พื้นที่เปิดและปิดในปรัชญาศิลปะสมัยใหม่

พื้นที่เปิดและปิดในปรัชญาศิลปะสมัยใหม่

แนวความคิดปรัชญาเบื้องหลังที่สำคัญที่ก่อให้เกิดสภาวะศิลปะสมัยใหม่

The Ideology of Philosophy to the Modernity of Art

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ 

อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

            บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเบื้องหลังแห่งปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติครั้งสำคัญ โดยเริ่มต้นที่ยุโรปเป็นการเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่ โดยเฉพาะวงการศิลปะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เรียกว่า “ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) เนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการรวบรวมแนวคิด ปรัชญา ของเหล่าบรรดานักปรัชญา นักวิชาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สำคัญ ได้มีบทบาทอยู่เบื้องหลังเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดภาวะการณ์แห่งศิลปะสมัยใหม่ที่จะเปลี่ยนแนวคิดด้านความงามหรือสุนทรียะไปตลอดกาล

            การเรียนรู้ เข้าใจ ต่อแนวคิดเชิงปรัชญาที่ให้คุณค่าทางมานุษยวิทยาจากรุ่นสู่รุ่น สำหรับการรวบรวมสาระในครั้งนี้จะชี้เห็นถึงทั้งมิติที่ส่งคุณค่า พัฒนาและมีอิทธิพลต่อกัน ตลอดจนมิติที่เป็นปัญหาในแต่ละชุดความคิดที่นำมาหักล้างหรือวิพากษ์กัน ที่ซึ่งทั้งคู่ต่างส่งผลเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์ที่งอกงามและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาแนวคิดในยุคสมัยต่อมาและเกิดผลกระทบในหลาย ๆ วงการ โดยเฉพาะการส่งผลต่อแนวคิดการทำงานด้านศิลปะ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในคุณสมบัติอันสำคัญของศิลปินที่จำเป็นต้องเรียนรู้ ความอ่อนไหวต่อบริบทในเหตุการณ์รอบ ๆ ตัว ได้นำมาถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะเปรียบเสมือนดังการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือ ภาพแทนความจริงแห่งยุคสมัย 

งานเขียนพื้นที่ปิดและเปิดทางการรับรู้ความจริงเชิงปรัชญา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามแนวทางดียวกันกับงานเขียนแบบกาดาเมอร์ว่าด้วยการมองแบบคู่ตรงข้ามเชิงนัยที่สัมพันธ์กันแต่แยกกันเพื่อให้เห็นมิติความเข้าถึงการรับรู้ความจริงอีกแบบหนึ่ง โดยผู้เขียนหยิบยกนักคิดที่เกี่ยวพันกับปรัชญาศิลปะสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ เพื่อการรับรู้ความจริงในงานศิลปะช่วงสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่อันเกี่ยวกับแนวคิดทางปรัชญาเชิงพื้นที่

ศิลปะการเดินทางได้ผ่านช่วงเวลาที่สำคัญ ๆ ในยุโรป ตั้งแต่อาณาจักรกรีก โรมันและยุคมืด สำนึกหรือมโนทัศน์ คำว่า “ศิลปะ” คือ เครื่องมือนำเสนอความจริงหรือที่เราเรียกว่า Respresentation ภาพแทนความจริง มาโดยตลอดจะด้วยความตื่นรู้ทางความรู้จากกรีกโบราณที่นักปรัชญาคนสำคัญทิ้งมรดกทางปรัชญาว่าด้วยการหาความจริง งานจิตรกรรม (Painting) ถูกนำเสนอคุณสมบัติของพระเจ้า การนำเสนอการค้นหาความจริง รูปแบบทางสมการจึงออกมาสู่สำนึกรู้ของคนยุโรปในยุคนั้นว่า ความรู้เท่ากับความดี ทุกครั้งที่ตัวปรัชญาถูกนำเสนอหรือทำงานนั่นคือ การพยายามค้นหาความจริงมาโดยตลอด เฉกเช่นในยุคดังกล่าวที่ยังไม่ได้นำ Natural ออกจาก Culture (มาแยกกันในช่วงยุคแห่งวิทยาศาสตร์ที่ต่างใช้เครื่องมือกันคนละแบบในการเข้าถึงความจริง) ฉะนั้นการได้มาซึ่งความรู้ คือ มีคำตอบจากการค้นหาสิ่งที่อยากรู้ เท่ากับความจริงและในบรรยากาศในยุคสมัยนั้น ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว คือ พระเจ้า ดังนั้นมโมสำนึกทางสมการของคนในยุคนั้น คือ ไม่สามารถเข้าใจต่อการแยกคำ 2 คำดังกล่าว ความรู้ = ความดี และมนุษย์เราต่างเชื่อความจริงผ่านการเห็น การพิสูจน์ที่ดีที่สุด คือ มาจากการเห็น ย้อนกลับไปขั้นตอนการเข้าถึงความจริงหรือความจริงหนึ่งเดียว = พระเจ้านั้น สมการต่อมา คือ ความจริง = การมองเห็นสำนึกทาง Visual Based จึงเป็นใหญ่ ดังนั้นงานศิลปะที่เล่าเรื่อง ถ่ายทอดคุณงามความดีของพระผู้    เป็นเจ้าจึงเท่ากับการนำเสนอภาพแทนนั่นเอง ภาพจะสามารถเข้าถึงความจริงได้นั่นเอง ภาพวาดจึงหนีไม่พ้นกิจกรรมทางการเมือง ผลงานจึงไม่อิสระจริง งานศิลปะต้องรอเวลาจนถึงช่วงต้น Realistic และกลุ่มลัทธิต่าง ๆ หลังช่วงสมัย Romanticism ที่มาพร้อมกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม สร้างชนชั้นใหม่ในช่วงเวลาแห่งทุนนิยม ผลที่ตามมา คือ สำนึกแบบปัจเจกบุคคล ฉะนั้นทำให้การตีความ สร้างความหมายของคำว่า ศิลปะจึงถูกตีความกันใหม่ อย่างที่ไม่เคยเป็นมีก่อน

การปะทะกันของแนวคิดที่เป็น Absolute ก็จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ แนวคิด Dialectic: วิภาษวิธีของแฮเกล แบ่งได้ คือ Thesis กับ Anti-Thesis การปะทะกันระหว่างความเชื่อ ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งหนึ่ง Absolute Mind  = Thesis เมื่อมาปะทะกันระหว่างความยึดถือกับอีกแนวคิดหนึ่ง Ani-Thesis เกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดสิ่งใหม่เราเรียกสิ่งนี้ว่า “ปรากฏการณ์” หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ไม่มีพลังอำนาจใดที่จีรังยั่งยืน

สิ่งที่เฮเกลพยายามอธิบาย สามารถเทียบเคียงได้กับช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่เป็นช่วงแห่งการปฏิวัติในยุโรปหลาย ๆ เหตุการณ์ อำนาจที่เคยยึดถือ เช่น ระบบกษัตริย์ Absolute Monarchy ถึงจุดหนึ่งจากการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ทุกอย่างก็ต้องคืนกลับมาสู่ภาวะหมดอำนาจ เปลี่ยนถ่ายอำนาจ ดั่งเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส ที่แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจที่แท้จริง ประชาชน กษัตริย์ คือ Thesis และประชาชน คือ Ani-Thesis สุดท้ายเมื่อมาปะทะกันในช่วงสมัยหนึ่งเกิดเป็นระบอบประชาธิปไตย คือ Synthesis ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นรากฐานที่สำคัญเป็นมรดกสู่แนวคิดที่ยิ่งใหญ่ในโลกที่เข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและหนึ่งในนักปรัชญาที่เห็นซึ่งปัญหาที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมทิ่งไว้ คือ แนวคิดแบบมาร์กซิสต์กับระบบลัทธิคอมมิวนิสม์ ที่ต่อต้านระบบทุนนิยม

เฮเกล กล่าวถึงจิตที่บริสุทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ Absolute of Spirit 

            คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ว่าด้วยปัญหาของระบบโครงสร้าง จากคำกล่าวคำสอนศาสนาคริส ว่าด้วย “จะไม่เกิดความจนขึ้นในหมู่คนขยัน” แต่สิ่งที่เป็นจริงทั้งระบบศักดินาที่เกิดขึ้นมาช้านาน คนขยัน = ชาวนา ยังคงลำบากเพราะต้องเช่าที่ดิน คำสอนที่พูดถึงจึงกลายเป็นเพียงยาแก้ไข้เพียงครั้งคราวปลอบใจให้ดำรงชีวิตอยู่ หาใช่เป็นการแก้ปัญหา ในประเด็นนี้ทำให้นักปรัชญาอย่าง มาร์กซ์ เกิดแนวคิดว่านักปรัชญาที่ผ่านมาศึกษาเพียงเพราะต้องการเข้าใจโลก แต่ มาร์กซ์ เห็นต่างความคิดของ มาร์กซ์ คือ การศึกษาวิชาการเพราะต้องการเปลี่ยนโลก ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้น คนขยันกลับไม่รวยสาเหตุเป็นเพราะระบบโครงสร้างที่ไม่เอื้อ มาร์กซ์ต้องการล้มล้างระบบศักดินา ในระบอบกษัตริย์และล้มล้างระบบชนชั้นในระบอบทุนนิยม จนเกิดแนวคิดองค์ประกอบแบบ มาร์กซ์ เป็นวงจรการได้มาซึ่งการแลกเปลี่ยนคุณค่า มาร์กซ์ ได้แบ่งเป็น C. = Community การผลิต ผลจากการผลิตทำให้เราได้เงิน จึงเป็น M. money 

ลัทธิวิทยาศาสตร์นิยม (Scientivism) 

ลัทธิ Positivism ของ ออกุสต์ คอมเต้ (Auguste Comte, ค.ศ. 1787-1857) เป็นปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีอิทธิพลทางความคิดต่อนักคิดกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อมั่นว่า วิทยาศาสตร์จะเป็นเครื่องมือแยกความจริงออกจากสิ่งแทน เพลโต การหาความจริง โลกทางกายภาพที่เคลื่อนไปหาความเสื่อม ฉะนั้นความจริงของ เพลโต คือ การหาความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง Absolute Object ต้องมีสารถะ (Essence) ที่แน่แท้ คือ Idealistic โลกแห่งแบบ เมื่อความจริงอยู่เหนือกาละและเทศะ ฉะนั้นสิ่งหนึ่งในกรีก คือ การหาภาพแทนที่อยู่เหนือโลกกายภาพแนวคิดหนึ่งที่โยงกันทั้ง 3 นักปรัชญาโลก โสเครติส-เพลโตและอริสโตเติล คือ Good Man เช่น ที่เกี่ยวโยงกับศิลปะ อาทิ การดูละครโศกนาฏกรรมจะทำให้จรรโลงมนุษย์ได้

สารัตถะ (Essence) ประการหนึ่งที่ว่า คือ หลักการทางคณิตศาสตร์ เช่น Organic Form เรขาคณิต 

งานศิลปะ William Blake Movement Romantic เกิดมาเพื่อมาต่อต้านเหตุผลนิยม Rationalism    รุสโซหรือยุค Enlightenment ยุคแสงสว่างแห่งปัญญา Romantic เลียนกับเหตุผลที่มากเกินไป อาทิ ในภาพนี้ คือ บุคคลในภาพคือ Sir Issac Newton สร้างบรรยากาศแบบลึกลับ บุคคลมีแสงรัศมีออกมาจากส่วนหัว เปรียบเสมือนแสงแห่งปัญญา แต่ไม่สามารถทำให้บรรยากาศหลังภาพช่วยให้สว่างตามไปด้วยได้ เฉกเช่นแนวคิดที่ Romantic ได้แสดงความลงตัว 2 เหตุผลที่มีผลต่อกัน 

ความรู้ทางตะวันตกอีกแบบคือ Objective Knowledge หมายถึง ความรู้ได้ปรากฎอยู่กับวัตถุอยู่แล้ว เป็นความรู้ที่เป็นสากล ฉะนั้นมนุษย์จำเป็นต้องออกไปค้นหาความรู้จากภายนอก อิทธิพลมาจากการล่าอาณานิคม ถูกดึงออกมาทั้งยุค เรอเนอซอง, Enlightenment – บาโรค , และ Romantic ช่วงปลาย อีกนัยยะหนึ่ง คือ ออกจาก Europe Centric, Human Centricism   

ความรู้แบบ Objectivism มาจากวัฒนธรรมการอ่าน (คิดค้นแท่นพิมพ์ กูเด็นเบริกส์ ใน ศตวรรษที่ 16) ได้นำความรู้ทุกอย่างมานำเสนอ นอกเหนือจากภาพเขียนรอยต่อดังกล่าวทำให้เห็นว่า สำนึกการหาความรู้ที่มาจากสายตาได้เป็นใหญ่มาตลอด แต่วิธีคิดแบบคนขาวเป็นใหญ่ยังอยู่ White Suprematism โดยเฉพาะยุคหลังศาสนา โดย ชาน ดาวิน ผู้ให้คำตอบทุกสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกพระเจ้าสร้างมา 

การเริ่มต้นแบ่งองค์ความรู้ ได้นำการศึกษาธรรมชาติออกจากวัฒนธรรม สูตร = วิทยาศาสตร์หาคำตอบความจริงในธรรมชาตินั้น คือ วัตถุวิสัย ส่วนนักมนุษย์ศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาวัฒนธรรม หน้าที่ คือ การศึกษาภาพตัวแทนการสื่อความหมายในแต่ละสังคมGeomatic Study หรือจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ คือ Worlding ส่วนการเข้าใจในวัฒนธรรม คือ Worldview ซึ่ง คือ อัตวิสัยและตรงกับงานงานเขียนที่นำเสนอแนวคิดของ เดสโคลา ว่าด้วย Ontology Turn การศึกษาโลกและกระบวนการสร้างโลกWorlding 

วิเวียโรส ดิ คาสโตร เสนอว่า Ontological Turn ในวิชามานุษยวิทยาเกิดขึ้นได้ด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1) วิกฤตของการสร้างภาพแทน (Crisis of Representation) ซึ่งเป็นวิกฤตที่วางอยู่บนความสั่นคลอนอันต่อเนื่องในโลกตะวันตก เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบทวิภาวะระหว่างเนื้อหาและวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ความคิดแบบโครงสร้างนิยมและภาษาศาสตร์ ได้ทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นองค์ประธานของ มนุษย์ถูกสั่นคลอนไปอย่างไม่อาจรื้อฟื้นกลับมาได้ ส่งผลให้ญาณวิทยาแบบเดิมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ เดส์การ์ตส์ (Descartes) เป็นสิ่งที่ต้องถูกตั้งคำถาม 2) การเกิดขึ้นของการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ซึ่งท้าทายการแบ่งแยกระหว่างวิทยาศาสตร์และสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แน่นอนว่า บรูโน ลาตูร์ (Bruno Latour ค.ศ.1947-2022) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เป็นคนสำคัญที่ริเริ่มแนวทางดังกล่าว และ 3) วิกฤตภายในวิชามานุษยวิทยาที่เริ่มมาตั้งแต่ที่ โคลด เลวี-สเตราส์ (ค.ศ. 1908-2009) นักมานุษยวิทยาและนักชาติพันธุ์วิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เสนอแนวคิดใหม่ในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มานุษยวิทยาแบบโครงสร้างนิยมเริ่มเปิดประเด็นเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของแก่นแกนที่ว่า ด้วยมนุษย์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง (Anthropocentrism) ซึ่งนำมาสู่การแยกระหว่างวัฒนธรรมกับธรรมชาติออก จากกัน ในฐานะที่มนุษย์เป็นสปีชีส์เดียวที่มีวัฒนธรรมและการศึกษาวัฒนธรรมก็เป็นเรื่องของการศึกษามนุษย์หรือมนุษยวิทยา

สำหรับ เดสโคลา แล้ว Ontological Turn คือ การศึกษาโลกและกระบวนการสร้างโลก (Worlding) ซึ่งหมายถึง “กระบวนการนำชิ้นส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เรารับรู้ในการสร้างโลกจึง สภาพแวดล้อมของเรามาประกอบกัน” เป็นกระบวนการทำให้ส่วนต่าง ๆ ที่มาประกอบกันเป็นโลกมีความเสถียรมากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ และโลกจะหมายถึง “จำนวนต่าง ๆ มากมาย ทั้งในเชิง Thing-in-itself แต่อัตภาวะเป็นเรื่องขององค์ประกอบและ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ถูกนำมาประกอบกันเป็นโลกและความเข้าใจที่มีต่อโลก ในแง่นี้การแยกระหว่างโลก การสร้างโลกและการรับรู้โลก จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะในระดับของภววิทยา เราสร้างโลกที่อาศัยอยู่และรับรู้ในแบบที่สร้างขึ้น ผลผลิตของการสร้างโลกและอัตภาวะของตนเองในโลกจึงไม่ใช่ “โลกทัศน์” (Worldview) ในแบบที่มักจะพูดถึงวัฒนธรรมและการสร้างภาพแทน (ซึ่งมักจะถูกนักมานุษยวิทยาเรียกว่า “ความเชื่อ”) แต่ผลผลิตกลับเป็นโลกใบหนึ่ง (a World) ที่รวมตัวของโลกและการรับรู้เกี่ยวกับโลกเข้ามาด้วยกัน

            เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund burke, ค.ศ. 1972-1797) นักปรัชญาชาวอังกฤษ กับสายตาเป็นใหญ่ตัวอย่างภาพทิวทัศน์ (Landscape) บทบาทมันถูกลดค่าเป็นเพียงส่วนประกอบในงานจิตรกรรม ในฐานะฉากหลังของเนื้อหาที่ว่าด้วยวรรคทองในไบเบิ้ลมานาน ในช่วงศิลปะรับใช้ศาสนจักร และศิลปะพึ่งมาเป็นพระเอกได้ในยุคบาโรคหรือยุคแสงสว่าง (Enlightenment) ที่ภาพทิวทัศน์ถูกแสดงตัวแบบเดี่ยวๆ สิ่งที่กำลังกล่าวถึง คือ ภาพทิวทัศน์มีผลต่อสายตาเพียงใดถึงขั้นที่เวลาเรามองทิวทัศน์จากโลกจริงแล้วเกิดความประทับใจ หลายครั้งเราก็หลงลืมตัวและอุทานไปว่า “มันช่างงามดังภาพวาด” ซึ่งในความเป็นจริงภาพวาดต่างหากที่ควรจะเอาธรรมชาติมาอ้างอิง ทำให้ เบิร์ก คิดคำที่นิยามปรากฏการณ์นี้ว่า “Picturesque” ซ่งก็ คือ เราใช้สายตาทำงานด้านการเข้าถึงความจริง ทำให้ตะวันตกผูกความรู้เข้ากับการมองเห็น เหตุผลที่ภาพทิวทัศน์เกิดขึ้นได้เพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ ภาพในเมืองที่หดหู่จึงทดแทนด้วยภาพทิวทัศน์

            ความมีชื่อเสียงสมัยเรอเนอซองจะมีสมาคมช่าง หรือ Gill เป็นตัวกำหนดโรงเรียนช่างเขียน ถ้าศิลปินไม่ได้เข้าเรียนจะไม่สามารถรับจ้างได้และไม่ได้รับชื่อเสียง การเข้าเรียนเปรียบเสหมือนการออกใบ Certificate กลาย ๆ ไมเคิล แองเจโล ก็มาจาก Gill นี้ สิ่งเหล่านี้ตระกูลเบนนิชิได้อยู่เบื้องหลังโดยทั้งสิ้น ทุกอย่างต้องวาดหรือระบายสีตาม Gill Master และต่อมาพัฒนามาเป็นหลักสูตรกลาง สกุลโบรอนย่าในอิตาลีมีโรงเรียน ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนเป็นการปกครองเป็นแบบสมบูรณาศิธิราช พระเจ้าหลุยส์ 14 มีแผนสร้างพระราชวังแวร์ซายส์ จึงต้องการแรงงานและศิลปินจำนวนมาก มีการจัดจ้างศิลปินประจำตัว เช่น ชาร์ลส์ เลอ บรุน (Charles Le Brun, ค.ศ. 1619-1690) จิตรกรชาวฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยที่ 14 ส่งไปศึกษาศิลปะที่อิตาลีเพื่อให้กลับมาวางรากฐานศิลปินที่ฝรั่งเศส เพื่อจัดทีมตกแต่งเนรมิตพระราชวังแวร์ซายส์ให้เป็นสถาบันการศึกษาของเลอ บรุน (Academy of Le Brun) ต่อมาได้กลายเป็นสถาบัน เอกอลเดโบซาร์ (École des Beaux-Arts) หรือโรงเรียนวิจิตรศิลป์ (School of Fine Arts) เป็นสถาบันที่ผลิตศิลปินชั้นยอดของฝรั่งเศส ซึ่งนักเรียนที่จบจากสถาบันแห่งนี้ค่อนข้างจะมีอิทธิพลกับการจัดแสดงที่ซาลง (นิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป) จะได้รับคัดเลือกรอบแรก ๆ ซึ่งในหอศิลป์ซาลงนั้นในแต่ละปีมีผู้ส่งผลงานมากกว่าแสนชิ้นจนเรียกได้ว่านอกจากได้แสดงผลงานแล้วยังมีรอบคัดเลือกวางระดับความสูงที่เห็นได้ง่ายอีก ศิลปินที่ได้รับสิทธิ์ถูกคัดเลือกแสดงผลงานดังกล่าวและพร้อมกับโอกาสที่หลากหลาย เช่น ชนชั้นสูงจนถึงผู้นำ ผู้คัดงานศิลปะและว่าจ้างศิลปินหรือได้รับใบอนุญาตเป็นศิลปิน Master ซึ่งสามารถเปิดสถาบันศิลปะของตนเองได้ ศิลปินที่เป็น Master จะส่งต่อลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงได้ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติเรียงลำดับได้ อาทิ 

ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด (Jacques-Louis David,  ค.ศ. 1748- 1825) จิตรกรชาวฝรั่งเศส หนึ่งในสถาบันสอนศิลปะที่มีชื่อเสียงในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 มีลูกศิษย์ที่โดดเด่น ได้แก่ ฌอง-ออกุสต์-โดมินิก อิงเกรส (Jean-Auguste-Dominique Ingres, ค.ศ. 1780-1867) จิตรกรนีโอคลาสสิกชาวฝรั่งเศสและส่งต่อมายัง ฌาคส์-ฟรองซัวส์ โอชาร์ด (Jacques-François Ochard, ค.ศ. 1800–1870) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ซึ่งต่อเป็นอาจารย์ในกลุ่ม Modernism ศิลปินคนแรก โคลด โมเนต์ (Claude Monet, 1840 -1926) ซึ่งขณะนั้นโมเน่ได้รับเทคนิคการระบายสีนอกห้องทำงาศิลปะ (StudioX ครั้งแรกจากออชาร์ดและมากบฏด้วยตัวของ โมเน่เองตอนหลัง (ไม่สานต่อเทคนิคของอาจารย์-สถาบันเหมือนที่ทำกัน) ซึ่งตอนนั้นบรรยากาศในฝรังเศสอยู่ช่วงศตวรราที่ 17-18 ตรงกับสมัย Enlightenment แบ่ง ดีเซนโย กับ คอโรเน่ (สีสัน การออกแบบ)

            ลักษณะงาน Impressionism ที่ให้กำเนิดศิลปะแบบ Modernist หนึ่งในการตัดขาดจากศิลปินเชิงสถาบัน ด้วยการแสดงสัจธรรมของเนื้อวัสดุมากกว่าเน้นแสดงเนื้อหาจนแยกไม่ออกว่าภาพเขียนเกิดจากเทคนิคใดในยุคก่อน สัจธรรมของวัสดุอย่างงานระบายสีเห็นเนื้อสีเป็นก้อน ๆ ได้ทิ้งรอยทีแปลงอย่างจงใจ ซึ่งงานสถาบันหรืองานในอดีตเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะสำนึกทักษะงานสถาบัน คือ สีและเทคนิคต้องหลบกระบวนการซ่อนตัวพยายามจงใจในการแสดงความหมายของ Subject เท่านั้น คือ จุดประสงค์งานจิตรกรรมที่ดี หรือเรียกได้ว่าต้องเก็บทีแปลงให้เรียบและการให้สี แสง จนแยกไม่ออกว่าภาพเหมือนจริงในงานจิตรกรรมนั้นทำมาจากเทคนิคอะไร หากมองในแง่ความคิดของนักปรัชญาการเคลื่อนไหว Movementในครั้งนั้น นักปรัชญาคนสำคัญอย่าง Immanual Kant และ David Home ในเรื่อง Idealisticที่กล่าวถึง Sensual of Knowledge เราเข้าใจวัตถุจากความคิดและจากความรู้สึกของตัวเรา ไม่ใช่ความเป็นวัตถุที่แสดงตัว (เปรียบกับงานสถาบัน) จากแนวคิดดังกล่าว ศิลปิน ลัทธิประทับใจ (Impressionism) ด้วยเทคนิคเปรียบได้ดังการเชิญชวนให้ดูงานศิลปะด้วยแก่นของรูปร่าง รูปทรง จริง ๆ ซึ่งปราศจากความรู้สึกเข้ามาแฝงให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมไปกับสัจธรรมของกระบวนการอย่างเทคนิคการปาดสี  ทีแปรงต่าง ๆ จนกระบวนการที่ตั้งใจปล่อยให้เห็นทีแปรง ก้อนสี กลายเป็นรูปร่าง รูปทรง ในที่สุด อีกทั้งค้านท์ยังได้พัฒนาสุนทรียศาสตร์ให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้นโดยถือว่า การตัดสินรสนิยมว่า “พอใจกับไม่พอใจ” มาจากอัตวิสัย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้หรือความจริง แต่การตัดสินเชิงสุนทรียะโดยนัยของค้านท์เป็นอัตวิสัยที่เป็นสากล (Subjective Universal) ใน Critique of Judgment ค้านท์ เห็นว่าความพึงพอใจ (Pleasure) มี 3 อย่าง ได้แก่ 1) ความพอใจจากสิ่งที่ทำให้เราพึงพอใจ (Agreeable) 2) ความดี (Goodness) ซึ่งมาจากการใช้เหตุและผลตัดสินและจำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งที่เราตัดสินว่าดี คือ อะไรหรือแยกแยะได้ 3) ความงาม (Beauty) ซึ่งเป็นการตัดสินที่ไม่อ้างอิงคุณสมบัติของตัววัตถุ แต่เป็นการตัดสินที่มาจากประสบการณ์ที่ปรากฏในความรับรู้ของผู้ชมหรือความเป็นสากลของความงามตามทัศนะของ ค้านท์ คือ การอนุมานว่า ผู้อื่นเมื่อเห็นวัตถุที่ว่างามย่อมเห็นพ้องอะไรบางอย่างที่งามใกล้เคียงกับเราจากคำกล่าวที่ว่า ปกติเราจะเอ่ยว่า “สิ่งนี้งาม” ไม่ไช่กล่าวว่า “สิ่งนี้ที่งามสำหรับฉัน”  

            ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังปรากฏในงานเขียน “Truth and Method” ของ ฮันส์-จอร์จ กาดาเมอร์ (Hans-Geoge Gardamer, ค.ศ. 1900 – 2002) นักปรัชญาสาขาศาสตร์ว่าด้วยการตีความชาวเยอรมัน กล่าวว่า วิถีของของการตัดสินเชิงสุมทรียะ คือ เราไม่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับวัตถุที่เราตัดสิน เพราะเป็นกระบวนการอัตวิสัย  ที่เกิดขึ้นในการสะท้อนคิดของผู้รับรู้เท่ากับศิลปะไม่ได้บอกความจริงอะไรเกี่ยวกับโลก สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่เน้นรูปแบบที่ตัดขาดจากบริบททางประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่แนวคิด “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่ถือว่าศิลปะมีสภาวะอิสระโดยไม่อิงวัตถุประสงค์หนึ่งใด ยิ่งไปกว่านั้นการทำให้สุนทรียศาสตร์เป็นอัตวิสัยยังทำให้มนุษยศาสตร์หรือวิธีการทางมนุษยวิทยาเป็นการศึกษาเชิงอัตวิสัยและด้อยกว่าวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่ามีภววิสัย ผล คือ ศิลปะกลายเป็นเพียงมายาและการสูญเสียสถานะความเป็นจริง

Way of Seeing: John Berger

            ความสำคัญของการมอง เรเน่ เดส์การ์ตส์  (René Descartes, ค.ศ. 1596-1650) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 16 เป็นหนึ่งของนักปรัชญาที่อยู่ในช่วงยุคสมัยแห่งการตื่นรู้ทางปัญญา (Enlightenment Era)    เดส์การ์ตส์ เป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมซึ่งมีบทบาทสำคัญให้แก่แนวคิดการเคลื่อนไหวแห่งยุคสมัยการตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ทุกอย่างล้วนขับเคลื่อนด้วยเหตุผล เหตุผลจะนำพามาซึ่งศีลธรรมความดีงามแก่มนุษย์ ในด้านความสำคัญของการมอง เดส์การ์ตส์ เชื่อว่า “การเห็น” มาก่อน “การมี” (ที่เป็นสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์) มนุษย์เราตรวจสอบจากการรับรู้ยืนยันด้วยการเห็นก่อน (ซึ่งแตกต่างกับนักปรัชญาก่อนหน้านี้หรือกลุ่มประสบการณ์นิยม) ซึ่งแบ่งเป็น 2 แนวติด 2 ลำดับ คือ First Philosophy เดส์การ์ตส์ ยึดมั่นในความมีเหตุผล ประสาทสัมผัสของมนุษย์ในเบื้องต้นยังเชื่อถือไม่ได้ เช่น เรามองเห็นช้อนบิดงอ เมื่ออยู่ในแก้วน้ำทั้งที่ความจริงช้อนมี รูปร่าง รูปทรง ตามปกติ ต่อมาแนวคิดแบบ Second Philosophy กล่าวว่า สุดท้ายเราก็ไม่อาจสงสัยในสิ่งที่เราเห็นได้อยู่ดี อิทธิพลของการรับรู้สิ่งรอบตัวด้วยวิธีการ “เห็น” ต้องยอมรับว่า มนุษย์เชื่อในการมองเห็นมาโดยตลอดดังคำกล่าวที่ว่า “การมองเห็นมาก่อนคำพูด” เพราะวิถีการมองสิ่งต่าง ๆ เป็นผลมาจากสิ่งที่รับรู้ทำให้เชื่อ หากกล่าวตามแนวคิดทางปรัชญาของ เดวิด ฮูม (David Hume, ค.ศ. 1711-1776) นักปรัชญาชาวสก็อต ศตวรรษที่ 18 ที่พูดถึงมนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลตามที่เข้าใจ มนุษย์เป็นทาสอารมณ์ เมื่อเกิดมาสิ่งแรกที่มีปฏิกิริยา คือ การรับรู้ว่า “ชอบไม่ชอบอะไร” ฉะนั้นสิ่งที่แยกแยะออกจากโลกภายนอกสู่สภาวะแห่งอัตวิสัย คือ อารมณ์ ทำหน้าที่     คัดกรอง จัดระบบสิ่งแรก คือ “การเลือก” ที่จะชอบไม่ชอบ ได้หล่อหลอมจนเป็นตัวเราในที่สุด จากแนวคิดนี้จึงสนับสนุน การรับรู้ผ่านการมองวัตถุใดๆในโลกที่เห็นล้วนมาจากส่วนคัดสรร สิ่งที่เลือกที่จะเชื่อถ้าหากเราเป็นคนยุคกลางเมื่อจะมองเห็นไฟสิ่งที่รับรู้ คือ นรก เพราะคำสอนของศาสนจักรได้ให้ข้อมูลแบบนั้นเป็นประสบการณ์ที่มีต่อไฟ 

            จะกล่าวได้ว่า เราเห็นเฉพาะส่วนที่มอง ฉะนั้นการมองเป็นการกระทำที่เกิดจากสิ่งที่เลือก เมื่อมองเห็นสิ่งหนึ่ง แปลว่าสิ่งนั้นอยู่ภายใต้ขอบเขตที่สายตามองเห็น การรับรู้ถึงบางสิ่ง คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับสิ่งนั้น มนุษยย์เราไม่เคยมองแค่สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวแต่จะมองถึงสัมพันธภาพระหว่างสิ่งต่าง ๆ กับตัวเองเสมอ บ่อยครั้งบทสนทนาที่พยายามจะบรรยายสิ่งที่มองเห็นนั่นยิ่งตอกย้ำถึงอัตวิสัยว่า เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างไร 

การเห็นอีกรูปแบบ คือ การเห็นงานศิลปะ จากแนวคิดที่มนุษย์เลือกรับรู้ตามอัตวิสัย แต่การปรากฏขึ้นของเนื้อหาในงานศิลปะถูกตั้งคำถามกับ “ภาพของโลก” หรือที่เราเข้าใจ ภาพเขียน คือ ภาพตัวแทนการเลียนแบบโลกจริง (Representation)  มิติการมองกับปรัชญาแนวคิดแบบวิทยาศสตร์สมัยใหม่ของ ฟิลิปป์ เดสโคลา, (Philippe Descola, เกิด ค.ศ. 1949) นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ว่าด้วย The Great Divide การสร้างความเป็นอิสระให้กับภูมิทัศน์ (Autonomy of landscape) ที่ซึ่งยุคทองที่ปรับการมองเห็นในโลกจริงแบบ 3 มิติ โดย 

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ Leon Battista Alberti, ค.ศ. 1404-1472) Leon Battista Alberti ศิลปิน สถาปนิกกวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา ฯลฯ ชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 15 ในยุคเรเนอซอง อัลเบอร์ติ สามารถแก้ปัญหาในเรื่องระนาบ 2 มิติได้ด้วยเทคนิค Linear Perspective กรอบแนวคิดเรื่องการรวมศูนย์ทางสายตายิ่งตอกย้ำทำให้งานศิลปะหรือสิ่งที่ปรากฏออกมาในงานศิลปะเป็นการปรับเปลี่ยนความจริงได้แยกตัวเราออกมา ในฐานะผู้ดูออกมาจากโลกภายนอก สำนึกหนึ่งที่ตามมา คือ การมองผ่านหน้าต่างของศิลปิน ภาพเขียนเป็นเพียงภาพที่ถูกกำหนดด้วยรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่แก้ไขภาพลวงตาที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัดของมนุษย์และเป็นการแก้ปัญหาความคิดที่กระจัดกระจายไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว เป็นมโนสำนึกในช่วงยุคการแก้ปัญหาเพื่อเน้นย้ำฐานคิดแบบพระเจ้าองค์เดียวในยุคเรอเนอซอง ต่อด้วยกระบวนการสถาปนารัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute State) และได้ดำเนินดำเนินเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 17 กระบวนการการใช้เครื่องมือทางศิลปะยังคงมีให้เห็นจนถึงในยุคสมัยใหม่เพราะอำนาจต้องการการปกครองแบบรวมศูนย์ (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2552)  

การสถาปนาความสมจริงดังกล่าวของพื้นที่ก็ทำให้ความคิดที่ว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่นอกจากตัวมนุษย์ และมนุษย์สามารถจำลองหรือสร้างภาพแทนเกี่ยวกับธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นคำว่าการสร้างความเป็นอิสระให้กับภูมิทัศน์จึงเป็นเรื่องการแย่งชิงระหว่างพื้นที่เปิด (ธรรมชาติ) พื้นที่ปิด (ตัวมนุษย์ที่เป็นฐานะผู้สร้างและผู้รับ) (เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, 2563) จากทัศนะของ กาดาเมอร์ (Gadamer, ค.ศ. 1900-2002) ในด้านศิลปะจากงานเขียน “Truth and Method” กาดาเมอร์ ได้เสนอให้พิจารณาศิลปะในฐานะเหตุการณ์ของความจริงแทนที่จะแบ่งระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ที่เป็นเงื่อนไขผูกมากับวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ ผลงานศิลปะเท่ากับรูปแบบกลไกเกม ศิลปินเป็นผู้ออกแบบกลไก กฎระเบียนในเกม (ศิลปะ) ผู้ชมเท่ากับผู้เล่นเกมจึงเป็นการตอบสนองระหว่างผู้เล่นกับเกม การเล่นมีความสำคัญในฐานะเป็นเบาะแสของวิถีในการแสดงออกของศิลปะเป็นการตอบสนองที่ไม่มีที่สิ้นสุด การเล่นยังมีความหมายมากกว่าการกระทำของผู้เล่น ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางอัตวิสัย หากแต่ผู้เล่นเองเป็นส่วนหนึ่งของเกม ศิลปะเปรียบเสมือนเกมที่ดึงดูดผู้เล่นเข้าไปมีส่วนร่วม คือ ไม่ได้เน้นที่ตัวผู้เล่นแต่เน้นที่ตัวการเล่นที่เกิดขึ้น ส่วนสารัตถะของงานศิลปะนั้น ความหมายของศิลปะไม่ได้อยู่ที่ความสำนึกรู้ของตัวศิลปินและผู้ชม หากแต่อยู่ที่งานศิลปะเอง เมื่อผู้เล่นเลือกที่จะเล่นก็จะทำให้พื้นที่ของการเล่นเป็นโลกที่ปิด แล้วผู้เล่นจะมีเสรีภาพที่จะใช้พื้นที่ปิดดังกล่าวอย่างเสรีในสภาวะอัตวิสัยอีกครั้งหนึ่ง (คงกฤซ ไตรยวงศ์, 2562) (คงกฤซ ไตรยวงศ์, 2562 On Truth ว่าด้วยความจริง. กรุงเทพฯ : บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด)  

ทัศนมิติดังกล่าวถูกนำมาพัฒนาเป็นศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ตัวอย่างศิลปิน Impressionist มองว่า สิ่งที่ตาเห็นไม่ได้นำเสนอเพื่อให้มนุษย์มองเห็นอีกต่อไป แต่ตรงกันข้ามสิ่งที่ตาเห็นได้เปลี่ยนแปลงเสมอกลายเป็นเพียงสิ่งชั่วคราวและด้วยอิทธิพลการถือกำเนิดของกล้องถ่ายรูป โดยเฉพาะกล้องภาพยนตร์เป็นสำนึกใหม่ของความเป็นจุดศูนย์กลาง โดยการกำหนดด้วยคณิตศาสตร์ได้ลดบทบาทลงในมุมมองนี้มนุษย์เท่านั้นที่ได้พัฒนามุมมอง ผู้ชม คือ จุดศูนย์กลางเดียวของโลกหรือพัฒนาเป็นทัศนมิติแบบจัดระเบียบ Visual Field เราสามารถยืนยันได้ด้วยงานของกลุ่มศิลปินบาศกนิยม (Cubist) สิ่งที่ตาเห็นไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า งานศิลปะแบบคิวบิสท์มีความพิเศษที่ใช้ประโยชน์จากแนวคิดเรื่องการพัฒนาทาง Visual Field ด้วยตัวของมันเองเปิดโอกาสให้คนดูรับรู้มิติของวัตถุที่อยู่ในงานซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่การจัดระเบียบมุมมองผู้ดู เช่น ภาพไวโอรินด้วยกระบวนการในการสร้างงานปีกัสโซ (ศิลปินเอกในกลุ่มศิลปะคิวบิสท์) ตั้งใจนำองค์ประกอบทั้งหมดของไวโอรินมาอยู่ในภาพซึ่งปกติการที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้นั้น ท้ายที่สุดผู้ดูซึ่งเป็นผู้ตัดสินถึงความสมจริงดังกล่าว อย่างไรก็ตามคนดูก็ได้ถูกกำหนดให้อยู่ตามกรอบการมองเห็นของศิลปิน การกำหนดขอบเขตที่นำมาเป็นต้นแบบและถ่ายทอดในเฟรมตามศิลปินเห็น แต่คิวบิสม์กลับสร้างงานอีกแบบที่นำองค์ประกอบของวัตถุเข้าในอยู่ในกรอบภาพแต่จัดองค์ประกอบแบบลูกบาศน์จึงทำให้องค์ประกอบแต่ละส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว คือ ส่วนที่พิเศษของคิวบิสท์ที่ท้าทายวิธีการมองใหม่ที่มากับสำนักแบบสมัยใหม่ หนึ่งในตัวเปลี่ยนหรือพัฒนามุมมองสำนึกในการมองภาพ จาก Linear Perspective ถึงสำนึกใหม่แบบ Visual Field หนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือ การถือกำเนิดของกล้องถ่ายภาพและภาพยนต์ ภาพเคลื่อนไหวและการพัฒนาของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำให้ผู้คนอ่านหนังสือได้มากขึ้น รับรู้ความเป็นไปของโลกรอบตัวได้ดีขึ้น วิเคราะห์มีเหตุผลในการเลือกได้ดีขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “บทบาทของสื่อ” สื่อเติบโตขึ้นก็เพราะคนเรายังเห็นตัวอักษรนำพามาซึ่งความรู้ ความเข้าใจและเห็นภาพที่นำเสนอได้โน้นน้าวให้เราเชื่อจากการเห็น ฉะนั้นบทบาทของการมองเห็นยังคงมีอิทธิพลต่อโลกสมัยใหม่ แต่โจทย์ใหม่ที่ท้าทายในโลกสมัยใหม่ คือ การนำผลงานศิลปะเคลื่อนย้ายมาใกล้เรามากขึ้นกว่าแต่ก่อนซึ่งเรียนสิ่งนี้ว่า “การผลิตซ้ำ” เราสามารถถือครองผลงานของ ดาวินซี ได้ด้วยนวัตกรรมการพิมพ์มาพร้อมกับสังคมแบบบริโภคนิยมและด้วยการผลิตซ้ำทำให้ผลงานศิลปะมีบทบาทใหม่จากแต่เดิมที่เป็นเครื่องมือภาพแทนความจริง ยุคสมัยใหม่ภาพศิลปะถูกนำมาใช้แทนสัญญะที่นำมาเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ตามที่คนนำมา เราเรียกภาพศิลปะในบริบทสมัยใหม่หรือบริโภคนิยมนี้ว่า “ภาษาภาพ” ทำให้นักปรัชญา เช่น วอลเตอร์ เบนจามิน (Walter Benjamin, ค.ศ.1892-1940)  นักปรัชญาชาวยิว ชาวเยอรมัน ได้เขียนความเรียงเรื่อง “ออร่า” คุณค่าในงานศิลปะอยู่ที่ใด ความเป็นออร่าในงานศิลปะขึ้นอยู่ความเป็นต้นฉบับของตัวงาน  ตัวอย่างผลงานของ เรเน่ แมกริตต์ (René Magritte, ค.ศ. 1898 – 1967) ศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ชาวเบลเยียมกับผลงานชื่อ “The Empire of Light” โดยวาดขึ้นถึง 27 ภาพ ในกรณีนี้จำนวนที่มากไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่การผลิตซ้ำ ฉะนั้นพอสรุป ออร่า ของเบนจามินได้ว่า ผลงานที่เกิดจากทักษะฝีมือมนุษย์นั้นมีคุณค่า แม้จะวาดงานคล้าย ๆ กันให้มีจำนวนหลายภาพ จะแตกแต่จากชิ้นงานที่เกิดจากเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณการผลิตคราวละมาก ๆ ความหมาย คือ ทุกครั้งที่เกิดจากการผลิตในมาตราฐานเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามมันไปลดคุณค่าของผลงานต้นฉบับเพื่อคนจำนวนมากหรือผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ด้วยราคาหรือจะเรียกโดยสรุปว่า ราคาเป็นตัวแบ่ง ออร่า ของเบนจามินโดยนัย 

            ตามทัศนะของ มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger, ค.ศ. 1889 – 1976) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่สําคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 มีงานพิมพ์ที่กล่าวถึงความจริงในงานศิลปะ ได้แก่ คำว่า Being and Time ที่พูดถึงความจริงในงานศิลปะที่กล่าวถึงการปิด การเปิดของพื้นที่แสดงความจริงซึ่งแตกต่างจากทั้งค้านท์และเพลโต ว่า เพลโต มีความพยายามที่จะหาความจริงสูงสุด จนใช้คำว่าแก่นสารถะของตัววัตถุ หรือEssence ภายใต้มโนทัศน์ว่าด้วย “โลกแห่งแบบ” Ideal World เพราะเพลโตเชื่อว่า ทุกสรรพสิ่งที่มนุษย์สัมผัสด้วยผัสสะพื้นฐานนี้นั้นล้วนแล้วแต่มีสภาวะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หาซึ่งจีรังไม่ ในอุดมคติของเพลโตจึงเชื่อมั่นในการค้นหาแก่นสารที่อยู่นอกเหนือโลกปกตินั่นเอง สิ่งที่พอรับได้เรื่องคณิตศาสตร์ แก่นทางคณิตศาสตร์เป็นแก่แกนที่พอจับยึดได้ว่าอะไรจริงไม่จริงบนโลกแห่งผัสสะ พอมามองในแง่งานศิลปะยิ่งไกลความจริงขึ้นไปอีกสำหรับเพลโต เพราะธรรมชาติว่าไม่จีรังแล้วศิลปะยังไปลอกเลียนแบบธรรมชาติอีก ส่วนคานท์วิเคราะห์งานศิลปะแบบยึดติดกับอคติว่าด้วยเทียบการวิเคราะห์งานศิลปะเทียบเท่ากับวัตถุโดยทั่วไป ฉะนั้นในประเด็นนี้คานท์เองยังยึดโยงกับรากฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ วิพากษ์ (คานท์นักปรัชญาในสมัยการตื่นรู้ทางปัญญา Enlightenment หรือเหตุผลนิยม Rationalism) เน้นความจริงภววิสัยแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเท่ากับศิลปะหรือวัตถุชิ้นนั้นจำเป็นต้องมีที่มา (คุณสมบัติ) และประโยชน์ (รูปแบบ) ไฮเดกเกอร์เสนอทัศนะที่แตกต่าง คือ สำหรับการตีความหรือหาความจริงในศิลปะ ไฮเดกเกอร์ใช้มโนทัศน์ “แผ่นดิน” (Earth) ควบคู่ไปกับมโนทัศน์ “โลก” (World) (คงกฤซ ไตรยวงศ์, 2562) โดยงานศิลปะเปิดเผยให้เห็นโลก ขณะที่แผ่นดินเป็นมิติของการซ่อนเร้น คำกล่าวนี้จะขอยกตัวอย่างจากภาพเขียน “A Pair of Shoes” โดย ฟินเซ็นต์ ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh, ค.ศ. 1833-1890) จิตรกรและศิลปินภาพพิมพ์ชาวดัตช์  ในภาพอันที่จริงยังเป็นข้อถกเถียงถึงเจ้าของรองเท้า บ้างก็ว่าเป็นของศิลปินเอง แต่สำหรับไฮเดกเกอร์โต้แย้งว่า เป็นของผู้หญิงชาวนาในงานเขียน “The Origin of The Work of Art” เพื่อสนับสนุนแนวคิดของไฮเดกเกอร์ที่ว่า จะเห็นได้ว่าศิลปะไม่ใช่การแสดงถึงรายละเอียดของรองเท้า (หนึ่งในปัจจัยของจิตวิญาณแบบ Modern คือ แสดงสัจธรรมของวัตถุ เช่น สี ที่ดิบ ทีแปรงที่หยาบ ซึ่งตรงข้ามกับขนบนิยมแบบสถาบันโบราณ) รองเท้าคู่เดียว หมายถึง การเปิดเผยให้เห็นความจริงเกี่ยวกับโลกชนบทที่เผยออกมาในภาพของรองเท้า ในประเด็นนี้ศิลปะจึงไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่ทำให้เราพอใจอย่างที่ค้านท์เสนอ ที่สำคัญที่ทำให้ศิลปะแยกตัวออกจากงานฝีมือ คือ ศิลปะไม่มีจุดมุ่งหมายที่เกิดประโยชน์เพื่อใครชัดเจน หากแต่เพียงมุ่งเปิดเผยความจริงในเราประจักษ์ (เฉกเช่นผลงานในกลุ่มลัทธิประทับใจเดียวกัน ตัวอย่างผลงานของ โมเน โกลน (Monet Claude, ค.ศ. 1840-1926) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ได้วาดหิมะ ในหิมะจะเป็นสีฟ้า เหลือง เขียว ต่าง ๆ เพราะศิลปะต้องการเผยให้เห็นความจริงในแสงว่า แสงก็มีสี เมื่อมันอยู่ท่ามกลางบริบทที่ไฮเดกเกอร์เรียกว่า “แผ่นดิน” (Earth) ส่วน Earth แผ่นดินที่ไฮเดกเกอร์ว่าเป็นพื้นที่ปิดเพราะสีในงานจิตรกรรมเป็นสีที่แท้จริงกว่าในธรรมชาติ (ตามทัศนะของเพลโตธรรมชาติมีวันสูญสลาย) สีในศิลปะยังคงอยู่และได้เปิดเผยความจริงด้วยตัวของมันเอง

ณาคส์ ลากอง (Jacques Lucan, ค.ศ. 1901-1981) เป็นนักจิตวิเคราะห์และจิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้ริเริ่มการวิพากษ์วิจารณ์วิธีคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ได้กล่าวถึง การแลกเปลี่ยนสัญญะโดยวัตถุที่ใช้แลกเปลี่ยนเท่ากับ ของขวัญ ที่ซึ่งของขวัญดังกล่าวจะเกิดคุณค่า ในประเด็นนี้ คือ สัญญะจะทำงานสร้างความหมายขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยน โดยเปรียบเทียบกับการแลกเปลี่ยนผู้หญิงของชนเผ่าโบราณ จากตัวอย่างดังกล่าว ลากอง จึงถูกจัดให้เป็นนักคิดในช่วงหลังโครงสร้างนิยม Post Structuralism เพราะโครงสร้างนิยมมีความเชื่อว่า ทุก ๆ ประสบการณ์ความเข้าใจในฐานะอัตบุคคลมีความหมายที่รอเราไปค้นพบ ประสบการณ์พาเราเข้าใจความหมายที่แฝงอยู่ ตัวอย่างอันเลื่อนลอยภายใต้รูปสัญญะต่างๆ แต่ลากองได้เสนอให้รื้อถอนแนวคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, ค.ศ. 1856-1939) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เรื่อง “จิตไร้สำนึกใหม่” โดยกล่าวว่า  จิตไร้สำนึก คือ ภาษาอย่างหนึ่งแต่อยู่ในรูปแบบความเป็นอื่นหรือ O ใหญ่ (Others) ส่วน o เล็ก เท่ากับการประร่างสร้างอัตบุคคลขึ้นมาภายใต้การควบคลุมเชิงภาษาซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ระเบียบเชิงจินตนาการ การเข้าใจตัวเราในระดับภาพสะท้อนทางกระจกเงา (The Mirror Stage) ดูจะไม่เพียงพอที่จะแยกระหว่าง     “ฉันกับเธอ” หากขาดองค์ประกอบทางการจ้องมองทั้งจากเราและจากคนอื่น สิ่งนี้ลากองเรียกว่า การเติมเต็มจินตนาการไปสู่ภาวะความฝันที่ฟรอยด์เคยเชื่อว่า ความฝันเป็นสิ่งเดียวที่นำเราไปสู่จิตไร้สำนึก แต่นั่นไม่สามารถทำให้เราเข้าใจหรืออ่านจิตไร้สำนึกได้หากขาดการเติมเต็มจากความเป็นอื่น (Others) ที่ตัวเราปะทะกับสังคมรอบตัวมาสู่การแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ในชุดที่ 2 ตามที่ลากองกล่าวถึงจิตไร้สำนึก คือ ภาษาในสังคมหนึ่ง ๆ ที่เราแลกเปลี่ยนกันด้วยภาษาเพื่อสื่อสารโดยแลกมาด้วยความเข้าใจซึ่งแท้จริงแล้ว หากทุก ๆ การสื่อสารขาดความปรารถนาที่ซึ่งครอบคลุมไปถึงการสื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยนให้คู่สนทนาเป็นไปตามความปรารถนาที่เราต้องการเพราะเมื่อเราแยกตัวตนออกจากสังคมได้แล้ว เราจะเข้าใจถึงอัตบุคคล ทุกครั้งที่มีการสื่อสาร คือ เป็นความปรารถนาให้แต่ละคนเข้าใจเป็นไปตามที่เราคิด จินตนาการในแบบของแต่บุคคลซึ่งมาจากจิตไร้สำนึกที่ไม่อาจ  ควบคลุมได้ แต่ภาษาต่างหากที่แปลงไปสู่ระบบสัญลักษณ์เชิงความหมาย ที่พยายามควบคลุมให้เป็นไปตามที่สังคมหนึ่ง ๆ ต้องการอย่างไม่มีวันเติมเต็ม ลากองยังได้ยกตัวอย่างต่อไปในเรื่อง เชื่อชาติ สีผิว ของกลุ่มสังคมอเมริกัน   ที่สร้างสัญญะคนขาวเป็นใหญ่ ความเป็นอื่นที่แตกต่าง คือ คนผิวสีอื่นจึงถูกซึมซับว่าด้อยตลอด หากอยู่ในสังคม คนผิวขาวได้ฝังและจินตนาการไปสู่จิตไร้สำนึก สิ่งนี้ลากองเรียกว่า ชุดที่ 3 The Real ซึ่งมาจากสิ่งที่อัตบุคคลถูกเข้าใจว่าจริงเพราะด้วยบริบทโดยรอบทำให้เราเข้าใจว่าจริง

สำหรับงานเขียนของลากองแล้ว พื้นที่เปิดการค้นหาความจริงผ่านงานเขียนแบบหลังโครงสร้างนิยม คือ ความเข้าใจความจริงจากความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ซึ่งในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ปิดในเวลาเดียวกันอีกด้วย

แนวคิดวิธีการสร้าง ให้ Brand คุณมีแรงดึงดูด

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

แนวคิดที่สำคัญในการสร้าง Branding ให้ดูมีเสน่ห์ น่าสนใจ เป็นที่โดดเด่นสำหรับผู้บริโภค

การตลาดแบบสร้างแรงดึงดูด : วิธีทำให้แบรนด์ของคุณมีเสน่ห์

รู้จักแก่นหลักของ Brand :

ก่อนที่จะดึงดูดใคร เราต้องเข้าใจแก่นแท้ของ Brand เสียก่อน อะไรทำให้แบรนด์ของคุณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว? คุณเป็นตัวแทนของคุณค่าอะไร? คิดว่ามันเป็นบุคลิกของแบรนด์ของคุณ – แปลกตา, ซับซ้อน, เชื่อถือได้ใช่ไหม? การระบุแกนกลางนี้จะชี้แนะการตัดสินใจในอนาคตทั้งหมดของคุณ

การเล่าเรื่องคือราชา Story is King (หรือราชินี) :

ผู้คนเชื่อมต่อกับเรื่องราว สร้างสรรค์เรื่องราวที่นำเสนอวัตถุประสงค์ของแบรนด์ของคุณและประโยชน์ต่อผู้ชมของคุณอย่างไร สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้พวกเขาหัวเราะ หรือดึงหัวใจของพวกเขา การมีส่วนร่วมทางอารมณ์เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างผู้ติดตามที่ภักดี

ประโยชน์เหนือคุณสมบัติ :

อย่าเพิ่งแสดงรายการคุณสมบัติ แปลให้เป็นผลประโยชน์ ผู้คนไม่สนใจโปรเซสเซอร์ที่เร็วกว่า พวกเขาสนใจว่ามันจะทำให้พวกเขาทำงานได้สำเร็จมากขึ้นได้อย่างไร มุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณทำให้ชีวิตดีขึ้น แก้ไขปัญหา หรือตอบสนองความปรารถนาของพวกเขาได้อย่างไร

พลังแห่งการมองเห็น : Visual Communication Design

ว่ากันว่าภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดได้นับพันคำ และในด้านการตลาดนั้นเกือบถึงล้านคำเลยทีเดียว ภาพคุณภาพสูง เช่น รูปภาพ วิดีโอ อินโฟกราฟิก ดึงดูดความสนใจและสร้างความประทับใจไม่รู้ลืม ใช้ภาพที่เสริมเรื่องราวของแบรนด์และโดนใจกลุ่มเป้าหมายของคุณ

Brand เป็นตัวจริง :

ผู้บริโภคปรารถนาความจริงใจ อย่ากลัวที่จะแสดงด้านมนุษย์ของแบรนด์ของคุณ เน้นทีมของคุณ แบ่งปันการเดินทางเบื้องหลัง และเชื่อมต่อกับผู้ชมในระดับส่วนตัว

ปัจจัยการมีส่วนร่วม :

การสื่อสารทางเดียวเป็นการงีบหลับ จุดประกายการสนทนา ส่งเสริมเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น และรับฟังผู้ชมของคุณอย่างกระตือรือร้น โซเชียลมีเดียเป็นขุมทองสำหรับการมีส่วนร่วม ใช้เพื่อสร้างชุมชนรอบ ๆ แบรนด์ของคุณ

การสร้างความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญ :

ความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ช่วยได้มาก ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับข้อเสนอของคุณ รับทราบข้อจำกัด และยืนหยัดอยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ของคุณ การสร้างความไว้วางใจส่งเสริมความภักดีและกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ

ลูกค้า คือ คนพิเศษ :

ทุกคนอยากรู้สึกพิเศษ นำเสนอผลิตภัณฑ์รุ่นจำกัด โปรแกรมสะสมคะแนน หรือเนื้อหาพิเศษเฉพาะ สิ่งนี้ทำให้เกิดความรู้สึกเร่งด่วนและทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่ต้องการมากขึ้น

สร้างความประหลาดใจ คาดไม่ถึง :

คนจะเบื่อง่าย เซอร์ไพรส์และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมด้วยสิทธิพิเศษ การแข่งขัน หรือข้อเสนอพิเศษที่ไม่คาดคิด ให้พวกเขาเดาและกลับมาดูอีก

เล่นเกมยาว :

การสร้างความน่าดึงดูดใจต่อแบรนด์เป็นกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่ รักษาความสอดคล้องกับข้อความ ภาพ และเสียงของแบรนด์ ติดตามผลลัพธ์ของคุณอย่างต่อเนื่อง ปรับให้เข้ากับแนวโน้ม และปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณไปพร้อมๆ กัน

การออกแบบ Brand คืออะไร

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของ Branding และงานของนักออกแบบที่ต้องเข้าใจความสำคัญของมัน

แบรนด์คืออะไร?

ในภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน แบรนด์เป็นมากกว่าโลโก้ที่หรูหราหรือคำพูดที่ติดหู เป็นแก่นแท้ที่จับต้องไม่ได้ซึ่งครองใจผู้บริโภค เป็นผลรวมของประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และอารมณ์ทั้งหมดที่ผู้คนมีกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เป็นคำสัญญาเงียบๆ ที่แบรนด์มอบให้กับลูกค้า คำสัญญาที่สร้างความไว้วางใจ ความภักดี และท้ายที่สุดจะขับเคลื่อนการตัดสินใจซื้อ

ต่อไปนี้คือการเจาะลึกแนวคิดของแบรนด์:

ป็นอะไรที่มากกว่าโลโก้ :
แม้ว่าโลโก้และองค์ประกอบภาพจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอกลักษณ์ของแบรนด์ แต่ก็เป็นเพียงส่วนเล็กเท่านั้น แบรนด์ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่วัฒนธรรมของบริษัทและประสบการณ์การบริการลูกค้าไปจนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการส่งข้อความถึงแบรนด์โดยรวม

ความหมายรองเรื่องการรับรู้ :
ทุกปฏิสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีกับแบรนด์ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ล้วนมีส่วนทำให้เกิดการรับรู้โดยรวมของพวกเขา ซึ่งรวมถึงการดูป้ายโฆษณา การโต้ตอบกับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า อ่านบทวิจารณ์ออนไลน์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ แบรนด์ที่แข็งแกร่งช่วยให้แน่ใจว่าปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สอดคล้องกันและเสริมสร้างค่านิยมหลักของแบรนด์

การเชื่อมต่อทางอารมณ์ :
แบรนด์ที่ยอดเยี่ยมทำให้เกิดอารมณ์ พวกเขาเข้าถึงความปรารถนา แรงบันดาลใจ และคุณค่าของกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุข มั่นใจ หรือมั่นคง มีแนวโน้มที่จะได้รับความภักดีจากพวกเขา

พลังแห่งคำมั่นสัญญา :
ทุกแบรนด์ให้คำมั่นสัญญากับลูกค้า คำสัญญานี้อาจชัดเจน เช่น การรับประกันคืนเงินของผลิตภัณฑ์ หรือโดยนัย เช่น ความรู้สึกหรูหราที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ระดับไฮเอนด์ แบรนด์ที่แข็งแกร่งปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่อง สร้างความไว้วางใจและความพึงพอใจ

ทำไมถึงเลือกพวกเรา? ในตลาดที่มีผู้คนหนาแน่น แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้กับตนเอง พวกเขาจำเป็นต้องชัดเจนว่าทำไมลูกค้าจึงควรเลือกพวกเขาเหนือคู่แข่ง ความแตกต่างนี้อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น คุณภาพผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะที่เป็นนวัตกรรม การบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ หรือความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคม

การทำความเข้าใจองค์ประกอบการสร้างแบรนด์:

ตอนนี้เราเข้าใจแก่นแท้ของแบรนด์แล้ว เรามาสำรวจองค์ประกอบสำคัญที่สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่งกันดีกว่า:

พันธกิจ :
พันธกิจของแบรนด์กำหนดวัตถุประสงค์หลักและเหตุผลในการดำรงอยู่ โดยสรุปจุดยืนของแบรนด์และผลกระทบที่แบรนด์ตั้งเป้าไว้ เป็นแสงนำทางของแบรนด์ เพื่อให้มั่นใจว่าการกระทำและการตัดสินใจทั้งหมดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์: วิสัยทัศน์ของแบรนด์อธิบายถึงแรงบันดาลใจของแบรนด์ในอนาคต มันวาดภาพสิ่งที่แบรนด์ต้องการบรรลุและกลายเป็นในระยะยาว เป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจสำหรับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระตุ้นให้พวกเขาทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

ค่านิยม :
ค่านิยมของแบรนด์เป็นหลักการพื้นฐานที่เป็นแนวทางในการตัดสินใจและพฤติกรรม พวกเขาแสดงถึงสิ่งที่แบรนด์เชื่อมั่นและดำเนินการอย่างไร ค่านิยมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความไว้วางใจและรับรองว่าแบรนด์จะดำเนินการด้วยความถูกต้อง
ความเป็นคู่ของการสร้างแบรนด์: อัตลักษณ์กับภาพลักษณ์:

เอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจะสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกและสม่ำเสมอในใจของกลุ่มเป้าหมาย มาแยกความแตกต่างระหว่างสองแนวคิดนี้กัน :

เอกลักษณ์ของแบรนด์ :
หมายถึงองค์ประกอบที่จับต้องได้ของแบรนด์ที่จงใจสร้างขึ้น เช่น โลโก้ ชุดสี การพิมพ์ และข้อความ เป็นการแสดงออกภายนอกของแบรนด์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสื่อสารแก่นแท้ของแบรนด์ทั้งทางสายตาและวาจา

ภาพลักษณ์ของแบรนด์ :
นี่คือการรับรู้ถึงแบรนด์ที่ถือครองโดยผู้ชม ซึ่งเป็นผลรวมของประสบการณ์และการโต้ตอบทั้งหมดที่ผู้คนมีกับแบรนด์ ซึ่งกำหนดโดยทั้งเอกลักษณ์ของแบรนด์ (วิธีที่แบรนด์นำเสนอ) และปัจจัยภายนอก (การรายงานข่าวของสื่อ การบอกปากต่อปาก) เป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่าอัตลักษณ์ของแบรนด์จะกำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์เชิงบวกและสม่ำเสมอได้สำเร็จ
พลังแห่งการเล่าเรื่องและความแตกต่าง:

ในโลกปัจจุบัน ผู้บริโภคถูกโจมตีด้วยข้อความทางการตลาด แบรนด์จำเป็นต้องค้นหาวิธีที่จะตัดเสียงรบกวนและเชื่อมต่อกับผู้ชมในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น ต่อไปนี้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังสองประการสำหรับการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง :

การเล่าเรื่อง :
มนุษย์มีการเดินสายเพื่อเชื่อมต่อกับเรื่องราว ด้วยการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่น่าสนใจซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าและแรงบันดาลใจของพวกเขา แบรนด์สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและส่งเสริมความภักดี เรื่องราวนี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับทุกสิ่งตั้งแต่แคมเปญโฆษณาไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างประสบการณ์แบรนด์ที่มีความหมายมากขึ้น
การสร้างความแตกต่าง: ในตลาดที่มีผู้คนหนาแน่น แบรนด์จะต้องโดดเด่นเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการระบุสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของตนมีเอกลักษณ์และมีคุณค่า แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างจุดยืนที่ชัดเจนในใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ความแตกต่างนี้อาจขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม การบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ หรือความมุ่งมั่นต่อสาเหตุทางสังคม
ด้วยการทำความเข้าใจแนวคิดหลักเหล่านี้และองค์ประกอบพื้นฐานของแบรนด์

ByLine : ผศ.ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

ร้านกาแฟ ทุ่งนา จังหวัดอุทัยธานี

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

ร้านลับ อำเภอบ้านไล่ จังหวัดอุทัยธานี เส้นก่อนไปเที่ยวน้ำตก แนะนำร้าน “คำตา Coffee” ร้านที่บรรยากาศ ทุ่งนา ลมเย็นๆ แม้กลางวันก็ไม่ร้อน ดื่มด่ำกับรสชาติกาแฟชงสด วิวภูเขา ทุ่งนา อารมณ์ชนบท ที่ชาวกรุง หนีความวุ่นวายมาซ่อนเร้นแบบสงบได้เลยที่นี่

ทีนี้มาแนะนำคำศัพท์ ใน Style Web ออกแบบกับเรา Bangkok Graphic กับคำศัพท์ Field Notes ที่บันทึกการท่องเที่ยวแบบ Folk , Rustic ชนชท

Field Notes ไม่ได้เป็นเพียงร้านกาแฟอีกแห่ง มันเป็นประสบการณ์ เมื่อคุณก้าวขึ้นไปบนดาดฟ้าไม้ นาข้าวอันกว้างใหญ่จะเผยออกมาตรงหน้าคุณ คลื่นสีเขียวอันเงียบสงบทอดยาวไปสู่ขอบฟ้า อากาศมีชีวิตชีวาด้วยเสียงนกร้องและเสียงครวญครางของเครื่องจักรในฟาร์ม ทำให้เกิดซิมโฟนีแห่งดนตรีของธรรมชาติ

ภายในร้านมีการออกแบบที่เรียบง่ายช่วยเสริมเสน่ห์แบบชนบทของสภาพแวดล้อม แสงแดดส่องผ่านหน้าต่างบานใหญ่ อาบพื้นที่ด้วยแสงอันอบอุ่น และเน้นพื้นผิวธรรมชาติของไม้และไม้ไผ่ กลิ่นหอมของกาแฟสดอบอวลไปในอากาศ เชิญชวนให้คุณนั่งพักผ่อนบนเก้าอี้เท้าแขนแสนสบายและจิบเครื่องดื่มสักแก้ว

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

เมนูที่ Field Notes นำเสนอเมล็ดกาแฟคั่วในท้องถิ่นที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี โดยนำเสนอวิธีการชงที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับรสนิยมของคุณ ไม่ว่าคุณจะชอบเอสเปรสโซช็อตเข้มข้นหรือเทแบบนุ่มนวล บาริสต้าผู้ชำนาญจะรังสรรค์กาแฟที่สมบูรณ์แบบเพื่อปลุกประสาทสัมผัสของคุณ เมนูอาหารช่วยเติมเต็มกาแฟด้วยขนมอบจากท้องถิ่น อาหารทานเล่น และอาหารตามฤดูกาล ซึ่งหลายอย่างผสมผสานวัตถุดิบสดใหม่จากฟาร์มโดยรอบ

แต่ Field Notes เป็นมากกว่าสถานที่สำหรับการเพลิดเพลินกับกาแฟดีๆ สักแก้ว เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ชุมชน และศิลปะแห่งการใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ เดินเล่นในนาข้าว สัมผัสดินอันอบอุ่นใต้ฝ่าเท้า และชมความงามของโลกแห่งธรรมชาติโดยตรง ร่วมสนทนากับเพื่อนรักกาแฟหรือพนักงานที่เป็นมิตรซึ่งมีใจรักในการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับฟาร์มและชุมชนท้องถิ่น

Field Notes เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความกลมกลืนที่คาดไม่ถึงซึ่งสามารถพบได้ระหว่างเมืองกับชนบท ทั้งสมัยใหม่และดั้งเดิม เป็นสิ่งเตือนใจว่าบางครั้งประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่สุดก็มาจากการก้าวออกจากความธรรมดาและดื่มด่ำไปกับสิ่งที่ไม่เหมือนใครและคาดไม่ถึง ดังนั้น หากคุณกำลังมองหากาแฟสักแก้วที่ให้ความรู้สึกเงียบสงบ สถานที่ที่จะเชื่อมต่อกับธรรมชาติและตัวคุณเองอีกครั้ง Field Notes รอคุณอยู่พร้อมแขนที่เปิดกว้างและแรงบันดาลใจอันเร่าร้อน

byline ผศ.ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

การสื่อสารด้วยภาพสำหรับ Branding

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

Visual Communication for Branding

การสื่อสารด้วยภาพสำหรับการสร้างแบรนด์เป็นกระบวนการเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและถ่ายทอดเอกลักษณ์ของแบรนด์ผ่านองค์ประกอบภาพ แนวทางปฏิบัตินี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างการปรากฏตัวของแบรนด์ การเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมการจดจำแบรนด์ ต่อไปนี้เป็นการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการสื่อสารด้วยภาพโดยละเอียดสำหรับการสร้างแบรนด์

  1. ภาพรวมการสร้างแบรนด์และการสื่อสารด้วยภาพ Visual Branding and Communication Overview
    การสร้างแบรนด์และการสื่อสารด้วยภาพประกอบด้วยการสร้างและการเผยแพร่องค์ประกอบภาพที่กำหนดแบรนด์ ซึ่งรวมถึงโลโก้ สี รูปภาพ และองค์ประกอบการออกแบบที่รวมกันเป็นอัตลักษณ์ทางภาพของแบรนด์

    การสร้างแบรนด์และการสื่อสารด้วยภาพครอบคลุมการใช้องค์ประกอบภาพเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างและสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นส่วนสำคัญต่อการตลาดและเกี่ยวข้องกับทักษะและเครื่องมือต่างๆ นี่คือภาพรวมโดยละเอียดของหัวข้อ:ความหมายและ

    วัตถุประสงค์ : การสร้างแบรนด์และการสื่อสารด้วยภาพเกี่ยวข้องกับการสร้างอัตลักษณ์ทางภาพที่เหนียวแน่นสำหรับแบรนด์ ซึ่งรวมถึงโลโก้ สี รูปภาพ และองค์ประกอบการออกแบบ จุดประสงค์คือเพื่อถ่ายทอดคุณค่าของแบรนด์ สร้างการจดจำ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกในกลุ่มเป้าหมาย

    องค์ประกอบสำคัญ:
    การสร้างแบรนด์ด้วยภาพประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น โลโก้ การพิมพ์ โทนสี และจินตภาพ องค์ประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างภาษาภาพที่แสดงถึงแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

    การสื่อสารแบรนด์ : การสร้างแบรนด์ด้วยภาพเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบรนด์ โดยที่องค์ประกอบภาพจะสื่อสารเอกลักษณ์ ค่านิยม และข้อความของแบรนด์ไปยังผู้ชม การสื่อสารนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างการรับรู้และความไว้วางใจในแบรนด์

    ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ : การสร้างแบรนด์ด้วยภาพเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การตลาด ไม่เพียงแต่ทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่งเท่านั้น แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่น่าจดจำและสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยในการจดจำและความภักดีของลูกค้า

    เครื่องมือและทักษะ:
    การสร้างแบรนด์ด้วยภาพอย่างเชี่ยวชาญต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในเครื่องมือ เช่น ซอฟต์แวร์การออกแบบกราฟิก และทักษะต่างๆ เช่น การทำความเข้าใจทฤษฎีสี การพิมพ์ และหลักการออกแบบ เครื่องมือและทักษะเหล่านี้มีส่วนช่วยในการสร้างและการนำกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เชิงภาพไปใช้อย่างมีประสิทธิผล

    การวิจัยและการจัดตำแหน่งเนื้อหา :
    การสื่อสารด้วยภาพแบรนด์เกี่ยวข้องกับการจัดการวิจัยเพื่อสร้างเนื้อหาแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจความต้องการของผู้ชมและนำผลการวิจัยมารวมเข้ากับองค์ประกอบภาพ

2. ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์การสื่อสารด้วยภาพ Benefits of Visual Communication Branding
การสร้างแบรนด์ด้วยการสื่อสารด้วยภาพให้ประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยให้ธุรกิจสร้างเอกลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำได้ผ่านการใช้แบบอักษร สี และการออกแบบที่เฉพาะเจาะจง

การสื่อสารด้วยภาพในการสร้างแบรนด์มีข้อดีหลายประการซึ่งมีส่วนช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต่อไปนี้คือการสำรวจโดยละเอียดเกี่ยวกับคุณประโยชน์ต่างๆ:

การรับรู้ถึงแบรนด์ที่ดีขึ้น :
การสื่อสารด้วยภาพช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์โดยการจัดวางภาพ การออกแบบ และกราฟิกอย่างมีกลยุทธ์ ความคุ้นเคยนี้ปลูกฝังเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่น่าจดจำ

เพิ่มความภักดีของลูกค้า :
ด้วยการใช้องค์ประกอบภาพอย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์สามารถสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกที่สะท้อนกับลูกค้าได้ สิ่งนี้ส่งเสริมความภักดีในขณะที่ลูกค้าเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์

ความชัดเจนและความเข้าใจ :
การสื่อสารด้วยภาพมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว ช่วยให้เข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ดึงดูดความสนใจและช่วยในการถ่ายทอดข้อความได้อย่างชัดเจน

การจัดส่งข้อมูลโดยตรง :
การสื่อสารด้วยภาพช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความฉับไวนี้มีข้อได้เปรียบในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมและถ่ายทอดข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มการมีส่วนร่วมและการรักษาลูกค้า :
การควบคุมประโยชน์อันทรงพลังของการสื่อสารด้วยภาพช่วยให้แบรนด์ตัดเสียงรบกวน เพิ่มการเก็บข้อมูล และเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ชม เนื้อหาภาพมีแนวโน้มที่จะถูกจดจำมากขึ้น

3. คู่มือสำคัญสำหรับการสร้างแบรนด์ด้วยภาพ Essential Guide to Visual Branding
ภาพลักษณ์แบรนด์ของคุณทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ เสริมสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์คุณผ่าน “ภาษา” เชิงภาพลักษณ์ที่คุณใช้

4. การสื่อสารด้วยภาพเพื่อการเล่าเรื่องของแบรนด์ Visual Communication for Brand Storytelling
การสร้างเอกลักษณ์ทางภาพที่สอดคล้องกัน รวมถึงโลโก้ สี รูปภาพ และองค์ประกอบการออกแบบ ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสื่อสารด้วยภาพที่มีประสิทธิภาพในการเล่าเรื่องของแบรนด์

การสื่อสารด้วยภาพมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์และสร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่น่าสนใจ ต่อไปนี้เป็นการสำรวจโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้การสื่อสารด้วยภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์:

ปรับปรุงการสื่อสารแบรนด์ :
การเล่าเรื่องด้วยภาพเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้รูปภาพ การออกแบบ และกราฟิกเพื่อปรับปรุงการสื่อสารแบรนด์ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์แบบองค์รวมที่โดนใจผู้ชม

เทคนิคอันทรงพลังเพื่อเอกลักษณ์ของแบรนด์ :
การเล่าเรื่องด้วยภาพเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารเอกลักษณ์ ค่านิยม และข้อความของแบรนด์ เป็นมากกว่าคำพูด ดึงดูดผู้ชมด้วยอารมณ์และสร้างความสัมพันธ์ที่น่าจดจำ

การมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านการเล่าเรื่องแบรนด์ :
แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จใช้ภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและเชื่อมต่อกับผู้ชม การสื่อสารด้วยภาพผ่านรูปภาพและกราฟิก ดึงดูดลูกค้าและช่วยสร้างการเชื่อมต่อที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การเชื่อมต่อในระดับอารมณ์ :
การเล่าเรื่องด้วยภาพทำให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับผู้ชมได้ในระดับอารมณ์ ภาพ สีสัน และการออกแบบที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันมีส่วนช่วยสร้างเรื่องราวที่สะท้อนอารมณ์ได้

สนับสนุนข้อความของแบรนด์ :
การกำหนดเรื่องราวของแบรนด์และการระบุข้อความสำคัญถือเป็นขั้นตอนสำคัญ การสื่อสารด้วยภาพสนับสนุนและตอกย้ำข้อความเหล่านี้ผ่านภาพที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน ซึ่งมีส่วนช่วยในการเล่าเรื่องของแบรนด์ที่เหนียวแน่น

5. ความหมายเบื้องหลังการออกแบบการสื่อสารด้วยภาพ Meaning Behind Visual Communication Design
การออกแบบการสื่อสารด้วยภาพเกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคสื่อที่มีตราสินค้าพร้อมทิศทางศิลปะที่กำหนดไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน แคมเปญการออกแบบกราฟิกโดยใช้ภาพ การพิมพ์ และการจัดวาง มีส่วนช่วยให้การสื่อสารด้วยภาพมีประสิทธิภาพ

6. ความสำคัญในการออกแบบกราฟิก Importance in Graphic Design
การสื่อสารด้วยภาพในการออกแบบกราฟิกใช้รูปภาพ การพิมพ์ สี และเค้าโครงเพื่อถ่ายทอดข้อความและแบ่งปันข้อมูล โดยเน้นบทบาทที่สำคัญในการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ

เอกลักษณ์ทางภาพ :
การออกแบบกราฟิกสร้างเอกลักษณ์ทางภาพให้กับแบรนด์ โดยครอบคลุมโลโก้ โทนสี และจินตภาพ การแสดงภาพนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจดจำแบรนด์และการสร้างความแตกต่าง

การสื่อสารและการส่งข้อความ :
ด้วยการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ แบรนด์สามารถสื่อสารคุณค่า ข้อความ และเรื่องราวของตนได้ทางภาพ ซึ่งช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ที่สม่ำเสมอและน่าสนใจแก่ผู้ชม

ความสม่ำเสมอของแบรนด์ :
องค์ประกอบการออกแบบกราฟิกที่สอดคล้องกันบนแพลตฟอร์มต่างๆ ตั้งแต่เว็บไซต์ไปจนถึงสื่อทางการตลาด ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เหนียวแน่น ความสม่ำเสมอสร้างความไว้วางใจและการยอมรับในหมู่ผู้บริโภค

ความได้เปรียบในการแข่งขัน :
การออกแบบกราฟิกช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันโดยการทำให้แบรนด์ดูน่าดึงดูด วัสดุที่ออกแบบมาอย่างดีดึงดูดความสนใจและสร้างแบรนด์ให้แตกต่างจากคู่แข่ง

ประสิทธิผลทางการตลาด :
การออกแบบกราฟิกที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อการตลาด ตั้งแต่โพสต์บนโซเชียลมีเดียไปจนถึงโฆษณาสิ่งพิมพ์ ภาพที่ออกแบบมาอย่างดีสามารถดึงดูดและรักษาความสนใจของผู้ชมได้

ความทรงจำและการรับรู้ :
การออกแบบที่น่าจดจำและสวยงามมีส่วนช่วยในการจดจำแบรนด์ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะจดจำและจดจำแบรนด์ที่มีองค์ประกอบการออกแบบกราฟิกที่แข็งแกร่ง

Byline : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

การออกแบบ Graphic สำหรับ Branding

Graphic Design for Branding การออกแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์ Identity

Graphic Design for Branding การออกแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์ Identity

byline : ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

หลักการออกแบบกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบอัตลักษณ์ และการสื่อสารด้วยภาพ หลักการเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นรากฐานสำหรับการสร้างสรรค์การออกแบบที่ดึงดูดสายตา น่าจดจำ และสร้างผลกระทบ ซึ่งสะท้อนกับกลุ่มเป้าหมายและแสดงถึงค่านิยมหลักของแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง ต่อไปนี้เป็นหลักการสำคัญบางประการที่ควรพิจารณา :

  1. ลำดับชั้นและการเน้น Hierarchy and Emphasis :

จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลและนำทางสายตาของผู้ชมผ่านการออกแบบโดยใช้ขนาด สี คอนทราสต์ และตำแหน่ง
สร้างจุดโฟกัสเพื่อดึงดูดความสนใจไปยังข้อความหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด

  1. ความแตกต่าง Contrast :

ใช้สี รูปร่าง พื้นผิว และขนาดที่ตัดกันเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับองค์ประกอบและทำให้โดดเด่น
เพิ่มความสามารถในการอ่านและความสนใจทางภาพโดยหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ

  1. สมดุลและสัดส่วน Balance and Proportion :

กระจายน้ำหนักการมองเห็นให้เท่ากันทั่วทั้งการออกแบบเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงและกลมกลืน
พิจารณาอัตราส่วนทองคำเพื่อให้ได้สัดส่วนและเลย์เอาต์ที่น่าพึงพอใจ

  1. การทำซ้ำและความสม่ำเสมอ Repetition and Consistency :

ใช้องค์ประกอบการออกแบบที่เกิดซ้ำ เช่น สี แบบอักษร และลวดลาย เพื่อสร้างการจดจำแบรนด์และความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
รักษาความสม่ำเสมอในทุกจุดสัมผัสเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

  1. พื้นที่ว่าง White Space:

ใช้พื้นที่เชิงลบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งเหยิงและเพิ่มความสามารถในการอ่าน
พื้นที่สีขาวช่วยให้องค์ประกอบต่างๆ ได้หายใจและเน้นข้อมูลสำคัญ

  1. งานออกแบบตัวอักษร Typography :

เลือกแบบอักษรที่อ่านง่าย เหมาะสมกับบุคลิกของแบรนด์ และเสริมความสวยงามของการออกแบบโดยรวม
ให้ความสนใจกับลำดับชั้นและการเว้นวรรคเพื่อให้สามารถอ่านได้ดีที่สุด

  1. จิตวิทยาสี Color Psychology :

ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ทางอารมณ์และจิตวิทยาของสีต่างๆ และใช้อย่างมีกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นความรู้สึกที่ต้องการและการรับรู้ถึงแบรนด์
รักษาจานสีที่สอดคล้องกันซึ่งสะท้อนถึงบุคลิกของแบรนด์

  1. ภาพลักษณ์และภาพถ่าย Imagery and Photography :

ใช้ภาพคุณภาพสูงที่สอดคล้องกับข้อความของแบรนด์และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย
พิจารณาผลกระทบขององค์ประกอบภาพ แสง และสไตล์ในการถ่ายทอดอารมณ์และบรรยากาศที่ต้องการ

  1. ประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และการเข้าถึง User Experience (UX) and Accessibility :

ออกแบบสำหรับผู้ชมและแพลตฟอร์มที่ต้องการ ทำให้มั่นใจว่าองค์ประกอบภาพสามารถเข้าถึงได้และใช้งานง่าย
พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความชัดเจน ขนาดหน้าจอ และความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม

  1. ความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์ Originality and Creativity :

ในขณะที่ยึดมั่นในหลักการออกแบบ พยายามสร้างสรรค์ความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณและโดดเด่นจากคู่แข่ง
ใส่บุคลิกภาพและคุณค่าของแบรนด์ของคุณลงในภาษาภาพ
โปรดจำไว้ว่าหลักการเหล่านี้ไม่ใช่กฎที่เข้มงวด แต่เป็นแนวทางที่จะนำไปใช้อย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ การออกแบบที่ดีที่สุดคือการออกแบบที่สร้างสมดุลระหว่างฟังก์ชันการทำงาน ความสวยงาม และการสื่อสารแบรนด์

ข้อควรคำนึง เป้าหมายงานออกแบบที่เป็นที่จดจำของ Brand

หลักการออกแบบกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการสร้างการออกแบบที่มีประสิทธิภาพและดึงดูดสายตาในโดเมนต่างๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์ การออกแบบเอกลักษณ์ และการออกแบบภาพ ภาพรวมของหลักการเหล่านี้และการนำไปใช้ในบริบทต่างๆ มีดังนี้

  1. ภาพสะท้อนถึงแบรนด์
    ในการสร้างแบรนด์ ภาพควรสะท้อนถึงแก่นแท้ของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างอัตลักษณ์ทางภาพที่สื่อสารถึงคุณค่า บุคลิกภาพ และข้อความของแบรนด์ การใช้สี การพิมพ์ และจินตภาพที่สอดคล้องกันจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง
  2. น้อยแต่มาก
    ในการออกแบบอัตลักษณ์ หลักการของ “น้อยแต่มาก” เป็นสิ่งสำคัญ การลดความซับซ้อนขององค์ประกอบการออกแบบช่วยให้มั่นใจได้ถึงความชัดเจนและการจดจำ แนวทางที่เรียบง่ายและสะอาดตาช่วยในการสร้างโลโก้และเครื่องหมายแบรนด์ที่น่าจดจำซึ่งคงอยู่ตลอดกาล
  3. ตรีเอกภาพแห่งสี
    สีมีบทบาทสำคัญในการออกแบบภาพ “พระตรีเอกภาพแห่งสี” เกี่ยวข้องกับการเลือกสีหลัก สีรอง และสีเน้น หลักการนี้ทำให้ได้โทนสีที่กลมกลืนและดึงดูดสายตา สร้างประสบการณ์การรับชมภาพที่สอดคล้องกัน
  4. ลำดับชั้นและความคมชัดของภาพ
    ในการออกแบบภาพ การสร้างลำดับชั้นภาพที่ชัดเจนถือเป็นสิ่งสำคัญ ความเปรียบต่างในขนาด สี และรูปร่างช่วยนำทางสายตาของผู้ชมและเน้นองค์ประกอบที่สำคัญ หลักการนี้ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลและสร้างการออกแบบที่ดึงดูดสายตา
  5. พื้นที่ว่าง
    พื้นที่ว่างหรือพื้นที่เชิงลบเป็นหลักการสำคัญในการออกแบบภาพ ช่วยให้องค์ประกอบหายใจ เพิ่มความสะดวกในการอ่าน และดึงความสนใจไปที่ส่วนประกอบหลัก การใช้พื้นที่ว่างอย่างรอบคอบช่วยให้การออกแบบมีความสมดุลและสวยงามน่าพึงพอใจ
  6. กระตุ้นอารมณ์
    การออกแบบภาพควรกระตุ้นอารมณ์และเชื่อมโยงกับผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โฆษณา หรือโพสต์บนโซเชียลมีเดีย การออกแบบควรสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกที่ตั้งใจไว้ และสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนต่อผู้ชม
  7. เรื่องการพิมพ์
    การพิมพ์เป็นองค์ประกอบสำคัญทั้งในด้านเอกลักษณ์และการออกแบบภาพ แบบอักษรที่สอดคล้องกันและเลือกมาอย่างดีช่วยให้แบรนด์จดจำและอ่านง่าย การใส่ใจในรายละเอียดของตัวพิมพ์ทำให้ได้งานออกแบบที่เป็นมืออาชีพและสวยงาม

หลักการออกแบบกราฟิกเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแนวทางพื้นฐานสำหรับการสร้างการออกแบบที่มีประสิทธิภาพในบริบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ การสร้างเอกลักษณ์ หรือการออกแบบภาพ หลักการเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

สุนทรียศาสตร์ On Ugliness โดย Umberto Eco

พิสิฐ-ตั้งพรประเสริฐ

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

สุนทรียะทางศิลปะภายใต้งานเขียนวรรณกรรมของ Umberto Eco
Umberto Eco นักสัญวิทยา นักปรัชญา และนักประพันธ์ชาวอิตาลีผู้โด่งดัง เจาะลึกขอบเขตที่ซับซ้อนของความอัปลักษณ์ในงานศิลปะ ท้าทายการรับรู้แบบเดิมๆ และเชิญชวนให้ใคร่ครวญถึงแนวคิดที่เข้าใจยาก ในการสำรวจของเขา อีโคตั้งคำถามลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมชาติของความน่าเกลียด การเป็นตัวแทนของมันในงานศิลปะ และเลนส์เชิงอัตวิสัยในการรับรู้สิ่งนั้น

ความน่าเกลียดในงานศิลปะและชีวิต
Eco ตระหนักถึงความเป็นคู่ของความอัปลักษณ์ ซึ่งมีอยู่ในงานศิลปะและชีวิต เขาแนะนำว่าพจนานุกรมมีคำพ้องสำหรับ ‘น่าเกลียด’ มากกว่าคำว่า ‘สวย’ ความร่ำรวยทางภาษานี้บ่งบอกถึงธรรมชาติของความอัปลักษณ์ที่มีหลายแง่มุม ซึ่งขยายออกไปเกินกว่าการมองเห็นเพื่อรวมเอาอารมณ์และประสบการณ์ที่หลากหลาย

มุมมองของคนรุ่น Millennials
ในช่วงเวลาร่วมสมัย การสำรวจของ Eco ได้พรรณนาถึงความน่าเกลียดที่ผสมกับเรื่องเล่าทางสังคม มีวาทกรรมที่น่าสนใจว่าคนรุ่นMillennials กับมุมมองเกี่ยวกับความอัปลักษณ์เป็นจุดหักเหของทัศนคติเชิงบวกหรือไม่ สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนแปลงระหว่างสุนทรียภาพและคุณค่าทางวัฒนธรรม

ความงามในความน่าเกลียด การตีความทางศิลปะ
มุมมองของ Eco ขยายไปไกลกว่าแค่การรับรู้ถึงความอัปลักษณ์ เขาวางตัวว่าศิลปะมีพลังในการพรรณนาสิ่งมีชีวิตและสิ่งของที่น่าเกลียดได้อย่างสวยงาม แนวคิดนี้ท้าทายการแบ่งแยกแบบเดิมๆ และเปิดช่องทางสำหรับการตีความความอัปลักษณ์ใหม่ว่าเป็นหมวดหมู่สุนทรียศาสตร์ที่เป็นอัตวิสัยและปรับเปลี่ยนได้

ความน่าเกลียดและศาสนา
ในการสะท้อนของ Eco ความเชื่อมโยงระหว่างความอัปลักษณ์และศาสนา ความเชื่อ ถูกสำรวจในบริบทของการเล่าเรื่องทางศาสนา ในเรื่องราวของนักบุญแอนโทนี ความน่าเกลียดอยู่ในสัตว์ปีศาจที่ทรมานฤาษี ในขณะที่นักบุญแอนโทนีเองก็ไม่ได้ดูเหมือน “น่าเกลียด” การตีข่าวกันนี้เน้นถึงลักษณะเชิงสัญลักษณ์ของความอัปลักษณ์ในบริบททางวัฒนธรรมและศาสนาบางอย่าง

“ความน่าเกลียด” – บทวิจารณ์หนังสือ
ผลงานของ Umberto Eco เรื่อง “On Ugness” ทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามว่าความน่ารังเกียจอยู่ในสายตาของผู้ดูหรือไม่ หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่เป็นการสำรวจหัวข้อนี้อย่างครอบคลุม โดยอาศัยตัวอย่างทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อคลี่คลายชั้นของความหมายที่เกี่ยวข้องกับความอัปลักษณ์

แนวคิดสุนทรีย์และการเล่นจินตนาการอย่างอิสระ
การสำรวจของ Eco สอดคล้องกับสุนทรียศาสตร์ของ Kantian ซึ่งความงามหรือความอัปลักษณ์ของแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์นั้นเกี่ยวพันกับการเล่นจินตนาการอย่างอิสระ การเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีสุนทรียศาสตร์กับการรับรู้ถึงความอัปลักษณ์ช่วยเสริมวาทกรรมเกี่ยวกับศิลปะและความสามารถในการกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ที่ซับซ้อน


ในการตรวจสอบความอัปลักษณ์ในงานศิลปะของ Umberto Eco ความเข้าใจอันละเอียดอ่อนได้ปรากฏออกมา ความน่าเกลียดไม่ได้จำกัดอยู่เพียงคำนิยามเดียว แต่ถูกกำหนดโดยมุมมองของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และปัจเจกบุคคล อิทธิพลซึ่งกันและกันระหว่างความงามและความน่าเกลียด การรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนรุ่นมิลเลนเนียล และมิติเชิงสัญลักษณ์ในการเล่าเรื่องทางศาสนา มีส่วนทำให้เกิดการสำรวจแนวคิดที่เข้าใจยากนี้อย่างครอบคลุม

ความหมายและหลักการออกแบบ Visual Design

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

Visual Design หลักการ สำคัญในการออกแบบ

การสื่อสารด้วยภาพเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลผ่านองค์ประกอบภาพ เช่น รูปภาพ สัญลักษณ์ และกราฟิก การทำความเข้าใจหลักการของการสื่อสารด้วยภาพ ภาษาด้วยภาพ และการรับรู้ด้วยภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งข้อความที่มีประสิทธิภาพ

  1. การสื่อสารด้วยภาพ
    การสื่อสารด้วยภาพเกี่ยวข้องกับการใช้องค์ประกอบภาพเพื่อถ่ายทอดข้อความ หลักการประกอบด้วย:

ความเรียบง่าย: ทำให้ภาพดูเรียบง่ายเพื่อให้เข้าใจง่าย
ความสอดคล้อง: รักษาภาษาภาพที่สอดคล้องกันเพื่อการเชื่อมโยงกัน
ความชัดเจน: รับประกันความชัดเจนในการถ่ายทอดข้อความที่ตั้งใจไว้
ตัวอย่าง:

ป้ายจราจรสามารถสื่อสารข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสากล
อินโฟกราฟิกทำให้ข้อมูลที่ซับซ้อนง่ายขึ้นผ่านภาพ

  1. ภาษาภาพ
    ภาษาภาพครอบคลุมหลักการและองค์ประกอบการออกแบบสำหรับการสื่อความหมายด้วยภาพ:

หลักการเกสตัลท์: ควบคุมวิธีที่เรารับรู้วัตถุและความสัมพันธ์ของพวกมัน
ความสมดุลและความกลมกลืน: บรรลุความสมดุลในการจัดองค์ประกอบภาพ
การพิมพ์และสี: ใช้แบบอักษรและสีอย่างมีกลยุทธ์เพื่อสร้างผลกระทบ
ตัวอย่าง:

โลโก้รวบรวมภาษาภาพเพื่อเป็นตัวแทนของแบรนด์
เค้าโครงนิตยสารใช้ภาษาภาพเพื่อนำทางผู้อ่าน

  1. การรับรู้ทางสายตา
    การรับรู้ทางสายตาเกี่ยวข้องกับวิธีที่บุคคลตีความสิ่งเร้าทางสายตา หลักการประกอบด้วย:

องค์กรการรับรู้: หลักการทางประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางศิลปะ
ภาระทางปัญญา: จัดการข้อมูลเพื่อป้องกันการโอเวอร์โหลดทางปัญญา
อิทธิพลทางวัฒนธรรม: รับทราบความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการตีความด้วยภาพ
ตัวอย่าง:

งานศิลปะเล่นกับการรับรู้ทางสายตาเพื่อกระตุ้นอารมณ์
การออกแบบเว็บไซต์คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้เพื่อการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพ
การทำความเข้าใจหลักการเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ตั้งแต่การโฆษณาไปจนถึงการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การสื่อสารด้วยภาพ ภาษา และการรับรู้มีส่วนช่วยร่วมกันในศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการถ่ายทอดข้อความด้วยภาพ ทำให้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโลกที่เน้นการมองเห็นของเรา

by line : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

สรุป หนังสือ “Ways of Seeing” by John Berger

รับออกแบบ Graphic

สรุป หนังสือ “Ways of Seeing” by John Berger โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ

“Ways of Seeing” โดย John Berger นำเสนอการสำรวจศิลปะและการรับรู้ทางสายตาอย่างลึกซึ้ง โดยท้าทายมุมมองแบบดั้งเดิม หนังสือเล่มนี้ซึ่งเริ่มแรกเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ของ BBC ได้ทิ้งร่องรอยความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะไว้อย่างไม่มีวันลบเลือน ต่อไปนี้เป็นข้อมูลสรุปจากแหล่งที่มาต่างๆ

ความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในภาพ: Berger เน้นย้ำว่าภาพมีความหมายหลายชั้นเกินกว่าพื้นผิวของมัน เขาเปิดเผยความลับเบื้องหลังภาพ ทำให้ผู้อ่านมีมุมมองใหม่ในการชื่นชมงานศิลปะ

รหัสภาพเขียนสีน้ำมัน: ในบทที่ห้า เบอร์เกอร์ดำเนินการวิเคราะห์รหัสภาพเขียนสีน้ำมันในอดีต เขาเขียนแผนภูมิว่าการเพิ่มขึ้นของภาพวาดสีน้ำมันเกิดขึ้นพร้อมกับรหัสภาพบางอย่างอย่างไร

ความมั่งคั่งและการครอบครองในงานศิลปะ: ภาพวาดในหนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นคู่รักที่ร่ำรวยในที่ดินของพวกเขา โดยเน้นประเด็นเรื่องทรัพย์สินและการครอบครอง เบอร์เกอร์วิพากษ์วิจารณ์การทำให้งานศิลปะกลายเป็นสินค้า โดยท้าทายแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับคุณค่าและความเป็นเจ้าของทางวัฒนธรรม

การเรียนรู้และการรับรู้ในวัยเด็ก: เบอร์เกอร์เจาะลึกว่าผู้คนเรียนรู้ที่จะจดจำและวางตำแหน่งตนเองโดยอิงจากสภาพแวดล้อมตั้งแต่วัยเด็กได้อย่างไร เขาเน้นย้ำถึงบทบาทของประสบการณ์ในช่วงแรกๆ ในการสร้างการรับรู้

ท้าทายมุมมองศิลปะของชนชั้นสูง: ด้วย “วิถีแห่งการมองเห็น” Berger ตั้งเป้าที่จะท้าทายมุมมองศิลปะของชนชั้นสูงและลึกลับ หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการสนทนาที่ครอบคลุมและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเกี่ยวกับแง่มุมทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมของศิลปะ

“Ways of Seeing” โดย John Berger ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1972 และได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ของ BBC ถือเป็นผลงานศิลปะที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง โดยเจาะลึกความซับซ้อนของการรับรู้ทางสายตาและท้าทายแนวทางดั้งเดิมในการทำความเข้าใจภาพวาด

การปฏิวัติมุมมองทางศิลปะ: หนังสือของ John Berger มีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิวัติวิธีที่เรารับรู้และตีความงานศิลปะ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การดูภาพเขียน Berger กระตุ้นให้ผู้อ่านพิจารณาอคติของตนเองอีกครั้ง และรับมุมมองเชิงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นเกี่ยวกับทัศนศิลป์

ที่เปิดหูเปิดตาในหลาย ๆ ด้าน: นักวิจารณ์ของ Sunday Times (ลอนดอน) บรรยายอย่างเหมาะสมว่าหนังสือเล่มนี้เป็น “ที่เปิดหูเปิดตาในหลาย ๆ ด้าน” การมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสังเกตภาพวาดของ Berger ไม่เพียงแต่ให้ความรู้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับงานศิลปะเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาในวงกว้างว่า เรามีส่วนร่วมกับสิ่งเร้าทางสายตาอย่างไร

Television Series Foundation: ต้นกำเนิดของหนังสือในซีรีส์ทางโทรทัศน์ของ BBC เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Berger ในการสร้างงานศิลปะให้เข้าถึงได้ ซีรีส์และหนังสือเล่มต่อๆ ไปนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้งานศิลปะเข้าใจง่ายขึ้น ท้าทายมุมมองของชนชั้นสูง และส่งเสริมให้เกิดการสนทนาที่ครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับการแสดงออกทางศิลปะ

มุมมองที่เปลี่ยนไป: ดังที่นักวิจารณ์ของ Sunday Times ระบุไว้ ผลกระทบของ “วิถีแห่งการมองเห็น” ขยายออกไปมากกว่าแค่หน้าหนังสือเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป การสำรวจการรับรู้ทางสายตาของ Berger มีอิทธิพลต่อวิธีที่ผู้คนมองและชื่นชมภาพอย่างแท้จริง

การตรวจสอบอย่างมีวิจารณญาณของศิลปะ: เบอร์เกอร์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพิจารณางานศิลปะอย่างมีวิจารณญาณ นอกเหนือจากความสวยงาม เขาเจาะลึกว่าปัจจัยทางสังคม เช่น ชนชั้นและเพศ มีอิทธิพลต่อการรับรู้ศิลปะของเราอย่างไร

ประชาธิปไตยและความอิจฉา: เบอร์เกอร์กล่าวถึงแนวคิดเรื่องความอิจฉาในบริบทของโครงสร้างทางสังคม เขาแนะนำว่าความอิจฉาเป็นผลพลอยได้จากสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน และสำรวจผลกระทบของระบอบประชาธิปไตยที่มีต่อการกระจายความมั่งคั่ง

การรับรู้และอุดมการณ์: ผู้เขียนระบุว่าการรับรู้เป็นเรื่องส่วนตัวและได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์ของแต่ละบุคคล เขาเน้นย้ำว่าความเชื่อส่วนบุคคลส่งผลต่อความเข้าใจในศิลปะอย่างไร

การเห็นมาก่อนคำพูด: เบอร์เกอร์ยืนยันว่าการเห็นเป็นพื้นฐานของการดำรงอยู่ของเราและนำหน้าการแสดงออกทางวาจา เขาสำรวจแนวคิดที่ว่าการรับรู้ทางสายตาสร้างการเชื่อมโยงของเรากับโลกก่อนที่ภาษาจะเข้ามาแทรกแซง

คุณค่าและความเป็นเจ้าของทางวัฒนธรรม: เบอร์เกอร์ท้าทายแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับคุณค่าและความเป็นเจ้าของทางวัฒนธรรม เขาแนะนำว่าความสุขจากการถูกอิจฉาสามารถทดแทนความรู้สึกว่างเปล่าของการเป็นเจ้าของงานศิลปะได้

การทำให้งานศิลปะกลายเป็นสินค้า: ในส่วนแรกของหนังสือ เบอร์เกอร์จะตรวจสอบว่าศิลปะมักถูกดัดแปลงให้เป็นสินค้าได้อย่างไร โดยจำกัดความเข้าใจของผู้คนเกี่ยวกับความหมายที่เป็นไปได้ เขาวิพากษ์วิจารณ์การนำงานศิลปะไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และผลกระทบที่มีต่อการรับรู้ของสาธารณชน

โดยสรุป “Ways of Seeing” ท้าทายมุมมองแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับงานศิลปะ กระตุ้นให้ผู้อ่านตั้งคำถามถึงอิทธิพลทางสังคม ประเมินอุดมการณ์ส่วนบุคคลอีกครั้ง และชื่นชมธรรมชาติที่มีหลายแง่มุมของการรับรู้ทางสายตา

เทคนิคการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด

เทคนิคการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาด

กลุ่ม เครื่องมือทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายด้วยการวิเคราะห์

  1. S.T.P : Segmentation, Targeting และ Positioning 

กลุ่ม เครื่องมือชุดการหาข้อมูลวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายหาความต้องการและปัญหาที่เป็นอยู่

  • Value Preposition การเสนอคุณค่าแก่ผู้บริโภค
  • Have – Do – Be ค้นหา อยากมี (อยากได้) – อยากทำ และอยากเป็น
  • มาเทียบกับระดับขั้นความต้องการด้วยเครื่องมือ Maslow Hierarchy Needs 

กลุ่ม เครื่องมือทำความรู้จักตนเองเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และเข้าใจตลาด

  • 5Fource Model วิเคราะห์อำนาจคู่แข่งขัน 

กลุ่ม เครื่องมือการประกอบสร้าง Brand 

  • เครื่องมือสำหรับการให้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของ Brand : Brand Essence Wheel 
  • เครื่องมือสำหรับการให้ข้อมูลด้านการสื่อสารอัตลักษณ์ Brand Identity Prism
  • เครื่องมือสำหรับการให้ข้อมูลสื่อสารด้านบุคลิกภาพ Brand : Carl Jung Brand Archetypes

เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการตลาด 

  • SWOT > TOW Matrix วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อกลยุทธ์ทางการตลาด
  • Full Funnel นำการวิเคราะห์กลยุทธ์สู่การทำการตลาดแบบเป็นขั้นตอน

  • กลุ่ม เครื่องมือทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายด้วยการวิเคราะห์
  •          โดยทั่วไป ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ให้ประโยชน์หรือมีคุณสมบัติ ตรงกับความต้องการ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารแบรนด์ต้องเข้าใจ คือ ความเกี่ยวข้อง (Brand Relevance) หมายถึง การที่ลูกค้าต้องมองเห็นความเกี่ยวข้องของสินค้า นั้นกับตัวของลูกค้าเอง นอกเหนือจากประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าหรือบริการ นั้น ดังนั้น แบรนด์จะต้องมีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความ เกี่ยวข้องนี้ขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจของผู้ประกอบการว่า ใครคือกลุ่มลูกค้า เป้าหมายที่แท้จริง ลูกค้าต้องการอะไรจากสินค้าหรือบริการนั้น และผู้ผลิตต้องหา ทางที่จะตอบสนองความต้องการนั้น แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จต้องทำให้ผู้ซื้อ มีความรู้สึกที่ดีและรับทราบถึงคุณค่าของแบรนด์ที่มอบให้ ตัวอย่างเช่นร้านกาแฟ Starbucks ที่มีนโยบายเป็น “The third place” สำหรับลูกค้า รองเท้ากีฬา Nike ที่ทำ ผู้ใส่รู้สึกถึงความสำเร็จในการเล่นกีฬา แชมพู Dove ที่ช่วยบำรุงหนังศีรษะ รถ Volvo ที่ให้ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร ฯลฯ ผู้เขียนเคยถามลูกศิษย์รายหนึ่งที่ซื้อปากกา แบรนด์หนึ่งเป็นประจำว่าทำไมถึงเจาะจงซื้อแต่แบรนด์นั้นแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่า แบรนด์อื่น ๆ คำตอบที่ได้รับคือ เพราะปากกาแบรนด์นั้นมียางลบในตัวและเขา เป็นคนที่เขียนหนังสือผิดบ่อยทำให้ชื่นชอบปากกาแบรนด์ (รอตติ้ง) เป็นพิเศษ นี่ คือ Brand relevance ปากการอตติ้งมีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าอย่างชัดเจนและ สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ การที่แบรนด์สามารถตอบสนองและส่งมอบคุณค่าที่ เกี่ยวข้องกับความต้องการจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จของการวาง ตำแหน่งแบรนด์ในใจลูกค้า

  • S.T.P : Segmentation, Targeting และ Positioning 
  • คำถามที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านการตลาดของธุรกิจ ก็คือการ ค้นหาว่ากลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ต้องการอะไร จะตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นได้อย่างไร อะไรคือหลักเกณฑ์ที่ควรใช้ในการพิจารณา คัดเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และจะทำอย่างไรให้ลูกค้ากลุ่มนั้นสามารถรับรู้จุดขาย ที่แตกต่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อที่บริษัทจะได้วางแผนการตลาดและสื่อสาร คุณค่าหลักของแบรนด์ (Brand Core value) ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล คำถามทั้งหมดนี้ต้องการข้อมูลถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อช่วยให้การวางตำแหน่งแบรนด์ประสบผลสำเร็จ
  •             1.1 S. Segmentation
  • ในการหาคำตอบดังกล่าว เรื่องของการแบ่งตลาดออกเป็นส่วน ๆ (Segmentation) และหลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด (Segmentation criteria) จะมีประโยชน์อย่าง ยิ่งในการค้นหาว่ากลุ่มลูกค้าในตลาดเป็นอย่างไร เพราะเมื่อทำการแบ่งส่วนตลาดโดย ใช้หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมมาช่วยในการแบ่งแล้ว สิ่งที่ได้รับ คือ ข้อมูลของลูกค้า (Customer profile) ที่จะช่วยทำให้ได้คำตอบเบื้องต้นที่สำคัญยิ่งทางการตลาดสามประการ นั่นคือ
  • ภาพประกอบที่ 3 ตัวอย่างการให้ข้อมูลกับตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบ Personas 
  • (ภาพประกอบโดย The Design Thinking Playbook,2563)
  • ภาพประกอบที่ 4 รูปแบบผังการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย 
  • (ภาพประกอบโดย อาจารย์ ดร.พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ)
  • ลูกค้าคือใคร (Who are your customers?)
  • ลูกค้าอยู่ที่ไหน (Where are your customers?)
  • ลูกค้าเป็นอย่างไร (What about your customers?)
  • หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดหรือการจัดลูกค้าออกเป็นกลุ่ม ๆ การวางตำแหน่ง แบรนด์จะเชื่อมโยงกับการแบ่งส่วนตลาด และการคัดเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Targeting) ดังที่เรียกว่า S – T – P ซึ่งก็คือ Segmenttion – Targeting – Positioning จากแนวคิดที่ว่าถ้าไม่มีการจัดจำแนกตลาดใหญ่ (Mass market) ออกเป็นตลาดย่อย ที่เป็นกลุ่ม ๆ หรือที่เรียกว่า Segment แล้ว จะเป็นการยากมากที่ผู้บริหารจะกำหนด กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix strategy) ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ เพราะคนในตลาดใหญ่จะมีอำนาจซื้อ ความต้องการ ความชอบ หรือ แรงจูงใจในการซื้อสินค้าบริการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นการยากที่ตอบสนอง ความต้องการของคนในตลาดใหญ่ได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้บริหาร ต้องตอบคำถามเบื้องต้นให้ได้เสียก่อนว่า “ลูกค้าเป้าหมายที่แท้จริงคือใคร”
  • กลยุทธ์การแบ่งตลาดออกเป็นส่วน ๆ หรือการทำ Segmentation ได้เกิดขึ้นมา นานหลายปีแล้ว โดยมีการใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ กันในบางแบ่งกลุ่ม (Segmentation (1) criteria) เกณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาช้านานจนถึงปัจจุบันได้แก่เกณฑ์ข้อมูลประชากร (Demographic data) ได้แก่การแบ่งกลุ่มโดยใช้ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานภาพสมรสม จำนวนในครอบครัว จำนวนบุตร เชื้อชาติ สัญชาติ และการนับถือ ศาสนา เป็นต้น เกณฑ์ข้อมูลประชากรเป็นเกณฑ์ที่ง่ายในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การใช้เกณฑ์ประชากรจะไม่สามารถตอบคำถามเรื่องพฤติกรรม แรงจูงใจของผู้บริโภค ตลอดจน Insights ของผู้บริโภคได้จึงเป็นจุดอ่อนของการใช้เกณฑ์ประชากรแต่เพียง อย่างเดียวในการแบ่งกลุ่มตลาด
  • ภาพประกอบที่ 5 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย 
  • (ภาพประกอบโดย The Design Thinking Playbook,2563)
  • นอกจากเกณฑ์ประชากรที่ใช้ในการแบ่งลูกค้าแล้ว เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ ( Geographic criteria) ก็มักถูกใช้ในการแบ่งผู้บริโภคออกไปตามเขตที่อยู่อาศัย เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน เป็นต้น การใช้เกณฑ์ภูมิศาสตร์มีประโยชน์ ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพราะไม่ใช่เพียงแต่พื้นที่อยู่อาศัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่ผู้บริโภคอยู่อาศัย (Culture and subculture) ทำให้ทราบถึงแหล่งทำมาหากิน ลักษณะการดำรงชีวิต (Live styles) ศาสนาที่นับถือ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนั้น ความรู้ด้านสถานที่ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่ผู้คนอยู่อาศัยจะช่วยให้ ผู้บริหารการตลาดสามารถกำหนดเทคนิคการขาย หรือกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ภาษาที่ใช้ในการโฆษณา วิธีการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง กับการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่นของผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ
  • นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างรวดเร็วในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เกณฑ์ที่ใช้แบ่งส่วนตลาดก็เริ่มเปลี่ยนไปให้ ความสำคัญกับบุคลิกภาพและชีวิตความเป็นอยู่ (Personality and life styles) ของผู้ บริโภคมากขึ้น ศัพท์ภาษอังกฤษเรียกเกณฑ์นี้ว่า Psychographic ซึ่งหมายถึง เกณฑ์ ด้านบุคลิกภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่น เช่น คนที่ชอบท่องเที่ยว คนที่ชอบ ดูหนังฟังเพลง คนที่ชอบค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต คนที่ชอบออกไปรับประทาน อาหารนอกบ้านในวันหยุด คนชอบดูของเก่า คนที่ชอบดูการแข่งขันกีฬา คนที่เข้า วัดปฏิบัติธรรม คนที่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ฯลฯ เป็นต้นประโยชน์ของการมีข้อมูล ด้านบุคลิกภาพหรือวิถีชีวิตของกลุ่มลูกค้าเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผน กลยุทธ์การตลาดและออกแบบสินค้าหรือบริการได้ตรงกับบุคลิกภาพของกลุ่มเป้า หมายมากขึ้นเพราะมีข้อมูลที่ลึกซึ้งขึ้น ไม่ใช่แค่ข้อมูลว่ากลุ่มลูกค้าเป็นคนอายุเท่าไร มีอาชีพอะไร มีการศึกษาระดับใด ในปัจจุบันจะเห็นธุรกิจต่าง ๆ มีการแบ่งกลุ่มผู้ บริโภคโดยใช้เกณฑ์ Psychographic มากขึ้น เช่นร้านกาแฟ เครือข่ายมือถือ สถาน ที่ท่องเที่ยว บริการเคเบิลทีวี สปาและรีสอร์ต ฯลฯ เพราะผู้บริหารการตลาดจะได้ ออกแบบสินค้า รูปแบบการให้บริการ และการส่งเสริมทางการตลาดแบบต่าง ๆ ได้ ตลาดและทำแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ภาพประกอบที่ 6 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มเป้าหมายด้วย Psychographic
  • (ภาพประกอบโดย https://blog.hubspot.com/insiders/marketing-psychographics)
  • อีกเกณฑ์หนึ่งที่นิยมใช้ในการแบ่งการตลาดออกเป็นกลุ่ม ๆ ก็คือ พฤติกรรม แรงจูงใจ และทัศนคติของผู้บริโภค (Behavior, motivation and attitudes) เช่น พฤติกรรมคนที่ชอบเข้าร้านหนังสือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านกับ ครอบครัวในวันหยุด แรงจูงใจในการไปพักผ่อนที่รีสอร์ตนอกเมือง ฯลฯ ถ้าจะใช้เกณฑ์ นี้ในการแบ่งกลุ่มตลาด ผู้บริหารจำเป็นต้องทำวิจัยผู้บริโภคเพื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรม แรงจูงใจ และทัศนคติ ถ้าผู้บริหารการตลาดสามารถทราบแรงจูงใจพฤติกรรมและ ทัศนคติของกลุ่มลูกค้าก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตลาดและกำหนดตำแหน่งแบรนด์สินค้า/บริการของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป ในปัจจุบันจะเห็นการใช้เกณฑ์นี้มากขึ้น เช่น ธุรกิจหนังสือแมกกาซีน จะเห็น ว่ามีแมกกาซีนมากมายหลากหลายประเภทในร้านขายหนังสือที่เจาะจงเข้าถึงกลุ่มที่ มีความสนใจแตกต่างกัน เช่น แมกกาซีนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาหารการกิน เสื้อผ้าเครื่องประดับ กีฬาประเภทต่าง ๆ คนรักรถ ฯลฯ ที่น่าสังเกต ก็คือ การแบ่งกลุ่ม ย่อย ๆ ที่เรียกว่า Subsegment ของกลุ่มใหญ่ เช่น หนังสือประเภทกีฬาก็จะแบ่งย่อย ลงไปอีกอย่างชัดเจนว่าเป็นกีฬาประเภทฟุตบอล รถแข่ง เทนนิส กอล์ฟ ฯลฯ เป็นต้น
  • การใช้เกณฑ์ทั้ง 4 ประการในการแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่ม ๆ นี้ จะทำให้การ ทำวิจัยผู้บริโภค (Customer research) เข้ามามีบทบาทในการจัดการด้านการตลาด มากกว่าที่เคยมีในอดีต เนื่องจากการตลาดยุคใหม่จะมีสิ่งแวดล้อมภายนอกของ ธุรกิจที่ซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่ง ผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจไม่มากก็น้อย การทำการตลาดจะมีความเสี่ยง เพิ่มขึ้น ดังนั้น การทำวิจัยการตลาด (Marketing research) หรือการทำวิจัยผู้บริโภค (Cutomer research) จะช่วยให้ได้ข้อมูลบางประการที่จะช่วยตอบคำถามที่สงสัยไม่ แน่ใจเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจของผู้บริหารลง
  • ภาพประกอบที่ 7 ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มเป้าหมายด้วย Behavior, motivation and attitudes
  • (ภาพประกอบโดย https://www.yieldify.com/blog/behavioral-segmentation-definition-examples/)
  • T. Targeting กลุ่มเป้าหมาย
  • เมื่อผู้บริหารทราบว่าผู้บริโภคในตลาดสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้กี่กลุ่ม และ แต่ละกลุ่มมีข้อมูลลูกค้า (Customer profile) เป็นอย่างไรแล้ว จากนั้นก็จะสามารถ ตัดสินใจหรือเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ (Targeted customer) ว่าควรจะเป็นกลุ่ม ใด ดังนั้น Targeting จึงหมายถึงการคัดเลือกกลุ่มตามเป้าหมาย (Market selection) นั่นเอง
  • ในการคัดเลือกตลาดเป้าหมายที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจของบริษัทคำถาม คือ จะใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณาคัดเลือกเป้าหมาย เพราะการคัดเลือกเป้า หมายที่ถูกต้อง (The right target) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการกำหนดตำแหน่งของแบรนด์เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ได้คัดเลือกมา โดยหลักการแล้ว การพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ควรพิจารณาหลัก เกณฑ์อย่างน้อย 6 หลักเกณฑ์ ดังนี้
  • (1) ตลาดต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร (Sufficient market size) ตลาด ที่ผู้บริหารควรพิจารณาคัดเลือกต้องมีจำนวนลูกค้าในตลาดใหญ่พอที่จะนำแบรนด์ สินค้า/บริการเข้าสู่ตลาดนั้น เพราะถ้าขนาดตลาดเล็กเกินไปอาจจะไม่คุ้มค่ากับการ ทำธุรกิจดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลขนาดตลาดของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อช่วยในการ ตัดสินใจ
  • (2) ตลาดต้องมีอุปสงค์สม่ำเสมอ (Stable demand) ผู้บริหารต้องมีการ สำรวจตลาด (Market survey) เสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าผู้บริโภคในตลาดนั้นมีอุปสงค์ อย่างไรในสินค้าหรือบริการนั้น กลุ่มบริโภคที่มีความต้องการในสินค้าหรือบริการนั้น อย่างสม่ำเสมอและมีอำนาจซื้อ (Purchasing power) จะเป็นตลาดที่น่าสนใจมากกว่า ตลาดที่มีอุปสงค์ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น ๆ ลง ๆ และอาจมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลอุปสงค์และข้อมูลของผู้บริโภคในตลาดนั้น ๆ ก่อนที่ จะตัดสินใจต้องวิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมทางการตลาด มีข้อมูลของคู่ แข่งที่ขายสินค้าประเภทเดียวกัน มีการพูดคุยซักถามลูกค้าหรือสำรวจตลาดจริงเพื่อ ที่จะได้ทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจคัดเลือกตลาดเป้าหมายต่อไป
  • (3) ตลาดควรมีศักยภาพที่จะเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต (Potential growth) ตลาดที่เหมาะสมจะเป็นตลาดเป้าหมายนั้นควรมี ศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอนาคต ศักยภาพสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น อุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีความชัดเจน เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันสามารถ รองรับการขยายตัวของตลาดได้พื้นที่หรือสถานที่นั้นอยู่ในแผนการพัฒนาของ รัฐบาล ฯลฯ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลและต้องเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม ตลาดต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • (4). ต้องสื่อสารกับผู้บริโภคตลาดนั้นได้ (Communicability) เนื่องจากการ วางตำแหน่งแบรนด์มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) ดังนั้น ความสามารถที่จะสื่อสารทางการตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้า หมายให้มีความเข้าใจและรับรู้ในคุณค่าของแบรนด์นั้นจะเป็นกุญแจสำเร็จในการ วางตำแหน่ง บริษัทต้องหาวิธีที่จะเข้าถึงลูกค้าและสื่อสารกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการ สื่อสารทางการพูด การเขียน การใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ จึงต้องมีความเข้าใจ
  • ในทัศนคติ ทราบถึงแรงจูงใจ และพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าในตลาดนั้นเพื่อจะ ได้สื่อสารเรื่องราวของสินค้ากับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเข้าใจที่ ตรงกัน หลักการของการสื่อสาร คือ ต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนเสียก่อนว่าจะ สื่อสารกับใคร เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และจะพูดกับใคร พูดหรือเขียนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ ต้องระลึกเสมอว่าการสื่อสารที่ มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นต้องพยายามพูดหรือเขียนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายที่สุด เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าเข้าใจและรับรู้เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารได้เร็วที่สุด
  • (5). การคมนาคมไม่ลำบากเกินไปหรือไม่มีต้นทุนสูงเกินไป (Not too high cost transportation) ในทางกายภาพ ระยะทางระหว่างสถานที่ตั้งของ ตลาดเป้าหมายกับบริษัทมีความสำคัญมาก เพราะยิ่งตลาดอยู่ไกลมากก็ยิ่งจะมีค่า ใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ระยะทางใกล้ไกลจึงเป็นเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการตลาด ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลในเรื่องนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในบางกรณีตลาด ที่กำลังพิจารณาอาจจะดูน่าสนใจเพราะมีขนาดใหญ่และผู้บริโภคก็มีความต้องการ และอำนาจซื้อ เช่น ผลไม้ไทยที่เป็นที่ต้องการในประเทศแถบตะวันออกกลาง แต่ เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปในคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ สะดวก ยังไม่มีความปลอดภัยเท่าที่ควร ฯลฯ ผู้บริหารจึงต้องพิจารณารายละเอียด ทุกอย่างด้วยความรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเลือกตลาดที่เหมาะสมที่สุด ในหลาย กรณีที่การคมนาคมไม่ใช่อุปสรรคเพราะไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเกินไป แต่อุปสรรคอาจ จะเกิดจากสภาพการณ์หรือสิ่งแวดล้อมของตลาดในประเทศนั้น ๆ ที่ยังไม่เอื้ออำนวย ต่อการเข้าไปในตลาดนั้น
  • (6). ศักยภาพของบริษัท (Company’s potential) เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ทั้ง 5 ข้อในข้างต้น อาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าตลาดกลุ่มใดเป็นตลาดที่ควร ได้รับการคัดเลือกจนกว่าบริษัทจะทำการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง สถานะทางการ เงิน เทคโนโลยี กำลังคน กำลังการผลิต ศักยภาพในการพัฒนาตลาด วัตถุประสงค์ ในการทำธุรกิจ ซึ่งการวิเคราะห์ศักยภาพโดยรวมของบริษัทจะช่วยให้บริษัทเองทราบ ว่ามีความพร้อมในระดับใดที่จะเข้าไปทำธุรกิจในตลาดกลุ่มเป้าหมายนั้นในอนาคต
  • หลักเกณฑ์ 6 ประการนี้เป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการคัดเลือกตลาดเป้าหมาย นอกเหนือจากหลักเกณฑ์เหล่านี้ผู้บริหารอาจจะพิจารณาใช้เกณฑ์อื่น ๆ ที่เหมาะสม เช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารว่าต้องใช้ภาษาใดหรือจะพูดอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด ความแตกต่างของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บริษัทอาจต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับการดำเนิน ชีวิตของผู้คนในพื้นที่นั้น ฯลฯ ในการพิจารณาคัดเลือกตลาดเป้าหมายที่เหมาะสม ผู้บริหารอาจใช้วิธีให้คะแนนหลักเกณฑ์ของแต่ละเกณฑ์ โดยการพิจารณาจาก ข้อมูลที่ค้นคว้าหามาได้ ซึ่งจะทำให้การคัดเลือกตลาดกลุ่มเป้าหมายมีความชัดเจน มากขึ้นเพราะมีการประเมินเป็นตัวเลข ในกรณีที่มีผู้ประเมินหลายคนอาจคิดค่าเฉลี่ย ตาราง 3.1 แสดงถึงการพิจารณาตลาด 3 ตลาดคือ A B และ C โดยที่มีคะแนนเต็ม ของเกณฑ์ข้อละ 10 คะแนน คะแนนรวมทั้งหมดคือ 60 คะแนน ตลาดที่ได้คะแนน รวมสูงสุดคือ B ได้ 43 คะแนนหรือ 71.66 % ผู้บริหารจึงควรตัดสินใจเลือก B เป็น ตลาดกลุ่มเป้าหมาย
  • P.-Positioning
  • เมื่อผู้ประกอบการได้คัดเลือกตลาดเป้าหมาย (targeting หรือ Market Selection) โดยใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ได้อธิบายข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ผู้บริหารก็ จะสามารถวางตำแหน่งของแบรนด์สินค้าหรือบริการที่จะขายในตลาดเป้าหมายนั้น ซึ่งในการวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand positioning) ผู้บริหารต้องระบุคุณค่าที่เป็น แก่นแท้ของแบรนด์ (Core brand value) ที่ต้องการนำเสนอให้ลูกค้าในตลาดนั้นได้ ทราบว่าอะไรคือคุณค่าของแบรนด์นั้น ตำแหน่งที่จะนำเสนอต้องตรงกับความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายการวางตำแหน่งจึงจะได้ผล ยิ่งผู้บริหารมีความรู้เกี่ยวกับผู้ บริโภคในตลาดกลุ่มเป้าหมายมากเท่าใดก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะทำให้การวางตำแหน่ง แบรนด์ให้ประสบความสำเร็จมากเท่านั้น ตัวอย่างเช่นการวางตำแหน่งของแบรนด์ ระดับโลกอย่าง Apple ที่มีการสื่อสารตำแหน่งของแบรนด์อย่างชัดเจนเรื่อง “Think different” ลูกค้าไม่ได้มองว่า Apple เป็นสินค้าประเภทมือถือหรือสินค้าในกลุ่มไอที แต่กลับมองว่า Apple เป็นสินค้านวัตกรรมที่มีการออกแบบที่ทันสมัยสอดคล้องกับ วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เป็นที่ยอมรับในสังคม ใช้ง่ายและมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ตอบ สนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีในโลกยุคดิจิตัล