BANGKOK GRAPHIC

แนวคิดการตลาดออนไลน์ หลักการตลาดดิจิทัล

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

แนวคิดการตลาดออนไลน์ หลักการตลาดดิจิทัล

ปรึกษาการตลาดดิจิทัล การตลาด ดิจิทัลหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 1 อย่าปล่อยให้ผู้บริโภค เป็นผู้รับสารเพียงอย่างเดียว นักการตลาดต้องนำเสนอสื่อที่สามารถดึงผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ฐานะ ผู้ร่วมวง : ผู้จุดประกาย ideas /ผู้สร้างสรรค์ /ผู้ร่วมความคิดเห็น /ผู้วิจารณ์ และผู้บริการหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 2 ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญ จริงอยู่ตลาด ดิจิทัล มันน่าหอมหวน ท้าทายยิ่งสำหรับนักการตลาดที่ไม่อยากตกยุค การลงทุนในตลาดแบบนี้ จำเป็นต้องพึ่งผลงานวิจัย สำรวจตลาดเก็บข้อมูลเชิงลึก เพราะข้อดีของการตลาดแบบนี้ คือ ผู้บริโภคจะถูกนักการตลาดเก็บข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย ขึ้น และง่ายขุ้นไปเรื่อยๆเพราะพวกที่ชอง Free Click /Free Downloaหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 3 เร้าใจ” อายบราสเชอร์ คือ พฤติกรรมใหม่ที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญ ถ้าคุณมาแบบ ถื่อๆเหมือน Traditional-media คงไม่คุ้มค่าที่เลือกลงทุนใน digi-marketing ///ต้อง Hook คนดูภายใน ไม่เกิน 5 Sec.หลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 4 “ความคล่องตัว และหยืดหยุ่น” digital-content มีความยืดหยุ่น และคล่องตัวสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สื่อประเภทนี้มีคุณภาพอยู่ที่ ไร้พรมแดน ไร้เวลา สถานที่ ไม่มีข้อจำกัด ในการสร้างและส่งข้อมูลหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 5 digi-marketing จะถูกกำหนดและ ถูกสร้างทิศทาง โดยกลุ่มผู้บริโภค ที่เรียกว่ากลุ่ม เพราะเกิดจากPower of favorite Community พลังของชุมชนคนรัก (ในเรื่องคล้ายๆกัน) นักการตลาดมีหน้าที่แค่ คอยให้รางวัล สร้างความท้าทายใหม่ๆหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 6 การส่งสาร หรือ Massage จะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคก่อน ไม่งั้นเข้าข่าย Spam /Hack ….. So Base ที่สำคัญที่สุด คือ ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค ต่อไปจะมีคุณค่ามากกว่า ทองเสียอีกหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 7 นักการตลาด ยุคดิจิทัล ต้องเข้าใจประเภท และลักษณะของสื่อ ที่จะนำไปลง1. ช่วยให้เกิดความเข้ากันได้ใน Image ของตัวสินค้า และโยงใยไปถึงBrand 2. ที่สำคัญ ระบบการได้ผลกำไร ควรระวังมากขึ้น ถ้าชัดเจนในขณะที่คุณเป็นหนึ่งในผุ้ร่วมวงสนทนา อาจโดนผลักออกจากกลุ่มได้ง่ายๆหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 8โปรแกรมการสืบค้น จะมีบทบาทอย่างมาก และโดดเด่น ในการตลาด ยุคดิจิทัล ปรึกษาการตลาดดิจิทัล หลักการตลาดดิจิทัล
 

การออกแบบ Poster และแผ่นพับ (สิ่งพิมพ์พิเศษ)

การออกแบบ Poster และแผ่นพับ (สิ่งพิมพ์พิเศษ)

สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการใช้ประโยชน์กันมายาวนาน อันที่จริงแล้วสิ่งพิมพ์ประเภทแรกๆ ของโลกล้วนเป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจตัวอย่างเช่นโปรเตอร์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อแรกที่ใช้ประกาศข้อมูลให้คนจำนวนมากได้รับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่การใช้คนป่าวประกาศในที่สาธารณะสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจคือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการผลิตขึ้นเมื่อเกิดมีความต้องการจะใช้ประโยชน์การทำหน้าที่สื่อสารกับกลุ่มคนจำนวนมากและเลิกการผลิตนั้นเมื่อการดำเนินการการสื่อสารได้บรรลุผลตามตั้งใจแล้วสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจโดยมากจึงมักจะไม่มีการเผยแพร่เป็นประจำสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมีรูปแบบที่หลากหลายเนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความซับซ้อนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมืองซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิตความสนใจและรสนิยมสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจอาจจะทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาเช่นโปรเตอร์โฆษณาสินค้าหรืออาจจะทำหน้าที่เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลเช่นรายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมีหลากหลายชนิดและมีวัตถุประสงค์และลักษณะในการนำไปใช้ที่แตกต่างกันโดยสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่สำคัญในแง่การออแบบได้แก่โปรเตอร์แผ่นผับจดหมายข่าวและรายงานประจำปี
 

การออกแบบโปสเตอร์ Poster Design

ออกแบบ website

การออกแบบโปสเตอร์ Poster Design

งานออกแบบโปสเตอร์ Poster Design แง่คิดในการ รับงานออกแบบโปสเตอร์
โปสเตอร์เป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจซึ่งมักใช้มากในการโฆษณาสินค้าบริการหรือกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงการโฆษณาชวนเชื่อบางครั้งก็ใช้ในการให้ข้อมูลอย่างย่อโปรเตอร์มีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวมักมีขนาดใหญ่และพิมพ์ด้านเดียวการเผยแพร่มักจะใช้การติดตามผนังบอร์ดกระจกหน้าร้านและในสถานที่ที่ค่าดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายพบเห็นโปรเตอร์เป็นสื่อที่มีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วและการใช้โปรเตอร์ยิ่งแพร่หลายขึ้นเมื่อมีการคิดค้นระบบการพิมพ์ต่างๆแต่โปรเตอร์ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นโปรเตอร์ที่มีตัวหนังสือเป็นหลักส่วนภาพประกอบหากจะมีก็จะเป็นภาพลายเส้นโปรเตอร์ในรูปแบบสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการคิดค้นระบบการพิมพ์หิน(lithography)ราวปีค.ศ.1798 วึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบโครโมลิโทกราฟี(chromolithography) ในช่วงทศวรรษปีค.ศ.1830 โดยระบบการพิมพ์นี้เป็นระบบแรกที่สามารถทำการพิมพ์สีหลายๆสีเป็นภาพเหมือนจริงลงบนสิ่งพิมพ์ได้ด้วยประโยชน์ที่สำคัญของการพิมพ์นี้เองที่ทำให้เกิดการนิยมครั้งใหม่ของโปรเตอร์ขึ้นในช่วงปีค.ศ.1880_1890 โดยมีจูลส์_เชอเรท์(Jules_Cheret) ผู้ซึ่งมักจะได้รับการขนานนามว่าบิดาแห่งโปรเตอร์สมัยใหม่และอองรี_เดอตูลูส-โลเตร็ก เป็นผู้บุกเบิกรูปแบบใหม่ในการออกแบบโปรเตอร์ในประเทศฝรั่งเศสโปรเตอร์ถูกใช้เป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อในช่วงสงครามโลกครั้งที่1โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีการพิมพ์โปรเตอร์กว่า 20 ล้านใบหลังจากสงครามรูปแบบของโปรเตอร์มีความทันสมัยและเรียบง่ายขึ้นด้วยอิทธิพลจากสถาบันเบาเฮาส์ในประเทศเยอรมนีและแนวนิยมสมัยใหม่อื่นๆในยุโรปต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ก็เริ่มมีการนำภาพถ่ายมาใช้มากขึ้นในการออกแบบโปรเตอร์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2เมื่อโทรทัศน์เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นโปรเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยลงในฐานะสื่อโฆษณาแต่การพัฒนาทางการออกแบบโปรเตอร์อย่างต่อเนื่องในประเทศสวิตเซอร์แลนด์สหรัฐอเมริกาและต่อมาในอีกหลายประเทศทั่วโลกทำให้โปรเตอร์สมัยใหม่มีรูปแบบที่หลากหลายและสามารถสนองตอบรสนิยมของผู้บริโภคยุตใหม่ได้อีกทั้งโปรเตอร์ก็ยังเป็นสื่อที่ราคาถูกกว่าสื่อโทรทัศน์เมื่อเทียบในด้านเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตและการเผยแพร่นอกจากนั้นโปรเตอร์ยังสามารถเข้าถึงชุมชนที่ห่างไกลได้ทั่วถึงทำให้โปรเตอร์ยังคงเป็นสิ่งพิมพ์หลักสื่อหนึ่งเรื่อยมาจนแม้ในปัจจุบันที่มีสื่อต่างๆเกิดขึ้นมากมายแต่ความนิยมในการใช้โปรเตอร์ก็ยังมีต่อเนื่องเสมอมาการจำแนกประเภทของโปรเตอร์โปรเตอร์มีมากมายหลายประเภทตามแต่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานโดยโปรเตอร์ที่พบเห็นและเป็นที่นิยมใช้กันมีดังนี้ 1.โปรเตอร์โฆษณาชวนเชื่อและการเมือง (propaganda and political poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งเสนอแนวคิดทางการเมืองการปกครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่1และ2 มีการใช้โปรเตอร์ประเภทนี้อย่างมากในทั้งสองฝ่ายที่ทำสงครามกันในปัจจุบันโปรเตอร์ประเภทนี้ก็ยังเป็นสื่อสำคัญทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง 2.โปรเตอร์โฆษณาสินค้า(advertising poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งนำเสนอสินค้าให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จักและจดจำหรือมุ่งนำเสนอข้อดีเด่นของตราสินค้า 3.โปรเตอร์ภาพยนตร์(film or movie poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งโฆษณาภาพยนตร์ที่กำลังจะออกฉายหรือฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักแสดงให้เห็นถึงประเภทของภาพยนตร์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักแสดงและผู้เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ 4.โปรเตอร์การแสดง(concert or show poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งแจ้งข่าวการแสดงที่จะเกิดขึ้นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงสถานที่และเวลาที่จะมีการแสดงรวมทั้งราคาบัตรเข้าชม 5.โปรเตอร์การจัดงาน(event poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งแจ้งข่าวการจัดงานมหกรรม นิทรรศการ การจัดแสดงสินค้า การแข่นขัน ฯลฯและให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องสถานที่ ช่วงเวลาการจัดงาน รวมทั้งราคาบัตรเข้าชม 6.โปรเตอร์การศึกษา(educational poster) เป็นโปรเตอร์ทีมุ่งให้การศึกษาแกสาธารณะชนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเช่น โปรเตอร์แสดงวิธีการกรองน้ำอย่างถูกต้อง 7.โปรเตอร์ในห้องเรียน(classroom poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งทำขึ้นใช้ในห้องเรียนเป็นหลัก เช่น โปรเตอร์แสดงแผนที่โลก 8.โปรเตอร์การวิจัย(research poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งใช้เพื่อให้ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับการวิจัยมักใช้ในการประชุมวิชาการต่างๆส่วนประกอบของโปรเตอร์โปสเตอร์มีส่วนประกอบไม่มากเมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์อื่นๆเช่น หนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร ส่วนประกอบของโปสเตอร์มีน้อย เนื่องจากธรรมชาติของโปรเตอร์เป็นสิ่งพิมพ์ที่เน้นการให้ข้อมูลจำนวนน้อยในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่วนประกอบของโปสเตอร์ มีดังนี้ 1.พาดหัว คือ ส่วนที่เป็นตัวอักษรให้ข้อมูลที่เรียกร้องความสนใจของผู้พบเห็น 2.ภาพ คือ ส่วนที่เรียกร้องความสนใจของผู้พบเห็นที่ไม่ใช่ตัวอักษร 3.เนื้อหา คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ให้รายละเอียดที่จำเป็น4.ภาพสินค้า หรือตราสัญลักษณ์ คือ ส่วนที่ระบุผู้ที่เป็นเจ้าของโปสเตอร์นั้นๆทั้งนี้ ในโปสเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 องค์ประกอปเสมอไปการเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบโปสเตอร์การออกแบบโปสเตอร์มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็นไปตามการเตรียมการก่อนการออกแบบ และการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ และหลักการออกแบบและระบบกริดอย่างไรก็ตามโปสเตอร์มีส่วนประกอบที่แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากกราออกแบบสิ่งพิมพ์โดยรวม แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ 1.สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบโปสเตอร์ 2.การออกแบบส่วนประกอบต่างๆของโปสเตอร์
 

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์ Newspaper design

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์ Newspaper design

แง่คิดในการ รับงานออกแบบหนังสือพิมพ์

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์

การออกแบบหนังสือพิมพ์ ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์นั้นสามารถนับถอยหลังไปได้กว่าสี่ร้อบปี แต่การนำเสนอข่าวในรูปแบบที่เป็นการเขียนหรือพิมพ์ลงในกระดาษแล้วแจกจ่ายนั้นมีมานานนับได้ตั้งแต่ยุคอาณาจักรโรมันแล้ว สมาพันธ์หนังสือพิมพ์โลก (World Newspaper) ถือว่าหนังสือพิมพ์รีเลชันส์ (Relations) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1605 เป็นหนังสือพิมพ์สมัยใหม่ฉบับแรกของโลก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าหนังสือพิมพ์ลอนดอน กาเซนท์ (London Gazette) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลกที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษ โดยเริ่มพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1666 น่าจะถือเป็นหนังสือพิมพ์แท้จริงฉบับแรกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในทวีปอเมริกา คือ หนังสือพิมพ์ออคเคอร์เรนซ์ (Public Occurrences)

ในปี ค.ศ.1690 โดยเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่อย่างในปัจจุบัน แต่มีขนาดเพียว 7 นิ้ว และประกอบด้วยหน้าหนังสือเพียง 4 กน้าเท่านั้น ก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาจะแยกออกจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษได้เกิดหนังสือพิมพ์ที่สำคัญมากมายหลายฉบับ เช่น บอสตัน กาเซนท์ (Boston Gazette) และนิวยอร์ก กาเซนท์ (New York Gazette)ความสามารถในการผลิตกระดาษในราคาที่ถกลง และเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นในช่วงการปฏิวัตอุตสาหกรรม ทำให้เกิดหนังสือพิมพ์ขึ้นมากมายทั่วโลก ต่อมาเครื่องโทรเลขได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1844 ทำให้การเสนอข่าวไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในช่วงคริสต์ศตรรษที่ 19 ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ ที ลักษณะเป็นตัวหนังสือขนาดเล็กจำนวนสมากตั้งๆตลอดทั้งหน้าการนำภาพถ่ายฮาฟโทน(halftone)มาใช้ในหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1880 และต่อมามีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นพัฒนาการสำคัญที่ทำให้รูปแบบของหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปจนราวปีค.ศ.1900 หนังสือพิมพ์เริ่มมีรูปลักษณ์ในแบบที่พบเห็นได้ในปัจจจุบันหนังสือพิมพ์มีขนาดใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น และหนาขึ้น และเริ่มมีการแบ่งข่าวสารออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น อาชญากรรม ต่างประเทศ กีฬา ฯลฯ และมีการใช้ภาพถ่ายมากขึ้นด้วยในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับการออกแบบมากนัก ดังจะเห็นได้จากรูปแบบที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากนับตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์จึงมีลักษณะเหมือนการจับเอาตัวอักษรและภาพมาบรรจุลงไปในพื้นที่ว่างของหน้ากระดาษให้เต็มเหมือนการเล่นต่อภาพ สถานการณ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีสภาพดีกว่าในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว หนังสือพิมพ์ชั้นแนวหน้าหลายฉบับในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป มีการจ้างผู้กำกับศิลป์ที่มีฝีมือเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบรูปลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ให้มีเอกลักษณ์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกๆที่มีการจ้างผู้กำกับศิลป์มาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้หนังสือพิมพ์ของตน เช่น หนังสือพิมพ์ชิคาโก ทรีบูล (Chicago Tribune) และนิวยอร์กไทมส์ (New York Times) ได้ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จของการผสมผสานการออกแบบเข้ากับเนื้อหาที่ดี ซึ่งนิตยสารหลายฉบับใช้เป็นสูตรของความสำเร็จอยู่แล้วมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ได้สร้างรูปแบบใหม่ของหนังสือพิมพ์ที่เรียกได้ว่าเป็ฯหนังสือพิมพืสำหรับคนโตมากับโทรทัศน์ คือ มีการเนอข่าวที่สั้นกระสั้นกระชับ ใช้ภาพจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายแผนที่หรือแผนภูฒิ มีการออกแบบที่สวยงาม เต็มไปด้วยสีสันอย่างที่ไม่เคยมีการใช้ในหนังสือพิมพ์มาก่อน จนมีผู้เรียกหนังสือพิมพ์นี้ว่า “แมคเปเปอร์” (McPaper) คำวิพากษ์วจารณ์หนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ต้องเงียบเสียงลงเมื่อหนังสือพิมพ์สามารถดำรงสภาพเป็นหนังสือพิมพ์ระดับประเทศมาจนทุกวันนี้รูปแบบที่เป็นแนวนิยมของหนังสือพิมพ์สมัยใหม่นั้น ไม่ได้มุ่งนำเสนอข้อมูลข่างสารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งที่จะกระตุ้นความตื่นตัว มีชีวิตชีวาเพื่อการแข่งขันได้กับสื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้น โดยมีจุดที่น่าสังเกต ดังนี้1)

การใช้สี – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่จะเน้นภาพที่มีสีสันมากขึ้น โดยหน้าแรกจะพิมพ์สี่สีกลายเป็นสิ่งปกติของหนังสือพิมพ์ทั่วไป และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการใช้หน้าสีในหน้าในมากขึ้นเรื่อยๆ หนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจบางฉบับมีการพิมพ์สี่สีตลอดทั้งเล่ม การใข้สีที่นี้รวมไปถึงการใช้ภาพจำนวนมากและมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นด้วย2) การใช้องค์ประกอบอื่นทางเรขศิลป์ – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่ไม่ได้นำเสนอข้อมูลด้วยข้อความเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังนำเสนอด้วยการสร้างแผนภูมิ แผนที่แบบต่างๆ เพื่อให้สถิติหรือข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น3) การจัดกลุ่มเนื้อหา – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่มุ่งสนองรูปแบบชีวิตอันเร่งรีบของคนสมัยใหม่ด้วยการจัดกลุ่มเนื้อหาที่เป็นความสนใจเดียวกันเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการค้นหา4)

การจัดวางองค์ประกอบ – หนังสือพิมพ์ สมัยใหม่จะใช้ระบบกริดเป็นโครงสร้างในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆทำให้เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารแต่ละเรื่องมีรูปร่างเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่างๆที่ถูกนำมาจัดเรียงไว้ด้วยกันในหน้ากระดาษเรื่อง I การจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีความเป็นไปได้ในการเลือกองค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่หลากหลายช่นเดียวกันกับความหลากหลายของประเภทหนังสือพิมพ์ การทราบว่าหนังสือพิมพ์ที่จะทำการออกแบบจัดเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดจะช่วยให้เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา รวมทั้งผู้อ่านที่เป็นปลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถเลือกใช้องค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์นั้นๆได้ดีขึ้น หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ถือเป็นสื่อหลักและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีการศึกษาเพื่อจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์อยู่หลายวิธีโดยทั่วไปแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีการแบ่งตามความหนักเบาของเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ1)

  • หนังสือพิมพ์ประชานิยม (popular newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่สนองความนิยมของผู้อ่านจำนวนมากๆ เน้นการเสนอข่าวที่มีเนื้อหาเร้าอารมณ์และความรู้สึกตื่นเต้น เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวภัยพิบัติ ข่าวความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีรูปแบบการนำเสนอที่เต็มไปด้วยจินตนาการและมีสีสัน ใช้ภาพประกอบและพาดหัวจำนวนมาก2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ (quality newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นการเสนอเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวจริงจัง มุ่งเสนอสาระ ความรู้ ทัศนคติ การวิเคราะห์ หรือความคิดเห็น เช่น ข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การต่างประเทศ โดยเนื้อหานี้จะมีประโยชน์โดยตรงที่เป็นรูปธรรมกับผู้อ่าน เช่น ช่วยในการตัดสินใจเลือกลงทุน หรือ สามารถเสนอความเห็นโอกาสต่างๆหากพิจารณาจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ตามลักษณะเนื้อหา จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1) หนังสือพิมพ์ทั่วไป (general newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะหลากหลายรวมอยู่ในฉบับเดียว คือ มีทั้งเนื้อหาที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ และเรื่องราวของเนื้อหาก็หลากหลาย เช่น เรื่องสตรี เรื่องศิลปะ เรื่องบันเทิง กีฬา เรื่องเศรษฐกิจการค้า เป็นต้น เหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกว้าง2)
  • หนังสือพิมพ์เฉพาะ(specialized newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเนื้อหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจ หนังสือพิมพ์กีฬา หรือหนังสือพิมพ์บันเทิง ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาจะมีทั้งที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ แต่เรื่องราวก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไป หากพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไปหากจะพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมม์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1)
  • หนังสือพิมพ์รายวัน (daily newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกวัน โดยอาจจะมีการออกเป้นหนังสือพิมพ์ฉบับเข้า (morning newspaper)ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนเช้าตรู่ของวัน หรือหนังสือพิมพ์ฉบับบ่าย (afternoon newspaper) และหนังสือพิมพ์ฉบับเย็น(evening newspaper) ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนบ่ายหรือเย็นตามลำดับ หนังสือพิมพ์รายวันส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าแต่มีบางฉบับที่มีการออกทั้งเป็นแบบเช้าและบ่าย2)หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ (weekly newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยอาจจะเลือกออกในวันใดวันหนึ่งเป็นประจำบางครั้งหนังสือพิมพ์ประเภทนี้ก็ไม่ได้ออกเป็นรายสัปดาห์ จึงเรียกว่า หนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้รายวัน (non daily newspaper)นอกจากนี้แล้ว ยังจำแนกหนังสือพิมพ์ตามรับดับของการนำออกเผยแพร่ได้ด้วย ซึ่งจะสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ1)
  • หนังสือพิมพ์ระดับนานาชาติ (international newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีการผลิตจากแหล่งเดียวกันหรือแยกผลิตในแต่ละประเทศโดยมีเนื้อหาเดียวกัน2) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (national newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ทั่วกันพร้อมทั้งประเทศ โดยมีเนื้อหาเดียวกันครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านทั้งประเทศ3)
  • หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น (local newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในม้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านในท้องถิ่นนั้นๆการจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ที่นิยมทำกันอีกแนวทางหนึ่ง คือ การแบ่งประเถทตามขนาดรูปเล่ม ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1)
  • หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่ (broadsheet newspaper หรือบางครั้งที่เรียก full size newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่พบเห็นกันเป็นส่วนมาก จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 15-17 นิ้ว และความสูงประมาณ 22-23 นิ้ว2)
  • หนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก (tabloid newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ในอดีตนั้นนิยมใช้เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชวบ้าน คือไม่เน้นเนื้อหาสาระที่เป็นข่าวจริงจังแต่ในปัจจุบัน ในต่างประเทศนั้น หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กได้พัฒนาขึ้นครอบคลุมตลาดทั้งหมดไม่ว่าเป็นตลาดบน (up-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ (quality) ตลาดกลาง (middle-market)

สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (popular) และตลาดล่าง (down-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวเร้าใจ(sensational) ส่วนในประเทศไทย จะพบเห็นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กจะมีขนาดประมาณ 11-12 นิ้ว และความสูงประมาณ 15-17 นิ้ว3)หนังสือพิมพ์แผ่นกลาง (berliner or midi newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่อาจจะไม่ได้พบเห็นกันมากนัก แต่ก็มีใช้ในหลายประแทศในทวีปยุโรป จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 12นิ้ว และความสูงประมาณ 18 นิ้วโดยสรุป การจำแนกหนังสือพิมพ์ทำได้หลายแบบ โดนอาจจะแยกตามประเภท เนื้อหา ความหนักเบาของเนื้อหา การนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ ระดับการนำออกเผยแพร่ หรือตามขนาดรูปเล่มเรื่อง I ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบที่ต้องการการออกแบบ ดังนี้1. หน้าแรกหน้าแรกเป็นหน้าที่นำเสนอให้ผู้อ่ารทราบว่ามีสิ่งใดที่หนังสือพิมพ์จะมีให้แก่ผู้อ่านมากที่สุดก็ว่าได้ ส่วนประกอบที่มีปรากฏในหน้าแรก มีดังนี้

1.1 แถบชื่อ ( name plate flag title plate) หรือ “หัวหน้งสือ” คือ ชื่อของหนังสือพิมพ์ โดยมักมีส่วนตัวพิมพ์ที่แสดงวันที่ออก (dateline) เอาไว้ด้วย1.2หัวข่าว (headline) หรือ “พาดหัว” เป็นข้อความสำคัญที่นอกจากจะบ่งชี้ถึงข่าวเรื่องนั้นๆ แล้วยังทำหน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็น ส่วนประกอบนี้มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหน้าอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยจะเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.2.1) ชุดหัวข่าว (bank)คือ หัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โยมีความยาว 1บรรทัด ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า บรรทัด (line)

1.2.2) ขั้นหัวข่าว (deck) คือ ชุดของหัวข่าวที่เป้นตัวพิมพ์เรียงกันโดยมีความยาวประมาณ 1 แถวขึ้นไป

1.3) หัวรอง (sub headline) คือ หัวข่าวเล็กเพื่อขยายความหัวข่าวเด่นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อนำผู้อ่านสู้เนื้อข่าว

1.4) ตัวเนื้อเรื่อง (body matter หรือ text) เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าวซึ่งหากมีใบหน้าแรกก็มักจะมีเป็นการเริ่มนำเท่านั้น มักจะมีการนำเสนอเนื้อข่าวอันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าในอื่นๆ

1.5) ภาพประกอบข่าว เป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว ภาพประกอบในหน้าแรกนี้มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข่าวที่ใหญ่ที่สุดภาพประกอบนี้อาจจะมีจำนวน 1 ภาพหรือมากกว่าก็ได้ โดยในการรำเอาภาพประกอบข่าวนั้นมาใช้ มักนิยมให้มีคำบรรยายภาพ(cutline caption legend underline) เพื่อเสริมความเข้าใจด้วย 2 หน้าในส่วนประกอบที่มีปรากฏอยู่ในหน้าในนี้ มีดังนี้

2.1) หัวข่าว หรือ พาดหัว เป็นข้อความในลักษณะเดียวกันกับหัวข่าว หรือ พาดหัวในหน้าแรก โดยหัวข่าวนี้นอกจะมีอยู่ในหน้าแรกแล้วยังมีอยู่ในหน้าอื่นๆ ด้วย

2.2) หัวรองเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ แต่เล็กกว่าข่าว โดยมีหัวรองแทรกอยู่ นอกจากนี้หากเนื้อหาของข่าวมีหลายประเด็นอาจจะใช้ประโยชน์จากหัวรองนี้ได้เช่นกัน

2.3) หัวต่อ (jump head)เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำหน้าที่บ่งบอกให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต่อจากหัวข่าวใดในหน้าแรก หัวต่อจะเป็นคำหรือวลีที่ทำให้ผู้อ่านมองหาและติดตามข่าวได้ง่ายขึ้น

2.4) หัวคอลัมน์ประจำ (standing head)เป็นชื่อของคอลัมน์ซึ่งเป็นเนื้อหาข่าวประเภทที่มีอยู่ประจำในทุกฉบับ เช่น คอมลัมน์บทบรรณาธิการ คอลัมน์วิเคราะห์ ข่าวต่างประเทศ เป็นต้น

2.5) ตัวเนื้อเรื่องเป็นข้อความที่นำเสนอเนื้อหาข่าวอันเป็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาข่าวที่ต่อมาจากข่าวในหน้าแรกหรือเป็นเนื้อหาข่าวของเรื่องในหน้าในหน้านั้นๆ

2.6) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) หรือพิมประกาศ (masthead)เป็นส่วนประกอบที่ระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้พิมพ์ ในบางครั้งอาจจะมีการระบุผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์นั้นๆๆ ด้วย

2.7) ภาพประกอบข่าวเป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว นอกจากภาพประกอบข่าวแล้วยังมีคำบรรยายภาพเพื่อเสริมความเข้าใจก็ได้

2.8) องค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์

3.เนื้อหาโฆษณาเนื้อหาที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีขนาดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะมีขนาดใหญ่ ขนาดมาตรฐานของเนื้อที่โฆษณาที่พบเห็นกันทั่วไป มีดั้งนี้

3.1) เต็มหน้า (full page) คือ ใช้พื้นที่ทั้งหมดของหน้ากระดาษ ตัวอย่างเช่นหน้งสือพิมพ์ มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25 นิ้ว และคอมลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอมลัมน์ x 1.25 นิ้ว ) x 20นิ้ว3.2) ครึ่งหน้า (half page) คือ ฝช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้าของกระดาษตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25นิ้วและคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอลัมน์x 1.25 นิ้ว) x 10 นิ้วปกติแล้วจะเป็นแนวนอน ปต่ปัจจุบันมีการฝช้แนวตั้งด้วย

3.3) เศาหนึ่งส่วนสี่หน้า (quarter page)คือใช้พื้นที่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของกระดาษ จัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอมลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5 ไพก้า หรือ 1.25 นิ้ว และคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณาเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า คือ 7.5 นิ้ว (6 คอลัมน์ x 1.25 นิ้ว)x 10 นิ้ว ขนาดโฆษณามีความสะดวกสำหรับผู้ที่ลงโฆษณามรสื่อนิตยาสารด้วย เพราะจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

3.4) จูเนียร์เพจ (junior page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณใกล้เคียงกับขนาดหน้านิตยสาร พื้นที่โฆษณานี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โฆษณาเดียวกันทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับโฆษณาขนาดพิเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า

3.5) แถบโฆษณา (strip advertising) คือใช้พื้นที่เป็นแถบด้านบนหรือด้านล่างตลอดความกว้างของหน้าหนังสือพิมพ์ และสูงประมาณไม่เกิน 5 นิ้วนอกจากเนื้อที่โฆษณาขนาดมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการซื้อเนื้อที่ในลักษณะที่เป็น คอลัมน์นิ้ว คือ กำหนดขนาดความกว้างของเนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างกี่คอลัมน์ ส่วนสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 6 คอลัมน์ หมายถึง ขนาดพื้นที่ที่กว้าง 1.83 นิ้ว และ สูง 1 นิ้ว หากต้องการลงพื้นที่โฆษณาขนาด 3 คอลัมน์ x6 นิ้ว หมายถึง ขนาดพื้นที่กว้าง 5.5(1.83×3) นิ้ว และสูง 6 นิ้วเ ป็นต้น2. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ (newspaper magazine หรือ special section หรือ supplement magazine

ส่วนพิเศษส่วนสุดท้ายของหนังสือพิมพ์ คือ ส่วนนิตยสาร แทรกในหนังสือพิมพ์โดยมากแล้วส่วนนี้จะมีสัปดาห์ละครั้ง แยกส่วนออกมาเป็นพิเศษ มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาหลากหลาย แต่มักเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นข่าวซึ่งต้องเสนออย่างรวดเร็ว เช่นเรื่อง สถานที่ท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ฯลฯโดยสรุปเมื่อพิจารณาในด้านการออกแบบแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน คือ หน้าแรก หน้าใน เนื้อที่โฆษณาและนิตยาสารแทรกในหนังสือพิมพ์โดยแต่ละส่วนประกอบจะมีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเลือกและจัดองค์ประกอบที่แตกต่างกันเรื่อง I การเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบหนังสือพิมพ์เนื่องจากหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะถูกทำขึ้นเพื่อออกเผยแพร่ทุกวันเป็นประจำการออกแบบหนังสือพิมพ์จึงเป็นเรื่องที่แข่งต่อเวลามากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์อื่นๆนอกจากนี้หากไม่ใช่หนังสือพิมพ์ฌฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์กีฬาแล้ว เนื้อหาข้อมูลที่เป็นข่าวสารซึ่งเป็นประกอบเป็นหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปมีหลายด้าน เช่น การ เมือง บันเทิง ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเพียงแค่พิจารณาตัวแปรสองประกาศดังกล่าวข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าการออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของนักออกแบบอย่างมากนอกจากนี้หนังสือพิมพ์ยังเป็นสื่อที่ครอบคลุมกลุ่มผู้อ่านที่กว้างขวาง

แม้ว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับย่อมจะต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลักเช่น ผู้อ่าน ที่อยู่ในเมือง หรือ ผู้อ่านในชนบท แต่ด้วยราคาขายที่ไม่แพงมากนัก ทำให้หนังสือพิมพ์มีผู้ซื้ออยู่วงที่กว้าง นักออกแบบจึงควรที่จะนำปัจจัยนี้มาประกอบการพิจารณาด้วยว่ารูปแบบของหนังสือพิมพ์ที่จะออกมานั้น แม้ว่าจะต้องทำให้ถูกใจผู้อ่านที่เป้นกลุ่มเป้าหมายหลักแต่ก็ควรจะไม่ทำให้ผู้อ่านในกลุ่มอื่นๆ รู้สึกว่าถูกกีดกันออกไปการออกแบบหนังสือพิมพ์มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็นไปตามการเตีรยมการก่อนการออกแบบ และการปฏิบัติการออกแบบ อย่างไรก็ตาม

หนังสือพิมพ์ มีส่วนที่ประกอบแตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่น ดังนั้นจึงมีในรายละเอียดเพิ่มเติมนี้แบ่งออกเป็น 2 รเอง คือ

1.สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์

2.การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ฃ1. สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นอกจากจะต้องปรฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมการก่อนออกแบบ ยังมีเรื่องที่จะต้องการกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติ่ม ดังนี้

1.ศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ก่อนที่จะทำการออกแบบได้ นักออกแบบก็ต้องพยายามหาข้อมูลจากเจ้าของและบรรณาธิการถึงนโยบายต่างๆ ทิศทางการดำเนินการและวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งศึกษารูปแบบเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดและต้องการให้มีบุคลิกภาพแบบไหน ซึ่งจะมีผลให้ทราบถึงลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าเจตนาจะมุ่งที่ใครเป็นหลักและคนกลุ่มรี้มีพฤติกรรมและความชอบ ไม่ชอบอย่างไร2.การกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์นั้น สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงก็คือความสะดวกสบายในการถืออ่านและจัดเก็บ นอกจากนี้นังต้องนึกถึงความประหยัดในด้านต้นทุนการพิมพ์และการผลิต โดยทั่วไปแล้วขนาดของหนังสือพิมพ์ที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานในประเทศไทยจะมีอยู่

2 ขนาด คือ2.1) ขนาดเต็มแผ่น หรือ ขนาดใหญ่ บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไปในหนังสือพิมพ์รายวัน2.2) ขนาดครึ่งแผ่น หรือขนาดเล็ก บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นขนาดที่นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชาวบ้านหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่นหนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นส่วนกระดาษที่ใช้พิมพ์หน้งสือพิมพ์นั้น โดยทั่วไปจะใช้กระดาษปรู๊ฟ (newsprint paper) ซึ่งผลิตเป็นม้วนใหญ่ มีสีขาวคล้ำ แต่บางครั้งก็อาจพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ (bond paper) ซึ่งมีสีขาว เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจต่างๆ

3.รูปแบบของหน้าแรกหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ควรจะได้รับการออกแบบให้มีรูมาตรฐานในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวอักษรและภาพซึ่งรูปแบบนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้ใช้ทุกฉบับต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความคุ้นเคยแลกจดจำได้ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งและขนาดของตัวอักษรและภาพ อย่างไรก็ตามรูปแบบมาตรฐานนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากภาพและตัวอีกษรของแต่ละฉบับนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับข่าวของแต่ละวันว่ามีปริมาณและคุนภาพเป็นอย่างไร เช้น หากวันใดมีสภาพที่สื่อสารได้ดีก็อาจลดขนาดตัวอีกษรที่เป็นหัวข่าวพาดหัวให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น

รูปแบบของหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นั้นมีพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมาจนเกิดเป็นรูปแบบมาตรฐานหลายแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3ประเภทคือ

1)แบบนิตยสาร เป็นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือนนิตยสาร คือ มีการใช้ภาพหรือองค์ประกอบเรขศิลป์อื่นๆ ขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก ส่วนเนื้อหา ที่เป็นข่าวนั้นมีการประกอบเป็นส่วนย่อย

2)แบบศูนย์ข้อมูล เป้นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือยศูนย์กลางหรือสารบัญที่บ่งบอกถึงเนื้อหาที่อยู่ภายในหน้าในของหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบนี้จะมีส่วนที่เรียกว่า “ทีเซอร์” (teaser) ซึ่งเป็นข้อความและถาพเปิดเผยเรื่องที่อยู่ในหน้าในว่ามีเรื่องเด่นอะไรอยู่หน้าใด ทีเซอร์นี้ทำหน้าที่เหมือนโฆษณาเนื่อหาภายในของหนังสือพิมพ์ในวันนั้นๆ ตำแหน่งของทีเซอร์จะอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าแรก คือ บน ล่าง ซ้าย หรือขวา และไม่ตวรวางปะปนอยู่กับส่วนที่เป็นข่าวนอกจากรูปแบบมาตรฐานของหน้าแรกแล้ว ในอดีตยังต้องมีการกำหนดด้วยว่าจะมีการพิมพ์หน้าแรกเป็นสีหรือไม่ แต่ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะพิมพ์หน้าแรกเป็นสี่สีอยู่แล้ว ส่วนกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้กระดาษแบบเดียวกันทั้งหมดทุกหน้าทั้งฉบับ

4.รูปแบบของหน้าในรูปแบบของหน้าในของหนังสือพิมพ์ จะต้องมีการกำหนดจำนวนหน้า โดยจะต้องจัดให้มีจำนวนหน้าที่หาร 4 ได้ลงตัว บางครั้งอาจจะมีหน้าโฆษณาเพิ่อขึ้นมาใบบางวันก็ได้ แต่ส่วนที่เป็นเนื้อหาข่าวมักจะมีจำนวนเท่าเดิมในทุกๆ วัน นอกจากจำนวนหน้าแล้วจะต้องมีการกำหนดเรื่องการพิมพ์ว่าจะพิมพ์หน้าในหน้าใดบ้างเป็นสี่สี แล้วเลือกจัดคอลัมน์ต่างๆ ให้เหมาะสมว่าจะอยู่ในหน้าใด5. รูปแบบและขนาดตัวอักษรเนื่องจากความหลากหลายในประเภทเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์ ทำให้ดูเหมือนกับว่า จะต้องมีการใช้ตัวอักษรหลากหลายรูแปบบเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทเนื้อหาของข่าวแต่ละเรื่อง ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่ แต่หากมีการเลือกใช้รูปแบบของตัวอักษรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ทั้งในด้านประโยชนใช้สอย คือ อาจจะเกิดความสับสนและซับซ้อนในการอ่านและติดตามข่าว นอกจากนี้ยังจะมีผลทำให้ผู้อ่านไม่สามารถจับภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ เนื่องจากขาดความสม่ำเสมอในการออกแบบด้วยเหตุนี้ ก่อนจะทำการออกแบบ จึงควรมีการกำหนดรูปแบบของตัวพิมพ์ที่จะมีการนำมาใช้เอาไว้ล่วงหน้า โดยทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดไว้ใช้เพียง 1 รูปแบบเพราะย่อยไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ควรกำหนดไว้สักสองหรือสามรูปแบบเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น พร้อมกันนั้น ก็ควรจะมีการกำหนดลักษณะของการนำตัวพิมพ์ที่กำหนดไปใช้ด้วย เช่น กำหนดตัวพิมพ์เนื้อเรื่องซึ่งมีขนาดเล็กไว้สักสองรูปแบบ หรือกำหนดตัวพิมพ์หัวข่าวซึ่งมีขนาดใหญ่ไว้สักสามรูปแบบ เป็นต้นหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่อาจจะพัฒนาแบบของตัวพิมพ์ของตนเองขึ้นใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มมาจากในอดีตที่หนังสือพิมพ์ไทมส์ของประเทศอังกฤษได้สร้างตัวพิมพ์ ไทมส์ นิว โรมัน ขึ้นใช้ การพัฒนาแบบตัวพิมพ์ขึ้นใช้เป็นการเฉพาะจำให้ได้ลักษณะตัวพิมพที่เหมาะสมกับภาพรวมของการออกแบบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมเอกลักษณของหนังสือพิมพ์ให้เป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นด้วย แบบตัวพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจีการใช้ตัวพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจมีการใช้ตัวพิมพ์ไม่มีหัว หรือตัวตกแต่งบ้านในกรณีที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น ตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวหัวข่าว หรือหัวรองนอกจากรูปแบบของตัวพิมพ์แล้ว ขนาดของตัวพิมพ์ก็ควรจะมีการกำหนดด้วยทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นเช่นเดียวกันโดยขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพเนื้อเรื่องนั้นไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 9 พอยต์ ส่วนตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ นั้นควรจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 18 พอยต์เป็นต้นไป

6. แบบและจำนวนภาพประกอบภาพประกอบในหน้าในของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาพข่าว ซึ่งจะมีมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลือจากเนื้อหาข่าว ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถกำหนดจำนวนแน่นอนลงไปได้ลวงหน้า มักขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของข่าวในวันนั้นๆ จะมียกเว้นในส่วนที่เป็นคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่อาจจะมีการวางแผนได้นานกว่าส่วนที่เป็นข่าว ทำให้สามารถกำหนดลักษณะและจำนวนภาพล่วงหน้าได้

2. การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นไปตามการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ และหลักการออกแบบและระบบกริด และมีรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะ คือ เรื่องระบบกริด เรื่องสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ และเรื่ององค์ประกอบการจัดวางองค์ประกอบ ในส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ระบบกริดสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการออกแบบหนังสือพิมพ์ทุกฉบับจะต้องใช้ระบบกริดเพื่อใช้เป็นโครงสร้างและรักษาภาพรวมของหนังสือพิมพ์โดยจะต้องเริ่มด้วยการเลือกประเภทระบบกริดเสียก่อน โดยทั่วไประบบกริดที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ1.คอลัมน์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแบ่งออกเป็นคอลัมน์ คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า แต่มีความกว้างของแตละคอลัมน์เท่ากันหรือไม่เทากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นวางระหว่างคอลัมน์ และมีมารจินล้อมรอบ คอลัมน์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดเต็มแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความที่ไม่ต่อเนื่องกันยาวนัก และมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยกันสำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 6-11 คอลัมน แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 6 คอลัมน์ สำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 3-6 คอลัมน์ แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 4 หรือ 5 คอลัมน์

2. โมดูลาร์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยเส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบ โมดูลาร์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพหลายๆ ภาพอยู่ด้วยกันสูตรของการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น มีรูปแบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ จนเรียกได้ว่า เป็นสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ(layout formula) แยกออกเป็นหลายสูตร ดังนี้1. แบบแนวตั้ง (Vertical layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุด โดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเรียงกันเป็นคอลัมน์ในแนวตั้งต่อ ๆ กัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ความเรียบง่ายที่ช่วยให้ติดตามข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวันละพาดหัวที่เรียงกันเป็นแถวนั้นดูน่าหดหู่ จนบางครั้งก็พาดหัวที่เรียงต่อๆ กันนี้ว่าป้ายหลุมศพ (tombstone) ซึ่งในการออกแบบนั้นควรแก้ไขด้วยการปรับขนาดหรือรูปแบบี่พาดหัวที่เรียงต่อกันให้มีลักษณะแตกต่างกัน หรือแทรกภาพคั่นไว้บ้าง สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแนวตั้งนี้ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน แต่มีการปรับพาดหัวหรือภาพให้เป็นแนวนอนแทรกระหว่างตัวเนื้เรื่องที่เป็นแนวตั้ง2.แบบแนวนอน (horizontal layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเป็นแนวซ้อน ๆ กันและมีการใช้เส้นแบ่งข่าวเป็นเส้นตรงในแนวนอน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดี คือความเรียบง่ายี่ช่วยให้ติดต่มข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือน ๆ กันทุกวัน อย่างไรก็ตามสูตรการจัดองค์ประกอบแบบแนวนอนนี้มีความยืดยุนมากจนได้รับความนิยมใช้กันมากในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

3. แบบสมดุลสมมาตร (symmetrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษแล้ว จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะเหมือนกันหรือคล้ายกัน และดูมีน้ำหนักเท่าๆ กัน การจัดวางหน้าแรกในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าเชื่อถือ แต่ก็มีข้อเสียคือ ภาพรวมจะดูนิ่ง ไม่น่าตื่นเต้น อีกทั้งเป็นรูปแบบที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้วจะรู้สึกเหมือนเดิมซ้ำๆ กันทุกวันรูปแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนักในปัจจุบัน

4. แบบสมดุลอสมมาตร (asymmentrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาไม่เท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษจะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะต่างกัน และดูมีน้ำหนักไม่เท่ากัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา อีกทั้งเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้ว หน้าตาจะรู้สึกไม่ซ้ำๆ กันทุกวัน รูปแบบอสมมาตรนี้จึงเป็นที่นิยมใชค่อนข้างมากในการหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

5. แบบแบ่งสี่ (quadrants layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน และให้ความสำคัญเท่าๆกัน มีข้อดี คือ การให้ความสำคัญกับทั้งหน้ากระดาษไม่ใช่เพียงตอนบนของหน้าแต่ก็มีข้อเสียมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่ยืดหยุ่นในการจัดวาง อีกทั้งยังอาจสร้างจุดเด่นหลายจุดขึ้นมาแข่งกัน สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแบ่งสี่นี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นักในปัจจุบัน

6. แบบยืดโยง (brace) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะคล้ายตัวอักษรแอล (L) แล้วยึดโยงข่าว หลายๆ เรื่องกันด้วยการวางกลับไปกลับมาได้ ในปัจจุบันรูปแบบของหน้าแรกแบบยืดโยงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนัก7. แบบละครสัตว์ (circus)เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าว และองค์ประกอบที่เป็นภาพอย่างไม่เป็นทางการและคาดเดาไม่ได้ รูปแบบหน้าแรก ลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา แต่ก็มีข้อเสียคือ บางครั้งจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือแม้จะมีสูตรในการจัดวางองค์ประกอบที่เป็นทีนิยมใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่ารูปแบบในการจัดวางองค์ประกอบของหนังสือมีอยู่เพียงเท่านี้ หรือเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ไม่ได้ นักออกแบบมีอิสระที่จะเลือกทดลองรูปแบบใหม่ๆที่เห็นว่าเหมาะกับ หนังสือพิมพ์และผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นอกจากระบบกริดและสูตรในการจัดวางองค์ประกอบแล้ว หนังสือพิมพ์ยังมีส่วนประอบที่แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นในรายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบส่วนประกอบทีสำคัญแต่ละส่วน ดังนี้

1. หน้าแรกหน้าแรก คือ ส่วนของหนังสือพิมพ์ซึ่งผู้ดูเห็นและอ่านก่อนหน้าอื่นๆ และเนื่องจากผู้ที่ผ่านไปมานั้นเลือกซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพราะข่าวที่นำเสนอ สิ่งที่นักออกแบบจะทำได้ในการใช้หน้าแรกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็คือการเลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นหัวเรื่องหรือ พาดหัว และภาพอย่างชัดเจน ง่ายแก่การอ่านหรือดูรู้เรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็วนักออกแบบจะต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งปรากฎอยู่ในหน้าแรก ดังนี้

1.1) แถบชื่อและรายละเอียดของฉบับแถบชื่อ หรือ “หัวหนังสือ” ของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มักวางอยู่ที่ส่วนบนของหน้ากระดาษ โดยนิยมออกแบบเป็น 2 ลักษณะ คือ1) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ มาจัดเรียง โดยเน้นให้ดูมีระเบียบแบบแผน น่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา2) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้นๆ มาดัดแปลงให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยอาจจะออกแบบตัวอักษรพิเศษขึ้นมาเป็นชื่อหรือจัดองค์ประกอบให้เกิดเป็นตราสัญลักษญ์ประเภทตัวอักษร (logo)เพื่อเน้นให้เกิดความโดดเด่น และง่ายแก่การจดจำ หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจนำภาพลายเส้นง่ายๆ มาประกอบกับชื่อเป็นสัญลักษณ์ผลม(combination mark)ส่วนที่วันที่หนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่นั้น จะใช้ตัวพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่นักและมักวางอยู่ด้านล่างของแถบชื่อนอกจากชื่อของหนังสือพิมพ์แล้ว บางหนังสือพิมพ์อาจจะมีการจัดวางคำขวัญ (slogan)ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ ประกอบไปกับชื่อด้วย โดยคำขวัญนี้ก็จะเป็นตัวอักษร ขนาดเล็กวางอยู่ด้านบนหรือล่างของแถบชื่อ1.2) หัวข่าว หรือ “พาดหัว”เนื่องจากหัวข่าวหรือพาดหัวเป็นเสมือนจุดขายที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ การเลือกใช้ตัวอักษรที่จะมาเป็นหัวข่าวจึงต้องมีความพิเศษแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้า ทั้งในแง่ของขนาดซึ่งจะต้องมีความใหญ่เด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ทั้งหมด และยังจะต้องเลือกรูปแบบที่มีความโดดเด่นกว่าปกติด้วย โดยอาจจะเลือกเอาจากตัวพิมพ์ประเภทตัวไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง ซึ่งมีสำเร็จรูปอยู่มากมายหลายพันแบบ หรืออาจจะมีการออกแบบตัวพิมพ์สำหรับหัวข่าวขึ้นใช้เองเป็นพิเศษสำหรับ หนังสือพิมพ์นั้นๆ โดยเฉพาะก็ได้ขนาดของหัวข่าวก็ควรมีขนาดที่เห็นได้ชัดจากระยะไกล มีขนาดมากกว่า 100 พอยต์ขึ้นไป จนอาจมีความสูงถึง 1-2 นิ้ว และมักนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเส้นหนาหรือ เส้นหนามาก ทั้งนี้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวนี้อาจจะมีสีที่แตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้าแรก เช่น ตัวพิมพ์เนื้อเรื่องปกติเป็นสีดำ อาจจะใช้พิมพ์ที่เป็นหัวข่าวเป็นสีน้ำเงินเป็นต้นนอกจากสีของตัวอักษรเองแล้วก็อาจจะใช้สีของพื้นหลังของตัวพิมพ์มาเพื่อแยก หัวข่าวนั้นให้โดดเด่นออกจากส่วนอื่นๆ โดยอาจจะเป็นการใช้สีง่ายๆ เช่น การเปลี่ยนพื้นหลังเป็นสีดำและตัวอักษรเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีเขียว เป็นต้นในส่วนของการจัดวางนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของหัวข่าวหรือพาดหัวของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ ชุดหัวข่าว ซึ่งเป็นหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาว 1 บรรทัด และชั้นหัวข่าว คือหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัดขึ้นไป ทั้งนี้ในการเรียนแบบชั้นหัวข่าวนั้น ตัวอักษรในแต่ละบรรทัด ไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดเดียวกัน อาจจะมีบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งใหญ่กว่าบรรทัดอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเน้นคำหรือวลีที่เห็นว่าน่าจะเป็นจุดสนใจได้การปรับแนวบรรทัดสำหรับพาดหัว มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้การจัดวางพาดหัวทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้1.2.1)

แบบแบนเนอร์ (banner) หรือ “หัวยักษ์พาดตลอดน้า” คือ การจัดวางแบบพาดหลายคอลัมน์ หรือตลอดแนวคอลัมน์ที่เป็นข่าวเรื่องนั้นๆ การวางแบบนี้พบเห็นได้บ่อยที่สุดและเหมาะกับการใช้วางพาดหัวข่าว 1.2.2)

แบบคิดเคอร์ (kicker) หรือ “หัวพาดนำ” คือ การจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดนำซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าบรรทัดหลัก การวางแบบนี้มักใช้กับเครื่องพิเศษในฉบับ1.2.3)

แบบแฮมเมอร์ (hommer) หรือ “หัวพาดนำใหญ่” คือการจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองที่เป็นบรรทัดรอง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษนฉบับ1.2.4)

แบบแสลมเมอร์ (slemmer) คือ การจัดวางแบบ 2 ตอนในบรรทัดเดียวกัน โดยแต่ละตอนใช้ตัวพิมพ์ที่มีความหนาแตกต่าง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษในฉบับเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.5)

แบบไทรพอต (tripod) หรือ “หัวแบบสามแยก” คือ การจัดวางแบบมีบรรทัดหลัก 1 บรรทัด แล้วตามด้วยบรรทัดรอง 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองและสามที่เป็นบรรทัดรองการวางแบบนี้มักใช้กับเรืองพิเศษในฉบับ1.2.6)

แบบรอว์ แวรบ (raw wrap หรือ Dutch wrap) คือ การจัดวางแบบหลายบรรทัดโดยบีบข้อความพาดหัวทั้งหมดให้อยู่ในคอลัมน์ การวางแบบนี้มักใช้กับการใช้วางพาดหัวข่าว และเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.7)

แบบไซด์ แซดเดิล (side saddle) คือ การวางแบบนี้คืการใช้วางพาดหัวข่าวละเรื่องพิเศษในฉบับ1.3) หัวรองหัวรองเป็นข้อความสำคัญเพื่อดึงความสนใจและชี่นำเนื้อหาของข่าว คือทำหน้าที่เดียวกับการพาดหัว แต่ใช้สำหรับข่าวสำคัญรองลงมาดังนั้นตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นหัวรอง จังเป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่าพาดหัวข่าวได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องอย่างเห็นได้ชัดส่วนการจัดวางหัวรองนั้น ใช้หลักเดียวกันกับการจัดวางพาดหัว คือ ทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น แบบแบนเนอร์ แบบคิคเคร์ ฯลฯ1.4)

ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าว หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะเลือกนำเสนอส่วนประกอบขงข่าวเด่นทั้งหมด คือทั้งพาดหัวและตัวเนื้อเรื่องทั้งหมดในหน้าแรก แต่บางครั้งหนังสือพิมพ์อาจจะนำเสนอข่าวหลายๆ ข่าว โดยทุกข่าวจะมีพาดหัวและมีตัวเนื้อเรื่องส่วนหนึ่งในหน้าแรกเพื่อทำหน้าที่เหมือนเกริ่นนำข่าวเทานั้น แล้วจึงนำเสนอเนื้อข่าวันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าอื่น ๆรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเนื้อเรื่องนี้ เหมือนกับเรื่องตัวเนื้อเรื่องในหน้าในของหนังสือพิมพ์ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป1.5)

ภาพประกอบข่าว ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นไม่เหมือนกับภาพถ่ายในสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น หนังสือหรือนิตยสาร กล่าวคือ ภาพประกอบในสิ่งพิมพ์อื่นๆ นั้นนักออกแบบสามารถกำหนดหรือออกแบบตามจินตนาการแล้วมอบหมายให้ช่างภาพไปถ่ายภาพตามที่กำหนดไว้ได้ แต่ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นเป็นภาพข่าว ซึ่งหมายถึงว่า นักออกแบบไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าภาพจะมีลักษณะและคุณภาพเป็นอย่างไรดังนั้นการที่จะวางแผนล่วงหน้าที่จะใช้ภาพในลักษณะที่จะตัดเอาพื้นหลังออก หรือมีกรอบรูปเป็นรูปวงรี ฯลฯ นั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากจะทำได้ภาพทีใช้จึงมักมีลักษณะเป็นภาพในกรอบสี่เหลี่ยมธรรมดาสิ่งที่นักออกแบบจะมีส่วนในการตัดสินใจเกียวกับภาพถ่ายได้ ก็คือ เรื่องของขนาดและสัดส่วนของภาพว่าควรจะมีการย่อยหรือขยายภาพให้ใหญ่หรือเล็กมากน้อยเท่าใด หรือจะวางสัดส่วนของกรอบภาพให้เป็นสี่เปลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมฝืนผ้าที่กว้างยาวเท่าใดสำหรับภาพประกอบในลักษณะอื่นนั้นที่ไม่ใช่ภาพถ่าย จะไม่ค่อยนิยมใช้ในหน้าแรกนักข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับภาพประกอบในข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) เลือกใช้ภาพถ่ายจากเหตูการณ์จริงมากกว่าภาพที่จัดฉากถ่ายขึ้น2)ภาพที่มีทิศทางควรจะหันเข้าสู่ส่วนตัวเนื้อหาข่าวี่เกี่ยวข้องกับภาพนั้น เช่นภาพคนเหลือบตาไปทางขวา (ของผู้อ่านหนังสือพิมพ์)ก็ควรส่วนตัวเนื้อข่าวไว้ทางด้านขวาของภาพ เป็นต้น3) ภาพใหญ่ภาพเดียวมักจะดีกว่าการใช้ภาพเล็กสองภาพ4)

เมื่อวางภาพหลายๆ ภาพไว้ด้วยกัน ควรจัดวางภาพเด่นให้มีขนาดใหญ่เดนกว่าภาพอื่นๆ ไม่ควรวางเป็นภาพขนาดเท่าๆ กันหมด5) ควรปรับขนาดภาพในหน้าเดียวกันให้แตกต่างกันนอกจากภาพประกอบข่าวแล้วบงครั้งก้อาจจะมีข้อความเพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพมากขึ้น เรียกว่า คำบรรยายภาพ ซึ่งคำบรรยายภาพมักจะใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างกันไปจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น อาจจะใช้ตัวเอียง หรือตัวหนา เป็นต้นคำบรรยายภาพจะต้องวางติดกับภาพเสมอ โดยสามารถเลือกวางคำบรรยายไว้ได้หลายตำแหน่ง ดังนี้1)

ด้านล่างของภาพ ใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว2) ด้านข้างของภาพ หากวางด้านซ้ายของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดขวา หากวางด้านขวาของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดชิดซ้าย3) วางระหว่างภาพ เมื่อมีภาพประกอบข่าว 2 ภาพวางคู่กัน อาจเลือกวางคำบรรยายภาพทั้งสองไว้ตรงกลางระหว่างภาพใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงเต็มแนวข้อสังเกตและข้อแนะนี่เกี่ยวกับคำบรรยายภาพในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ควรวางคำบรรยายภาพไว้ติดกับภาพเสมอ2) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านข้างของภาพ ควรกำหนดให้คำบรรทัดมีความกว้างอย่างน้อย 6 ไพก้า3) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านล่างของภาพ ควรกำหนดให้บรรทัดมีความกว้างเท่าๆ กับความกว้างของภาพ และห้ามยาวยื่นเลยความกว้างของภาพออกไป แต่ให้ทำเป็น 2 บรรทัดแทน 1.6)

องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าแรกนั้น มักจะเป็นพวกเส้น เส้นล้อมกรอบ กล่อง หรือแรเงา ที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน ในบางครั้งอาจมีการใช้แผนภูมิหรือแผนผังบ้าง แต่ไม่ปรากฏบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม ก็มีหนังสือพิมพ์ที่ใช้แผนภูมิจำนวนมากในหน้าแรกและประสบความสำเร็จด้วยดี เช่น หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) ซึ่งสื่อสารข้อมูลในลักษณะแผนภูมิในรูปแบบต่างๆ อย่างสวยงาและดึงดูดความน่าสนใจ2.หน้าในหน้าในของหนังสือพิมพ์เป็นหน้าที่รวมความหลากหลายของข่าวประเภทต่างๆ โดยทั้วๆ ไปหนังสือพิมพ์จะแบ่งหน้าต่างๆ เป็นเรื่อง ๆ คือ นำข่าวที่เป็นเรืองเดียวกันมาไว้ในหน้าเดียวกัน เช่น หน้ากีฬา หน้าการศึกษา หน้าสังคม เป็นต้น สำหรับหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ต้องการจะเน้นเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษก็อาจจะแยกเรื่องนั้นๆ ออกมาเป็นอีกส่วน (section) ต่างหากก็ได้ การแบ่งหน้าในลักษณะนี้จะมีผลดีต่อนักออกแบบคือ จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ สามารถออกแบบให้ทั้งหน้าหรือทั้งส่วนนั้นกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวได้ นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการผลิตอีกด้วย การออกแบบหน้าในนี้จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆได้แก่2.1)

หัวข่าว หรือ “พาดหัว”ตัวอักษรที่จะนำมาใช้เป็นหัวข่าวในหน้านี้ก็ต้องมีขนาดใหญ่ตัวอีกษรที่เป็นตัวพิมพ์เนื้อเรื่องทั่วไปเช่นเดียวกันกับหัวข่าวในหน้าแรกเพียงแต่ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับในหน้าแรก เนื่องจากความจำกัดในเรื่องเนื้อที่ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องการจำนำเสนอมากประกอบกับข่าวในหน้าในไม่จำเป็นต้องเรียกร้องความสนใจ เท่ากับหัวข่าวในหน้าแรกนอกจากความแตกต่างจากเนื้อเรื่องในแง่ขนาดแล้ว ยังอาจสร้างความเด่นของหัวข่าวได้ด้วยเปลี่ยนรูปแบบของตัวพิมพ์ให้แตกต่างออกไป โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือเปลี่ยนสีตัวอักษรหรือสีพื้นหลังให้เด่นชัดขึนมาจากสีของกระดาษก็ได้การวางพาดหัวนั้นนิยมวางยาวพาดคอลัมน์ตลอดเนื้อหาของข่าวเรื่องนั้นๆ เช่น ข่าวนั้นกินพื้นที่ 4 คอลัมน์ ก็อาจจะวางพาดหัวยาวตลอด 4 คอลัมน์ก็ได้ การวางพาดหัวพาดข้ามคอลัมน์นี้จะช่วยให้ไม่ต้องวางตัวอักษรขนาดใหญ่หลาย ๆ บรรทัด ซึ่งจะยากแก่การอ่านและไม่ค่อยสวยงาม การพิจารณาว่าจะวางพาดหัวกี่คอลัมน์นี้มีหลักการง่ายๆคือ ยิ่งวางอยู่ในคอลัมน์ขึ้น ขนาดของตัวพิมพ์จะต้องยิ่งเพิ่มขึ้น เช่น พาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 1 คอลัมน์ อาจจะมีขนาด 20-40 พอยต์หากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 3 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 40-50 พอยต์ และหากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 6 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 50-70 พอยต์ เป็นต้นการปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวข่าวมักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับพาดหัวในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ขนาดของพาดต้งสัมพันธ์กับความสำคัญขงข่าว ข่าวยิ่งสำคัญพาดหัวยิ่งมีขนาดใหญ่ ข่าวที่สำคัญมักจะวางไว้ส่วนบนของหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้นพาดหัวขนาดใหญ่จังมักอยู่ที่ส่วนของหนังสือพิมพ์ด้วย ยิ่งต่ำลงมาพาหัวนิ่งจะเล็กลง2) ไม่ควรวางภาพหรือองค์ประกอบของเรขศิลป์อื่น ๆ ระหว่างพาดหัวกับส่วนเรื่องข่าวนั้นๆ3) ไม่ควรวางพาดหัวของข่าวสองเรื่องที่ติดกันด้วยตัวพิมพ์ขนาดเท่ากันเพราะจะทำให้ผู้อ่านคิดว่าเป็นพาดเดียวกัน2.2)หัวรองหัวรองมักจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเน้อเรื่องแต่เล็กกว่าหัวข่าว หัวรองแทรกอยู่ในส่วนเนื้อเรื่อง การวงหัวรองอาจจะพาดหลายคอลัมน์ก็ได้ รูปแบบของตัวพิมพ์บางครั้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้การปรับแนวบรรทัดหรับหัวรอง มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ 2.3) หัวต่อหัวต่อมกจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเนื้อเรื่องแต่เล็กว่าหัวข่าว มีขนาดใกล้เคียงกับหัวรอง โดยจะอยู่นำในส่วนเนื้อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อเรื่งที่ต่อมาจากหน้าแรกหรือหน้ในหน้าอื่น การวางหัวต่อมักจะไม่วางพาดหลายคอลัมน์ คือ จะเป็นหลายบรรทัดในคอลัมน์เดียวมากกว่า รูปแปปของตัวพิมพ์สำหับหัวต่อบางคร้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้ การปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวตอ มักนิยมเรียงชิซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้2.4) หัวคอลัมน์ประจำหัวคอลัมน์ประจำนี้ทำหน้าทีระบุชื่อของคอลัมน์และชื่อผู้เขียน มักนิยมใช้ตัวอักษรที่พิศษแตกต่างไปจากตัวอักษรธรรมดาที่ใช้ในส่วนประกอบอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยแจจะเป็นตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือบางครั้งอาจออกแบบเป็นตราสัญลักษณ์ เช่น อาจจะเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐขึ้นมาเป็นพิเศษและอาจจะมีภาพประกอบเล็กๆ ด้วยก็ได้ซึ่งภาพประกอบที่นิยมใช้กันมาก คือ ภาพของผู้เขียนคอลัมน์ประจำนั้น ๆหัวคอลัมน์ประจำนี้อาจจะอยู่ในส่วนต่างๆ ของหนังสือ เช่น ส่วนบันเทิง หรือ กีฬา ซึ่งแต่ละส่วนของหนังสือนี้ยังอาจจะมีการอยกกันด้วยตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วน (section logo) ซึ่งทำหน้าที่ระบุว่าเนื้อหาในส่วนนั้นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรในการออกแบบตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วนนั้นจะต้องคำนึงถึงภาพรวมของหนังสือพิมพ์ด้วย คือ ต้องออกแบบให้ดูแตกต่างกันในแต่ละส่วน แต่ก็ต้องมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ คือ ทุกๆ อันจะต้องดูเป็นชุดเดียวกัน ผู้อ่านสามารถระบุได้ว่าอยู่ในหนังสือฉบับเดียวกัน2.5)

ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาข่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นข้อความที่มีขนาดยาวที่สุด การเรียงจะเรียงเป็นคอลัมน์ตามระบบกริดที่ได้วางเอาไว้ คอลัมน์ของตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อหาข่าวนั้นบางครั้งก็เรียกว่า ขา (leg) โดยขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ก็ไม่ควรจะกว้างหรือยาวเกินไป เพราะจะมีผลต่อการอ่านง่ายในการกำหนดขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ จะต้องคำนึงถึงขนาดของตัวอักษรเป็นสำคัญ คือ ควรจะมีความกว้างแปรผันตามขนาดของตัวอักษร ตัวอักษรยิ่งเล็กคอลัมน์ยิ่งแคบ (บรรทัดสั้น) ตัวอักษรยิ่งใหญ่คอลัมน์ ยิ่งกว้าง (บรรทัดยาว) วิธีหนึ่งในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์คือ การกำหนดให้บรรทัดมีความยาวเป็นไพก้ากับ 2 เทาของขนาดพอยต์ของตัวพิมพ์ที่เลือกใช้ เชนหากตัวพิมพ์ใช้มีขนาด 12 พอยต์ ก็ควรให้บรรทัดยาวประมาณ 24 ไพก้า (12 พอยต์ x 2)เป็นต้น อย่างไรก็ตามนักออกแบบอาจไม่มีอิสระมากนักในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ เนื่องจากหน้าหนังสือพิมพ์มักจะถูกแบ่งตัวระบบกริดเป็นคอลัมน์ไว้แล้ว ซึ่งขนาดคอลัมนมักจะค่อนข้างแคบ ดังนั้นขนาดของตัวพิมพ์ที่เหมาะสมจึงเป็นขนาดที่ใหญ่นัก คือ ระหว่าง10-14 พอยต์ ตัวอักษรขนาดใหญ่ในคอลัมน์แคบอาจจะทำให้ช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างคาดูไม่สม่ำเสมอและลดทอนความอ่านง่ายลง ส่วนแบบของตัวอักษรที่เหมาะจะใช้เป็นเนื้อข่าวนั้น ภาษาไทยควรเป็นตัวพิมพ์แบบมีหัวและภาษาอังกฤษควรเป็นตัวพิมพ์แบบเซอริฟ และเนื่องจากตัวอักษรเนื้อข่าวมักมีขนาดเล็ก จึงควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษที่มีความสูงเอ็กซ์มากและมีความสูงเส้นทางบกและความสูงหางล่างสั้น และควรเลือกตัวพิมพ์ภาษาไทยที่มีความสูงระหว่างเส้นฐานและเส้นหลักมาก และส่วนที่เป็นสระบนและสระล่างนั้น เพราะจะช่วยให้ตัวอักษรดูมีขนาดใหญ่การปรับแนวบรรทัดสำหรับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมเรียงเต็มแนวคอลัมน์เสมอ แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้การเรียงชิดซ้าย เช่น คำบรรยายภาพ หรือ ภาพในกล่องข้อความ ที่แยกจากเนื้อข่าวเนื่องจากการเรียงตัวเนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นคอลัมน์ ดังนั้นนักออกแบบจึงมีทางเลือกในการวางภาพรวมของเนื้อหาแต่ละเรื่องในลักษณะต่างๆ กันได้ ตัวอย่างเช่น ตัวเนื้อเรื่องที่เรียง 1 คอลัมน์และสูง 12 นิ้วนั้น นักออกแบบสามรถเลือกที่จะแบ่งเนื้อเรื่องนี้ออกเป็นลักษณะต่างๆเช่น 2 คอลัมน์ๆ ละ 6 นิ้ว หรือ 3 คอลัมน์ ๆ ละ 4 นิ้ว หรือ 4 คอลัมน์ ๆ ละ 3 นิ้ว หรือ 5 คอลัมน์ๆ ละ 2.4 นิ้ว หรือ 6 คอลัมน์ๆ ละ 2 นิ้ว การใช้คอลัมน์น้อยๆ และความสูงหรือลึกมาก จะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ในขณะที่การใช้คอลัมน์หลายๆ คอลัมน์และความสูงหรือเล็กน้อยจะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอนตัวเนื้อเองที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวตั้งจะมีข้อดี คือ ดูสะอาดสวยงามและง่ายต่อการติดตามข่าว เนื่องจากเป็นการอ่านไล่จากด้านบนลงด้านล่างเพียงอย่างเดียวแต่ก็มีข้อเสียคือ หากมีความสูงหรือลึกมากๆ อาจจะทำให้เกิดความล้าทางสายตาในการอ่านและในการออกแบบนั้นจะยากในการวางพาดหัว เพราะจะต้องวางแบบ รอว์ แวรบ นอกจานี้หากมีการเรียงตัวเนื้อเรื่องเป็นแท่งสูงๆตลอดทั้งหน้าหนังสือพิมพ์จะทำให้ภาพรวมดูน่าเบื่อตัวเนื้อเรื่องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวนอนจะมีข้อดีคือ ดูสบายตาและหลอกตาว่าเนื้อข่าวสั้นกว่าที่เป็นจริง และแม้มีข้อดีในการในการวาง8พาดหัวได้หลายๆแบบในกรณีที่ไม่สามารถเรียงเนื้อหาของข่าวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าได้ เนื่องจากต้องมีที่สำหรับวางภาพ หรือพื้นที่โฆษณานักออกแบบควรจะพยายามวางให้เนื้อหาทั้งหมดเกิดเป็นภาพรวมที่เรียบง่ายที่สุดหรือใกล้เคียงสีเหลี่ยมผืนผ้าที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ไม่ควรวางเนื้อหาเป็นคอลัมน์ที่มีความสูงแตกต่างกันหลายๆ คอลัมน์ต่อๆ กัน และไม่ควรนำเอาภาพหรือพื้นที่โฆษณาขนาดใหญ่มาคั่นระหว่างส่วนตัวเนื้อข่าวเรื่องเดียวกันส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของตัวเนื้อเรื่องเรียกว่า “ข้อความในเรื่องยกมาโปรย (lift-out) หรืออัญพจน์ (quote) ซึ่งหมายถึงคำพูดเด่นๆ ของบุคคลในข่าว เนื้อหาส่วนนี้ต้องแยกออกมจากส่วนตัวเนื้อเรื่องอย่างเด่นชัด โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่หรอหนา หรือใช้ตัวพิมพ์แบบอื่นเป็นพิเศษ นอกจานั้นยังอาจจะใสภาพถายขนาดเล็กของผู้ที่เป็นเจ้าของคำพูดประกอบด้วยก็ได้ ส่วนตำแหน่งที่วางนั้น ไม่ควรจะวางปะปนไปกับส่วนตัวเนื้อหาอย่างสะเปะสะปะ แต่ควรอยู่ในตำแหนงที่เฉพาะเจาะจง เช่น อยู่ติดกับภาพ อยู่ด้านบน ล่าง ซ้าย หรือขวา ของส่วนตัวเนื้อเรื่อง เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีส่วนที่อาจจะดูไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญอย่างมาก คือ ส่วนชื่อเจ้าของผลงาน (byline) ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุชื่อผู้เป็นนักขางและช่างภาพในกรณีที่มีภาพ ส่วนนี้จะนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น ใช้เป็นตัวหนาหรือตัวเอน แต่ไม่นิยมใช้ให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องมากนัก โดยใช้ข้อความสั้นๆ ว่า “โดย (ชื่อผู้สื่อข่าว).” และอาจมีชื่อสำนักข่าวประกอบอยู่ด้วยก็ได้ ส่วนชื่อเจ้าของผลงานนี้มักจะวางไว้ตอนบนต่อจากพาดหัว หรือหัวต่อ หรือหัวรอง หรือไม่ก็จะวางไว้ตอนท้ายหลังจากจบส่วนตัวเนื้อเรื่องของข่าวนั้นๆ แล้วข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับการเลือกแบบ และการจัดวางตัวเนื้อเรื่องในหนังสือพิมพ์ ดังนี้1) ตัวเนื้อเรื่องที่ดีนั้น ควรจะมีความสูงหรือลึกไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และไม่ควรมากกว่า 12 นิ้ว2)

โดยทั่วไปแล้วขนาดความกว้างของคอลัมน์ที่ง่ายแก่การอ่าน ไม่ควรจะน้อยกว่า 10 ไพก้า และไม่ควรจะกว้างกว่า 20 ไพก้า3) ควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเอน ตัวหนา หรือตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษอื่นๆ ในจำนวนน้อยคือ ใช้สำหรับส่วนที่ต้องการเน้นให้แตกต่างจริงๆ เท่านั้น4) ตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 พอยต์ จะยากต่อการอ่าน จึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันมากนัก และไม่ควรวางบนพื้นที่สีพิมพ์สกรีนเทา เพราะจะยิ่งทำให้อ่านยากยิ่งขึ้นอีก2.6)

พิมพ์ลักษณ์พิมพ์ลักษณ์เป็นส่วนประกอบที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในหนังสือพิมพ์นั้น ๆปกติแล้วมักใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กเช่นเดียวกับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมใส่กรอบแยกออกจากตัเน้อเรื่อง หรือวางพาดตลอดแนวยาวด้านล่างของหน้า ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่หน้าในหน้าแรกหรือหน้าสุดท้าย

2.7 ภาพประกอบข่าวดังได้กล่าวไปแล้ว การใช้ภาพถ่ายในการอกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบอาจะไม่ได้มีบทบาทมากนักเมื่อเทียบกันการออกแบบในสิ่งพิมพ์อ่นๆ อย่างไรก็ตามการใช้ภาพถ่ายในหน้าในของหนังสือพิมพ์นี้ นักออกแบบมีอิสระที่นำมาใช้ได้อย่างมีลูกเล่นมากกว่าในหน้าแรก เนื่องจาเนื้อข่าวบางเรื่องเป็นเรื่อที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้า ทำให้นักออกแบบมีเวลี่จะเลอกและนำภาพถ่ายนั้นมาปับปรุงหรือตกแต่งให้มีรูปบบที่พิเศษขึ้นจากภาพสี่เหลี่ยมธรรมดาภาพถ่ายส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเป็นภาพในแนวตั้งและภาพในแนวนอน เมื่อนำภาพถ่ายมาวางกับตัวเนื้อเรื่อแล้ว ภาพรวมของพื้นที่ข่าวทั้งหมดทั้งภาพและตัวอักษรควรจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้งหรือแนวนอนแล้วแต่ความต้องการภาพรวมของหน้าหนังสือพิมพ์ภาพถ่ายที่นิยมใช้ในกรณีที่ไม่มีภาพเด่นๆ เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวมาแสดง คือ มัคช้อท (mug shot) ซึ่งหมายถึง ภาพบุคคลครึ่งตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนรูปที่ใช้ติดบัตรต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพขนาดไม่ใหญ่ มักมีความกว้างเท่ากับคอลัมน์เดียวและมีคำบรรยายภาพระบุว่าบุคคลในภาพเป็นใครและอาจจะมีเนื้อความข้อมูลขยายอีกนิดหน่อยว่าเกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวอย่างไรตำแหน่งที่ดีของมัคช้อทคือที่ส่วนบนสุดของคอลัมน์คืออยู่เหนือพาหัวและตัวเนื้อเรื่องการวางภาพไว้ตรงกลางของตัวเนื้อเรื่อง อาจจะทำให้ผู้อ่านนึกว่าเรื่องนั้นๆ จบลงแล้วส่วนการวางภาพไว้ตอนล่างของตัวเนื้อเรื่องอาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าเป็นภาพโฆษณาหรือภาพของข่าวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนตำแหน่งการวางมัคช้อทในตัวเนื้อเรื่องที่จัดเรียงในลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแนวนอนนั้น สามารถจัดวางได้ทั้งคอลัมน์นางซ้ายสุด คอลัมน์ขวาสุด และคอลัมนตรงกลางนอกจากภาพถ่ายแล้ว นักออกแบบยังอาจจะมีเลาพอที่จะสร้างภาพประกอบในลักษณะภาพวาด หรือลักษณะอื่นๆ ขึ้นมาเพิ่มเติมจากการใช้ก็ได้นอกจากภาพประกอบข่าวแล้ว บางครั้งก็อาจจะมีคำบรรยายภาพ ซึ่งมีแนวางในการออกแบบเหมือนการใช้คำบรรยายภาพในหน้าแรก2.8 องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าในนั้นจะมีมกกว่ามนหน้าแรก ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบพวกเส้น เส้นล้อกรอบ กล่องหรือแรเงาที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน หรือแผนภิ หรือแผนผังต่างๆ ที่เป็นส่วนช่วยส่งเสริมเนื้อหาข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลประเภทสถิติต่างๆ ซึ่งยากตอการติดตามเมื่ออ่านเอาจากข้อความ3. เนื้อที่โฆษณาเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับในนิตยสาร คือ เป็นเนื้อที่มีผลกระทบต่อการออกแบบหน้ากระดาษมกกว่าเนื่องจากในเนื้อที่โฆษณาในนิตยสารนั้นมักจะเป็นการใช้เนื้อที่ทั้งหน้ากระดาษไม่มาเกี่ยวข้องหรือแทรกอยู่ระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อหาเหมือนอย่างในหนังสือพิมพ์ แม้ว่าในหนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะมีเนื้อที่โฆษณาเต็มหน้าก็ตามแต่ก็จะยังมีเนื้อที่โฆษณาแทรกอยู่กับส่วนที่เป็นเนื้อหาอยู่ดีเนื้อที่โฆษณานี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกจะเรียกว่าโฆษณาย่อย (classified advertiising) ซึ่งหมายถึงโฆษณาขนาดเล็กๆ รวมอยู่ด้วยกันทั้งหน้า คือ เป็นหน้าสำหรับโฆษณาโดยเฉพาะ ในกรณีนี้นักออกแบบจะไม่มีภาระในการแก้ปัญหาการจัดวางเนื้อที่ที่เป็นข่าว เพราะส่วนโฆษณานั้นได้แยกออกมาต่างหากแล้วส่วนลักษณะที่สอง เป็นเนื้อที่โฆษณาที่แรกอยู่กับสวนที่เป็นข่าวในหน้าแรก หรือหน้าในของหนังสือพิมพ์เนื้ที่โฆษณาลักษณะนี้เป็นสิ่งที่นักออกแบบหนังสือพมพ์ต้องคอยกั้ญหาเพราะเน้อที่โฆษณาในแต่ละวันนั้นจะแต่กตางกันเนื่องจากโฆษณาส่วนใหญ่ที่ลงในหนังสสือพิมพ์มักจะลลงเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เช่นหนึ่งหรือสองวัน โยจะต้องคอยรักษาสมดุลของส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นเนื้อที่โฆษณา เพาะเนื้อที่โฆษณาที่มีขนาดใหญ่ย่อมจะมีผลต่การดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไปจาเนื้อหาของที่นำเสนอในกรณีที่เนื้อที่โฆษณาเป็นตามขนาดมาตรฐาน คือ ขนาดเต็มหน้า ครึ่งหน้า เศษหนึ่งส่วนสี่หน้า จูเนียร์เพจ หรือแถบโฆษณา ก็จะไม่มีผลให้การจัดวางส่วนเนื้อขายากลำบากมากนัก เพราะพื้นที่ที่เหลือจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สามารถนำเอาส่วนเนื้อข่าวมจัดวางได้ไม่ยากส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาในการจัดวางจะเกิดขึ้นก็เมื่อมีการขายโฆษณาในลักษณะที่เป็น“คอลัมน์นิ้ว” คือกำหนดขนาดความกว้างของเสฃนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างที่คอลัมน์ ส่วนความสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ให้ในหน้ากระดาษมีโฆษณาขนาดเล็กๆหลายชิ้น นักออกแบบไม่ควรจะวางโฆษณาเล็กๆ เหล่านี้ให้กระจายปะปนไปกับส่วนเนื้อข่าวหรือเอาไปแรกไว้ระหว่างเนื้อข่าวเรื่องใดเรื่องแต่ควรจะจัดเอามาวางไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม โดยพยายามวางให้พื้นี่ที่เหลือจากเนื้อที่โฆษณามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากทำไม่ได้จะทำให้ พื้นที่ที่เหลือมีลักษณะเป็นขั้นบันได อันทำให้ต้องวางส่วนเนื้อข่าวเป็นขั้นบันไดไปด้วย ในกรณีนี้นักออกแบบควรจะพิจารณาไม่นำภาพประกอบข่าวใส่เข้าไปหากไม่จำเป็น เพราะจะยิ่งทำให้หน้ากระดาษแน่นไม่น่าดูยิ่งขึ้นไปอีก4. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ส่วนพิเศษส่วนนี้แม้จะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ แต่มีธรรมชาติของเนื้อหา รวมทั้งลักษณะทางการออกแบบเหมือนนิตยสารจนอาจจัดเป็นนิตยสารประเภทหนึ่งได้ การออกแบบจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการออกแบบนิตยสาร (บทที่ 7)โดยสรุป การออกแบบส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์จะต้องพิจารณาถึงเรื่องสำคัญสองเรื่อง คือ สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ และองค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในกาออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยในเรื่องของสิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์จะต้องเริ่มด้วย การศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ ตามด้วยการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ รูปแบบของปกหน้า รูปแบบของหน้าใน แบบและขนาดตัวอักษรพิมพ์ แบบและจำนวนภาพประกอบ ส่วนในเรื่ององค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบจะต้องพิจารณาถึงขนาดและรูปแบบขององค์ประกอบต่างๆ รวมถึงรูปแบบการจัดวางที่เหมาะสมในแต่ละหน้า


 

แนวทางการออกแบบ สัญรูป interface design

แนวทางการออกแบบ สัญรูป interface design

นวัตกรรมการออกแบบ ส่วนประสาน Interface Design ยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต

Mercedes Vision G-Code : The Jaguar C-X75

โจทย์ : ออกแบบ Icon – Index สำหรับ หน้าปัด ยานยนต์ ต้นแบบ นวัตกรรมแห่งอนาคต 5 แบบ 2 ทางเลือก โดย บังคับ 2 แบบ : icon สำหรับ ประหยัดพลังงาน Index : สำหรับ เตือนพลังงานหมด Mercedes-Benz-Vision_G-Code_Concept_2014_800x600_wallpaper_01 http://youtu.be/VW4kLFToFpA     http://youtu.be/6BrFD8KQ750 งานออกแบบ UI. Innovative Screen http://youtu.be/XVbuk3jizGM http://youtu.be/UTye-7t7ln4    

หลักการออกแบบ Web Design

สอน Web Design

Click Download file : Training สอนการออกแบบ Website ด้วย CSS. Stylesheet โปรแกรม Dreamweaver —- Setup 1. file > New // HTML5 2. ใส่ Title 3. Page Properties Setup : Font + BG.(imc.) + Headline ——– Layout 1. insert pannel (layout) > Draw Ap Div 1) ลากพื้นที่ logo 2). ลากพื้นที่ Menu Bar 3). ลากพื้นที่ Head-tilte 4). ลากพื้นที่ Section 2. ใส่ logo — Properties : + index 200 Px. + IP Name : logo   3. ใส่สีที่ Draw – Menu + ลดสีบาง + คลิกขวา – Quick Tag : เปลี่ยน <nav> </nav> + ที่ CSS – เปลี่ยนชื่อ nav 4. ใส่ Head-title + คลิกขวา – Quick Tag : เปลี่ยน <header> </header> + ที่ CSS – เปลี่ยนชื่อ header 5. ลดสีที่ Section + คลิกขวา – Quick Tag : เปลี่ยน <section> </section> + ที่ CSS – เปลี่ยนชื่อ section —– Position 1. Logo Proporties : L = 5% 2. Head Properties : + Index : 3 + L : 5% 3. Menu Bar Properties : + L : 5% + W : 90% 4. Section Properties : + W = 60% CSS : 1). Box > W. = 530 > Padding = 5 > Float = right 2). Position > Position : relative > index = 4 > Placement Top = 219px. right = 5% Add Properties : + Border radius 0/30/0/30 5. Body : Text CSS. BG. > BG. Attack = Fixed Add Properties > BG. Size = cover ออกแบบ Website  

แนวทางการออกแบบ Portfolio

ออกแบบ website

แนวทางการออกแบบ Portfolio

ให้ทำรูปแบบ Presentation และ Portfolio Print ตามนี้
การออกแบบ Profolio
การออกแบบ Profolio
1. ปก รูปแบบพัฒนามาจาก งานออกแบบ logo 2. Capture 01 : Design Brief 3. Capture 02 : logo design การพัฒนาต้นแบบ —ตัวอย่าง logo design 4. Capture 03 : ชุดกิจกรรม ภายในร้าน ความหมายของกิจกรรม (ให้ เกริ่นก่อนว่ากิจกรรมภายในร้านแบ่งเป็นกี่ประเภท) 5. Capture 04 : ชุดกิจกรรมที่ 1 : กิจกรรมซัก อบ รีด Icon : Portfolio Design 6. Capture 05 ชุดกิจกรรมที่ 2 : มุมพัก รอ Index : Icon Design ,Book Design 7. Capture 06 : การออกแบบ ชุดอัตลักษณ์องค์กร Corporate Identity : Heftys Burgers , CI 8. Capture 07 : ชุดการออกแบบ ป้าย Signage Design .Signage ,Roll up

การสร้าง Website ด้วย WordPress

การสร้าง Website ด้วย WordPress

Screen shot 2015-02-12 at 4.03.04 PM   ไปที่ wordpress com คลิก สร้าง website   Screen shot 2015-02-12 at 4.04.44 PM 2. ตั้งชื่อ ใส่ รหัสผ่าน ให้จำอยู่ 3 จุด สำคัญเวลากลับมาแก้ไข – User Name – eMail – Pass Word – ชื่อที่ตั้ง ก่อหน้า .wordpress.com 3,]. **** เวลา จะเข้ามาแก้ไข ให้ พิมชื่อ Web อย่างในกรณีภาพตัวอย่าง พิมตรง Web : www.tanndee.wordpress.com/wp-admin แล้วค่อยใส่ Usr Name & Pass Word   Screen shot 2015-02-12 at 4.05.24 PMScreen shot 2015-02-12 at 4.19.31 PM Screen shot 2015-02-12 at 4.06.07 PM ในขั้นตอนนี้ คือ ตั้งชื่อ หัว Web เรา ว่าเราต้องใช้ Keyword อะไร     Screen shot 2015-02-12 at 4.17.49 PM พอสมัครเรียบร้อย ให้คลิก ดังภาพ จะอยู้ซ้ายมือบน คลิกตามในภาพ หลังจากเลือก เว็บของฉัน จะมีแถบแก้ไข ด้าน ซ้ายมือ Screen shot 2015-02-12 at 4.19.41 PM +++ คลิก   Screen shot 2015-02-12 at 4.19.49 PM คลิก ด้านซ้ายบน เข้าสู่หน้า Dash Board Screen shot 2015-02-12 at 4.20.32 PM +++ คลิกรูปแบบ บลอค เพื่อเลือก theme Screen shot 2015-02-12 at 4.20.15 PM ++ คลิก คำว่า หน้า และเลือก หน้าทั้งหมด   Screen shot 2015-02-13 at 1.12.29 AM เข้าสู่หน้าทั้งหมด มีหน้าเริ่มต้นมาให้ คือ หน้า เกี่ยวกับ Screen shot 2015-02-13 at 1.12.39 AM นำ Mouse มา Over ตรงหัวข้อ เพื่อ เลือก แก้ไข Screen shot 2015-02-13 at 1.13.03 AM จะเข้ามาสู่หน้า แก้ไข หน้านั้นๆๆ Screen shot 2015-02-13 at 1.13.16 AM ครั้งต่อไปก็ เลือกที่ เขียน หน้าใหม่ ***ให้ Create หน้า ใน Web เราให้ครบ 5 หน้า …………………………………………………………………………………… การสร้าง Post หรือ เรื่อง   Screen shot 2015-02-13 at 1.13.26 AM ให้เริ่มต้นจาก สร้าง หัวข้อ หมวดหมู่ก่อน Screen shot 2015-02-13 at 1.18.15 AM Screen shot 2015-02-13 at 1.18.20 AM   จะพบ ค่าเริ่มต้น ตัวอย่าง คือ ไม่มีหมวด ให้ นำ Mouse ไป Over เพื่อเลือก แก้ไข Screen shot 2015-02-13 at 1.18.40 AM ในที่นี้ ตั้ง หมสดหมู่ว่า เครื่องดื่ม Screen shot 2015-02-13 at 1.19.14 AM กลับไปที่ เมนู เรื่อง เลือก เขียนเรื่องใหม่ Screen shot 2015-02-13 at 1.19.29 AM ในที่นี้ เขียนเรื่อง กาแฟ   Screen shot 2015-02-13 at 1.19.37 AM สุดท้าย ให้มา ติ้ก ในส่วนหมวดหมู่ที่เรา ตั้งไว้ ในขั้นตอน ตั้งชื่อ หมวดหมู่     ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, การนำ หมวดหมู่ ให้มาปรากฎใน web Screen shot 2015-02-13 at 1.23.47 AM ให้เลือกที่ เมนู : รูปแบบบลอค : วิคเจ็ค       Screen shot 2015-02-13 at 1.24.32 AM ให้ หา วิคเจ็ค ที่ชื่อ หมวดหมู่ และคลิก จะปรากฏ เมนูย่อย ถาม ว่าเราจเลือกใส่ ที่ ส่วนไหน ของ เว็บ     Screen shot 2015-02-13 at 1.25.15 AM ต่อมา ให้เลือก วิคเจ็ค ว่า คลังภาพ และใส่ Banner — Gif ที่เราทำ      

ทดสอบวิชา ออกแบบ website

ทดสอบวิชา ออกแบบ website

Link Download file Game : http://www.bangkokgraphic.com/bin-debug.zip   สำหรับ นักศึกษาเลขรหัส ลงท้าย เลขคี่ 1. วาด Sketch HUD. หรือ Window – Manu – icon ทั้งหมด ใน Game พร้อม เปรียบเทียบ วาด เปรียบเทียบ ตัวอย่าง จาก Game หรือ Web อื่น เช่น BusProject-Item เมนู และ window หน้า แรก เกม BusProject-TrainingByToon window หน้า เพิ่มทักษะในเกม 2. วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี ข้อเสีย โดยเฉพาะ งานออกแบบ และการเข้าถึงข้อมูล ของ Web : Nited ………………………………………………………………………………………………………………… สำหรับนักศึกษาเลข ลงท้าย เลขคู่ 1. วาด Sketch สถานที่ ดังในภาพ 443px-Statute_in_Front_of_Wat_Thai_in_Los_Angeles 504px-Bangkok_montage_2 788px-Chao_Phraya_Phra_Pradaeng_Mega_Bridge_2-edit 800px-Grand_Palace_Bangkok OLYMPUS DIGITAL CAMERA grand-palace Sathorn-Bang-Rak-from-the-Rhythm-Sathorn-6-210x210 Section-of-Buddhist-Temple-in-Bangkok-Thailand The-Memorial-Bridge-Bangkok-670x447 ** แล้วนำมา จัดวาง องค์ประกอบ Composition ขนาด แนวนอน หรือตามตัวอย่าง ในภาพ BG-Game ภาพตัวอย่าง หลังจากนำ มาจัดวางองค์ประกอบ ** ออกแบบ ธง เหรียญ ดังตัวอย่าง ในรูป Bus-LikeCoin ภาพตัวอย่าง งานออกแบบ ธง เหรียญ กำกับ สถานที่และ ระดับคะแนน   2. ให้นักศึกษาวิพากษณ์ วิจารณ์ หลังจากลองเล่ม เกม ถึงข้อดี ข้อเสีย หลังจากการเล่น โดยละเอียด ทั้งงานออกแบบ และความท้าทายในเกม

ประเภทของ HUD วิดีโอเกม

ประเภทของ HUD วิดีโอเกม

ประเภทของ HUD – Heads Up Display หริอ Status Bar ของเกม

assassins-creed-gameplay-hree ภาพประกอบที่ 12 User interface ประเภท Diegetic เกม Assassin’s Creed http://www.freegameswallpapers.com/assassins-creed-gameplay/) User interface ประเภท Diegetic จะปรากฎอยู่ในโลกของเกมที่มีทั้งลักษณะของ Fiction และ Geometry ดังนั้นผู้เล่นและ avatar ในโลกของเกมจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ interface ประเภทนี้ได้โดยการ มองเห็น การได้ยิน หรือการสัมผัส Diegetic ที่ออกแบบมาได้ดีจะช่วยเน้นการเล่าเรื่องเพื่อเสริมประสบการณ์ สำหรับผู้เล่น และทำให้ผู้เล่นรู้สึกมีส่วนร่วมและเข้าไปอยู่ในโลกของเกม เกม Metro 2033 ใช้ Diegetic อย่างสมบูรณ์แบบในการเล่าเรื่องของเกมโดยไม่ต้องอาศัย องค์ประกอบของ HUD โดยเกมนี้สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้เล่นรำคาญกับการตอบสนอง ที่ล่าช้าได้และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลไกของเกมนาฬิกาข้อมือ ของตัวละครใช้ในการวัดว่าหน้ากากที่ใช้ สำหรับกรองแก๊สพิษจะหมดอายุเมื่อใด มีหลายเกมที่เหมาะสมกับการใช้ Diegetic เพราะเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับอนาคต ตัวอย่างที่พบคือ เกม Syndicate เวอร์ชั่นล่าสุด ในกรณีที่เรื่องราวถูกกำหนดไว้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน องค์ประกอบของ User interface ที่เลือกใช้ อาจจะเป็นลักษณะของ Spatial (ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในภายหลัง) แทนการใช้ Diegetic เช่น ในเกม The DART จะใช้วิธีการไฮไลต์ที่ศัตรู และให้ตัวละครและผู้เล่นสามารถมองเห็น ผ่านที่กำบังได้ เกม Assassin’s Creed ก็ใช้รูปแบบของ Diegetic อย่างมาก แม้ว่าเรื่องราวจะเป็นการย้อนอดีตก็ตาม แต่ที่จริงแล้วผู้เล่นกำลังใช้ระบบเสมือนจริงในโลกอนาคต ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอนาคตมากกว่าเรื่องย้อนอดีต เกมจะใช้มุมสูงในการเน้นกลุ่มศัตรูและแหล่งเชื้อเพลิงของพวกเขา และผู้เล่นหรือตัวละครสามารถ มองเห็นในสิ่งเดียวกัน มีหลายกรณีเช่นกันที่ใช้ User interface แบบ Diegetic อย่างไม่เหมาะสม อาจเป็น เพราะผู้ออกแบบเกมอ่านลักษณะ geometry ของเกมไม่ออก หรือเพราะต้องการที่จะเบรกความเป็น fiction เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ แก่ผู้เล่น   2). Meta a href=”http://www.bangkokgraphic.com/wp-content/uploads/2015/03/Need-For-Speed-Hot-Pursuit.jpg”>Need-For-Speed-Hot-Pursuit ภาพประกอบที่ 13 Interface ประเภท Meta : Need for Speed http://technocola.com/2014/deals/need-speed-hot-pursuit-now-available-reduced-price-steam/) บางครั้ง User Interface ก็ไม่เหมาะสมกับ geometry ของเกม หมายความว่า นอกจาก User Interface จะมีส่วนช่วยในการเล่าเรื่องแล้ว ยังมีผลต่อการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ status ของผู้เล่นบนแถบระนาบ 2 มิติ (2D HUD plane) ด้วย และสิ่งนี้ถูกเรียกว่า Meta ตัวอย่างทั่วไปของ User Interface แบบ Meta คือ เลือดที่สาดกระจายบนหน้าจอในรูปแบบของการบ่งชี้ถึงสภาพของตัวละคร ดังเช่น ในเกม Call of Duty: Modern Warfare 2 ที่ปราฏกภาพเลือดที่สาดกระเซ็นบนจอภาพในส่วนของ 2D HUD plane เพื่อที่จะบอก ให้ผู้เล่นรับรู้ว่าตัวละครกำลังจะหมดพลังแล้ว ตัวอย่างการปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์ของตัวละครในเกม Grand Theft Auto 4 ก็เป็นอีกอันหนึ่ง ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการเลียนแบบปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง โดยคุณจะได้ยินเสียง โทรศัพท์ดัง จากนั้นจะมีการดีเลย์เล็กน้อยก่อนที่ตัวละครจะรับโทรศัพท์ แม้ว่า User Interface จะปรากฎ อยู่ในส่วนของ 2D HUD plane แต่ที่จริงแล้วมันคือ Meta และถึงแม้มันจะเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์แบบ Diegetic ก็ตาม ขณะที่ตัวละครกำลังรับโทรศัพท์ User Interface ที่แท้จริงจะอยู่ในส่วนของ 2D HUD plane ที่ผู้เล่นเห็นได้เพียงคนเดียวเท่านั้น Meta อาจจะระบุได้ยากถ้าปราศจากองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง เช่น ในเกมที่เกี่ยวกับกีฬาหรือการ แข่งขัน เช่นในเกม Need for Speed: Hot Pursuit ที่ทำให้รู้สึกว่ามาตรวัดความเร็วในส่วน 2D HUD plane น่าจะเป็น Meta เนื่องจากตัวละครของผู้เล่นซึ่งเป็นคนขับจะรู้ว่ารถวิ่งด้วยความเร็วเท่าไร และสิ่งนั้นก็ถือ เป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่อง องค์ประกอบของ HUD อื่น ๆ เช่น การบอกพิกัดหรือตำแหน่งยิ่งระบุว่าเป็น Meta ได้ยากขึ้นไปอีก โดยบางคนอาจจะมองว่ามันเป็น Meta เนื่องจากคนขับจะต้องมีข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่คนอื่น ๆ ที่เหลืออาจมองว่าเป็น Non-Diegetic ก็ได้   3). Spatial 6788863_orig าพประกอบที่ 14 Spatial UI. เกม Fable 3 (http://rfahy.weebly.com/interfaces-in-educational-games.html) User Interface แบบ Spatial จะถูกใช้เมื่อต้องการที่จะคั่นจังหวะการเล่าเรื่องอย่างแนบเนียน เพื่อที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เล่นโดยที่ตัวละครอื่นในเกมไม่รับรู้ Spatial จัดเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุในพื้นที่ หรือสิ่งแวดล้อมในเกมเพื่อช่วยดึงดูดให้ผู้เล่นรู้สึกมีส่วนร่วมและขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าถูกขัดจังหวะเนื่องจากเมนูอื่นที่โผล่ขึ้นมาบนหน้าจอ เกม Splinter Cell Conviction ได้ปรับใช้องค์ประกอบแบบ Spatial ในรูปแบบของการฉายภาพ ที่อธิบายถึงเป้าหมายในเกม แต่ขนาดของมันดูเหมือนจะเป็นอุปสรรค์ต่อความเป็น fiction เล็กน้อยเมื่อ เที่ยบกับตัวอย่างอื่น ๆ แต่การฉายภาพลักษณะนี้จะทับซ้อนกับสิ่งแวดล้อมอื่นที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้เล่น เกม Fable 3 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ Spatial ในการให้ข้อมูลกับผู้เล่นและป้องกัน ไม่ให้เขาหลุดออกจากแผนที่บนหน้าจอ เส้นทางที่บ่งชี้เกือบจะเหมาะเจาะพอดีกับความเป็น fiction ที่ให้ความ งดงามอย่างมหัศจรรย์ แต่ไม่ได้มีความหมายกับตัวละครในเกม หน้าที่ของมันเพียงแค่ช่วยชี้แนวทางไป สู่เป้าหมายต่อไปให้กับผู้เล่นเส้นทางที่ส่องเป็นประกายช่วยให้ผู้เล่นสามารถนำพาตัวละครของตนไปยังทิศทางที่ถูกต้อง Spatial อาจเป็นสิ่งที่งดงามเมื่อมันทำงานเข้ากันได้กับวัตถุอื่น ๆ ในพื้นที่ของเกม (geometry) spatial ในเกม Forza 4 แสดงให้เห็นถึงรูปแบบง่าย ๆ ที่ต่างจากคุณลักษณะที่มีมากมายของเกม 3D ความกลมกลืนทำให้เกิดทิศทางการออกแบบที่งดงามบน User Interface ของ Forza 4           4). Non-diegetic 1545040_orig ภาพประกอบที่ 15 Non-diegetic UI. : เกม World of Warcraft (http://rfahy.weebly.com/interfaces-in-educational-games.html) มีองค์ประกอบดั้งเดิมอีกแบบหนึ่ง คือ Non-diegetic ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่หลุดออกจากความเป็น fiction และ geometry อย่างสมบูรณ์และสามารถปรับมุมมองของพวกมันเองได้ แม้ว่า Non-diegetic มักจะได้รับอิทธิพลจากแนวทางการออกแบบของเกม องค์ประกอบแบบนี้น่าจะใช้ได้ดีที่สุดเมื่อองค์ประกอบ แบบอื่นๆ อย่าง Diegetic, Meta, และ Spatial มีข้อจำกัดที่ทำลายความแนบเนียน ความสอดคล้องกัน และความชัดเจนขององค์ประกอบของ User Interface เกม World of Warcraft ส่วนใหญ่ใช้ Non-diegetic นั่นคือ ผู้เล่นสามารถปรับเปลี่ยนเกมได้ตามความต้องการ องค์ประกอบของ user interface ส่วนใหญ่ของ World of Warcraft จะอยู่บนแถบ 2D HUD plane และองค์ประกอบอื่นบางส่วนจะอยู่ในพื้นที่ของการเล่นเกม เช่น ชื่อของผู้เล่นเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามตัวละครไม่ได้รับรู้ถึง User interface ใด ๆ สุดท้าย เกม Mass Effect 3 ใช้ User Interface แบบ Non-diegetic อย่างมาก เพื่อบอกกับผู้เล่น ว่าควรจะเลือกอาวุธ เพิ่มพลัง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไร