BANGKOK GRAPHIC

ความหมาย และองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

รับงานออกแบบ graphic

ความคิดสร้างสรรค์ คืออะไร

กิลฟอร์ด (Guilford, 1967) อธิบายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง หรือเรียกว่า ลักษณะการคิดอเนกนัย หรือการคิดแบบกระจาย (divergent thinking) กล่าวคือ เมื่อมีเนื้อหาหรือข้อมูลผ่านเข้ามาในการรับรู้ ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะสามารถคิดตอบสนองได้หลากหลายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ลักษณะการคิดแบบอเนกนัยนี้เป็นลักษณะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (Torrance, 1965)

1. ความคิดริเริ่ม (Originality)

เป็นลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดาและไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ หรือ

เรียกว่า Wild Idea เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนำเอาความรู้เดิมมาคิดดัดแปลง และประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น ความคิดริเริ่มจึงเป็นลักษณะ

ความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นความคิดที่แปลกแตกต่างจากความคิดเดิม และอาจไม่เคยมีใครนึก

หรือคิดถึงมาก่อน จึงต้องอาศัยลักษณะความกล้าคิดกล้าลอง เพื่อทดสอบความคิดของตน บ่อยครั้งที่

ความคิดริเริ่มจำเป็นต้องอาศัยความคิดจากจินตนาการ หรือเรียกว่าเป็นความคิดจินตนาการประยุกต์

คือไม่ใช้คิดเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคิดสร้าง และหาทางทำให้เกิดผลงานด้วย

2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)

เป็นปริมาณความคิดไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกันแบ่งได้ 4 ลักษณะ ได้แก่

2.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถใน

การใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่วนั่นเอง

2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็น

ความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่

กำหนด

                        2.3 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ จากการวิจัยพบว่าบุคคลที่มีความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออกสูงจะมีความคิดสร้างสรรค์

                        2.4 ความคิดคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ให้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐมาให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดให้ความคิดคล่องในการคิดมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหา เพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้หลายวิธี และต้องนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามที่ต้องการ

            3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)

เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดหาคาตอบได้หลายประเภท หลายทิศทาง ไม่ซ้ำแบบ

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

                        3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดให้หลายอย่างอย่างอิสระ

                        3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) เป็นความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา คนที่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้ไม่ซ้ำกัน ซึ่งจะเป็นตัวเสริมให้ความคิดคล่อง มีความแปลกแตกต่างออกไปหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อน หรือเพิ่มคุณภาพความคิดให้มากขึ้นด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่และหลักเกณฑ์ยิ่งขึ้น

4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

 เป็นความสามารถที่จะให้รายละเอียดหรือตกแต่งเพื่อให้มีความสมบูรณ์ หรือปรับปรุง หรือ

พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

inline : พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

การออกแบบหลักสูตร โดยใช้ปรัชญาการศึกษา

ออกแบบเว็บไซต์

สารัตถนิยม Essentialism

นำปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่ายมาผสมกัน ระหว่าง จิตนิยม Idealism ที่ซึ่งถือว่า การรับรู้ความจริงมาจากจิตพิเคราะห์ || วัตถุนิยม Realism : ความจริงอยู่ที่สสารในตัวมันเอง ฉะนั้นเมื่อนำมาประสานกัน ในแนวคิดทางการศึกษา คือ ความรู้ หรือกิจกรรมการเข้าถึงความจริง เป็นการผสมกันระหว่าง ประสบการณ์จริงที่มีต่อความเข้าใจในชั้นเรียน มีพื้นฐานความคิดเป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservativism) ปรัชญาที่ยึดเนื้อหา (Subject Matter) เป็นหลักสำคัญของการศึกษา และเนื้อหาที่สำคัญนั้นก็ต้องเน้นเนื้อหาที่ได้มาจากมรดกทางวัฒนธรรม ที่ควรได้รับการถ่ายทอดต่อไป

1. มุ่งเพื่ออนุรักษ์ และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยให้แก่คนรุ่นหลัง

2. หลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหาสาระ การฝึกฝนทักษะ ค่านิยม ความเชื่อ และความรู้พื้นฐานของสังคม

3. เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Subject – matter Oriented) เป็นหลักสำคัญ โดยยึดประสบการณ์ของเชื้อชาติ หรือมรดกทางวัฒนธรรมเป็นหลัก ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบต่อเนื่องตามขั้นตอนความยากง่าย

4. การเรียนการสอนใช้วิธีการเรียนรู้จากครูและตำรา

5. เน้นการบรรยาย ซักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหามากกว่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน intuition

2. นิรันตนิยม Perennialism

2. นิรันตนิยม Perennialism

คำว่า “นิรันตร” หรือ Perennial หมายถึง สิ่งที่คงที่ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดรปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งซึ่งเป็นนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง มีคุณค่าไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ได้แก่ คุณค่าของเหตุผลและคุณค่าของศาสนา อันเป็นหลักสำคัญของปรัชญานิรันตรนิยม

จะเป็นไปในลักษณะการนำมาใช้ตาม สารัตถนิยม คือ จิตและวัตถุ แต่จะเพิ่มความเข้มข้นด้วยการเสริม ตรกะทางเหตุและผลที่มากขึ้น เพราะกลุ่มนี้เชื่อมั่นว่า มนุษย์ที่พัฒนาขึ้นมาได้จากเหตุผล A world of reason เพราะหลายปัญหาต้องการการตัดสินบนพื้นฐานของความเป็น เหตุ และผล การนำมาใช้ในลักษณะนี้คือ การนำมาซึ่งความเป็น ระเบียบและวินัยของตัวบุคคล  Maturisty

1. มุ่งให้ความรู้ที่เป็นนิรันดร์แก่ผู้เรียน และช่วยให้นำความรู้อื่นมาเชื่อมโยงประสานเป็นภาพรวม และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์

2. เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้รู้จักกับผลงานอันล้ำค่าของนักปรัชญา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี ซึ่งผู้เรียนต้องใช้ปัญญาระดับสูงในการคิดและวิเคราะห์ 3. หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาความรู้ในเรื่องของความเป็นจริงอันเป็นนิรันดร

4. นักเรียนควรจะได้เรียนวิชาพื้นฐานบางวิชา เพื่อให้เข้าใจและคุ้นเคยกับสิ่งที่คงทน ถาวรของโลก

5. นักเรียนควรจะได้ศึกษางานนิพนธ์ที่สำคัญ ๆ ทางวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่บรรดาปรัชญาและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายในยุคที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เอาไว้

6. ช่วยพัฒนาพลังทางเหตุผล(ปัญญา) ศีลธรรม และจิตใจ คือ ต้องให้ความรู้กว้างพอในการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นความรู้ที่เป็นความเข้าใจแนวคิดรวบยอดและทฤษฎี

พิพัฒนาการนิยม Progressivism คามเป็นมา

พิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาแบบเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา สอนแต่ท่องจำ ไม่คำนึงถึงความสนใจของเด็ก และพัฒนาเด็กแต่เพียงสติปัญญาเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนขาดความ ริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อีกอย่างหนึ่งเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความนิยมในประชาธิปไตยและพัฒนาการใหม่ ๆ ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ผู้เรียนเกิดความร่วมมือกันสร้างบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสันติสุข

มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และตามความสามารถของผู้เรียน + ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน + มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง + มุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง

ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) ผู้เรียนมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

มุ่งให้ผู้เรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ใช้วิธีการสอนแบบ “แก้ปัญหา“ นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม การสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต

ปฎิรูปนิยม Reconstruction

พัฒนาต่อยอดมาจาก ปฎิบัติินิยม ประสมกับ พิพัฒนาการนิยม

ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง การบูรณะหรือการสร้างขึ้นใหม่ ปฏิรูปนิยมจึงมุ่งการปฏิรูปสังคม ขึ้นมาใหม่ เพราะถือว่าสังคมในปัจจุบันมีปัญหา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และศิลปวัฒนธรรมเป็นเหตุต้องแก้ปัญหาอยู่เรื่อย ๆ จึงต้องหาทางสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่

แนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ คือผู้เรียนไม่ได้มุ่งพัฒนาตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อนำความรู้พัฒนาสังคมให้ดีขึ้น

เน้นสังคมเป็นหลัก ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมดีพอ และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การจราจร ยาเสพติด ควรจัดการศึกษา อุตสาหกรรม สื่อสารมวลชน การขนส่ง การอนามัย และสาธารณสุข นิเวศน์วิทยา และวิชาทั่วไป เช่น วรรณคดี ดนตรี ศิลปะ ฟิสิกส์ เคมี สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หลักสูตรในลัทธินี้ให้ความสำคัญแก่วิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสังคมเป็นอย่างดี

อัตถิภาวนิยม Existentialism

สาเหตุที่เกิดปรัชญาลัทธินี้ขึ้นมาก็เนื่องจากความรู้สึกสูญเสียตัวเองไปจากระบบสังคมปัจจุบัน การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันเราต้องทำหน้าที่ไปตามกรอบของสังคมที่ วางไว้จนไม่ค่อยจะมี เสรีภาพเป็นของตัวเองเลย

Friedrich Nietzsche ได้เสนอให้มนุษย์ออกมาจากกรอบของสังคมอย่างทรนง

อัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้นอัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้น และเมื่อเลือกกระทำหรือตัดสินใจแล้วก็ต้องรับผิดชอบในการเลือกกระทำหรือตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมนี้ “เป็นแนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม”

การศึกษาคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนรู้จักพิจารณา ตัดสินใจตามสภาพและเจตจำนงที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิตของตนเองอย่างแท้จริงโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกสรรคุณธรรมค่านิยมได้อย่างเสรี พร้อมกันนั้นก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองด้วย หรืออาจกล่าวอย่างสรุปได้ว่าการศึกษาคือกระบวนการที่ส่งเสริมให้มนุษย์เป็นมนุษย์ นั่นคือมีอิสระที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเอง ด้วยตนเองและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเลือกนั้น

เด็กทุกคนใช้เสรีภาพได้อย่างเต็มที่โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นและส่วนรวม ทุกคนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่และทัดเทียมกัน มีการปกครองตนเองในรูปแบบของการประชุมสภาโรงเรียน เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากการดำรงชีวิต ไม่ใช่วิชาเกี่ยวกับชีวิตการปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย

2. เด็กทุกคนมีเสรีภาพที่จะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมหรือความต้องการของเด็กเอง ไม่มีการบังคับ เด็กที่ยังไม่เข้าห้องเรียนจะเลือกเล่นหรือทำกิจกรรมที่เขาสนใจก็ได้ตามความสมัครใจ

3. เด็กมีโอกาสที่จะเลือกเรียน หรือจะทำกิจกรรมอื่นตามความสนใจ หรือจะเลือกอยู่กับครูที่ตนเองมีความพอใจเป็นพิเศษได้ตามความต้องการ ยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น การศึกษา : จัดให้มีกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ไว้ให้นักเรียนเลือกตามความสนใจ เช่น กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ได้แก่ วิชางานประดิษฐ์ งานเกษตร งานบ้าน งานช่าง เป็นต้น และกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ได้แก่ ศิลปศึกษา พลศึกษา ดนตรี การแสดงละคร เป็นต้น

Download – Presentation

การออกแบบหลักสูตร ด้วยปรัชญา

รับออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบหลักสูตรใดๆ จุดมุ่งหมายก็เพื่อก่อให้เกิดผลกับตัวผู้เรียนนั้น ปัจจัยทางสังคมในแต่ละประเทศมีผลต่อการออกแบบและพัฒนา เช่น สังคมที่ให้ผู้เรียนรู้รอบ เน้นความรู้ การพัฒนาทางความรู้ เป็นหลัก หรือให้ผู้เรียนเกิดความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาสังคมที่ต้องการให้ผู้เรียนนำความรู้ความเข้าใจไปสู่การประยุกต์ใช้กับชีวิต การเลี้ยงชีพ และการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัยสังคมที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดสำนึกทางสังคม เน้นจิตสำนึกสาธารณะ ตลอดจนสำนึกในสถาบันของชาติต่างๆ

โจทย์ที่ 1 : การประยุกต์ใช้ปรัชญา link

โจทย์ที่ 2 : การประยุกต์ใช้ปรัชญา link

โจทย์ที่ 3 : การประยุกต์ใช้ปรัชญา link

โจทย์ที่ 4 : การประยุกต์ใช้ปรัชญา link

โจทย์ที่ 5 : การประยุกต์ใช้ปรัชญา link

Example

ความหมาย อัตลักษณ์ สังคมสมัยใหม่

ความหมาย อัตลักษณ์ สังคมสมัยใหม่

ความหมาย อัตลักษณ์ สังคมสมัยใหม่

อัตลักษณ์ ในยุคหลังสมัยใหม่ กลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และเศษรฐกิจ

อย่างในการเข้ามามีบทบาทของสื่อ จะพบว่ามีการขายภาพลักษณ์มากกว่าการขายสินค้า และการต่อเนื่อง ของสื่อกับการผลิตซ้ำภาพหลักที่ฉาบด้วยอุดมการณ์และมโนทัศน์เรื่องคุณค่า จึงก่อให้เกิดสภาพที่เรียกว่า “Simulacrum” สภาพความจริงกับภาพลวงที่แยกกันไม่ออก (David Harvey,1995:289)

ที่มาจากการสร้างภาพลักษณ์ที่มาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำกำไรให้กับภาคสินค้าและอุสาหกรรม

การจำลอง Egyptianในสถานที่ท่องเที่ยว

ในโลกที่การสื่อสารหดตัว และเร็วเข้าทำให้การทบทวนตำแหน่งแห่งที่ของตัวเราเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะสำนึก สำนึกที่มองผ่านสื่อ คือ การเข้าใจว่าอะไรก็ตามที่มาจากสื่อที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หรือที่เรียกว่า Popular Median  ทำให้เราเข้าใจว่านั่นคือสากล เป็นมาตราฐาน เป็นที่ถูกการยอมรับ จะดี ไม่ดี แต่มันถูกนำมาทบทวน ปรับใช้ภายใต้ระบบกลไกสำนึกของความเป็นปัจเจกใหม่ในฐานนะส่วนหนึ่งของระบบมาตราฐานสากลโลก

ในขณะเดียวกันเรากลับมองสังคม วัฒนธรรม ที่เรายืนอยู่หรือวัฒนธรรมท้องถิ่น มันถูกแตกย่อย มากมาย บางอย่างขัดแย้ง บางอย่างรับความเป็นสากลเข้ามาปรับ แต่ที่ชัดเจนสิ่งหนึ่งที่สื่อกระแสนิยมเข้ามามีบทบาท กับวัฒนธรรมท้องถิ่น นั่นคือ มันกลายเป็นผู้กระทำ (agent) ในขณะที่วัฒนธรรมม้องถิ่นเป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้น สิ่งที่สำนึกของเราระหว่าง ท่ามกลางบทบาทที่ต้องรับสารจากสื่อกระแสหลักเหล่านั้น คือ การนิยามคุณค่าของ ตัวเรากับอะไรบางอย่างและการประยุกต์คุณค่ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ตรงส่วนนี้เองที่เป็นที่มาของกระบวนการ สร้างอัตลักษณ์ในระบบสากล ยุคหลังสมัยใหม่ ที่อัตลักษณ์เต็มไปด้วยความเลื่อนไหล บนสายธาร วาทกรรม อันหลากหลาย การหาคุณค่าที่มาใช้กับการนิยาม ประยุกต์ตนเอง เป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งของการหา ตำแหน่ง แห่งที่ปัจเจกของตัวเรา

อัตลักษณ์ กับการแย่งชิงพื้นที่

            อีกแนวคิดหนึ่งของมโนทัศน์เรื่องอัตลักษณ์ จากภาพแทนความจริง ในประเด็นปัญหาเรื่องเพศ ในการ นำเสนอของสื่อปัญหาอย่างหนึ่งที่เรามักพบอยู่เสมอคือ การแย่งชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเรื่องเพศ เรื่องชนชั้น ต่างแฝง บทบาทอยู่ในสื่ออยู่เสมอว่าจะนำเสนอในทัศนคติด้านใดมากกว่ากัน ไปพร้อมๆกับพื้นที่ทางบริบทที่สื่ออยู่ ในกรณีรถบัส โดยทั่วไปเจ้าของรถ เจ้าของธุรกิจประกอบรถบัส โดยมากจะเป็นผู้ชาย อำนาจในการนำเสนอ จึงตกอยู่ที่บทบาทของฝ่ายชายที่เป็นใหญ่ ดังนั้นบริบทดังกล่าว จึงถูกำเสนอในฐานะผู้ชาย ต่อการนำเสนอ ลวดลายข้างรถบัส มักจะพบเป็นเนื้อหาการแต่งรถเชิงรุนแรง ถ้าเป็นลายการ์ตูนน่ารัก ก็มักจะพบสัดส่วน ของฝ่ายพระเอกที่เป็นองค์ประธานเสมอ สิ่งเหล่านี้คือบทบาทของของการพื้นที่ที่ผู้ชายเป็นใหญ่ กับธุรกิจ ดังกล่าว    

ทางรอดสถาบันกวดวิชา สถาบันสอนทักษะ ด้วยบทเรียนออนไลน์

ทางรอดสถาบันกวดวิชา สถาบันสอนทักษะ ด้วยบทเรียนออนไลน์

ทางรอดสถาบันกวดวิชา สถาบันสอนทักษะ ด้วยบทเรียนออนไลน์ เน้นการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (UX. Design , Human Center Design)

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ไวรัสโรคระบาด เป็นตัวการที่สำคัญ ผิดหลักพฤติกรรมมนุษยชาติ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะมนุษย์ควรเป็นสัตว์สังคม การไม่เจอกัน การไม่มีปฎิสัมพันธ์กัน ดูจะผิดธรรมชาติเป็นที่สุด แต่ด้วยไวรัสกลับทำให้มนุษย์ด้วยกันเป็นสาเหตุ และนี่คือการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด ครั้งยิ่งใหญ่ เครื่องมืออันทรงพลังที่เข้ามาตอบโจทย์การเว้นระยะ ได้ดีที่สุดแต่ยังดำเนินการปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้อยู่นั่นคือ Online Platform

หลายธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะวัดว่าไปต่อได้หรือไม่กับธุกิจเดิม ถ้าก้าวผ่านไปได้ด้วยกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ ธุรกิจนั้นๆ จะยึดลูกค้าได้อีกนาน เพราะลูกค้ามีความต้องการเหมือนเดิมแต่เน้นที่ความปลอดภัยมากขึ้น อย่างกลุ่มธุรกิจ สถาบันกวดวิชา สอนทักษะ ต่างๆ อาทิ เทควันโด, มวย, ติววาดรูป ต่างๆ ที่จำเป็นต้องเจอกัน เรียนกับผู้สอนทางกายภาพ ถ้าแนวคิดการทำรายได้เราไม่ปรับ จะทำให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้ยาก ต้องอย่าพึ่งห่วงเรื่องรายได้เป็นอันดับแรก แต่หันไปห่วงเทคนิคให้ผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาที่เคยเหมือนเดิม แล้วเพิ่มประสบการณ์พิเศษให้พวกเขา ตลอดจนการเข้าถึงเนื่อหาที่ครงความต้องการแต่ละประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละผู้บริโภค (Persona)

เรา Bangkok Graphic Design Agency มุ่งมั่นพัฒนาแบบเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การออกแบบประสบการณ์ UX. Design เพื่อให้ธุรกิจการศึกษา เป็นมากกว่า การศึกษา โดยเน้นการให้ประสบการณ์เป็นสำคัญ

งานออกแบบ Web Design

ออกแบบ website

งานออกแบบ Web Design

งานออกแบบ Final Project : WebBlog PR.
รับงานออกแบบ
งานออกแบบออนไลน์
Bangkok-Graphic รับงานออกแบบ : งานประชาสัมพันธ์ออนไลน์ เกาะรัตนโกสินทร์ สื่อที่ใช้ 1. Facebook Page App. 2. WordPress Blog 3. EventBrite 4. Video ส่วนประกอบที่สำหรับ สำหรับ รับงานออกแบบ : 1. Download Design Brief : Design Brief-Rattanakosin 2. Download Project : PR-Weblog 3. Download Animation Hateetiw : StartPage-Real 4. ตัวอย่าง งานออกแบบ ที่ต้องทำ : practise งานออกแบบ Graphic Bangkok Design

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบสิ่งพิมพ์

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ หลักการเรื่อง การออกแบบ กริด

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น นักออกแบบจะสื่อสารแนวความคิด โดยการนำองค์ประกอบต่างๆ ทั้งในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นภาพ ส่วนที่เป็นตัวอักษร และส่วนที่เป็นองค์ประกอบทางการออกแบบ อื่นๆ มาจัดวางอยู่รวมกันในพื้นที่หน้ากระดาษโดยอาศัยหลักการทางการออกแบบเพื่อให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่สวยงาม หากสิ่งพิมพ์ที่ทำการออกแบบเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีหน้าหลายหน้า เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร นักออกแบบยังต้องมีภาระเพิ่มเติมขึ้นจากการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษแต่ละหน้าให้สวยงาม คือ ต้องพยายามในการควบคุมให้ภาพรวมของทุกๆ หน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือกลมกลืนกัน เพื่อให้สิ่งพิมพ์ทั้งเล่มดูมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะอาศัยการจัดวางตามหลักการออกแบบแล้ว นักออกแบบเรขศิลป์ยังมีเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างสูง เครื่องมือนั้น ก็คือ ระบบกริด (grid system) ระบบกริดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อนแบ่งซอยพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่เดียว โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็นมุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษหากจะเปรียบเทียบการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษกับการสร้างบ้านเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนซึ่งประกอบกันเป็นตารางนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหน้ากระดาษเปรียบเสมือนเสาและคานซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้าน ส่วนภาพหรือตัวอักษรซึ่งนำมาวางลงในตารางนี้ก็เปรียบเสมือนฝาผนังและประตูหน้าต่างที่นำมายึดติดเอาไว้กับเสาและคานในภายหลัง

ระบบกริด นี้เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการออกแบบเพราะระบบกริดจะมีส่วนช่วยในการจัดวางองค์ประกอบในด้านตำแหน่งและขนาด 2 ประการ คือ

  1. ช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการจัดวางองค์ประกอบ โดยในการจัดวางองค์ประกอบ ลงในหน้ากระดาษนั้น นักออกแบบสามารถจะจัดวางองค์ประกอบ ลงไปตามแนวเส้นกริดได้อย่างรวดเร็ว
  2. ช่วยในการกำหนดขนาดขององค์ประกอบ โดยนักออกแบบ สามารถเลือกที่จะใช้ขนาด พื้นที่ที่ถูกแบ่งให้เล็กลงในหน้ากระดาษ เป็นตัวช่วยกำหนดขนาด ขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ความกว้างของคอลัมน์ ความกว้างยาวของภาพ

ส่วนประกอบที่สำคัญของ กริด

ในการนำระบบกริดมาใช้ในการออกแบบนั้น จะต้องทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดเสียก่อน โดยส่วนประกอบที่สำคัญ มีดังนี้
  1. 1) ยูนิตกริด (grid unit) คือ ส่วนประกอบที่เป็นพื้นที่ย่อยที่เกิดขึ้นจากเส้นในแนวตั้งและแนวนอนที่ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ย่อยเหล่านี้จะใช้ในการวางองค์ประกอบต่างๆ โดยในพื้นที่หน้ากระดาษหนึ่งๆ นั้นจะมียูนิตกริดจำนวนเท่าใดก็ได้ และแต่ละยูนิตกริดจะมีขนาดเท่ากันหมดหรือแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
  2. 2) อัลลีย์ (aliey) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างยูนิตกริดแต่ละยูนิตที่ร่วมกันอยู่เป็นกลุ่ม ในการออกแบบกริดส่วนใหญ่นิยมมีอัลลีย์เพราะจะช่วยให้เกิดการอ่านได้ง่ายเมื่อวางตัวอักษรลงไปในยูนิตที่อยู่ติดกัน คือ จะเกิดเป็นช่องว่างคั่นอยู่ระหว่างแต่ละคอลัมน์ อย่างไรก็ตาม ในสิ่งพิมพ์บางอย่างอาจจะไม่มีส่วนประกอบนี้ก็ได้ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีภาพประกอบมากๆ หรือภาพประกอบขนาดใหญ่โดยไม่มีส่วนที่เป็นข้อความมากนัก
  3. 3) ชอบว่าง หรือ มาร์จิน (margin) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างโดยรอบกลุ่มยูนิตกริดทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วจะนิยมออกแบบยูนิตกริดให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบทั้ง 4 ด้านไว้เนื่องจากหากมีการวางองค์ประกอบลงไปในบริเวณขอบเหล่านี้ก็อาจจะขาดหายไปในตอบที่ทำการเจียนขอบกระดาษได้ (ยกเว้นการใช้ภาพตัดตก) ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากองค์ประกอบนั้นเป็นตัวอักษรข้อความ ดังนั้นจึงนิยมที่จะเว้นที่ว่างให้รอบๆ ขอบทั้ง 4 ด้านของกลุ่มยูนิตกริด
  4. 4) กัดเดอร์ (gutter) คือ มาร์จินในส่วนที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวาของสิ่งพิมพ์ ซึ่งเหตุผลในการเว้นนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการเว้นมาร์จิน เพราะหากไม่มีการเว้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาในการอ่านเมื่อนำเอาหน้าทั้งหมดของสิ่งพิมพ์นั้นมาเย็บเล่มเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหนังสือที่มีความหนา การเว้นที่เว้นว่างในส่วนนี้ไว้จะช่วยให้นักออกแบบไม่ลืมว่าไม่ควรวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในบริเวณนี้
  ส่วนประกอบที่สำคัญทั้ง 4 นี้ มักมีอยู่ร่วมกันในระบบกริดส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบกริดทุกอันจะต้องมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 อย่าง ในบางระบบกริดนักออกแบบอาจจะตั้งใจที่จะไม่มีอัลลีย์โดยไปคอยระมัดระวังในการคอลัมน์ ในขณะจัดวางองค์ประกอบก็ได้ นักออกแบบที่ชำนาญอาจจะสามารถจัดส่วนประกอบทั้งสี่ให้เกิดความแตกต่างไปจากระบบกริดที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปเพื่อทำให้สิ่งพิมพ์นั้นๆ มีเอกลักษณ์ที่พิเศษและง่ายแก่กาสังเกตและจดจำ เช่น อาจจะเป็นมาร์จินทั้งด้านซ้ายและขวากว้างกว่าปกติมาก เป็นต้นสำหรับหน่วยในการวัดส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดนั้น ก็ใช้หน่วยเดียวกัน กับการวัดขนาดและความยาวของตัวพิมพ์ คือ ใช้หน่วยพอยต์ในการวัดในแนวตั้ง เช่น การวัดความสูงของยูนิตกริด และใช้หน่วยไพก้าในการวัดในแนวนอน เช่น การวัดความกว้างของยูนิตกริต เป็นต้นในการนำระบบกริดไปใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น จะต้องไม่ลืมว่าในความเป็นจริงแล้ว ในการมองดูสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตสารต่างๆ ผู้ดูจะมองทั้งหน้าซ้ายและหน้าขาวพร้อมๆ กันก่อนที่จะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละหน้าเสมอ เพราะฉะนั้นนักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมของหน้าคู่ (spread) โดยจะต้องถือเสมือนว่าเป็นหน้าเดี่ยวใหญ่ๆ 1 หน้า แทนที่จะเป็นหน้าเล็กๆ 2 หน้าคู่กัน   การออกแบบระบบกริดก้อจะต้องคำนึงถึงภาพรวมที่ว่านี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในการออกแบบระบบกริด จึงมักจะออกแบบทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาไปพร้อมกัน โดยนักออกแบบจะมีทางเลือกในการออกแบบ 3 ทาง ได้แก่
  1. 1) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา (repeat) นิยมใช้กับในสิ่งพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  2. 2) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งในหน้าซ้ายและหน้าขวา แต่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน (mirror) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันในสิ่งพิมพ์ทั่วไปในหนังสือ นิตยสารแผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  3. 3) ใช้กริดที่หน้าซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้ว ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นักออกแบบมักจะเลือก 2 ทางเลือกแรกมากกว่าทางเลือกที่3 ซึ่งมีน้อยมาก และมักจะใช้ในกรณีที่เป็นหนังสือเท่านั้น

ประเภทระบบกริด

ประเภทระบบกริด ระบบกริดที่เป็นที่นิยมใช้กันในการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1. 1) เมนูสคริปต์ กริด (Manuscript Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุดกว่าจะระบบกริดประเภทอื่นๆ การพิมพ์หนังสือในสมัยโบราณจะใช้ระบบกริดในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตที่สี่เหลี่ยม 1 ยูนิต โดยมีขนาดใหญ่เกือบเต็มหน้า และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความจำนวนมากและมีขนาดยาวต่อเนื่องกัน และไม่มีภาพประกอบหลากหลายมากนัก เช่น หนังสือ
  2. 2) คอมลัมน์ กริด (Column Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้งซับซ้อนมากกว่า เมนูสคริปต์ กริด รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิตโดยแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นทางตั้งออกเป็นคอลัมน์คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า ขนาดความกว้างของแต่ละคอมลัมน์จะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างคอลัมน์ และมีมาร์จินล้อมรอบ
  3. 3) โมดูลาร์ กริด (Modular Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากกว่าสองประเภทแรก รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยและเหมาะกับการใช้ในสิ่งที่มีการออกเผยแพร่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  4. 4) ไฮราซิเคิล กริด (Hietrarchical Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อน และแปลกเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นเฉพาะกรณี รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริลสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแต่ละยูนิตมีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ จะมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิตหรือวางซ้อนทันกับก็ได้ และจะมีหรือไม่มีมาร์จินล้อมรอบก็ได้กริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและภาพอยู่ด้วย เช่น หนังสือที่มีภาพประกอบจำนวนมาก แคตตาล็ก หรือโปสเตอร์

 

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบโบวชัว Brochure Design การ รับงานออกแบบแมคกาซีน Magazine Design สิ่งที่ต้อคำนึงคือ

การออกแบบระบบกริด

ในการออกแบบระบบกริดนั้น จะต้องคำนึงถึงเนื้อหาที่จะนำมาจัดวางเป็นสำคัญการแบ่งพื้นที่ออกเป็นยูนิตกริดจำนวนและขนาดเท่าใดนั้น จะต้องเหมาะสมกับปริมาณข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษรและเป็นภาพสำหรับยูนิตกริดที่ใช้ในการวางตัวอักษรนั้น ความกว้างของยูนิตกริด คือ ความยาวของบรรทัด (line length) ซึ่งจะมีผลต่อขนาดตัวอักษร และขนาดของช่องว่างระหว่างบรรทัดหรือช่วงบรรทัดด้วย หลักการง่ายๆ คือ ความกว้างของยูนิตกริดที่อ่านได้ง่ายนั้นน่าจะอยู่ระหว่างขนาดความยาว 35-65 ตัวอักษร และหากยิ่งยูนิตกริดที่มีขนาดกว้างมาก ช่วงบรรทัดก็ควรจะมีขนาดกว้างมากขึ้นด้วยการออกแบบเมนูสคริปต์ กริดการออกแบบเมนูสคริปต์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นยูนิตใหญ่ 1 ยูนิต โดยไม่มีการแบ่ง เช่น แบ่งยูนิตกริดให้ย่อยลงไปอีกทั้งในทางตั้งและทางนอน ทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นมาร์จินและกัตเตอร์มากพอสมควร เนื่องจากสิ่งพิมพ์ที่ใช้ระบบกริดนี้ มักจะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นข้อความต่อเนื่องขนาดยาวมากๆ ให้กว้างจะช่วยให้ตัวไม่หายไประหว่างออกหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีขนาดหนา การใช้กริดที่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน หรือมิลเลอร์ กริด ก็เป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหานี้ การออกแบบเมนูสคริปต์ กริดเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งเหมือนเกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ ประกอบกับไม่มีความซับซ้อนที่ปรับเปลี่ยนให้แตกต่างกันได้ทำให้โครงสร้างของสิ่งพิมพ์ที่ใช้กริดประเภทนี้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์อื่นที่ใช้กริดแบบเดียวกัน การสร้างเอกลักษณ์ในการออกแบบจึงต้องใช้ความแตกต่างในการใช้ตัวพิมพ์ในส่วนที่เป็นหัวเรื่องและตัวข้อความการออกแบบคอลัมน์ กริดการออกแบบคอลัมน์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นคอลัมน์ เช่น แบ่งพื้นที่เป็นสองหรือสองยูนิตกริดในทางแนวตั้ง โดยจะไม่มีการแบ่งยูนิตกริด ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์มากพอสมควร เช่น หากในกรณีที่เป็นหนังสือก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์รวมกันแล้วประมาณร้อยละ 50 ของหน้ากระดาษ ในกรณีที่เป็นนิตยสารก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ รวมกัน แล้วประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของหน้ากระดาษ เป็นต้นตัวอย่างของขนาดต่างๆ ของส่วนประกอบของระบบกริดสำหรับหน้ากระดาษ ขนาด 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว ในการออกแบบคอลัมน์ กริด เช่นมาร์จินบน เท่ากับ 48 พอยต์มาร์จินล่าง เท่ากับ 60 พอยต์มาร์จินข้าง (นอก) เท่ากับ 4 ไพก้ากัตเตอร์ หรือมาร์จินข้าง (ใน) เท่ากับ 3 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสองคอลัมน์ เท่ากับ 2 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสามคอลัมน์ เท่ากับ 1 ไพก้าในการออกแบบคอลัมน์ กริดทำได้ไม่ยาก และเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ไม่ช่วยให้สามารถจัดวางองค์ประกอบแล้วเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากระบบกริดซึ่งถือเป็นโครงสร้างได้รับการพัฒนาขึ้นในลักษณะที่เกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ จึงมีโอกาสที่โครงสร้างของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับระบบกริดที่สิ่งพิมพ์อื่นพัฒนาขึ้นใช้ได้ค่อนข้างมากการออกแบบโมดูลาร์ กริดการออกแบบโมดูลาร์ กริดทำได้ ใน 2 ลักษณะคือ เป็นแบบทั่วไป และแบบเฉพาะโมดูลาร กรีดแบบทั่วไปนั้นจะเป็นแบบที่ง่ายกว่าในการออกแบบ เริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นหลายคอลัมน์ เช่นเดียวกันกับการออกแบบคอมลัมน์ กริดแต่ละคอลัมน์อาจจะมีขนาดเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ แล้วแบ่งคอลัมน์ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนเป็นยูนิตสี่เหลี่ยม แต่ละยูนิตอาจจะมีอัลลีย์เป็นช่องว่างคั่นอยู่ทั้งแนวตั้งและแนวนอนส่วนโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะนั้นจะเป็นแบบที่ยากกว่าในการออกแบบโดยเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์โดยอาศัยโครงสร้างของการจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากหน้าของสิ่งพิมพ์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และมีความเหมาะสมกับการใช้เฉพาะกรณีสิ่งพิมพ์ใดสิ่งพิมพ์หนึ่งเป็นพิเศษ ในการออกแบบระบบกริดแบบเฉพาะตัวนี้ มีลำดับขั้นตอนในการออกแบบ ดังนี้ขั้นที่ 1 สำรวจประเภทและลักษณะของข้อมูลที่จะต้องการสื่อสารดังที่ได้เปรียบเทียบระบบกริดกับการสร้างบ้านไว้ในตอนต้น ในการเลือ่กความถี่ ห่างของเสาหรือความสูงต่ำของคานนั้น สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจก็คือ จำนวนและลักษณะของฝาผนัง ประตูและหน้าต่าง การจะออกแบบระบบกริดก็ควรเริ่มด้วยการสำรวจดูข้อมูลต่างๆที่จะมาเป็นองค์ประกอบที่จะต้องได้รับการจัดวางลงในหน้ากระดาษเริ่มตั้งแต่ลักษณะขององค์ประกอบว่าเป็นเนื้อหาข้อมูลประเภทที่เป็นตัวอักษรอย่างเดียว หรือมีภาพประกอบด้วย หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เน้นภาพประกอบเป็นส่วนสำคัญ โดยมีข้อความเป็นคำบรรยายเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาถึงจำนวนขององค์ประกอบด้วยว่า ส่วนที่เป็นข้อความเนื้อหามีความสั้นยาวขนาดไหน อีกทั้งส่วนที่เป็นภาพประกอบนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ในขั้นการสำรวจนี้ ไม่ได้หมายถึงกับว่าจะต้องได้ข้อมูลที่แน่นอนไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่ให้ทราบข้อมูลคร่าวๆ ก็พอขั้นที่ 2 ออกแบบภาพรวมๆ ของหน้าคู่แต่ละคู่หากเป็นไปได้ นักออกแบบควรจะได้ลองออกแบบภาพรวมๆ ของสิ่งพิมพ์นั้นก่อนจะได้ลงมือออกแบบระบบกริดโดยทดลองจัดวางองค์ประกอบทั้งที่เป็นข้อความและเป็นภาพลงในหน้ากระดาษอย่างคร่าวๆ จากนั้นเมื่อรู้สึกว่าได้ภาพรวมๆ ที่ต้องการแล้วก็นำเอาหน้าคู่ที่ได้ลองจัดวางองค์ประกอบแล้วเหล่านั้นมาวางด้วยกัน เมื่อเห็นว่าแต่ละหน้าคู่มีส่วนใดที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันก็ลองวาดเส้นที่เป็นแนวโครงสร้างนั้นเอาไว้ เมื่อวาดเส้นที่อยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันซ้ำๆ กันหลายๆ หน้าคู่ครบถ้วนแล้วก็จะสามารถใช้เส้นเหล่านั้นเป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกริดต่อไปอย่างไรก็ตามการดำเนินการในขั้นที่ 2 นี้อาจจะมีการดดำเนินการหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีการดำเนินการในกรณีการจัดทำหนังสือเล่มมากกว่าจะทำในกรณีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ซึ่งมักจะเป็นการดำเนินการในขั้นที่ 3 เลยขั้นที่ 3 กำหนดขนาดตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรที่คาดว่าจะมีการใช้มากที่สุดเพื่อให้ระบบกริดที่ได้ออกแบบขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดังนั้นการกำหนดขนาดที่แน่นอนของส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดจึงควรมีพื้นฐานมาจากหน่วยขององค์ประกอบที่เล็กที่สุดในหน้ากระดาษ ซึ่งก็คือ ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง โดยมากแล้วตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง มักจะมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเล่ม โดยขนาดก็จะเป็นขนาดที่เน้นการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ คือ จะต้องอ่านต่อเนื่องได้นานอย่างสบายตา ภาษาไทยมักจะอยู่ในช่วง 12-16 พอยต์ ภาษาอังกฤษมักจะอยู่ในช่วง 8-14 พอยต์ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักด้วยว่าเป็นใคร หากเป็นเด็กหรือคนชราอาจจะต้องใช้ตัว อักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติขั้นที่ 4 กำหนดหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อมีการกำหนดขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียดแล้ว ก็จะต้องกำหนดด้วยว่า ในการนำตัวพิมพ์ขนาดนั้นๆมาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้น มาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้นจะมีการเว้นช่องว่างระหว่างบรรทัดเท่าใดเมื่อมีการกำหนดช่องว่างระหว่างบรรทัดแล้ว ก็ให้นำมาบวกกับขนาดตัวพิมพ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 3 เช่น ขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งกำหนดไว้เป็น 12 พอยต์ และช่องว่างระหว่างบรรทัดเป็น 2 พอยต์ เมื่อรวมกันจะเป็น 14 พอยต์หากเป็นการเรียงบรรทัดโดยไม่มีช่องว่างระหว่างบรรทัด ก่จะใช้ขนาดของตัวพิมพ์ที่กำหนดเป็นขนาดของหน่วยที่ย่อยที่สุดเลย เช่นหากเป็นตัวพิมพ์ขนาด 12 พอยต์ หน่วยที่เล็กที่สุดที่จะนำมาสร้างเป็นกริด ก็คือ 12 x 12 พอยต์ขั้นที่ 5 การวางหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อได้หน่วยที่ย่อยที่สุดจากขั้นที่ 4 แล้ว ก็นำหน่วยนั้นไปวางในหน้ากระดาษ โดยเรียงต่อกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้เต็มพื้นที่ตลอดความกว้างและความสูงของหน้ากระดาษทั้งหน้า การวางนี้อาจจะวางจากมุมด้านซ้ายหรือวางออกจากตรงกลางของหน้ากระดาษก็ได้ขั้นที่ 6 เลือกจัดกลุ่มหน่วยที่ย่อยที่สุดให้เกิดเป็นยูนิตกริด อัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ขั้นตอนสุดท้ายนี้ ก็คือ การกำหนดเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดต่อไป ซึ่งหากมีการดำเนินการในขั้นที่ 2 ก็จะช่วยได้มากวิธีการก็คือ นำเส้นที่ลากไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกรีดในขั้นที่ 2 มาทาบกับเส้นตารางละเอียดในขึ้นที่ 5 จากนั้นก็ลากเส้นที่จะใช้เป็นระบบกริดโดยขยับเส้นจากขั้นที่ 2 ให้มาลงในเส้นที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากขั้นที่ 5 ก็จะได้เส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริด หากไม่มีการดำเนินการในขั้นที่ 2 นักออกแบบก็สามารถลากเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้น จากขั้นที่ 5 ทั้งนี้จะต้องไม่ลากเส้นระหว่างตาราง แต่ต้องเป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้นระบบกริดแบบเฉพาะตัวนั้นมีข้อดีที่เห็นได้ชัด ก็คือ จะทำหน้าที่เป็นเสมือนโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เมื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรมาจัดวาง ก็จะได้หน้าของสิ่งพิมพ์ที่ดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมาด้วย แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ค่อนข้างยากแก่การพัฒนาขึ้นใช้งาน กล่าวคือ จะต้องอาศัยนักออกแบบที่มีประสบการณ์มาทำหน้าที่นี้การออกแบบไฮราชิเคิล กริดการออกแบบไฮราชิเคิล กริด จะเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์ เหมือนเป้นการสร้างโครงสร้างให้สิ่งพิมพ์เป็นกรณีๆ ไปเป็นพิเศษเป็นระบบโครงสร้างที่มีรูปแบบไม่แน่นอนและต้องการความชำนาญในการออกแบบสูง จึงจะได้ระบบกริดที่ใช้งานได้จริงๆ มีลักษณะขั้นตอนคล้ายๆ กับการออกแบบโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะ คือ เริ่มด้วยการสำรวจข้อมูลทั้งในส่วนที่เป็นข้อความและภาพก่อนว่ามีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางแผนคร่าวๆ ว่าภาพรวมของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางยูนิตกริด ซึ่งมักจะมีหลายขนาดต่างๆ กับ ลงไปในพื้นที่หน้ากระดาษ แต่การวางนั้นไม่ได้วางต่อเนื่องขนานกับเหมือนโมดูลาร์
 

การออกแบบ การตลาดมือถือ

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

การออกแบบ การตลาดมือถือ

แง่คิด ปรึกษาการตลาดออนไลน์ การตลาดสำหรับมือถือ Mobile Platform :

แนวปฎิบัติด้านการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ
 ( Digimarketing Best Practices)

ยอมรับว่าลูกค้าคือผู้ควบคุมอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวชนิดนี้
 ( Recognize that the customer is in control of this Very Personal Device ) โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด และลูกค้าเป็นผู้มีอำนาจควบคุมเต็มร้อย เขาเป็นคนที่ตัดสินใจเองว่า 
จะมีส่วนร่วมกับแผนการตลาดผ่านมือถือของคุณหรือไม่ ความต้องการ เป้าหมายและความคาดหวังของลูกค้าคือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะผลักดัน
แผนการตลาดผ่านมือถือให้ประสบความสำเร็จ
ยังไม่มีการระบุหลักเกณฑ์ไว้แน่ชัดว่าอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้ามามีส่วนร่วมในแผนการตลาดผ่านมือถือ เช่น ต้องทำอย่างไร 
ที่ไหน เมื่อไร และบ่อยแค่ไหน แต่สิ่งที่ชัดเจนอย่างยิ่งคือ คุณต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อนโทรศัพท์มือถือไม่ใช่สื่อที่คุณแทรกเข้า
ไปหรือขัดจังหวะได้ถ้าผู้ใช้ไม่ยินยอม การบล๊อกไม่ให้คอนเทนต์การตลาดโผล่เข้าไปในมือถือทำได้ไม่ยาก ดังนั้นนักการตลาดดิจิทัลจึงต้องทำงานอย่างระมัดระวังและทำด้วยความเคารพสิทธิของเขจ้าของมือถือถ้าทำได้อย่างถูกต้องพอเหมาะ
พอดีคุณจะตักตวงประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารใหม่นี้ได้มากทีเดียว
ตัวอย่างเช่น แคมเปญโฆษณารองเท้ากีฬา Nike Airmax ใช้สื่อโฆษณาแบบมาตราฐานทั่วไป หนังโฆษณาเป็นภาพนักกีฬาที่ตื่นแตเช้าไปออกกำลังกาย แต่แคมเปญนี้มลูกเล่นนิดหน่อยโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อ ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถใช้โทรศัพท์เข้าไปสมัครขอรับบริการปลุกด้วยเสียงของยอดนักเทนนิสดังระดับโลกอย่างมาเรีย ซาราโปว่า ปรากฎว่ามีผู้สมัครเข้ามามากมาย เพียงสัปดาห์แรกก็มีคนสมัครมากกว่าที่บริษัทประเมิณไว้สำหรับ 3 สัปกาห์ถึง 3 เท่าทีเดียวผู้บริโภคบางรายขอให้ปลุวันละหลายครั้งก็มี โค้ชและผู้จัดการทีมกีฬาสมัครขอให้ปลุกลูกทีมทั้งทีมเลย

โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องมีรหัสระบุตัวผู้ใช้…ควรใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์
( Use the Personal Addressability of Mobiles )



อุปกรณ์ดิจิทัลทุกชิ้นระบุตัวผู้ใช้ได้ หมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันเลยมีจำนวนไม่น้อยที่นิยมนำโทรศัพท์หาเบอร์เพื่อนมากกว่าพ่อแม่ หรือเลขาฯ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะรับโทรศัพท์เรียกเข้าทุกครั้ง แม้ว่าปัจจุบันหลายคนจะรับแต่เบอร์ที่รู้จักเท่านั้นก็ตาม ถ้าเจ้าของโทรศัพท์อนุญาติและไว้ใจที่จะรับโทรศัพท์จากนักการตลาดอย่างคุณแล้วล่ะก็ คุณมั่นใจได้เลยว่าจะได้คุยเจ้าของโดยตรง(โดยที่คุณรู้ว่าเขาเป็นใคร) เป็นคนที่คุณหวังจะยื่นข้อเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
เขาโดยตรงเท่านั้น ข้อมูลและประวัติของผู้ใช้มือถือ มีค่าอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น บริษัท BMW ในประเทศจีนใช้โฆษณาที่เจาะจงถึงตัวผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเชิญให้มาทดลองขับ BMW 3 Series ในแคมเปญยังมีการสร้างเว็บไซต์เพื่อแสดงผลบนมือถือโดยเฉพาะเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย “แต่งรถ” เสมือนจริงในเว็บไซต์ได้ตาม
ที่ต้องการ
น่าเสีนดายที่นักการตลาดบางคนใช้ประโยชน์จากมือถือไม่เต็มที่คิดเพียงว่าส่ง SMS ไปอวยพรวันเกิดโดยเรียกชื่อผู้รับได้ถูกต้องก็พอแล้วนักการตลาดดิจิทัลควรทำมให้ได้ถึงขนาดส่งคำพยากรณ์ชีวิต คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะกับอายุหรือพยากรณ์อากาศแต่ละแห่งให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ข้อความ SMS 
อวยพรปีใหม่ที่มาจากใครก็ไม่รู้ มันไม่มีความหมายอะไรกับผู้รับ แม้ว่าคำอวยพรจะส่งมาถูกวันและเรียกชื่อเจ้าของได้ถูกต้องก็ตาม ปรึกษาการตลาดออนไลน์

ใช้คุณสมบัติของการเป็นสื่อนอกบ้านที่ระบุสถานที่ได้ให้เป็นประโยชน์
( Build on Mobile’s Location-Specific, Out-of-Home, Capabillity)



ในสหรัฐอเมริการ้านกาแฟ Starbucks เปิดให้บริการใหม่ โดยลูกค้าสามารถส่ง SMS แจ้งรหัสไปรษณีย์มาที่ MYSBUX จากนั้นเขาจะได้รับรายชื่อร้าน Starbucks ที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น Burger King จัดโปรโมชั่นไก่ทอดโดยพิมพ์โค๊ดมือถือ
( Mobile Code) ไว้บ่นกล่อง เมื่อลูกค้าส่ง SMS บอกโค๊ดมือถือนั้นเข้ามาจะมีโอกาศชิงโชครับตั๋วเข้าชมซุปเปอร์โบลว์ เป้าหมายหลักของแคมเปญคือทำให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ต้องการในทันที โดยพุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคที่อยู่นอกบ้านหรืออยู่ที่จุดขาย การยื่นข้อเสนอให้ทางมือถือน่าจะให้ผลดีกว่าทางโทรทัศน์ เพราะผู้ชมโทรทัศน์ต้องออกจากบ้าน หรือต้องคอยจำข้อเสนอให้
ได้เวลาไปที่ร้าน ให้ข้อมูลเรียลไทม์ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเสมอ ( Identify Real-Time Information that Really Matters to Consumers )
การส่งข่าวติดต่อกับผู้บริโภคเป็นประจำย่อมทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์สินค้า โดยเฉพาะถ้าข่าวสารที่ได้รับมีประโยชน์แก่เขาโดยตรงตัวอย่างเช่น บริษัทยา Novartis ให้บริการ SMS เตือนความหนาแน่นของละอองเกสรดอกไม้ในแต่ละพื้นที่ ( Pollen Counts ) ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองเยื่อจมูก เพื่อโปรโมทยาฉีดพ่นจมูกรักษาโรคไข้ละอองฟาง ผู้ที่สมัครเข้ามาจะได้รับข้อมูล Pollen Count ที่ทันสมัยเฉพาะบุคคลแต่ละสถานที่ รวมทั้งการแจ้งเตือนพิเศษในวันที่จะมีละอองเกสรมากเป็นพิเศษ บริษัทยังใช้ SMS เป็นเครื่องมือทางการตลาดแจ้งเคล็ดลับป้องกันและรักษาโรคใข้ละอองฟางอีกด้วยร้อยละ 56 ของลูกค้าที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวยินดีรับสมัครบริการต่อแม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
มีสำนักข่าวหลายแห่งให้บริการส่ง SMS แจ้งพาดหัวข่าวสำคัญๆ อยู่บ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริการที่เสียเงิน Yahoo! Alerts เปิดให้บริการแจ้งข่าวสารฟรีในหัวข้อที่ผู้บริโภคเลือก เช่น ข่าวประจำวัน รายงานพยากรณ์อากาศ ผลกีฬา รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือแม้แต่คำพยากรณ์ชีวิต ธนาคารบางแห่งมีการ SMS เตือนหรือยืนยันธุรกรรมการเงิน ด้านบริษัท Textmarks มีบริการเปิดให้เว็บไซต์หรือบล็อกสร้างระบบส่ง SMS เตือนของตนเองเพื่อส่งข้อความสั้นไปเตือนสมาชิก
MasterCard Nearby มีบริการใหผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดใช้โทรศัพท์มือถือโทรหาตู้เอทีเอ็มใกล้ที่สุดเมื่ออยู่ในประเทศแคนาดา 
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป   ปรึกษาการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์ การตลาดมือถือ