายบริหารก็ตามสิ่งที่องค์กรควรตั้งคาถามถามตัวเองให้ชัดเจนเสียก่อนก็คือ20 องค์กรจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรและคาดหวังที่จะได้อะไรจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเพราะคาตอบที่ได้จะเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งต่อการกาหนดแนวทางในการปรับเปลี่ยน CI ภาพลักษณ์องค์กรคืออะไร องค์กรต่างๆเปรียบได้กับมนุษย์ซึ่งต่างก็มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีประวัติความเป็นมาอันน่าภูมิใจรวมถึงมีปรัชญาในการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกันองค์กรต่างๆก็เช่นเดียวกันล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกันทั้งสิ้นดังนั้นการที่บุคคลทั่วไปจะได้มีโอกาสรับรู้และเข้าใจถึงความเป็นองค์กรนั้นๆจึงต้องอาศัยการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและการแสดงถึงภาพลักษณ์ (Image) ขององค์กรนั้นๆได้เป็นอย่างดีวิลเลี่ยมโกลเดน (William Golden) ผู้ออกแบบสัญลักษณ์รูปดวงตาให้กับเครือข่ายซีบีเอส (CBS) เมื่อปีค.ศ. 1959 กล่าวว่า“ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) คือภาพที่องค์กรปราภฏต่อสาธารณชนผ่านทางผลิตภัณฑ์นโยบายการโฆษณา ฯลฯ เครื่องหมายการค้า (Trademark) มิได้เป็นสิ่งที่สร้างภาพลักษณ์องค์กรแต่เป็นเพียงสิ่งย้าเตือนให้ระลึกถึงภาพลักษณ์องค์กรเท่านั้น” อาจอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า “ภาพลักษณ์องค์กร” (Corporate Image) หมายถึง“ภาพ” ที่บุคคลทั่วไปไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคคู่แข่งผู้ค้าปลีกหรือสังคมโดยรวมเข้าใจว่าองค์กรนั้นเป็นอย่างไรเช่นน้ามันบางจากมีภาพลักษณ์ของการช่วยเหลือสังคมเป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก “อัตลักษณ์องค์กร” (Corporate Identity) ที่หมายถึงการสร้างความเป็นอัตลักษณ์แก่องค์กรโดยอาศัยเครื่องหมายการค้าหรือสัญลักษณ์ที่สามารถสะท้อนภาพที่องค์กรนั้นๆต้องการนาเสนอต่อสังคมเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับอัตลักษณขององค์กรจะต้องมีความชัดเจนมิใช่เป็นเพียงชื่อหรือคาขวัญ (Slogan) สั้นๆแต่จะต้องเป็นสิ่งที่เป็นจริงมองเห็นได้และเป็นที่ยอมรับเป็นพื้นฐานของการกาหนดรูปแบบของสินค้าหรือบริการรวมถึงอาคารสานักงานโรงงานห้องแสดงสินค้าตลอดจนการส่งเสริมการขายต่างๆเป็นต้นความเป็นอัตลักษณ์อาจแสดงออกในรูปของชื่อสัญลักษณ์สีและรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวจะเป็นปัจจัยที่สร้างกรอบให้กับองค์กรรวมทั้งสร้างความภัคดีให้เกิดแก่องค์กรอีกด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่าภาพลักษณ์องค์กรคือภาพขององค์กรในลักษณะที่เป็นนามธรรมในขณะที่อัตลักษณ์องค์กรคือการสะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กรออกมาเป็นรูปธรรมโดยอาศัยเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ขององค์กรนั้นๆโดยทั่วไปอัตลักษณ์องค์กรจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจยิ่งในโลกที่มีการแข่งขันสูงดังเช่นปัจจุบันด้วยแล้วองค์กรต่างๆยิ่งต้องการ22 ปรับปรุงอัตลักษณ์เพื่อให้มีความเหมาะสมและมีความทันยุคทันสมัยอยู่เสมอเพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคในขณะที่ภาพลักษณ์องค์กรมักจะเป็นสิ่งที่เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้บริโภคแล้วเปลี่ยนแปลงได้ยากเช่นน้ามันบางจากอาจต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์เป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วยการออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ให้มีความทันสมัยขึ้นซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับจึงเป็นสิ่งที่ควรไตร่ตรองอย่างรอบคอบ 2.4.2 คู่มือและการใช้งานระบบอัตลักษณ์   คู่มือมาตรฐานระบบอัตลักษณ์องค์กรที่ดีมักจะประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆดังนี้ 1) .บทนาที่อธิบายถึงระบบอัตลักษณ์องค์กร 2). อัตลักษณ์กราฟิกใหม่ประกอบด้วยเครื่องหมายสัญลักษณ์ 3) .ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ธุรกิจ 4). ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์อื่น 5). ตัวอย่างสิ่งพิมพ์โฆษณาและส่งเริมการขาย 6). ตัวอย่างการใช้งานกับสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม 7). ตัวอย่างการใช้งานกับยานพาหนะ   การใช้งานระบบอัตลักษณ์ (CI Applications) การใช้งานระบบอัตลักษณ์สาหรับองค์กรหรือธุรกิจที่มีขนาดหรือประเภทธุรกิจแตกต่างกันย่อมจะมีรายละเอียดหรือรูปแบบในการใช้งานระบบอัตลักษณ์ต่างกันด้วยอาจแบ่งตามลักษณะการใช้งานดังนี้ การใช้งานทั่วไป (Common Applications) ประกอบด้วย 1). สิ่งพิมพ์ธุรกิจสาหรับองค์กรและหน่วยงานย่อย 2). โฆษณาสาหรับสินค้าหรือบริการ 3). สิ่งพิมพ์ส่งถึงผู้บริโภคโดยตรง 4). ใบปิด 5). ระบบเครื่องหมายทั้งภายในและภายนอกอาคาร 6). รายงานประจาปี 7). จดหมายข่าว องค์กรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ 1). รายการทั้งหมดที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการให้บริการทั่วไป 2). รายการเพิ่มเติมความต้องการของลูกค้า 3). รายการส่งเสริมการขายเช่นสติกเกอร์ 4). รถส่งของ 5). ของใช้สาหรับพนักงาน 6). เอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรม 7). การจัดแสดงสินค้า 8). สิ่งที่ระบุความเป็นพนักงาน 9). บรรจุภัณฑ์ 10). จุลสาร   การสร้าง CI ให้กับองค์กรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล (Research and Analysis) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมดของลูกค้า วัตถุประสงค์หลักของขั้นตอนนี้คือการข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ ข้อมูลที่ได้จะทาให้เราทราบถึงปัญหาและนามาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรได้ การทางานกับองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในองค์กรขนาดใหญ่ นโยบายการบริหารงานจะมาจากคณะกรรรมการบริหารและผู้ถือหุ้น ซึ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีการบริหารงานเป็นลาดับชั้น มักไม่เห็นความสาคัญของ CI และไม่กล้าเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กส่วนใหญ่จะง่ายต่อการติดต่อและทางานด้วยมากกว่า เนื่องจากไม่มีลาดับชั้นในการบริการงานที่ยุ่งยาก นักออกแบบสามารถติดต่อโดยตรงกับผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ไม่มีเรื่องการเมืองในบริษัทมาเกี่ยวข้องการตัดสินใจทาได้รวดเร็วและไม่ทาใ้้ห้นักออกแบบต้องปวดหัว อย่างไรก็ดีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กบางรายอาจจะไม่มีความรู้และเชี่ยวชาญในงานออกแบบเรขศิลป์ ในกรณีเช่นนี้นักออกแบบจะต้องทาหน้าที่เป็นทั้งผู้ออกแบบ แนะนา และให้ความรู้แก่เจ้าของธุรกิจนั้นด้วยในขณะเดียวกัน ในกรณีที่ต้องทางานกับเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด นักออกแบบจะต้องปฏิบัติต่อคนเหล่านั้นเหมือนกับลูกค้าอื่น เช่นมีการนัดประชุม ติดตามและประเมินผลตรงตามเวลาที่กาหนดในแต่ละขั้นตอน อย่าให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวทาให้เสียงานได้ การทางานในขั้นตอนที่ 1 อาจแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้ 1).จัดประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนนี้จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงธรรมชาติและโครงสร้างขององค์กร รวมถึงภาพขององค์กรที่ปรากฏอยู่ในใจของบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลที่ต้องการประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา และการเติบโตของค์กร – ปรัชญาขององคก์กร การปฏิบัติต่อบุคลากร ท่าทีขององค์กรที่ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือชุมชนที่องค์กรนั้นๆ ตั้งอยู่ เป็นต้น – ลักษณะและโครงสร้างองค์กร – ข้อมูลทางการตลาด – บุคลากร ลูกค้า ผู้ค้าปลีก สถาบันการเงิน ฯลฯ รู้สึกต่อองค์กรหรือสินค้าและบริการของค์กรนั้นอย่างไร เมื่อได้ข้อมูลข้างต้นแล้ว ประเด็นสาคัที่ควรทราบต่อไปก็คือภาพลักษณ์ที่องค์กรนั้นเป็นหรือต้องการจะเป็นคืออะไร อาทิ ผลิตสินค้าที่มีราคายุติธรรม  มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง  เน้นความเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Natural Product)  เป้นองค์กรที่มีผลกาไร  เป็นองค์กรที่เติบโตจากธุรกิจในประเทศไปสู่ธุรกิจข้ามชาติ  ห่วงใยสังคม หรือสิ่งแวดล้อม ฯลฯ นักออกแบบจะต้องศึกษาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ได้พิมพ์เผยแพร่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ แผ่นพับ แผ่นปลิว จดหมายข่าว รายงานประจาปี รวมถึงงานโฆษณาต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสาหรับนาไปใช้ในการออกแบบต่อไป   การสัมภาษณ นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากเป็นการระดมความคิดจากทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อทราบถึงความคิดและมุมมองของแต่ละบุคคล เป้นการก่อให้เกิดความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในองค์กรนั้นๆ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสที่จะได้คิดทบทวนถึงปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายขององค์กรเท่าใดนัก เนื่องจากมุ่งแต่งานบริหารให้องค์กรนั้นมีการเจริญเติบโตมั่นคงและมีผลกาไร ในระหว่างการสัมภาษณ์ผู้บริหารจะได้มีโอกาสหันกลับมามองดูในเรื่องภาพลักษณ์หรือภาพโดยรวมของการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนระยะยาวขององค์กร การสัมภาษณ์ผู้บริหารควรจัดสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการทีละคน และควรจัดเตรียมคาถามไว้ล่วงหน้าหรือทารายการตรวจสอบ เพื่อควบคุมการสัมภาษณ์ได้ตรงประเด็นที่ต้องการการสัมภาษณ์จะทาให้นักออกแบบได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และได้ทราบปัญหามากกว่าการประชุมที่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่นักออกแบบควรสัมภาษณ์ผู้บริหารทุกระดับที่เป็นตัว จักรสาคัญในแต่ลาดับชั้น รวมถึงสัมภาษณ์พนักงานทั่วไปด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยาขึ้น คาตอบที่ได้จะทาให้นักออกแบบสามารถทราบถึง ทิศทางการขยายตัวขององค์กรในอนาคต – กลยุทธ์และเป้าหมายทางการตลาดขององค์กร – สภาพแวดล้อมภายในที่เอกลักษณ์นั้นปรากฏ – จุดเด่นและจุดด้อยขององค์กรในมุมมองของบุคลากร – ท่าทีของพนักงานที่มีต่อปรัชญาและนโยบายขององค์กร – เป้าหมายของการสื่อสารในปัจจุบันและอนาคต

ซูมโลโก้ลิเวอร์พูล ทำไมต้องหงส์แดง

ซูมโลโก้ลิเวอร์พูล ทำไมต้องหงส์แดง

ตามรอยโลโก้สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล มีที่มาอย่างไร?

โลโก้ของลิเวอร์พูลนั้นแท้จริงจะเป็นอะไร และมันมีที่มาอย่างไร หาคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ในบทความนี้เลยครับ
Bangkok Graphic
Bangkok Graphic
แฟนๆ ลิเวอร์พูลหลายๆ คนคงมีคำถามคาใจอยู่นานหนึ่งคำถามว่า ตราสัญลักษณ์รูปหงส์ของสโมสรตัวเองนั้นมีที่มาอย่างไร และทำไมจึงต้องเป็นรูปหงส์ วันนี้ในบทความนี้เรามีสาระน่ารู้ดีๆเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์นี้มาฝากกัน รับรองว่าต้องถูกใจบรรดาแฟนบอลแน่นอน ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้น ไปชมกันได้เลย ก่อนจะเข้าเรื่องกันนั้น สำหรับสาวกคนไหนที่อยากจะเอาใจช่วยสโมสรเจ้าของสัญลักษณ์นกลิเวอร์เบิร์ดทีมนี้ ก็สามารถไปใช้บริการกันได้ที่ marathonbet เว็บไซต์รับทายผลกีฬาออนไลน์ลุ้นรางวัลแห่งใหม่ ที่มีชนิดของกีฬาให้เลือกเล่นมากมายหลายชนิด รับรองว่าคุณจะไม่ผิดหวัง และไม่พลาดความมันส์จากกีฬาทุกรูปแบบแน่นอน ลิเวอร์พูลที่ใครๆหลายคนรู้จัก คงจะถูกขนานนามในชื่อหงส์แดง ซึ่งจริงๆแล้วนี่อาจจะเป็นความเข้าใจผิดของแฟนบอลหลายๆคนเลยก็ว่าได้ ว่าโลโก้สัญลักษณ์ของสโมสรลิเวอร์พูลนั้นมีสัญลักษณ์เป็นหงส์ เพราะจริงๆแล้วเว็บไซต์กูรูอย่าง Wigipedia ได้ระบุว่ารูปนกในโลโก้ของสโมสรลิเวอร์พูลนั้นคือนก “ลิเวอร์เบิร์ด” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองลิเวอร์พูลที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักมาตั้งแต่เก่าก่อน ซึ่งอุตสาหกรรมหลักที่เป็นรายได้ของเมืองนี้ก็มาจากการต่อเรือ และอุตสาหกรรมทางทะเล ทำให้สัญลักษณ์นั้นเกี่ยวข้องกับนก ที่เป็นสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อยในเมืองนี้นั่นเอง ซึ่งสัญลักษณ์ของนกลิเวอร์เบิร์ดถูกนำมาใช้ในช่วงแรกๆ โดยพระเจ้าจอห์นตั้งแต่เมื่อ 700 ปีก่อน โดยแต่เดิมนั้นนกลิเวอร์เบิร์ดมีลักษณะคล้ายกับนกอินทรี แต่ด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบแน่ชัด รูปนกอินทรี ก็แปลเปลี่ยนตามกาลเวลากลายเป็นนกที่มีคอยาวขึ้น ขายาวขึ้น ดูสง่าขึ้น และดูเหมือนว่าจะไม่มีความเป็นนกอินทรีอีกต่อไป ซึ่งหากลองมองไปแล้วก็อาจจะมีความคล้ายคลึงกับหงส์ ลิเวอร์พูลจึงได้รับฉายาจากชาวไทยว่า หงส์แดง ดังที่เราเห็นในตราสโมสรของลิเวอร์พูลดังปัจจุบันนี้เอง นอกจากฝีมืออันเก่งกล้าของทีมนี้แล้ว ความล้ำลึกของการนำสัตว์มาใช้เป็นตราสโมสร ทำให้เกิดการจดจำในหมู่บรรดาแฟนคลับทั่วโลกอีกด้วย เรียกได้ว่าการดีไซน์และหยิบเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นสัญลักษณ์หรือโลโก้นั้น มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว และสาเหตุหลักๆ เลยที่ลิเวอร์พูลนำเอาสัญลักษณ์นี้มาเป็นโลโก้ของสโมสร ก็มาจากการที่นกลิเวอร์เบิร์ดนั้นเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองคงจะไม่มีสัญลักษณ์ใดที่จะเหมาะไปกว่าสัญลักษณ์นี้แล้วในการนำมาติดตั้งที่สโมสร

รูปแบบเว็บไซต์ส่งผลอย่างไรกับธุรกิจ

รูปแบบเว็บไซต์ส่งผลอย่างไรกับธุรกิจ

ในการทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหรือบริการใดๆก็ตาม รูปแบบและหน้าตาของเว็บไซต์เป็นส่วนสำคัญมากและมีผลต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ธุรกิจ SME , อี-คอมเมิร์ซ และธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้การนำเสนอสินค้าและบริการผ่านทางรูปแบบเว็บไซต์เป็นหลัก ซึ่งหน้าตาของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนหน้าร้าน ที่ลูกค้าคลิกเข้าไปแล้ว ต้องเจอเป็นอันดับแรก จึงถือได้ว่ารูปแบบและหน้าตาของเว็บไซต์คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อยอดขายตลอดจนภาพลักษณ์ของธุรกิจมากทีเดียว และสิ่งที่เรียกว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ได้แก่  
  • – โทนสีของเว็บไซต์ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ เรื่องสีสัน ก็เป็นเรื่องสำคัญกับความรู้สึกของคนที่คลิกเข้ามาชมเว็บไซต์เช่นกัน สำหรับเว็บไซต์ที่ขายสินค้าออนไลน์ ควรเป็นสีที่สบายตา มองเห็นภาพสินค้าได้ชัดเจน ส่งเสริมให้ภาพสินค้าดูโดดเด่น มองแล้วสนใจตัวสินค้ามากกว่าสีสันของเว็บไซต์
  • – ในเว็บไซต์ควรมีช่องทางการติดต่อแบบออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด เช่น อีเมล์ ไลน์ไอดี กล่องแชทโต้ตอบ รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ด้วย เพราะถ้าหากลูกค้าสนใจหรืออยากสอบถามรายละเอียดสินค้า แต่บนหน้าเว็บไซต์ไม่มีช่องทางการติดต่อที่รวดเร็วทันใจ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจไปเลือกร้านอื่นได้ และทางร้านก็อาจต้องเสียลูกค้าเพราะเหตุผลนี้ไปอีกหลายคนหากไม่มีการปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น
  • – การใช้ภาษาโต้ตอบกับผู้ซื้อ โดยเฉพาะการโต้ตอบผ่านทางแชท ทั้งกล่องแชท และไลน์แชท ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจต้องอธิบายรายละเอียดและตอบทุกข้อสงสัยของลูกค้าได้เป็นอย่างดี มีความใจเย็น ไม่แสดงอาการใจร้อนหงุดหงิดไม่ว่าลูกค้าจะถามคำถามซ้ำกันบ่อยๆ หรือคำถามที่ชวนให้อารมณ์ไม่ดี อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ไม่พิมพ์ภาษาวิบัติหรือสะกดผิดๆถูกๆ ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ และธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่นการใช้ คะ กับ ค่ะ เป็นต้น
  • – ควรจะมีการอัพเดทข้อมูลและเนื้อหาให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ทั้งสินค้าและบริการ เพราะลูกค้าที่คลิกเข้าไปชมเว็บไซต์ แล้วพบเจอกับภาพเดิมๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีเนื้อหาอะไรใหม่ๆเลย ก็อาจจะส่งผลต่อความรู้สึกที่ว่า ธุรกิจนี้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหน้าร้านหรือเว็บไซต์ปล่อยให้รกร้างแบบไม่ใยดี สุดท้ายก็เปลี่ยนไปใช้บริการที่อื่น ดังนั้น การอัพเดทข้อมูลและเนื้อหาทุกๆวัน จึงมีความจำเป็นและไม่ควรมองข้ามข้อนี้เด็ดขาด
  • – ต้องมีความชัดเจนว่าตั้งแต่เห็นครั้งแรกว่า เว็บไซต์นี้ทำธุรกิจอะไรหรือให้บริการอะไร มีความโดดเด่นน่าสนใจแค่ไหน เช่นถ้าขายอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ก็ต้องเน้นภาพถ่ายที่สวยงาม น่ารับประทาน ชวนให้อยากซื้อ เพราะถ้าไม่มีภาพหรือเป็นภาพถ่ายธรรมดาๆ ก็อาจจะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ หรือหากเป็น asiancasinotop10 คาสิโนออนไลน์ที่รับสมัครผู้เล่นไทย ก็ควรมีสีสันที่ดึงดูดเกมเมอร์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับตัวเลือกภาษาไทยวางอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจนและพร้อมใช้งานอย่างสะดวกสบาย เป็นต้น

ตัวอย่าง Design Brief

ตัวอย่าง Design Brief

ดีไซน์บรีฟ (Design Brief) คือข้อกำหนดที่นักออกแบบนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ (Evaluate) ผลงานแต่ละชิ้นว่าตอบโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดย Design Brief ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 

1) ข้อมูลพื้นฐาน (Background) 

2) วัตถุประสงค์ (Objective) 

3) ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย (Target audience) 

4) สิ่งที่ต้องการจะบอก (Message) 

5) อารมณ์และความรู้สึกของงาน (Mood & Tone)

 

 

         ดีไซน์บรีฟจึงเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยเรื่องของการสื่อสารของสองฝั่งที่มีความรู้ไม่เหมือนกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันและสร้างประสิทธิภาพของงานที่ตอบโจทย์ทุกด้านอย่างเต็มที่ อุตสาหกรรมต่างๆ และการออกแบบในวันนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบรนด์ใหญ่และแบรนด์ใหม่ โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นสนามแข่งที่เป็นเกมที่ยุติธรรม เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับคนที่มีศักยภาพ แต่ก็มาพร้อมกับคู่แข่งหรือธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกันจำนวนมหาศาล เมื่อนี้การออกแบบจึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้แบรนด์นั้นโดดเด่นขึ้นมาได้

 

 

            ดังนั้นดีไซน์บรีฟจึงเป็นสิ่งสำคัญทำให้ทุกคนในการทำงานเห็นตรงกันว่านี่คือทิศทางเดียวกัน คำว่า “การทำงานร่วมกัน” ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่นักออกแบบหรือผู้ประกอบการ แต่ว่าคือทุกคน สื่อสารกันผ่านดีไซน์บรีฟเป็นเอกสารที่ใช้ในการเชื่อมการทำงานของส่วนต่างๆ ไปด้วยกัน

 

 

            ดังนั้นดีไซน์บรีฟ เป็นเครื่องมือในการสรุปความต้องการของผู้ประกอบการและปัญหาของผู้ประกอบการ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบให้นักออกแบบ ทำให้เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเป็นการตรวจสอบ ผลงานแต่ละชิ้นว่าตอบโจทย์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และทำให้นักออกแบบและผู้ประกอบการมีความเห็นในทิศทางเดียวกัน

< ตัวอย่าง Design Brief วิธีการเขียน Creative /Design Brief Download : ตัวอย่าง Brief Design รูปแบบ Design Brief_DM01

ศิลปะการออกแบบหน้าจอ

ศิลปะการออกแบบหน้าจอ

ความโปร่งแสงและการสะท้อนกลับ: Digital Art และ สุนทรียศาสตร์ของการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (Interface Design) Jay David Bolter และ Diane Gromala ส่วนที่ปรากฏอยู่ใน Fishwick, P.(ed.) Aesthetic computing, MIT press, 2004   พอล ฟิชวิค (Paul Fishwick) ได้นิยามความหมายของ สุนทรียศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) ว่าเป็น “การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีและการปฏิบัติทางศิลปะกับการประมวลผล” ฟิชวิค (Fishwick) ได้เปรียบเทียบสุนทรียศาสตร์ของการประมวลผลว่าเป็นเสมือนการทำงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์หรือเรียกอีกอย่างว่า Digital art ที่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงออกและการสร้างสรรค์ โดยจะเน้นในการพิจารณาความหมายของ Digital art ในแง่ของการสะท้อนความสุนทรีย์ของเทคโนโลยีเกี่ยวกับดิจิตอลและการออกแบบ ศิลปินหลายคนหรือส่วนใหญ่ในช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 20 ถึงต้นยุคศตวรรษที่ 21ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลว่าเป็นวิธีการนำเสนอหรือเป็นเนื้อหาสาระในงานศิลปะของพวกเขากันแน่ ดังนั้นจึงมาดูกันว่า Digital art จะให้บทเรียนที่สำคัญสำหรับการออกแบบระบบการประมวลผลอย่างไร ศิลปะการออกแบบหน้าจอ ในการศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์การประมวลผล จะเริ่มต้นจาก 2 ประเด็นคือ “จากภายใน” หรือ “จากภายนอก” โดย “จากภายใน” หมายถึง รหัส (code) ส่วน “จากภายนอก” หมายถึง ส่วนที่ต่อประสานกับผู้ใช้งาน (interface) เมื่อมองในแง่ของ code อาจบอกได้ว่านั่นคือ สุนทรียวัตถุ (Aesthetic object) ในขณะที่สุนทรีศาสตร์การประมวลผล (Aesthetic computing) จะหมายถึงการศึกษาหลักการที่ทำให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบของศิลปะ ทั้งนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเป็นสิ่งที่ดูสวยงาม สื่อความหมายได้ และเป็นพื้นที่ของการแสดงออกสำหรับศิลปินได้เช่นเดียวกับ ดินเหนียว หรือสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ Ars Electronica คืองานนิทรรศการและการสัมนาเกี่ยวกับ Digital Art ที่มีชื่อเสียงและถูกจัดขึ้นหลายครั้ง โดยสามารถเข้าไปดูภาพงานนิทรรศการที่จัดขึ้นในปี 2003 ได้โดย theme ของงานในปีนั้นคือ “Code: The Language of Our Time” เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้เห็น code ในการเขียนโปรแกรม พวกเขาจึงไม่มีโอกาสชื่นชมความงามในระดับนั้น สิ่งที่ผู้ใช้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยก็คือ Interface นั่นเอง ซึ่ง Interface คือส่วนที่ผู้ใช้โปรแกรมมีการโต้ตอบโดยตรงในขณะใช้งาน ไม่ว่าเขาจะมองเห็นคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์บน interfaceนั้น ๆ หรือไม่ ผู้ที่ชื่นชอบมุมมองแบบ code จะพัฒนาความสุนทรีย์ที่ค่อนข้างเป็นระเบียบ เพราะภาษาคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนอย่างเข้มงวด และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของมันดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับการปรับ code ให้เหมาะสม อาจจะมีแค่นักเขียนโปรแกรมหรือนักออกแบบที่ทำงานด้านนี้เท่านั้นที่สามารถชื่นชมความความสุนทรีย์ของ code ได้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบมุมของของ interface อาจจะปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานหรือปรับรูปลักษณ์ในแบบที่ต้องการเพื่อเพิ่มคุณค่าในแง่สุนทรีย์มากขึ้น ซึ่งวิธีการทั้งสองนี้เป็นส่วนประกอบซึ่งกันและกัน โดยในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ interface ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ interface มีความ “น่ารักขึ้น” การปรับใช้หลักสุนทรียศาสตร์กับ interface อาจจะไม่ใช่การทำซอฟต์แวร์ให้ดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น แต่ความสุนทรีย์ควรจะเป็นการโต้ตอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลงาน Digital art ร่วมสมัยจำนวนมาก จะเน้นวิธีการทำให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งที่มองเห็นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่าน interface และสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ได้ เหล่าศิลปินกำลังศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ “ผู้คนในแวดวง HCI” หรือ Human Computer Interaction (การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์) เรียกว่า “รูปแบบในใจของผู้ใช้” หรือ อะไรคือสิ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า “epistemology (ญาณวิทยา หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้)” ของผู้ใช้ ที่มีต่อ interface ศิลปะการออกแบบหน้าจอ