การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
GMS. Economic Cooperation Program โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนแบบคู่ขนาน ลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงประชากรโลกกว่าหลายสิบล้านชีวิต แม้พื้นที่กว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตรนี้จะอุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ ประมง และพลังงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ภาวะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในห้วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา กลับเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้คนในพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งอย่างที่ควรจะเป็น “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง” (Greater Mekong Subregion Program) หรือ “จีเอ็มเอส” จึงถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นตัวกลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐา นหลายแขนงที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศเขตหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ อันได้แก่ จีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย หรือสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก โดยโครงการนี้มีชื่อเต็มว่า GMS Economic Corridors หรือ ก็คือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน, ยกระดับการครองชีพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน, การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก เพื่อสร้างอนุภูมิภาคที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความปรองดอง และความมั่งคั่งตามวิสัยทัศน์ แผนงาน GMS ได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน 3 ด้าน ดังนี้ - สร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกันให้มากขึ้นผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ที่ยั่งยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (economic Corridors)
- เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ผ่านการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คน และสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมบูรณาการของตลาด กระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า
- สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community) ผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ถนน ทางด่วน หรือสะพาน มองเผินๆ อาจเป็นเพียงเส้นทางขนส่งเพื่อความสะดวกในการคมนาคม แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีเอ็มเอสตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เพราะถึงจะได้เปรียบจากเป็นเจ้าของธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ความหลากหลายของภูมิศาสตร์ในพื้นที่ กลับเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางระหว่างกัน จีเอ็มเอสจึงผุดไอเดีย “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridors) สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมพลังเศรษฐกิจที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ไปจนถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในพื้นที่
โดยแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่ - แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
- แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West EconomicCorridor)
- แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
- แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
- แผนงานซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)
- แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment)
- แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
- แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies)
- กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
- แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management)
- แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารในศตวรรษที่ 21 เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เ ห็นได้จากการจัดตั้ง “เครือข่ายข้อมูลเกษตรจีเอ็มเอส” (GMS-AINS Agriculture Information Network Service) ซึ่งจะมาในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า (E-trade platform) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอุปสงค์อุปทานสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ไปจนถึงระบบการชำระเงินซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทั้งอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นที่คาดการณ์กันว่าเวทีเกษตรบนโลกไซเบอร์แห่งแรกนี้ จะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป ในการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ทศวรรษที่ 3 ของจีเอ็มเอส ได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาใหม่ๆ ที่ขยายตัวออกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเส้นทางคมนาคม ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนพัฒนาภาคส่วนอื่นๆ อย่างมาตรการส่งเสริมคมนาคมและการค้าบริเวณชายแดนที่จะกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ และแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- สร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกันให้มากขึ้นผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ที่ยั่งยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (economic Corridors)
- เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ผ่านการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คน และสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมบูรณาการของตลาด กระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า
- สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community) ผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ถนน ทางด่วน หรือสะพาน มองเผินๆ อาจเป็นเพียงเส้นทางขนส่งเพื่อความสะดวกในการคมนาคม แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีเอ็มเอสตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เพราะถึงจะได้เปรียบจากเป็นเจ้าของธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ความหลากหลายของภูมิศาสตร์ในพื้นที่ กลับเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางระหว่างกัน จีเอ็มเอสจึงผุดไอเดีย “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridors) สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมพลังเศรษฐกิจที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ไปจนถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในพื้นที่
- แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
- แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West EconomicCorridor)
- แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
- แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
- แผนงานซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)
- แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment)
- แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
- แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies)
- กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
- แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management)
- แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)