BANGKOK GRAPHIC

งานออกแบบ Web Design

ออกแบบ website

งานออกแบบ Web Design

งานออกแบบ Final Project : WebBlog PR.
รับงานออกแบบ
งานออกแบบออนไลน์
Bangkok-Graphic รับงานออกแบบ : งานประชาสัมพันธ์ออนไลน์ เกาะรัตนโกสินทร์ สื่อที่ใช้ 1. Facebook Page App. 2. WordPress Blog 3. EventBrite 4. Video ส่วนประกอบที่สำหรับ สำหรับ รับงานออกแบบ : 1. Download Design Brief : Design Brief-Rattanakosin 2. Download Project : PR-Weblog 3. Download Animation Hateetiw : StartPage-Real 4. ตัวอย่าง งานออกแบบ ที่ต้องทำ : practise งานออกแบบ Graphic Bangkok Design

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

กริด สำหรับ การออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบสิ่งพิมพ์

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ หลักการเรื่อง การออกแบบ กริด

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น นักออกแบบจะสื่อสารแนวความคิด โดยการนำองค์ประกอบต่างๆ ทั้งในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นภาพ ส่วนที่เป็นตัวอักษร และส่วนที่เป็นองค์ประกอบทางการออกแบบ อื่นๆ มาจัดวางอยู่รวมกันในพื้นที่หน้ากระดาษโดยอาศัยหลักการทางการออกแบบเพื่อให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่สวยงาม หากสิ่งพิมพ์ที่ทำการออกแบบเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีหน้าหลายหน้า เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร นักออกแบบยังต้องมีภาระเพิ่มเติมขึ้นจากการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษแต่ละหน้าให้สวยงาม คือ ต้องพยายามในการควบคุมให้ภาพรวมของทุกๆ หน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือกลมกลืนกัน เพื่อให้สิ่งพิมพ์ทั้งเล่มดูมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะอาศัยการจัดวางตามหลักการออกแบบแล้ว นักออกแบบเรขศิลป์ยังมีเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างสูง เครื่องมือนั้น ก็คือ ระบบกริด (grid system) ระบบกริดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อนแบ่งซอยพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่เดียว โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็นมุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษหากจะเปรียบเทียบการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษกับการสร้างบ้านเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนซึ่งประกอบกันเป็นตารางนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหน้ากระดาษเปรียบเสมือนเสาและคานซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้าน ส่วนภาพหรือตัวอักษรซึ่งนำมาวางลงในตารางนี้ก็เปรียบเสมือนฝาผนังและประตูหน้าต่างที่นำมายึดติดเอาไว้กับเสาและคานในภายหลัง

ระบบกริด นี้เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการออกแบบเพราะระบบกริดจะมีส่วนช่วยในการจัดวางองค์ประกอบในด้านตำแหน่งและขนาด 2 ประการ คือ

  1. ช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการจัดวางองค์ประกอบ โดยในการจัดวางองค์ประกอบ ลงในหน้ากระดาษนั้น นักออกแบบสามารถจะจัดวางองค์ประกอบ ลงไปตามแนวเส้นกริดได้อย่างรวดเร็ว
  2. ช่วยในการกำหนดขนาดขององค์ประกอบ โดยนักออกแบบ สามารถเลือกที่จะใช้ขนาด พื้นที่ที่ถูกแบ่งให้เล็กลงในหน้ากระดาษ เป็นตัวช่วยกำหนดขนาด ขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ความกว้างของคอลัมน์ ความกว้างยาวของภาพ

ส่วนประกอบที่สำคัญของ กริด

ในการนำระบบกริดมาใช้ในการออกแบบนั้น จะต้องทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดเสียก่อน โดยส่วนประกอบที่สำคัญ มีดังนี้
  1. 1) ยูนิตกริด (grid unit) คือ ส่วนประกอบที่เป็นพื้นที่ย่อยที่เกิดขึ้นจากเส้นในแนวตั้งและแนวนอนที่ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ย่อยเหล่านี้จะใช้ในการวางองค์ประกอบต่างๆ โดยในพื้นที่หน้ากระดาษหนึ่งๆ นั้นจะมียูนิตกริดจำนวนเท่าใดก็ได้ และแต่ละยูนิตกริดจะมีขนาดเท่ากันหมดหรือแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
  2. 2) อัลลีย์ (aliey) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างยูนิตกริดแต่ละยูนิตที่ร่วมกันอยู่เป็นกลุ่ม ในการออกแบบกริดส่วนใหญ่นิยมมีอัลลีย์เพราะจะช่วยให้เกิดการอ่านได้ง่ายเมื่อวางตัวอักษรลงไปในยูนิตที่อยู่ติดกัน คือ จะเกิดเป็นช่องว่างคั่นอยู่ระหว่างแต่ละคอลัมน์ อย่างไรก็ตาม ในสิ่งพิมพ์บางอย่างอาจจะไม่มีส่วนประกอบนี้ก็ได้ โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีภาพประกอบมากๆ หรือภาพประกอบขนาดใหญ่โดยไม่มีส่วนที่เป็นข้อความมากนัก
  3. 3) ชอบว่าง หรือ มาร์จิน (margin) คือ ส่วนประกอบที่เป็นที่เว้นว่างโดยรอบกลุ่มยูนิตกริดทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วจะนิยมออกแบบยูนิตกริดให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบทั้ง 4 ด้านไว้เนื่องจากหากมีการวางองค์ประกอบลงไปในบริเวณขอบเหล่านี้ก็อาจจะขาดหายไปในตอบที่ทำการเจียนขอบกระดาษได้ (ยกเว้นการใช้ภาพตัดตก) ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากองค์ประกอบนั้นเป็นตัวอักษรข้อความ ดังนั้นจึงนิยมที่จะเว้นที่ว่างให้รอบๆ ขอบทั้ง 4 ด้านของกลุ่มยูนิตกริด
  4. 4) กัดเดอร์ (gutter) คือ มาร์จินในส่วนที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวาของสิ่งพิมพ์ ซึ่งเหตุผลในการเว้นนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการเว้นมาร์จิน เพราะหากไม่มีการเว้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาในการอ่านเมื่อนำเอาหน้าทั้งหมดของสิ่งพิมพ์นั้นมาเย็บเล่มเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นหนังสือที่มีความหนา การเว้นที่เว้นว่างในส่วนนี้ไว้จะช่วยให้นักออกแบบไม่ลืมว่าไม่ควรวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในบริเวณนี้
  ส่วนประกอบที่สำคัญทั้ง 4 นี้ มักมีอยู่ร่วมกันในระบบกริดส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบกริดทุกอันจะต้องมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 อย่าง ในบางระบบกริดนักออกแบบอาจจะตั้งใจที่จะไม่มีอัลลีย์โดยไปคอยระมัดระวังในการคอลัมน์ ในขณะจัดวางองค์ประกอบก็ได้ นักออกแบบที่ชำนาญอาจจะสามารถจัดส่วนประกอบทั้งสี่ให้เกิดความแตกต่างไปจากระบบกริดที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปเพื่อทำให้สิ่งพิมพ์นั้นๆ มีเอกลักษณ์ที่พิเศษและง่ายแก่กาสังเกตและจดจำ เช่น อาจจะเป็นมาร์จินทั้งด้านซ้ายและขวากว้างกว่าปกติมาก เป็นต้นสำหรับหน่วยในการวัดส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดนั้น ก็ใช้หน่วยเดียวกัน กับการวัดขนาดและความยาวของตัวพิมพ์ คือ ใช้หน่วยพอยต์ในการวัดในแนวตั้ง เช่น การวัดความสูงของยูนิตกริด และใช้หน่วยไพก้าในการวัดในแนวนอน เช่น การวัดความกว้างของยูนิตกริต เป็นต้นในการนำระบบกริดไปใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้น จะต้องไม่ลืมว่าในความเป็นจริงแล้ว ในการมองดูสิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตสารต่างๆ ผู้ดูจะมองทั้งหน้าซ้ายและหน้าขาวพร้อมๆ กันก่อนที่จะไปพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละหน้าเสมอ เพราะฉะนั้นนักออกแบบจะต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมของหน้าคู่ (spread) โดยจะต้องถือเสมือนว่าเป็นหน้าเดี่ยวใหญ่ๆ 1 หน้า แทนที่จะเป็นหน้าเล็กๆ 2 หน้าคู่กัน   การออกแบบระบบกริดก้อจะต้องคำนึงถึงภาพรวมที่ว่านี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในการออกแบบระบบกริด จึงมักจะออกแบบทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาไปพร้อมกัน โดยนักออกแบบจะมีทางเลือกในการออกแบบ 3 ทาง ได้แก่
  1. 1) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา (repeat) นิยมใช้กับในสิ่งพิมพ์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  2. 2) ใช้กริดที่เหมือนกันทั้งในหน้าซ้ายและหน้าขวา แต่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน (mirror) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันในสิ่งพิมพ์ทั่วไปในหนังสือ นิตยสารแผ่นพับ หรือรายงานประจำปี
  3. 3) ใช้กริดที่หน้าซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้ว ในการออกแบบสิ่งพิมพ์นักออกแบบมักจะเลือก 2 ทางเลือกแรกมากกว่าทางเลือกที่3 ซึ่งมีน้อยมาก และมักจะใช้ในกรณีที่เป็นหนังสือเท่านั้น

ประเภทระบบกริด

ประเภทระบบกริด ระบบกริดที่เป็นที่นิยมใช้กันในการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  1. 1) เมนูสคริปต์ กริด (Manuscript Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุดกว่าจะระบบกริดประเภทอื่นๆ การพิมพ์หนังสือในสมัยโบราณจะใช้ระบบกริดในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตที่สี่เหลี่ยม 1 ยูนิต โดยมีขนาดใหญ่เกือบเต็มหน้า และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความจำนวนมากและมีขนาดยาวต่อเนื่องกัน และไม่มีภาพประกอบหลากหลายมากนัก เช่น หนังสือ
  2. 2) คอมลัมน์ กริด (Column Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้งซับซ้อนมากกว่า เมนูสคริปต์ กริด รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิตโดยแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นทางตั้งออกเป็นคอลัมน์คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า ขนาดความกว้างของแต่ละคอมลัมน์จะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างคอลัมน์ และมีมาร์จินล้อมรอบ
  3. 3) โมดูลาร์ กริด (Modular Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากกว่าสองประเภทแรก รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริตสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยและเหมาะกับการใช้ในสิ่งที่มีการออกเผยแพร่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  4. 4) ไฮราซิเคิล กริด (Hietrarchical Grid) เป็นระบบกริดที่มีโครงสร้างซับซ้อน และแปลกเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นเฉพาะกรณี รูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริลสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแต่ละยูนิตมีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ จะมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิตหรือวางซ้อนทันกับก็ได้ และจะมีหรือไม่มีมาร์จินล้อมรอบก็ได้กริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและภาพอยู่ด้วย เช่น หนังสือที่มีภาพประกอบจำนวนมาก แคตตาล็ก หรือโปสเตอร์

 

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบโบวชัว Brochure Design การ รับงานออกแบบแมคกาซีน Magazine Design สิ่งที่ต้อคำนึงคือ

การออกแบบระบบกริด

ในการออกแบบระบบกริดนั้น จะต้องคำนึงถึงเนื้อหาที่จะนำมาจัดวางเป็นสำคัญการแบ่งพื้นที่ออกเป็นยูนิตกริดจำนวนและขนาดเท่าใดนั้น จะต้องเหมาะสมกับปริมาณข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษรและเป็นภาพสำหรับยูนิตกริดที่ใช้ในการวางตัวอักษรนั้น ความกว้างของยูนิตกริด คือ ความยาวของบรรทัด (line length) ซึ่งจะมีผลต่อขนาดตัวอักษร และขนาดของช่องว่างระหว่างบรรทัดหรือช่วงบรรทัดด้วย หลักการง่ายๆ คือ ความกว้างของยูนิตกริดที่อ่านได้ง่ายนั้นน่าจะอยู่ระหว่างขนาดความยาว 35-65 ตัวอักษร และหากยิ่งยูนิตกริดที่มีขนาดกว้างมาก ช่วงบรรทัดก็ควรจะมีขนาดกว้างมากขึ้นด้วยการออกแบบเมนูสคริปต์ กริดการออกแบบเมนูสคริปต์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นยูนิตใหญ่ 1 ยูนิต โดยไม่มีการแบ่ง เช่น แบ่งยูนิตกริดให้ย่อยลงไปอีกทั้งในทางตั้งและทางนอน ทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นมาร์จินและกัตเตอร์มากพอสมควร เนื่องจากสิ่งพิมพ์ที่ใช้ระบบกริดนี้ มักจะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นข้อความต่อเนื่องขนาดยาวมากๆ ให้กว้างจะช่วยให้ตัวไม่หายไประหว่างออกหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีขนาดหนา การใช้กริดที่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน หรือมิลเลอร์ กริด ก็เป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหานี้ การออกแบบเมนูสคริปต์ กริดเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งเหมือนเกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ ประกอบกับไม่มีความซับซ้อนที่ปรับเปลี่ยนให้แตกต่างกันได้ทำให้โครงสร้างของสิ่งพิมพ์ที่ใช้กริดประเภทนี้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์อื่นที่ใช้กริดแบบเดียวกัน การสร้างเอกลักษณ์ในการออกแบบจึงต้องใช้ความแตกต่างในการใช้ตัวพิมพ์ในส่วนที่เป็นหัวเรื่องและตัวข้อความการออกแบบคอลัมน์ กริดการออกแบบคอลัมน์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นคอลัมน์ เช่น แบ่งพื้นที่เป็นสองหรือสองยูนิตกริดในทางแนวตั้ง โดยจะไม่มีการแบ่งยูนิตกริด ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์มากพอสมควร เช่น หากในกรณีที่เป็นหนังสือก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์รวมกันแล้วประมาณร้อยละ 50 ของหน้ากระดาษ ในกรณีที่เป็นนิตยสารก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ รวมกัน แล้วประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของหน้ากระดาษ เป็นต้นตัวอย่างของขนาดต่างๆ ของส่วนประกอบของระบบกริดสำหรับหน้ากระดาษ ขนาด 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว ในการออกแบบคอลัมน์ กริด เช่นมาร์จินบน เท่ากับ 48 พอยต์มาร์จินล่าง เท่ากับ 60 พอยต์มาร์จินข้าง (นอก) เท่ากับ 4 ไพก้ากัตเตอร์ หรือมาร์จินข้าง (ใน) เท่ากับ 3 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสองคอลัมน์ เท่ากับ 2 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสามคอลัมน์ เท่ากับ 1 ไพก้าในการออกแบบคอลัมน์ กริดทำได้ไม่ยาก และเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ไม่ช่วยให้สามารถจัดวางองค์ประกอบแล้วเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากระบบกริดซึ่งถือเป็นโครงสร้างได้รับการพัฒนาขึ้นในลักษณะที่เกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ จึงมีโอกาสที่โครงสร้างของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับระบบกริดที่สิ่งพิมพ์อื่นพัฒนาขึ้นใช้ได้ค่อนข้างมากการออกแบบโมดูลาร์ กริดการออกแบบโมดูลาร์ กริดทำได้ ใน 2 ลักษณะคือ เป็นแบบทั่วไป และแบบเฉพาะโมดูลาร กรีดแบบทั่วไปนั้นจะเป็นแบบที่ง่ายกว่าในการออกแบบ เริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นหลายคอลัมน์ เช่นเดียวกันกับการออกแบบคอมลัมน์ กริดแต่ละคอลัมน์อาจจะมีขนาดเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ แล้วแบ่งคอลัมน์ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนเป็นยูนิตสี่เหลี่ยม แต่ละยูนิตอาจจะมีอัลลีย์เป็นช่องว่างคั่นอยู่ทั้งแนวตั้งและแนวนอนส่วนโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะนั้นจะเป็นแบบที่ยากกว่าในการออกแบบโดยเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์โดยอาศัยโครงสร้างของการจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากหน้าของสิ่งพิมพ์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และมีความเหมาะสมกับการใช้เฉพาะกรณีสิ่งพิมพ์ใดสิ่งพิมพ์หนึ่งเป็นพิเศษ ในการออกแบบระบบกริดแบบเฉพาะตัวนี้ มีลำดับขั้นตอนในการออกแบบ ดังนี้ขั้นที่ 1 สำรวจประเภทและลักษณะของข้อมูลที่จะต้องการสื่อสารดังที่ได้เปรียบเทียบระบบกริดกับการสร้างบ้านไว้ในตอนต้น ในการเลือ่กความถี่ ห่างของเสาหรือความสูงต่ำของคานนั้น สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจก็คือ จำนวนและลักษณะของฝาผนัง ประตูและหน้าต่าง การจะออกแบบระบบกริดก็ควรเริ่มด้วยการสำรวจดูข้อมูลต่างๆที่จะมาเป็นองค์ประกอบที่จะต้องได้รับการจัดวางลงในหน้ากระดาษเริ่มตั้งแต่ลักษณะขององค์ประกอบว่าเป็นเนื้อหาข้อมูลประเภทที่เป็นตัวอักษรอย่างเดียว หรือมีภาพประกอบด้วย หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เน้นภาพประกอบเป็นส่วนสำคัญ โดยมีข้อความเป็นคำบรรยายเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาถึงจำนวนขององค์ประกอบด้วยว่า ส่วนที่เป็นข้อความเนื้อหามีความสั้นยาวขนาดไหน อีกทั้งส่วนที่เป็นภาพประกอบนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ในขั้นการสำรวจนี้ ไม่ได้หมายถึงกับว่าจะต้องได้ข้อมูลที่แน่นอนไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่ให้ทราบข้อมูลคร่าวๆ ก็พอขั้นที่ 2 ออกแบบภาพรวมๆ ของหน้าคู่แต่ละคู่หากเป็นไปได้ นักออกแบบควรจะได้ลองออกแบบภาพรวมๆ ของสิ่งพิมพ์นั้นก่อนจะได้ลงมือออกแบบระบบกริดโดยทดลองจัดวางองค์ประกอบทั้งที่เป็นข้อความและเป็นภาพลงในหน้ากระดาษอย่างคร่าวๆ จากนั้นเมื่อรู้สึกว่าได้ภาพรวมๆ ที่ต้องการแล้วก็นำเอาหน้าคู่ที่ได้ลองจัดวางองค์ประกอบแล้วเหล่านั้นมาวางด้วยกัน เมื่อเห็นว่าแต่ละหน้าคู่มีส่วนใดที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันก็ลองวาดเส้นที่เป็นแนวโครงสร้างนั้นเอาไว้ เมื่อวาดเส้นที่อยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันซ้ำๆ กันหลายๆ หน้าคู่ครบถ้วนแล้วก็จะสามารถใช้เส้นเหล่านั้นเป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกริดต่อไปอย่างไรก็ตามการดำเนินการในขั้นที่ 2 นี้อาจจะมีการดดำเนินการหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีการดำเนินการในกรณีการจัดทำหนังสือเล่มมากกว่าจะทำในกรณีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ซึ่งมักจะเป็นการดำเนินการในขั้นที่ 3 เลยขั้นที่ 3 กำหนดขนาดตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรที่คาดว่าจะมีการใช้มากที่สุดเพื่อให้ระบบกริดที่ได้ออกแบบขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดังนั้นการกำหนดขนาดที่แน่นอนของส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดจึงควรมีพื้นฐานมาจากหน่วยขององค์ประกอบที่เล็กที่สุดในหน้ากระดาษ ซึ่งก็คือ ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง โดยมากแล้วตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง มักจะมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเล่ม โดยขนาดก็จะเป็นขนาดที่เน้นการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ คือ จะต้องอ่านต่อเนื่องได้นานอย่างสบายตา ภาษาไทยมักจะอยู่ในช่วง 12-16 พอยต์ ภาษาอังกฤษมักจะอยู่ในช่วง 8-14 พอยต์ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักด้วยว่าเป็นใคร หากเป็นเด็กหรือคนชราอาจจะต้องใช้ตัว อักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติขั้นที่ 4 กำหนดหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อมีการกำหนดขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียดแล้ว ก็จะต้องกำหนดด้วยว่า ในการนำตัวพิมพ์ขนาดนั้นๆมาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้น มาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้นจะมีการเว้นช่องว่างระหว่างบรรทัดเท่าใดเมื่อมีการกำหนดช่องว่างระหว่างบรรทัดแล้ว ก็ให้นำมาบวกกับขนาดตัวพิมพ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 3 เช่น ขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งกำหนดไว้เป็น 12 พอยต์ และช่องว่างระหว่างบรรทัดเป็น 2 พอยต์ เมื่อรวมกันจะเป็น 14 พอยต์หากเป็นการเรียงบรรทัดโดยไม่มีช่องว่างระหว่างบรรทัด ก่จะใช้ขนาดของตัวพิมพ์ที่กำหนดเป็นขนาดของหน่วยที่ย่อยที่สุดเลย เช่นหากเป็นตัวพิมพ์ขนาด 12 พอยต์ หน่วยที่เล็กที่สุดที่จะนำมาสร้างเป็นกริด ก็คือ 12 x 12 พอยต์ขั้นที่ 5 การวางหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อได้หน่วยที่ย่อยที่สุดจากขั้นที่ 4 แล้ว ก็นำหน่วยนั้นไปวางในหน้ากระดาษ โดยเรียงต่อกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้เต็มพื้นที่ตลอดความกว้างและความสูงของหน้ากระดาษทั้งหน้า การวางนี้อาจจะวางจากมุมด้านซ้ายหรือวางออกจากตรงกลางของหน้ากระดาษก็ได้ขั้นที่ 6 เลือกจัดกลุ่มหน่วยที่ย่อยที่สุดให้เกิดเป็นยูนิตกริด อัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ขั้นตอนสุดท้ายนี้ ก็คือ การกำหนดเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดต่อไป ซึ่งหากมีการดำเนินการในขั้นที่ 2 ก็จะช่วยได้มากวิธีการก็คือ นำเส้นที่ลากไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกรีดในขั้นที่ 2 มาทาบกับเส้นตารางละเอียดในขึ้นที่ 5 จากนั้นก็ลากเส้นที่จะใช้เป็นระบบกริดโดยขยับเส้นจากขั้นที่ 2 ให้มาลงในเส้นที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากขั้นที่ 5 ก็จะได้เส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริด หากไม่มีการดำเนินการในขั้นที่ 2 นักออกแบบก็สามารถลากเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้น จากขั้นที่ 5 ทั้งนี้จะต้องไม่ลากเส้นระหว่างตาราง แต่ต้องเป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้นระบบกริดแบบเฉพาะตัวนั้นมีข้อดีที่เห็นได้ชัด ก็คือ จะทำหน้าที่เป็นเสมือนโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เมื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรมาจัดวาง ก็จะได้หน้าของสิ่งพิมพ์ที่ดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมาด้วย แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ค่อนข้างยากแก่การพัฒนาขึ้นใช้งาน กล่าวคือ จะต้องอาศัยนักออกแบบที่มีประสบการณ์มาทำหน้าที่นี้การออกแบบไฮราชิเคิล กริดการออกแบบไฮราชิเคิล กริด จะเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์ เหมือนเป้นการสร้างโครงสร้างให้สิ่งพิมพ์เป็นกรณีๆ ไปเป็นพิเศษเป็นระบบโครงสร้างที่มีรูปแบบไม่แน่นอนและต้องการความชำนาญในการออกแบบสูง จึงจะได้ระบบกริดที่ใช้งานได้จริงๆ มีลักษณะขั้นตอนคล้ายๆ กับการออกแบบโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะ คือ เริ่มด้วยการสำรวจข้อมูลทั้งในส่วนที่เป็นข้อความและภาพก่อนว่ามีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางแผนคร่าวๆ ว่าภาพรวมของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางยูนิตกริด ซึ่งมักจะมีหลายขนาดต่างๆ กับ ลงไปในพื้นที่หน้ากระดาษ แต่การวางนั้นไม่ได้วางต่อเนื่องขนานกับเหมือนโมดูลาร์
 

การออกแบบ การตลาดมือถือ

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

การออกแบบ การตลาดมือถือ

แง่คิด ปรึกษาการตลาดออนไลน์ การตลาดสำหรับมือถือ Mobile Platform :

แนวปฎิบัติด้านการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ
 ( Digimarketing Best Practices)

ยอมรับว่าลูกค้าคือผู้ควบคุมอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวชนิดนี้
 ( Recognize that the customer is in control of this Very Personal Device ) โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด และลูกค้าเป็นผู้มีอำนาจควบคุมเต็มร้อย เขาเป็นคนที่ตัดสินใจเองว่า 
จะมีส่วนร่วมกับแผนการตลาดผ่านมือถือของคุณหรือไม่ ความต้องการ เป้าหมายและความคาดหวังของลูกค้าคือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะผลักดัน
แผนการตลาดผ่านมือถือให้ประสบความสำเร็จ
ยังไม่มีการระบุหลักเกณฑ์ไว้แน่ชัดว่าอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้ามามีส่วนร่วมในแผนการตลาดผ่านมือถือ เช่น ต้องทำอย่างไร 
ที่ไหน เมื่อไร และบ่อยแค่ไหน แต่สิ่งที่ชัดเจนอย่างยิ่งคือ คุณต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อนโทรศัพท์มือถือไม่ใช่สื่อที่คุณแทรกเข้า
ไปหรือขัดจังหวะได้ถ้าผู้ใช้ไม่ยินยอม การบล๊อกไม่ให้คอนเทนต์การตลาดโผล่เข้าไปในมือถือทำได้ไม่ยาก ดังนั้นนักการตลาดดิจิทัลจึงต้องทำงานอย่างระมัดระวังและทำด้วยความเคารพสิทธิของเขจ้าของมือถือถ้าทำได้อย่างถูกต้องพอเหมาะ
พอดีคุณจะตักตวงประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารใหม่นี้ได้มากทีเดียว
ตัวอย่างเช่น แคมเปญโฆษณารองเท้ากีฬา Nike Airmax ใช้สื่อโฆษณาแบบมาตราฐานทั่วไป หนังโฆษณาเป็นภาพนักกีฬาที่ตื่นแตเช้าไปออกกำลังกาย แต่แคมเปญนี้มลูกเล่นนิดหน่อยโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อ ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถใช้โทรศัพท์เข้าไปสมัครขอรับบริการปลุกด้วยเสียงของยอดนักเทนนิสดังระดับโลกอย่างมาเรีย ซาราโปว่า ปรากฎว่ามีผู้สมัครเข้ามามากมาย เพียงสัปดาห์แรกก็มีคนสมัครมากกว่าที่บริษัทประเมิณไว้สำหรับ 3 สัปกาห์ถึง 3 เท่าทีเดียวผู้บริโภคบางรายขอให้ปลุวันละหลายครั้งก็มี โค้ชและผู้จัดการทีมกีฬาสมัครขอให้ปลุกลูกทีมทั้งทีมเลย

โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องมีรหัสระบุตัวผู้ใช้…ควรใช้สิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์
( Use the Personal Addressability of Mobiles )



อุปกรณ์ดิจิทัลทุกชิ้นระบุตัวผู้ใช้ได้ หมายเลขโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันเลยมีจำนวนไม่น้อยที่นิยมนำโทรศัพท์หาเบอร์เพื่อนมากกว่าพ่อแม่ หรือเลขาฯ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะรับโทรศัพท์เรียกเข้าทุกครั้ง แม้ว่าปัจจุบันหลายคนจะรับแต่เบอร์ที่รู้จักเท่านั้นก็ตาม ถ้าเจ้าของโทรศัพท์อนุญาติและไว้ใจที่จะรับโทรศัพท์จากนักการตลาดอย่างคุณแล้วล่ะก็ คุณมั่นใจได้เลยว่าจะได้คุยเจ้าของโดยตรง(โดยที่คุณรู้ว่าเขาเป็นใคร) เป็นคนที่คุณหวังจะยื่นข้อเสนอข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
เขาโดยตรงเท่านั้น ข้อมูลและประวัติของผู้ใช้มือถือ มีค่าอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น บริษัท BMW ในประเทศจีนใช้โฆษณาที่เจาะจงถึงตัวผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเชิญให้มาทดลองขับ BMW 3 Series ในแคมเปญยังมีการสร้างเว็บไซต์เพื่อแสดงผลบนมือถือโดยเฉพาะเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย “แต่งรถ” เสมือนจริงในเว็บไซต์ได้ตาม
ที่ต้องการ
น่าเสีนดายที่นักการตลาดบางคนใช้ประโยชน์จากมือถือไม่เต็มที่คิดเพียงว่าส่ง SMS ไปอวยพรวันเกิดโดยเรียกชื่อผู้รับได้ถูกต้องก็พอแล้วนักการตลาดดิจิทัลควรทำมให้ได้ถึงขนาดส่งคำพยากรณ์ชีวิต คำแนะนำด้านสุขภาพที่เหมาะกับอายุหรือพยากรณ์อากาศแต่ละแห่งให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ข้อความ SMS 
อวยพรปีใหม่ที่มาจากใครก็ไม่รู้ มันไม่มีความหมายอะไรกับผู้รับ แม้ว่าคำอวยพรจะส่งมาถูกวันและเรียกชื่อเจ้าของได้ถูกต้องก็ตาม ปรึกษาการตลาดออนไลน์

ใช้คุณสมบัติของการเป็นสื่อนอกบ้านที่ระบุสถานที่ได้ให้เป็นประโยชน์
( Build on Mobile’s Location-Specific, Out-of-Home, Capabillity)



ในสหรัฐอเมริการ้านกาแฟ Starbucks เปิดให้บริการใหม่ โดยลูกค้าสามารถส่ง SMS แจ้งรหัสไปรษณีย์มาที่ MYSBUX จากนั้นเขาจะได้รับรายชื่อร้าน Starbucks ที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น Burger King จัดโปรโมชั่นไก่ทอดโดยพิมพ์โค๊ดมือถือ
( Mobile Code) ไว้บ่นกล่อง เมื่อลูกค้าส่ง SMS บอกโค๊ดมือถือนั้นเข้ามาจะมีโอกาศชิงโชครับตั๋วเข้าชมซุปเปอร์โบลว์ เป้าหมายหลักของแคมเปญคือทำให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ต้องการในทันที โดยพุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคที่อยู่นอกบ้านหรืออยู่ที่จุดขาย การยื่นข้อเสนอให้ทางมือถือน่าจะให้ผลดีกว่าทางโทรทัศน์ เพราะผู้ชมโทรทัศน์ต้องออกจากบ้าน หรือต้องคอยจำข้อเสนอให้
ได้เวลาไปที่ร้าน ให้ข้อมูลเรียลไทม์ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเสมอ ( Identify Real-Time Information that Really Matters to Consumers )
การส่งข่าวติดต่อกับผู้บริโภคเป็นประจำย่อมทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์สินค้า โดยเฉพาะถ้าข่าวสารที่ได้รับมีประโยชน์แก่เขาโดยตรงตัวอย่างเช่น บริษัทยา Novartis ให้บริการ SMS เตือนความหนาแน่นของละอองเกสรดอกไม้ในแต่ละพื้นที่ ( Pollen Counts ) ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองเยื่อจมูก เพื่อโปรโมทยาฉีดพ่นจมูกรักษาโรคไข้ละอองฟาง ผู้ที่สมัครเข้ามาจะได้รับข้อมูล Pollen Count ที่ทันสมัยเฉพาะบุคคลแต่ละสถานที่ รวมทั้งการแจ้งเตือนพิเศษในวันที่จะมีละอองเกสรมากเป็นพิเศษ บริษัทยังใช้ SMS เป็นเครื่องมือทางการตลาดแจ้งเคล็ดลับป้องกันและรักษาโรคใข้ละอองฟางอีกด้วยร้อยละ 56 ของลูกค้าที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวยินดีรับสมัครบริการต่อแม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
มีสำนักข่าวหลายแห่งให้บริการส่ง SMS แจ้งพาดหัวข่าวสำคัญๆ อยู่บ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริการที่เสียเงิน Yahoo! Alerts เปิดให้บริการแจ้งข่าวสารฟรีในหัวข้อที่ผู้บริโภคเลือก เช่น ข่าวประจำวัน รายงานพยากรณ์อากาศ ผลกีฬา รายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือแม้แต่คำพยากรณ์ชีวิต ธนาคารบางแห่งมีการ SMS เตือนหรือยืนยันธุรกรรมการเงิน ด้านบริษัท Textmarks มีบริการเปิดให้เว็บไซต์หรือบล็อกสร้างระบบส่ง SMS เตือนของตนเองเพื่อส่งข้อความสั้นไปเตือนสมาชิก
MasterCard Nearby มีบริการใหผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดใช้โทรศัพท์มือถือโทรหาตู้เอทีเอ็มใกล้ที่สุดเมื่ออยู่ในประเทศแคนาดา 
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป   ปรึกษาการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์ การตลาดมือถือ
 

แนวคิดการตลาดออนไลน์ หลักการตลาดดิจิทัล

การออกแบบอัตลักษณ์ องค์กร

แนวคิดการตลาดออนไลน์ หลักการตลาดดิจิทัล

ปรึกษาการตลาดดิจิทัล การตลาด ดิจิทัลหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 1 อย่าปล่อยให้ผู้บริโภค เป็นผู้รับสารเพียงอย่างเดียว นักการตลาดต้องนำเสนอสื่อที่สามารถดึงผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ฐานะ ผู้ร่วมวง : ผู้จุดประกาย ideas /ผู้สร้างสรรค์ /ผู้ร่วมความคิดเห็น /ผู้วิจารณ์ และผู้บริการหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 2 ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญ จริงอยู่ตลาด ดิจิทัล มันน่าหอมหวน ท้าทายยิ่งสำหรับนักการตลาดที่ไม่อยากตกยุค การลงทุนในตลาดแบบนี้ จำเป็นต้องพึ่งผลงานวิจัย สำรวจตลาดเก็บข้อมูลเชิงลึก เพราะข้อดีของการตลาดแบบนี้ คือ ผู้บริโภคจะถูกนักการตลาดเก็บข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย ขึ้น และง่ายขุ้นไปเรื่อยๆเพราะพวกที่ชอง Free Click /Free Downloaหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 3 เร้าใจ” อายบราสเชอร์ คือ พฤติกรรมใหม่ที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญ ถ้าคุณมาแบบ ถื่อๆเหมือน Traditional-media คงไม่คุ้มค่าที่เลือกลงทุนใน digi-marketing ///ต้อง Hook คนดูภายใน ไม่เกิน 5 Sec.หลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 4 “ความคล่องตัว และหยืดหยุ่น” digital-content มีความยืดหยุ่น และคล่องตัวสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สื่อประเภทนี้มีคุณภาพอยู่ที่ ไร้พรมแดน ไร้เวลา สถานที่ ไม่มีข้อจำกัด ในการสร้างและส่งข้อมูลหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 5 digi-marketing จะถูกกำหนดและ ถูกสร้างทิศทาง โดยกลุ่มผู้บริโภค ที่เรียกว่ากลุ่ม เพราะเกิดจากPower of favorite Community พลังของชุมชนคนรัก (ในเรื่องคล้ายๆกัน) นักการตลาดมีหน้าที่แค่ คอยให้รางวัล สร้างความท้าทายใหม่ๆหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 6 การส่งสาร หรือ Massage จะต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคก่อน ไม่งั้นเข้าข่าย Spam /Hack ….. So Base ที่สำคัญที่สุด คือ ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค ต่อไปจะมีคุณค่ามากกว่า ทองเสียอีกหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 7 นักการตลาด ยุคดิจิทัล ต้องเข้าใจประเภท และลักษณะของสื่อ ที่จะนำไปลง1. ช่วยให้เกิดความเข้ากันได้ใน Image ของตัวสินค้า และโยงใยไปถึงBrand 2. ที่สำคัญ ระบบการได้ผลกำไร ควรระวังมากขึ้น ถ้าชัดเจนในขณะที่คุณเป็นหนึ่งในผุ้ร่วมวงสนทนา อาจโดนผลักออกจากกลุ่มได้ง่ายๆหลักการตลาด ดิจิทัล ข้อที่ 8โปรแกรมการสืบค้น จะมีบทบาทอย่างมาก และโดดเด่น ในการตลาด ยุคดิจิทัล ปรึกษาการตลาดดิจิทัล หลักการตลาดดิจิทัล
 

การออกแบบ Poster และแผ่นพับ (สิ่งพิมพ์พิเศษ)

การออกแบบ Poster และแผ่นพับ (สิ่งพิมพ์พิเศษ)

สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการใช้ประโยชน์กันมายาวนาน อันที่จริงแล้วสิ่งพิมพ์ประเภทแรกๆ ของโลกล้วนเป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจตัวอย่างเช่นโปรเตอร์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อแรกที่ใช้ประกาศข้อมูลให้คนจำนวนมากได้รับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่การใช้คนป่าวประกาศในที่สาธารณะสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจคือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการผลิตขึ้นเมื่อเกิดมีความต้องการจะใช้ประโยชน์การทำหน้าที่สื่อสารกับกลุ่มคนจำนวนมากและเลิกการผลิตนั้นเมื่อการดำเนินการการสื่อสารได้บรรลุผลตามตั้งใจแล้วสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจโดยมากจึงมักจะไม่มีการเผยแพร่เป็นประจำสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมีรูปแบบที่หลากหลายเนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสนองความซับซ้อนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมืองซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิตความสนใจและรสนิยมสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจอาจจะทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาเช่นโปรเตอร์โฆษณาสินค้าหรืออาจจะทำหน้าที่เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลเช่นรายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมีหลากหลายชนิดและมีวัตถุประสงค์และลักษณะในการนำไปใช้ที่แตกต่างกันโดยสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่สำคัญในแง่การออแบบได้แก่โปรเตอร์แผ่นผับจดหมายข่าวและรายงานประจำปี
 

การออกแบบโปสเตอร์ Poster Design

ออกแบบ website

การออกแบบโปสเตอร์ Poster Design

งานออกแบบโปสเตอร์ Poster Design แง่คิดในการ รับงานออกแบบโปสเตอร์
โปสเตอร์เป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจซึ่งมักใช้มากในการโฆษณาสินค้าบริการหรือกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงการโฆษณาชวนเชื่อบางครั้งก็ใช้ในการให้ข้อมูลอย่างย่อโปรเตอร์มีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวมักมีขนาดใหญ่และพิมพ์ด้านเดียวการเผยแพร่มักจะใช้การติดตามผนังบอร์ดกระจกหน้าร้านและในสถานที่ที่ค่าดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายพบเห็นโปรเตอร์เป็นสื่อที่มีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วและการใช้โปรเตอร์ยิ่งแพร่หลายขึ้นเมื่อมีการคิดค้นระบบการพิมพ์ต่างๆแต่โปรเตอร์ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นโปรเตอร์ที่มีตัวหนังสือเป็นหลักส่วนภาพประกอบหากจะมีก็จะเป็นภาพลายเส้นโปรเตอร์ในรูปแบบสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการคิดค้นระบบการพิมพ์หิน(lithography)ราวปีค.ศ.1798 วึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบโครโมลิโทกราฟี(chromolithography) ในช่วงทศวรรษปีค.ศ.1830 โดยระบบการพิมพ์นี้เป็นระบบแรกที่สามารถทำการพิมพ์สีหลายๆสีเป็นภาพเหมือนจริงลงบนสิ่งพิมพ์ได้ด้วยประโยชน์ที่สำคัญของการพิมพ์นี้เองที่ทำให้เกิดการนิยมครั้งใหม่ของโปรเตอร์ขึ้นในช่วงปีค.ศ.1880_1890 โดยมีจูลส์_เชอเรท์(Jules_Cheret) ผู้ซึ่งมักจะได้รับการขนานนามว่าบิดาแห่งโปรเตอร์สมัยใหม่และอองรี_เดอตูลูส-โลเตร็ก เป็นผู้บุกเบิกรูปแบบใหม่ในการออกแบบโปรเตอร์ในประเทศฝรั่งเศสโปรเตอร์ถูกใช้เป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อในช่วงสงครามโลกครั้งที่1โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีการพิมพ์โปรเตอร์กว่า 20 ล้านใบหลังจากสงครามรูปแบบของโปรเตอร์มีความทันสมัยและเรียบง่ายขึ้นด้วยอิทธิพลจากสถาบันเบาเฮาส์ในประเทศเยอรมนีและแนวนิยมสมัยใหม่อื่นๆในยุโรปต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ก็เริ่มมีการนำภาพถ่ายมาใช้มากขึ้นในการออกแบบโปรเตอร์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2เมื่อโทรทัศน์เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นโปรเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยลงในฐานะสื่อโฆษณาแต่การพัฒนาทางการออกแบบโปรเตอร์อย่างต่อเนื่องในประเทศสวิตเซอร์แลนด์สหรัฐอเมริกาและต่อมาในอีกหลายประเทศทั่วโลกทำให้โปรเตอร์สมัยใหม่มีรูปแบบที่หลากหลายและสามารถสนองตอบรสนิยมของผู้บริโภคยุตใหม่ได้อีกทั้งโปรเตอร์ก็ยังเป็นสื่อที่ราคาถูกกว่าสื่อโทรทัศน์เมื่อเทียบในด้านเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตและการเผยแพร่นอกจากนั้นโปรเตอร์ยังสามารถเข้าถึงชุมชนที่ห่างไกลได้ทั่วถึงทำให้โปรเตอร์ยังคงเป็นสิ่งพิมพ์หลักสื่อหนึ่งเรื่อยมาจนแม้ในปัจจุบันที่มีสื่อต่างๆเกิดขึ้นมากมายแต่ความนิยมในการใช้โปรเตอร์ก็ยังมีต่อเนื่องเสมอมาการจำแนกประเภทของโปรเตอร์โปรเตอร์มีมากมายหลายประเภทตามแต่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานโดยโปรเตอร์ที่พบเห็นและเป็นที่นิยมใช้กันมีดังนี้ 1.โปรเตอร์โฆษณาชวนเชื่อและการเมือง (propaganda and political poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งเสนอแนวคิดทางการเมืองการปกครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่1และ2 มีการใช้โปรเตอร์ประเภทนี้อย่างมากในทั้งสองฝ่ายที่ทำสงครามกันในปัจจุบันโปรเตอร์ประเภทนี้ก็ยังเป็นสื่อสำคัญทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง 2.โปรเตอร์โฆษณาสินค้า(advertising poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งนำเสนอสินค้าให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จักและจดจำหรือมุ่งนำเสนอข้อดีเด่นของตราสินค้า 3.โปรเตอร์ภาพยนตร์(film or movie poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งโฆษณาภาพยนตร์ที่กำลังจะออกฉายหรือฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักแสดงให้เห็นถึงประเภทของภาพยนตร์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักแสดงและผู้เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ 4.โปรเตอร์การแสดง(concert or show poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งแจ้งข่าวการแสดงที่จะเกิดขึ้นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงสถานที่และเวลาที่จะมีการแสดงรวมทั้งราคาบัตรเข้าชม 5.โปรเตอร์การจัดงาน(event poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งแจ้งข่าวการจัดงานมหกรรม นิทรรศการ การจัดแสดงสินค้า การแข่นขัน ฯลฯและให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องสถานที่ ช่วงเวลาการจัดงาน รวมทั้งราคาบัตรเข้าชม 6.โปรเตอร์การศึกษา(educational poster) เป็นโปรเตอร์ทีมุ่งให้การศึกษาแกสาธารณะชนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเช่น โปรเตอร์แสดงวิธีการกรองน้ำอย่างถูกต้อง 7.โปรเตอร์ในห้องเรียน(classroom poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งทำขึ้นใช้ในห้องเรียนเป็นหลัก เช่น โปรเตอร์แสดงแผนที่โลก 8.โปรเตอร์การวิจัย(research poster) เป็นโปรเตอร์ที่มุ่งใช้เพื่อให้ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับการวิจัยมักใช้ในการประชุมวิชาการต่างๆส่วนประกอบของโปรเตอร์โปสเตอร์มีส่วนประกอบไม่มากเมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์อื่นๆเช่น หนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร ส่วนประกอบของโปสเตอร์มีน้อย เนื่องจากธรรมชาติของโปรเตอร์เป็นสิ่งพิมพ์ที่เน้นการให้ข้อมูลจำนวนน้อยในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่วนประกอบของโปสเตอร์ มีดังนี้ 1.พาดหัว คือ ส่วนที่เป็นตัวอักษรให้ข้อมูลที่เรียกร้องความสนใจของผู้พบเห็น 2.ภาพ คือ ส่วนที่เรียกร้องความสนใจของผู้พบเห็นที่ไม่ใช่ตัวอักษร 3.เนื้อหา คือ ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ให้รายละเอียดที่จำเป็น4.ภาพสินค้า หรือตราสัญลักษณ์ คือ ส่วนที่ระบุผู้ที่เป็นเจ้าของโปสเตอร์นั้นๆทั้งนี้ ในโปสเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 องค์ประกอปเสมอไปการเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบโปสเตอร์การออกแบบโปสเตอร์มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็นไปตามการเตรียมการก่อนการออกแบบ และการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ และหลักการออกแบบและระบบกริดอย่างไรก็ตามโปสเตอร์มีส่วนประกอบที่แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากกราออกแบบสิ่งพิมพ์โดยรวม แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ 1.สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบโปสเตอร์ 2.การออกแบบส่วนประกอบต่างๆของโปสเตอร์
 

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์ Newspaper design

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์ Newspaper design

แง่คิดในการ รับงานออกแบบหนังสือพิมพ์

หลักการออกแบบหนังสือพิมพ์

การออกแบบหนังสือพิมพ์ ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์นั้นสามารถนับถอยหลังไปได้กว่าสี่ร้อบปี แต่การนำเสนอข่าวในรูปแบบที่เป็นการเขียนหรือพิมพ์ลงในกระดาษแล้วแจกจ่ายนั้นมีมานานนับได้ตั้งแต่ยุคอาณาจักรโรมันแล้ว สมาพันธ์หนังสือพิมพ์โลก (World Newspaper) ถือว่าหนังสือพิมพ์รีเลชันส์ (Relations) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1605 เป็นหนังสือพิมพ์สมัยใหม่ฉบับแรกของโลก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าหนังสือพิมพ์ลอนดอน กาเซนท์ (London Gazette) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลกที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษ โดยเริ่มพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1666 น่าจะถือเป็นหนังสือพิมพ์แท้จริงฉบับแรกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในทวีปอเมริกา คือ หนังสือพิมพ์ออคเคอร์เรนซ์ (Public Occurrences)

ในปี ค.ศ.1690 โดยเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่อย่างในปัจจุบัน แต่มีขนาดเพียว 7 นิ้ว และประกอบด้วยหน้าหนังสือเพียง 4 กน้าเท่านั้น ก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาจะแยกออกจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษได้เกิดหนังสือพิมพ์ที่สำคัญมากมายหลายฉบับ เช่น บอสตัน กาเซนท์ (Boston Gazette) และนิวยอร์ก กาเซนท์ (New York Gazette)ความสามารถในการผลิตกระดาษในราคาที่ถกลง และเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นในช่วงการปฏิวัตอุตสาหกรรม ทำให้เกิดหนังสือพิมพ์ขึ้นมากมายทั่วโลก ต่อมาเครื่องโทรเลขได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1844 ทำให้การเสนอข่าวไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในช่วงคริสต์ศตรรษที่ 19 ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ ที ลักษณะเป็นตัวหนังสือขนาดเล็กจำนวนสมากตั้งๆตลอดทั้งหน้าการนำภาพถ่ายฮาฟโทน(halftone)มาใช้ในหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1880 และต่อมามีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นพัฒนาการสำคัญที่ทำให้รูปแบบของหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปจนราวปีค.ศ.1900 หนังสือพิมพ์เริ่มมีรูปลักษณ์ในแบบที่พบเห็นได้ในปัจจจุบันหนังสือพิมพ์มีขนาดใหญ่ขึ้น กว้างขึ้น และหนาขึ้น และเริ่มมีการแบ่งข่าวสารออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น อาชญากรรม ต่างประเทศ กีฬา ฯลฯ และมีการใช้ภาพถ่ายมากขึ้นด้วยในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับการออกแบบมากนัก ดังจะเห็นได้จากรูปแบบที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากนับตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์จึงมีลักษณะเหมือนการจับเอาตัวอักษรและภาพมาบรรจุลงไปในพื้นที่ว่างของหน้ากระดาษให้เต็มเหมือนการเล่นต่อภาพ สถานการณ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีสภาพดีกว่าในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว หนังสือพิมพ์ชั้นแนวหน้าหลายฉบับในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป มีการจ้างผู้กำกับศิลป์ที่มีฝีมือเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบรูปลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ให้มีเอกลักษณ์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกๆที่มีการจ้างผู้กำกับศิลป์มาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้หนังสือพิมพ์ของตน เช่น หนังสือพิมพ์ชิคาโก ทรีบูล (Chicago Tribune) และนิวยอร์กไทมส์ (New York Times) ได้ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จของการผสมผสานการออกแบบเข้ากับเนื้อหาที่ดี ซึ่งนิตยสารหลายฉบับใช้เป็นสูตรของความสำเร็จอยู่แล้วมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ ต่อมาหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ได้สร้างรูปแบบใหม่ของหนังสือพิมพ์ที่เรียกได้ว่าเป็ฯหนังสือพิมพืสำหรับคนโตมากับโทรทัศน์ คือ มีการเนอข่าวที่สั้นกระสั้นกระชับ ใช้ภาพจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายแผนที่หรือแผนภูฒิ มีการออกแบบที่สวยงาม เต็มไปด้วยสีสันอย่างที่ไม่เคยมีการใช้ในหนังสือพิมพ์มาก่อน จนมีผู้เรียกหนังสือพิมพ์นี้ว่า “แมคเปเปอร์” (McPaper) คำวิพากษ์วจารณ์หนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ต้องเงียบเสียงลงเมื่อหนังสือพิมพ์สามารถดำรงสภาพเป็นหนังสือพิมพ์ระดับประเทศมาจนทุกวันนี้รูปแบบที่เป็นแนวนิยมของหนังสือพิมพ์สมัยใหม่นั้น ไม่ได้มุ่งนำเสนอข้อมูลข่างสารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งที่จะกระตุ้นความตื่นตัว มีชีวิตชีวาเพื่อการแข่งขันได้กับสื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้น โดยมีจุดที่น่าสังเกต ดังนี้1)

การใช้สี – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่จะเน้นภาพที่มีสีสันมากขึ้น โดยหน้าแรกจะพิมพ์สี่สีกลายเป็นสิ่งปกติของหนังสือพิมพ์ทั่วไป และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการใช้หน้าสีในหน้าในมากขึ้นเรื่อยๆ หนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจบางฉบับมีการพิมพ์สี่สีตลอดทั้งเล่ม การใข้สีที่นี้รวมไปถึงการใช้ภาพจำนวนมากและมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นด้วย2) การใช้องค์ประกอบอื่นทางเรขศิลป์ – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่ไม่ได้นำเสนอข้อมูลด้วยข้อความเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังนำเสนอด้วยการสร้างแผนภูมิ แผนที่แบบต่างๆ เพื่อให้สถิติหรือข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น3) การจัดกลุ่มเนื้อหา – หนังสือพิมพ์สมัยใหม่มุ่งสนองรูปแบบชีวิตอันเร่งรีบของคนสมัยใหม่ด้วยการจัดกลุ่มเนื้อหาที่เป็นความสนใจเดียวกันเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการค้นหา4)

การจัดวางองค์ประกอบ – หนังสือพิมพ์ สมัยใหม่จะใช้ระบบกริดเป็นโครงสร้างในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆทำให้เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารแต่ละเรื่องมีรูปร่างเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่างๆที่ถูกนำมาจัดเรียงไว้ด้วยกันในหน้ากระดาษเรื่อง I การจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์มีความเป็นไปได้ในการเลือกองค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่หลากหลายช่นเดียวกันกับความหลากหลายของประเภทหนังสือพิมพ์ การทราบว่าหนังสือพิมพ์ที่จะทำการออกแบบจัดเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดจะช่วยให้เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ เนื้อหา รวมทั้งผู้อ่านที่เป็นปลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถเลือกใช้องค์ประกอบและหลักการในการออกแบบที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์นั้นๆได้ดีขึ้น หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ถือเป็นสื่อหลักและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีการศึกษาเพื่อจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์อยู่หลายวิธีโดยทั่วไปแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีการแบ่งตามความหนักเบาของเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ1)

  • หนังสือพิมพ์ประชานิยม (popular newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่สนองความนิยมของผู้อ่านจำนวนมากๆ เน้นการเสนอข่าวที่มีเนื้อหาเร้าอารมณ์และความรู้สึกตื่นเต้น เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวภัยพิบัติ ข่าวความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีรูปแบบการนำเสนอที่เต็มไปด้วยจินตนาการและมีสีสัน ใช้ภาพประกอบและพาดหัวจำนวนมาก2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ (quality newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นการเสนอเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวจริงจัง มุ่งเสนอสาระ ความรู้ ทัศนคติ การวิเคราะห์ หรือความคิดเห็น เช่น ข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การต่างประเทศ โดยเนื้อหานี้จะมีประโยชน์โดยตรงที่เป็นรูปธรรมกับผู้อ่าน เช่น ช่วยในการตัดสินใจเลือกลงทุน หรือ สามารถเสนอความเห็นโอกาสต่างๆหากพิจารณาจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ตามลักษณะเนื้อหา จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1) หนังสือพิมพ์ทั่วไป (general newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะหลากหลายรวมอยู่ในฉบับเดียว คือ มีทั้งเนื้อหาที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ และเรื่องราวของเนื้อหาก็หลากหลาย เช่น เรื่องสตรี เรื่องศิลปะ เรื่องบันเทิง กีฬา เรื่องเศรษฐกิจการค้า เป็นต้น เหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกว้าง2)
  • หนังสือพิมพ์เฉพาะ(specialized newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเนื้อหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจ หนังสือพิมพ์กีฬา หรือหนังสือพิมพ์บันเทิง ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาจะมีทั้งที่เป็นข่าว บทความ บทวิจารณ์ สารคดี ฯลฯ แต่เรื่องราวก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ หนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะมีผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไป หากพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงกว่าหนังสือพิมพ์ทั่วไปหากจะพิจารณาถึงเวลาที่มีการนำหนังสือพิมม์ออกเผยแพร่ จะสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ1)
  • หนังสือพิมพ์รายวัน (daily newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกวัน โดยอาจจะมีการออกเป้นหนังสือพิมพ์ฉบับเข้า (morning newspaper)ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนเช้าตรู่ของวัน หรือหนังสือพิมพ์ฉบับบ่าย (afternoon newspaper) และหนังสือพิมพ์ฉบับเย็น(evening newspaper) ซึ่งออกเผยแพร่ในตอนบ่ายหรือเย็นตามลำดับ หนังสือพิมพ์รายวันส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าแต่มีบางฉบับที่มีการออกทั้งเป็นแบบเช้าและบ่าย2)หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ (weekly newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยอาจจะเลือกออกในวันใดวันหนึ่งเป็นประจำบางครั้งหนังสือพิมพ์ประเภทนี้ก็ไม่ได้ออกเป็นรายสัปดาห์ จึงเรียกว่า หนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้รายวัน (non daily newspaper)นอกจากนี้แล้ว ยังจำแนกหนังสือพิมพ์ตามรับดับของการนำออกเผยแพร่ได้ด้วย ซึ่งจะสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ1)
  • หนังสือพิมพ์ระดับนานาชาติ (international newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีการผลิตจากแหล่งเดียวกันหรือแยกผลิตในแต่ละประเทศโดยมีเนื้อหาเดียวกัน2) หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (national newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ทั่วกันพร้อมทั้งประเทศ โดยมีเนื้อหาเดียวกันครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านทั้งประเทศ3)
  • หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น (local newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในม้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวอันเป็นที่หน้าสนใจของผู้อ่านในท้องถิ่นนั้นๆการจำแนกประเภทหนังสือพิมพ์ที่นิยมทำกันอีกแนวทางหนึ่ง คือ การแบ่งประเถทตามขนาดรูปเล่ม ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1)
  • หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่ (broadsheet newspaper หรือบางครั้งที่เรียก full size newspaper)เป็นหนังสือพิมพ์ที่พบเห็นกันเป็นส่วนมาก จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 15-17 นิ้ว และความสูงประมาณ 22-23 นิ้ว2)
  • หนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก (tabloid newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ในอดีตนั้นนิยมใช้เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชวบ้าน คือไม่เน้นเนื้อหาสาระที่เป็นข่าวจริงจังแต่ในปัจจุบัน ในต่างประเทศนั้น หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กได้พัฒนาขึ้นครอบคลุมตลาดทั้งหมดไม่ว่าเป็นตลาดบน (up-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ (quality) ตลาดกลาง (middle-market)

สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (popular) และตลาดล่าง (down-market) สำหรับเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวเร้าใจ(sensational) ส่วนในประเทศไทย จะพบเห็นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นหนังสือพิมพ์แผ่นเล็กจะมีขนาดประมาณ 11-12 นิ้ว และความสูงประมาณ 15-17 นิ้ว3)หนังสือพิมพ์แผ่นกลาง (berliner or midi newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่อาจจะไม่ได้พบเห็นกันมากนัก แต่ก็มีใช้ในหลายประแทศในทวีปยุโรป จะมีขนาดความกว้าง 1หน้า ประมาณ 12นิ้ว และความสูงประมาณ 18 นิ้วโดยสรุป การจำแนกหนังสือพิมพ์ทำได้หลายแบบ โดนอาจจะแยกตามประเภท เนื้อหา ความหนักเบาของเนื้อหา การนำหนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่ ระดับการนำออกเผยแพร่ หรือตามขนาดรูปเล่มเรื่อง I ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบที่ต้องการการออกแบบ ดังนี้1. หน้าแรกหน้าแรกเป็นหน้าที่นำเสนอให้ผู้อ่ารทราบว่ามีสิ่งใดที่หนังสือพิมพ์จะมีให้แก่ผู้อ่านมากที่สุดก็ว่าได้ ส่วนประกอบที่มีปรากฏในหน้าแรก มีดังนี้

1.1 แถบชื่อ ( name plate flag title plate) หรือ “หัวหน้งสือ” คือ ชื่อของหนังสือพิมพ์ โดยมักมีส่วนตัวพิมพ์ที่แสดงวันที่ออก (dateline) เอาไว้ด้วย1.2หัวข่าว (headline) หรือ “พาดหัว” เป็นข้อความสำคัญที่นอกจากจะบ่งชี้ถึงข่าวเรื่องนั้นๆ แล้วยังทำหน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็น ส่วนประกอบนี้มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหน้าอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยจะเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1.2.1) ชุดหัวข่าว (bank)คือ หัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โยมีความยาว 1บรรทัด ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า บรรทัด (line)

1.2.2) ขั้นหัวข่าว (deck) คือ ชุดของหัวข่าวที่เป้นตัวพิมพ์เรียงกันโดยมีความยาวประมาณ 1 แถวขึ้นไป

1.3) หัวรอง (sub headline) คือ หัวข่าวเล็กเพื่อขยายความหัวข่าวเด่นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อนำผู้อ่านสู้เนื้อข่าว

1.4) ตัวเนื้อเรื่อง (body matter หรือ text) เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าวซึ่งหากมีใบหน้าแรกก็มักจะมีเป็นการเริ่มนำเท่านั้น มักจะมีการนำเสนอเนื้อข่าวอันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าในอื่นๆ

1.5) ภาพประกอบข่าว เป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว ภาพประกอบในหน้าแรกนี้มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข่าวที่ใหญ่ที่สุดภาพประกอบนี้อาจจะมีจำนวน 1 ภาพหรือมากกว่าก็ได้ โดยในการรำเอาภาพประกอบข่าวนั้นมาใช้ มักนิยมให้มีคำบรรยายภาพ(cutline caption legend underline) เพื่อเสริมความเข้าใจด้วย 2 หน้าในส่วนประกอบที่มีปรากฏอยู่ในหน้าในนี้ มีดังนี้

2.1) หัวข่าว หรือ พาดหัว เป็นข้อความในลักษณะเดียวกันกับหัวข่าว หรือ พาดหัวในหน้าแรก โดยหัวข่าวนี้นอกจะมีอยู่ในหน้าแรกแล้วยังมีอยู่ในหน้าอื่นๆ ด้วย

2.2) หัวรองเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ แต่เล็กกว่าข่าว โดยมีหัวรองแทรกอยู่ นอกจากนี้หากเนื้อหาของข่าวมีหลายประเด็นอาจจะใช้ประโยชน์จากหัวรองนี้ได้เช่นกัน

2.3) หัวต่อ (jump head)เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำหน้าที่บ่งบอกให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต่อจากหัวข่าวใดในหน้าแรก หัวต่อจะเป็นคำหรือวลีที่ทำให้ผู้อ่านมองหาและติดตามข่าวได้ง่ายขึ้น

2.4) หัวคอลัมน์ประจำ (standing head)เป็นชื่อของคอลัมน์ซึ่งเป็นเนื้อหาข่าวประเภทที่มีอยู่ประจำในทุกฉบับ เช่น คอมลัมน์บทบรรณาธิการ คอลัมน์วิเคราะห์ ข่าวต่างประเทศ เป็นต้น

2.5) ตัวเนื้อเรื่องเป็นข้อความที่นำเสนอเนื้อหาข่าวอันเป็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาข่าวที่ต่อมาจากข่าวในหน้าแรกหรือเป็นเนื้อหาข่าวของเรื่องในหน้าในหน้านั้นๆ

2.6) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) หรือพิมประกาศ (masthead)เป็นส่วนประกอบที่ระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้พิมพ์ ในบางครั้งอาจจะมีการระบุผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์นั้นๆๆ ด้วย

2.7) ภาพประกอบข่าวเป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว นอกจากภาพประกอบข่าวแล้วยังมีคำบรรยายภาพเพื่อเสริมความเข้าใจก็ได้

2.8) องค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์

3.เนื้อหาโฆษณาเนื้อหาที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีขนาดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะมีขนาดใหญ่ ขนาดมาตรฐานของเนื้อที่โฆษณาที่พบเห็นกันทั่วไป มีดั้งนี้

3.1) เต็มหน้า (full page) คือ ใช้พื้นที่ทั้งหมดของหน้ากระดาษ ตัวอย่างเช่นหน้งสือพิมพ์ มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25 นิ้ว และคอมลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอมลัมน์ x 1.25 นิ้ว ) x 20นิ้ว3.2) ครึ่งหน้า (half page) คือ ฝช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้าของกระดาษตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5ไพก้าหรือ 1.25นิ้วและคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณา คือ 15นิ้ว (12 คอลัมน์x 1.25 นิ้ว) x 10 นิ้วปกติแล้วจะเป็นแนวนอน ปต่ปัจจุบันมีการฝช้แนวตั้งด้วย

3.3) เศาหนึ่งส่วนสี่หน้า (quarter page)คือใช้พื้นที่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของกระดาษ จัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 12 คอมลัมน์ใน 1 หน้า และแต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 7.5 ไพก้า หรือ 1.25 นิ้ว และคอลัมน์สูง 20 นิ้ว พื้นที่โฆษณาเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า คือ 7.5 นิ้ว (6 คอลัมน์ x 1.25 นิ้ว)x 10 นิ้ว ขนาดโฆษณามีความสะดวกสำหรับผู้ที่ลงโฆษณามรสื่อนิตยาสารด้วย เพราะจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

3.4) จูเนียร์เพจ (junior page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณใกล้เคียงกับขนาดหน้านิตยสาร พื้นที่โฆษณานี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โฆษณาเดียวกันทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับโฆษณาขนาดพิเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า

3.5) แถบโฆษณา (strip advertising) คือใช้พื้นที่เป็นแถบด้านบนหรือด้านล่างตลอดความกว้างของหน้าหนังสือพิมพ์ และสูงประมาณไม่เกิน 5 นิ้วนอกจากเนื้อที่โฆษณาขนาดมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการซื้อเนื้อที่ในลักษณะที่เป็น คอลัมน์นิ้ว คือ กำหนดขนาดความกว้างของเนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างกี่คอลัมน์ ส่วนสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ที่มี 6 คอลัมน์ หมายถึง ขนาดพื้นที่ที่กว้าง 1.83 นิ้ว และ สูง 1 นิ้ว หากต้องการลงพื้นที่โฆษณาขนาด 3 คอลัมน์ x6 นิ้ว หมายถึง ขนาดพื้นที่กว้าง 5.5(1.83×3) นิ้ว และสูง 6 นิ้วเ ป็นต้น2. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ (newspaper magazine หรือ special section หรือ supplement magazine

ส่วนพิเศษส่วนสุดท้ายของหนังสือพิมพ์ คือ ส่วนนิตยสาร แทรกในหนังสือพิมพ์โดยมากแล้วส่วนนี้จะมีสัปดาห์ละครั้ง แยกส่วนออกมาเป็นพิเศษ มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาหลากหลาย แต่มักเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นข่าวซึ่งต้องเสนออย่างรวดเร็ว เช่นเรื่อง สถานที่ท่องเที่ยว ภาพยนตร์ ฯลฯโดยสรุปเมื่อพิจารณาในด้านการออกแบบแล้ว หนังสือพิมพ์จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน คือ หน้าแรก หน้าใน เนื้อที่โฆษณาและนิตยาสารแทรกในหนังสือพิมพ์โดยแต่ละส่วนประกอบจะมีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเลือกและจัดองค์ประกอบที่แตกต่างกันเรื่อง I การเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบหนังสือพิมพ์เนื่องจากหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะถูกทำขึ้นเพื่อออกเผยแพร่ทุกวันเป็นประจำการออกแบบหนังสือพิมพ์จึงเป็นเรื่องที่แข่งต่อเวลามากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งพิมพ์อื่นๆนอกจากนี้หากไม่ใช่หนังสือพิมพ์ฌฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์กีฬาแล้ว เนื้อหาข้อมูลที่เป็นข่าวสารซึ่งเป็นประกอบเป็นหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปมีหลายด้าน เช่น การ เมือง บันเทิง ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเพียงแค่พิจารณาตัวแปรสองประกาศดังกล่าวข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าการออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของนักออกแบบอย่างมากนอกจากนี้หนังสือพิมพ์ยังเป็นสื่อที่ครอบคลุมกลุ่มผู้อ่านที่กว้างขวาง

แม้ว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับย่อมจะต้องมีกลุ่มเป้าหมายหลักเช่น ผู้อ่าน ที่อยู่ในเมือง หรือ ผู้อ่านในชนบท แต่ด้วยราคาขายที่ไม่แพงมากนัก ทำให้หนังสือพิมพ์มีผู้ซื้ออยู่วงที่กว้าง นักออกแบบจึงควรที่จะนำปัจจัยนี้มาประกอบการพิจารณาด้วยว่ารูปแบบของหนังสือพิมพ์ที่จะออกมานั้น แม้ว่าจะต้องทำให้ถูกใจผู้อ่านที่เป้นกลุ่มเป้าหมายหลักแต่ก็ควรจะไม่ทำให้ผู้อ่านในกลุ่มอื่นๆ รู้สึกว่าถูกกีดกันออกไปการออกแบบหนังสือพิมพ์มีขั้นตอนในการดำเนินการเป็นไปตามการเตีรยมการก่อนการออกแบบ และการปฏิบัติการออกแบบ อย่างไรก็ตาม

หนังสือพิมพ์ มีส่วนที่ประกอบแตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่น ดังนั้นจึงมีในรายละเอียดเพิ่มเติมนี้แบ่งออกเป็น 2 รเอง คือ

1.สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์

2.การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ฃ1. สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นอกจากจะต้องปรฏิบัติตามขั้นตอนการเตรียมการก่อนออกแบบ ยังมีเรื่องที่จะต้องการกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติ่ม ดังนี้

1.ศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ก่อนที่จะทำการออกแบบได้ นักออกแบบก็ต้องพยายามหาข้อมูลจากเจ้าของและบรรณาธิการถึงนโยบายต่างๆ ทิศทางการดำเนินการและวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งศึกษารูปแบบเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใดและต้องการให้มีบุคลิกภาพแบบไหน ซึ่งจะมีผลให้ทราบถึงลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าเจตนาจะมุ่งที่ใครเป็นหลักและคนกลุ่มรี้มีพฤติกรรมและความชอบ ไม่ชอบอย่างไร2.การกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์นั้น สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงก็คือความสะดวกสบายในการถืออ่านและจัดเก็บ นอกจากนี้นังต้องนึกถึงความประหยัดในด้านต้นทุนการพิมพ์และการผลิต โดยทั่วไปแล้วขนาดของหนังสือพิมพ์ที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานในประเทศไทยจะมีอยู่

2 ขนาด คือ2.1) ขนาดเต็มแผ่น หรือ ขนาดใหญ่ บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไปในหนังสือพิมพ์รายวัน2.2) ขนาดครึ่งแผ่น หรือขนาดเล็ก บางครั้งก็เรียกว่า หนังสือพิมพ์แผ่นเล็กเป็นขนาดที่นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ประเภทข่าวชาวบ้านหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่นหนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้นส่วนกระดาษที่ใช้พิมพ์หน้งสือพิมพ์นั้น โดยทั่วไปจะใช้กระดาษปรู๊ฟ (newsprint paper) ซึ่งผลิตเป็นม้วนใหญ่ มีสีขาวคล้ำ แต่บางครั้งก็อาจพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ (bond paper) ซึ่งมีสีขาว เช่น หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจต่างๆ

3.รูปแบบของหน้าแรกหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ควรจะได้รับการออกแบบให้มีรูมาตรฐานในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวอักษรและภาพซึ่งรูปแบบนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้ใช้ทุกฉบับต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความคุ้นเคยแลกจดจำได้ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งและขนาดของตัวอักษรและภาพ อย่างไรก็ตามรูปแบบมาตรฐานนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากภาพและตัวอีกษรของแต่ละฉบับนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับข่าวของแต่ละวันว่ามีปริมาณและคุนภาพเป็นอย่างไร เช้น หากวันใดมีสภาพที่สื่อสารได้ดีก็อาจลดขนาดตัวอีกษรที่เป็นหัวข่าวพาดหัวให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น

รูปแบบของหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นั้นมีพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อยมาจนเกิดเป็นรูปแบบมาตรฐานหลายแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3ประเภทคือ

1)แบบนิตยสาร เป็นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือนนิตยสาร คือ มีการใช้ภาพหรือองค์ประกอบเรขศิลป์อื่นๆ ขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก ส่วนเนื้อหา ที่เป็นข่าวนั้นมีการประกอบเป็นส่วนย่อย

2)แบบศูนย์ข้อมูล เป้นการนำเสนอหน้าแรกในลักษณะเหมือยศูนย์กลางหรือสารบัญที่บ่งบอกถึงเนื้อหาที่อยู่ภายในหน้าในของหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบนี้จะมีส่วนที่เรียกว่า “ทีเซอร์” (teaser) ซึ่งเป็นข้อความและถาพเปิดเผยเรื่องที่อยู่ในหน้าในว่ามีเรื่องเด่นอะไรอยู่หน้าใด ทีเซอร์นี้ทำหน้าที่เหมือนโฆษณาเนื่อหาภายในของหนังสือพิมพ์ในวันนั้นๆ ตำแหน่งของทีเซอร์จะอยู่ที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าแรก คือ บน ล่าง ซ้าย หรือขวา และไม่ตวรวางปะปนอยู่กับส่วนที่เป็นข่าวนอกจากรูปแบบมาตรฐานของหน้าแรกแล้ว ในอดีตยังต้องมีการกำหนดด้วยว่าจะมีการพิมพ์หน้าแรกเป็นสีหรือไม่ แต่ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะพิมพ์หน้าแรกเป็นสี่สีอยู่แล้ว ส่วนกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้กระดาษแบบเดียวกันทั้งหมดทุกหน้าทั้งฉบับ

4.รูปแบบของหน้าในรูปแบบของหน้าในของหนังสือพิมพ์ จะต้องมีการกำหนดจำนวนหน้า โดยจะต้องจัดให้มีจำนวนหน้าที่หาร 4 ได้ลงตัว บางครั้งอาจจะมีหน้าโฆษณาเพิ่อขึ้นมาใบบางวันก็ได้ แต่ส่วนที่เป็นเนื้อหาข่าวมักจะมีจำนวนเท่าเดิมในทุกๆ วัน นอกจากจำนวนหน้าแล้วจะต้องมีการกำหนดเรื่องการพิมพ์ว่าจะพิมพ์หน้าในหน้าใดบ้างเป็นสี่สี แล้วเลือกจัดคอลัมน์ต่างๆ ให้เหมาะสมว่าจะอยู่ในหน้าใด5. รูปแบบและขนาดตัวอักษรเนื่องจากความหลากหลายในประเภทเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์ ทำให้ดูเหมือนกับว่า จะต้องมีการใช้ตัวอักษรหลากหลายรูแปบบเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทเนื้อหาของข่าวแต่ละเรื่อง ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่ แต่หากมีการเลือกใช้รูปแบบของตัวอักษรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหา ทั้งในด้านประโยชนใช้สอย คือ อาจจะเกิดความสับสนและซับซ้อนในการอ่านและติดตามข่าว นอกจากนี้ยังจะมีผลทำให้ผู้อ่านไม่สามารถจับภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ เนื่องจากขาดความสม่ำเสมอในการออกแบบด้วยเหตุนี้ ก่อนจะทำการออกแบบ จึงควรมีการกำหนดรูปแบบของตัวพิมพ์ที่จะมีการนำมาใช้เอาไว้ล่วงหน้า โดยทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดไว้ใช้เพียง 1 รูปแบบเพราะย่อยไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ควรกำหนดไว้สักสองหรือสามรูปแบบเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น พร้อมกันนั้น ก็ควรจะมีการกำหนดลักษณะของการนำตัวพิมพ์ที่กำหนดไปใช้ด้วย เช่น กำหนดตัวพิมพ์เนื้อเรื่องซึ่งมีขนาดเล็กไว้สักสองรูปแบบ หรือกำหนดตัวพิมพ์หัวข่าวซึ่งมีขนาดใหญ่ไว้สักสามรูปแบบ เป็นต้นหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่อาจจะพัฒนาแบบของตัวพิมพ์ของตนเองขึ้นใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มมาจากในอดีตที่หนังสือพิมพ์ไทมส์ของประเทศอังกฤษได้สร้างตัวพิมพ์ ไทมส์ นิว โรมัน ขึ้นใช้ การพัฒนาแบบตัวพิมพ์ขึ้นใช้เป็นการเฉพาะจำให้ได้ลักษณะตัวพิมพที่เหมาะสมกับภาพรวมของการออกแบบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมเอกลักษณของหนังสือพิมพ์ให้เป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นด้วย แบบตัวพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจีการใช้ตัวพิมพ์ภาษาไทยนั้นนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่มีหัว เนื่องจากช่วยให้อ่านได้ง่าย แต่อาจมีการใช้ตัวพิมพ์ไม่มีหัว หรือตัวตกแต่งบ้านในกรณีที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ เช่น ตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวหัวข่าว หรือหัวรองนอกจากรูปแบบของตัวพิมพ์แล้ว ขนาดของตัวพิมพ์ก็ควรจะมีการกำหนดด้วยทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นเช่นเดียวกันโดยขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพเนื้อเรื่องนั้นไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 9 พอยต์ ส่วนตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ นั้นควรจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 18 พอยต์เป็นต้นไป

6. แบบและจำนวนภาพประกอบภาพประกอบในหน้าในของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาพข่าว ซึ่งจะมีมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลือจากเนื้อหาข่าว ส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถกำหนดจำนวนแน่นอนลงไปได้ลวงหน้า มักขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของข่าวในวันนั้นๆ จะมียกเว้นในส่วนที่เป็นคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ที่อาจจะมีการวางแผนได้นานกว่าส่วนที่เป็นข่าว ทำให้สามารถกำหนดลักษณะและจำนวนภาพล่วงหน้าได้

2. การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์การออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นไปตามการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ และหลักการออกแบบและระบบกริด และมีรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะ คือ เรื่องระบบกริด เรื่องสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ และเรื่ององค์ประกอบการจัดวางองค์ประกอบ ในส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ระบบกริดสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการออกแบบหนังสือพิมพ์ทุกฉบับจะต้องใช้ระบบกริดเพื่อใช้เป็นโครงสร้างและรักษาภาพรวมของหนังสือพิมพ์โดยจะต้องเริ่มด้วยการเลือกประเภทระบบกริดเสียก่อน โดยทั่วไประบบกริดที่เหมาะสมกับหนังสือพิมพ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป คือ1.คอลัมน์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแบ่งออกเป็นคอลัมน์ คือ มีขนาดความสูงเกือบเต็มหน้า แต่มีความกว้างของแตละคอลัมน์เท่ากันหรือไม่เทากันก็ได้ มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นวางระหว่างคอลัมน์ และมีมารจินล้อมรอบ คอลัมน์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดเต็มแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความที่ไม่ต่อเนื่องกันยาวนัก และมีการจัดวางภาพอยู่ด้วยกันสำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 6-11 คอลัมน แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 6 คอลัมน์ สำหรับหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่นนั้น อาจจะออกแบบให้ใน 1 หน้ามีคอลัมน์ตั้งแต่ 3-6 คอลัมน์ แต่ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 4 หรือ 5 คอลัมน์

2. โมดูลาร์ กริด เป็นระบบกริดที่ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยเส้นทั้งทางตั้งและทางนอน มักมีอัลลีย์เป็นช่องเว้นว่างระหว่างยูนิต และมีมาร์จินล้อมรอบ โมดูลาร์ กริดเป็นที่นิยมใช้เป็นโครงสร้างของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ขนาดครึ่งแผ่น เนื่องจากกริดประเภทนี้เหมาะสำหรับการพิมพ์ข้อความและมีการจัดวางภาพหลายๆ ภาพอยู่ด้วยกันสูตรของการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์ในการจัดวางองค์ประกอบสำหรับการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น มีรูปแบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ จนเรียกได้ว่า เป็นสูตรของการจัดวางองค์ประกอบ(layout formula) แยกออกเป็นหลายสูตร ดังนี้1. แบบแนวตั้ง (Vertical layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุด โดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเรียงกันเป็นคอลัมน์ในแนวตั้งต่อ ๆ กัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ความเรียบง่ายที่ช่วยให้ติดตามข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวันละพาดหัวที่เรียงกันเป็นแถวนั้นดูน่าหดหู่ จนบางครั้งก็พาดหัวที่เรียงต่อๆ กันนี้ว่าป้ายหลุมศพ (tombstone) ซึ่งในการออกแบบนั้นควรแก้ไขด้วยการปรับขนาดหรือรูปแบบี่พาดหัวที่เรียงต่อกันให้มีลักษณะแตกต่างกัน หรือแทรกภาพคั่นไว้บ้าง สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแนวตั้งนี้ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน แต่มีการปรับพาดหัวหรือภาพให้เป็นแนวนอนแทรกระหว่างตัวเนื้เรื่องที่เป็นแนวตั้ง2.แบบแนวนอน (horizontal layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะเป็นแนวซ้อน ๆ กันและมีการใช้เส้นแบ่งข่าวเป็นเส้นตรงในแนวนอน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดี คือความเรียบง่ายี่ช่วยให้ติดต่มข่าวได้สะดวกและดูน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็มีข้อเสียที่ดูซ้ำ ๆ เหมือน ๆ กันทุกวัน อย่างไรก็ตามสูตรการจัดองค์ประกอบแบบแนวนอนนี้มีความยืดยุนมากจนได้รับความนิยมใช้กันมากในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

3. แบบสมดุลสมมาตร (symmetrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษแล้ว จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะเหมือนกันหรือคล้ายกัน และดูมีน้ำหนักเท่าๆ กัน การจัดวางหน้าแรกในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าเชื่อถือ แต่ก็มีข้อเสียคือ ภาพรวมจะดูนิ่ง ไม่น่าตื่นเต้น อีกทั้งเป็นรูปแบบที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้วจะรู้สึกเหมือนเดิมซ้ำๆ กันทุกวันรูปแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนักในปัจจุบัน

4. แบบสมดุลอสมมาตร (asymmentrical layout)เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่ใช้หลักสมดุลแบบซ้ายและขวาไม่เท่ากัน คือ เมื่อแบ่งครึ่งหน้ากระดาษจะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองข้างจะต่างกัน และดูมีน้ำหนักไม่เท่ากัน รูปแบบหน้าแรกลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา อีกทั้งเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น คือ มองดูแล้ว หน้าตาจะรู้สึกไม่ซ้ำๆ กันทุกวัน รูปแบบอสมมาตรนี้จึงเป็นที่นิยมใชค่อนข้างมากในการหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

5. แบบแบ่งสี่ (quadrants layout) เป็นการจัดวางองค์ประกอบที่แบ่งหน้ากระดาษออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน และให้ความสำคัญเท่าๆกัน มีข้อดี คือ การให้ความสำคัญกับทั้งหน้ากระดาษไม่ใช่เพียงตอนบนของหน้าแต่ก็มีข้อเสียมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่ยืดหยุ่นในการจัดวาง อีกทั้งยังอาจสร้างจุดเด่นหลายจุดขึ้นมาแข่งกัน สูตรการจัดวางองค์ประกอบแบบแบ่งสี่นี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นักในปัจจุบัน

6. แบบยืดโยง (brace) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าวแต่ละเรื่องทั้งส่วนที่เป็นตัวอักษรและภาพให้มีลักษณะคล้ายตัวอักษรแอล (L) แล้วยึดโยงข่าว หลายๆ เรื่องกันด้วยการวางกลับไปกลับมาได้ ในปัจจุบันรูปแบบของหน้าแรกแบบยืดโยงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้มากนัก7. แบบละครสัตว์ (circus)เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดเนื้อหาข่าว และองค์ประกอบที่เป็นภาพอย่างไม่เป็นทางการและคาดเดาไม่ได้ รูปแบบหน้าแรก ลักษณะนี้มีข้อดีคือ ทำให้หนังสือพิมพ์ดูน่าตื่นเต้นมีชีวิตชีวา แต่ก็มีข้อเสียคือ บางครั้งจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือแม้จะมีสูตรในการจัดวางองค์ประกอบที่เป็นทีนิยมใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่ารูปแบบในการจัดวางองค์ประกอบของหนังสือมีอยู่เพียงเท่านี้ หรือเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ไม่ได้ นักออกแบบมีอิสระที่จะเลือกทดลองรูปแบบใหม่ๆที่เห็นว่าเหมาะกับ หนังสือพิมพ์และผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นอกจากระบบกริดและสูตรในการจัดวางองค์ประกอบแล้ว หนังสือพิมพ์ยังมีส่วนประอบที่แตกต่างจากสิ่งพิมพ์อื่นในรายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบส่วนประกอบทีสำคัญแต่ละส่วน ดังนี้

1. หน้าแรกหน้าแรก คือ ส่วนของหนังสือพิมพ์ซึ่งผู้ดูเห็นและอ่านก่อนหน้าอื่นๆ และเนื่องจากผู้ที่ผ่านไปมานั้นเลือกซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพราะข่าวที่นำเสนอ สิ่งที่นักออกแบบจะทำได้ในการใช้หน้าแรกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็คือการเลือกนำเสนอข้อมูลที่เป็นหัวเรื่องหรือ พาดหัว และภาพอย่างชัดเจน ง่ายแก่การอ่านหรือดูรู้เรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็วนักออกแบบจะต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งปรากฎอยู่ในหน้าแรก ดังนี้

1.1) แถบชื่อและรายละเอียดของฉบับแถบชื่อ หรือ “หัวหนังสือ” ของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มักวางอยู่ที่ส่วนบนของหน้ากระดาษ โดยนิยมออกแบบเป็น 2 ลักษณะ คือ1) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ มาจัดเรียง โดยเน้นให้ดูมีระเบียบแบบแผน น่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา2) นำเอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้นๆ มาดัดแปลงให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยอาจจะออกแบบตัวอักษรพิเศษขึ้นมาเป็นชื่อหรือจัดองค์ประกอบให้เกิดเป็นตราสัญลักษญ์ประเภทตัวอักษร (logo)เพื่อเน้นให้เกิดความโดดเด่น และง่ายแก่การจดจำ หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจนำภาพลายเส้นง่ายๆ มาประกอบกับชื่อเป็นสัญลักษณ์ผลม(combination mark)ส่วนที่วันที่หนังสือพิมพ์ออกเผยแพร่นั้น จะใช้ตัวพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่นักและมักวางอยู่ด้านล่างของแถบชื่อนอกจากชื่อของหนังสือพิมพ์แล้ว บางหนังสือพิมพ์อาจจะมีการจัดวางคำขวัญ (slogan)ของหนังสือพิมพ์นั้น ๆ ประกอบไปกับชื่อด้วย โดยคำขวัญนี้ก็จะเป็นตัวอักษร ขนาดเล็กวางอยู่ด้านบนหรือล่างของแถบชื่อ1.2) หัวข่าว หรือ “พาดหัว”เนื่องจากหัวข่าวหรือพาดหัวเป็นเสมือนจุดขายที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ การเลือกใช้ตัวอักษรที่จะมาเป็นหัวข่าวจึงต้องมีความพิเศษแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้า ทั้งในแง่ของขนาดซึ่งจะต้องมีความใหญ่เด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ทั้งหมด และยังจะต้องเลือกรูปแบบที่มีความโดดเด่นกว่าปกติด้วย โดยอาจจะเลือกเอาจากตัวพิมพ์ประเภทตัวไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง ซึ่งมีสำเร็จรูปอยู่มากมายหลายพันแบบ หรืออาจจะมีการออกแบบตัวพิมพ์สำหรับหัวข่าวขึ้นใช้เองเป็นพิเศษสำหรับ หนังสือพิมพ์นั้นๆ โดยเฉพาะก็ได้ขนาดของหัวข่าวก็ควรมีขนาดที่เห็นได้ชัดจากระยะไกล มีขนาดมากกว่า 100 พอยต์ขึ้นไป จนอาจมีความสูงถึง 1-2 นิ้ว และมักนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเส้นหนาหรือ เส้นหนามาก ทั้งนี้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวนี้อาจจะมีสีที่แตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้าแรก เช่น ตัวพิมพ์เนื้อเรื่องปกติเป็นสีดำ อาจจะใช้พิมพ์ที่เป็นหัวข่าวเป็นสีน้ำเงินเป็นต้นนอกจากสีของตัวอักษรเองแล้วก็อาจจะใช้สีของพื้นหลังของตัวพิมพ์มาเพื่อแยก หัวข่าวนั้นให้โดดเด่นออกจากส่วนอื่นๆ โดยอาจจะเป็นการใช้สีง่ายๆ เช่น การเปลี่ยนพื้นหลังเป็นสีดำและตัวอักษรเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวเจาะขาวหรือเป็นตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีเขียว เป็นต้นในส่วนของการจัดวางนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของหัวข่าวหรือพาดหัวของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ ชุดหัวข่าว ซึ่งเป็นหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาว 1 บรรทัด และชั้นหัวข่าว คือหัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โดยมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัดขึ้นไป ทั้งนี้ในการเรียนแบบชั้นหัวข่าวนั้น ตัวอักษรในแต่ละบรรทัด ไม่จำเป็นจะต้องมีขนาดเดียวกัน อาจจะมีบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งใหญ่กว่าบรรทัดอื่นๆ เพื่อเพิ่มการเน้นคำหรือวลีที่เห็นว่าน่าจะเป็นจุดสนใจได้การปรับแนวบรรทัดสำหรับพาดหัว มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้การจัดวางพาดหัวทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้1.2.1)

แบบแบนเนอร์ (banner) หรือ “หัวยักษ์พาดตลอดน้า” คือ การจัดวางแบบพาดหลายคอลัมน์ หรือตลอดแนวคอลัมน์ที่เป็นข่าวเรื่องนั้นๆ การวางแบบนี้พบเห็นได้บ่อยที่สุดและเหมาะกับการใช้วางพาดหัวข่าว 1.2.2)

แบบคิดเคอร์ (kicker) หรือ “หัวพาดนำ” คือ การจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดนำซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าบรรทัดหลัก การวางแบบนี้มักใช้กับเครื่องพิเศษในฉบับ1.2.3)

แบบแฮมเมอร์ (hommer) หรือ “หัวพาดนำใหญ่” คือการจัดวางแบบ 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดแรกเป็นบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองที่เป็นบรรทัดรอง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษนฉบับ1.2.4)

แบบแสลมเมอร์ (slemmer) คือ การจัดวางแบบ 2 ตอนในบรรทัดเดียวกัน โดยแต่ละตอนใช้ตัวพิมพ์ที่มีความหนาแตกต่าง การวางแบบนี้มักใช้กับเรื่องพิเศษในฉบับเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.5)

แบบไทรพอต (tripod) หรือ “หัวแบบสามแยก” คือ การจัดวางแบบมีบรรทัดหลัก 1 บรรทัด แล้วตามด้วยบรรทัดรอง 2 บรรทัด โดยมีบรรทัดหลักซึ่งใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าบรรทัดที่สองและสามที่เป็นบรรทัดรองการวางแบบนี้มักใช้กับเรืองพิเศษในฉบับ1.2.6)

แบบรอว์ แวรบ (raw wrap หรือ Dutch wrap) คือ การจัดวางแบบหลายบรรทัดโดยบีบข้อความพาดหัวทั้งหมดให้อยู่ในคอลัมน์ การวางแบบนี้มักใช้กับการใช้วางพาดหัวข่าว และเรื่องพิเศษในฉบับ1.2.7)

แบบไซด์ แซดเดิล (side saddle) คือ การวางแบบนี้คืการใช้วางพาดหัวข่าวละเรื่องพิเศษในฉบับ1.3) หัวรองหัวรองเป็นข้อความสำคัญเพื่อดึงความสนใจและชี่นำเนื้อหาของข่าว คือทำหน้าที่เดียวกับการพาดหัว แต่ใช้สำหรับข่าวสำคัญรองลงมาดังนั้นตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นหัวรอง จังเป็นตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่าพาดหัวข่าวได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องอย่างเห็นได้ชัดส่วนการจัดวางหัวรองนั้น ใช้หลักเดียวกันกับการจัดวางพาดหัว คือ ทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น แบบแบนเนอร์ แบบคิคเคร์ ฯลฯ1.4)

ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าว หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะเลือกนำเสนอส่วนประกอบขงข่าวเด่นทั้งหมด คือทั้งพาดหัวและตัวเนื้อเรื่องทั้งหมดในหน้าแรก แต่บางครั้งหนังสือพิมพ์อาจจะนำเสนอข่าวหลายๆ ข่าว โดยทุกข่าวจะมีพาดหัวและมีตัวเนื้อเรื่องส่วนหนึ่งในหน้าแรกเพื่อทำหน้าที่เหมือนเกริ่นนำข่าวเทานั้น แล้วจึงนำเสนอเนื้อข่าวันเป็นรายละเอียดต่อเอาไว้ในหน้าอื่น ๆรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเนื้อเรื่องนี้ เหมือนกับเรื่องตัวเนื้อเรื่องในหน้าในของหนังสือพิมพ์ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป1.5)

ภาพประกอบข่าว ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นไม่เหมือนกับภาพถ่ายในสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น หนังสือหรือนิตยสาร กล่าวคือ ภาพประกอบในสิ่งพิมพ์อื่นๆ นั้นนักออกแบบสามารถกำหนดหรือออกแบบตามจินตนาการแล้วมอบหมายให้ช่างภาพไปถ่ายภาพตามที่กำหนดไว้ได้ แต่ภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์นั้นเป็นภาพข่าว ซึ่งหมายถึงว่า นักออกแบบไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าภาพจะมีลักษณะและคุณภาพเป็นอย่างไรดังนั้นการที่จะวางแผนล่วงหน้าที่จะใช้ภาพในลักษณะที่จะตัดเอาพื้นหลังออก หรือมีกรอบรูปเป็นรูปวงรี ฯลฯ นั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากจะทำได้ภาพทีใช้จึงมักมีลักษณะเป็นภาพในกรอบสี่เหลี่ยมธรรมดาสิ่งที่นักออกแบบจะมีส่วนในการตัดสินใจเกียวกับภาพถ่ายได้ ก็คือ เรื่องของขนาดและสัดส่วนของภาพว่าควรจะมีการย่อยหรือขยายภาพให้ใหญ่หรือเล็กมากน้อยเท่าใด หรือจะวางสัดส่วนของกรอบภาพให้เป็นสี่เปลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมฝืนผ้าที่กว้างยาวเท่าใดสำหรับภาพประกอบในลักษณะอื่นนั้นที่ไม่ใช่ภาพถ่าย จะไม่ค่อยนิยมใช้ในหน้าแรกนักข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับภาพประกอบในข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) เลือกใช้ภาพถ่ายจากเหตูการณ์จริงมากกว่าภาพที่จัดฉากถ่ายขึ้น2)ภาพที่มีทิศทางควรจะหันเข้าสู่ส่วนตัวเนื้อหาข่าวี่เกี่ยวข้องกับภาพนั้น เช่นภาพคนเหลือบตาไปทางขวา (ของผู้อ่านหนังสือพิมพ์)ก็ควรส่วนตัวเนื้อข่าวไว้ทางด้านขวาของภาพ เป็นต้น3) ภาพใหญ่ภาพเดียวมักจะดีกว่าการใช้ภาพเล็กสองภาพ4)

เมื่อวางภาพหลายๆ ภาพไว้ด้วยกัน ควรจัดวางภาพเด่นให้มีขนาดใหญ่เดนกว่าภาพอื่นๆ ไม่ควรวางเป็นภาพขนาดเท่าๆ กันหมด5) ควรปรับขนาดภาพในหน้าเดียวกันให้แตกต่างกันนอกจากภาพประกอบข่าวแล้วบงครั้งก้อาจจะมีข้อความเพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพมากขึ้น เรียกว่า คำบรรยายภาพ ซึ่งคำบรรยายภาพมักจะใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างกันไปจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น อาจจะใช้ตัวเอียง หรือตัวหนา เป็นต้นคำบรรยายภาพจะต้องวางติดกับภาพเสมอ โดยสามารถเลือกวางคำบรรยายไว้ได้หลายตำแหน่ง ดังนี้1)

ด้านล่างของภาพ ใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว2) ด้านข้างของภาพ หากวางด้านซ้ายของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงชิดขวา หากวางด้านขวาของภาพมักใช้การปรับแนวบรรทัดชิดซ้าย3) วางระหว่างภาพ เมื่อมีภาพประกอบข่าว 2 ภาพวางคู่กัน อาจเลือกวางคำบรรยายภาพทั้งสองไว้ตรงกลางระหว่างภาพใช้การปรับแนวบรรทัดเรียงเต็มแนวข้อสังเกตและข้อแนะนี่เกี่ยวกับคำบรรยายภาพในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ควรวางคำบรรยายภาพไว้ติดกับภาพเสมอ2) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านข้างของภาพ ควรกำหนดให้คำบรรทัดมีความกว้างอย่างน้อย 6 ไพก้า3) เมื่อวางคำบรรยายภาพด้านล่างของภาพ ควรกำหนดให้บรรทัดมีความกว้างเท่าๆ กับความกว้างของภาพ และห้ามยาวยื่นเลยความกว้างของภาพออกไป แต่ให้ทำเป็น 2 บรรทัดแทน 1.6)

องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าแรกนั้น มักจะเป็นพวกเส้น เส้นล้อมกรอบ กล่อง หรือแรเงา ที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน ในบางครั้งอาจมีการใช้แผนภูมิหรือแผนผังบ้าง แต่ไม่ปรากฏบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม ก็มีหนังสือพิมพ์ที่ใช้แผนภูมิจำนวนมากในหน้าแรกและประสบความสำเร็จด้วยดี เช่น หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) ซึ่งสื่อสารข้อมูลในลักษณะแผนภูมิในรูปแบบต่างๆ อย่างสวยงาและดึงดูดความน่าสนใจ2.หน้าในหน้าในของหนังสือพิมพ์เป็นหน้าที่รวมความหลากหลายของข่าวประเภทต่างๆ โดยทั้วๆ ไปหนังสือพิมพ์จะแบ่งหน้าต่างๆ เป็นเรื่อง ๆ คือ นำข่าวที่เป็นเรืองเดียวกันมาไว้ในหน้าเดียวกัน เช่น หน้ากีฬา หน้าการศึกษา หน้าสังคม เป็นต้น สำหรับหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ต้องการจะเน้นเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษก็อาจจะแยกเรื่องนั้นๆ ออกมาเป็นอีกส่วน (section) ต่างหากก็ได้ การแบ่งหน้าในลักษณะนี้จะมีผลดีต่อนักออกแบบคือ จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ สามารถออกแบบให้ทั้งหน้าหรือทั้งส่วนนั้นกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวได้ นอกจากนี้ยังมีความสะดวกในการผลิตอีกด้วย การออกแบบหน้าในนี้จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆได้แก่2.1)

หัวข่าว หรือ “พาดหัว”ตัวอักษรที่จะนำมาใช้เป็นหัวข่าวในหน้านี้ก็ต้องมีขนาดใหญ่ตัวอีกษรที่เป็นตัวพิมพ์เนื้อเรื่องทั่วไปเช่นเดียวกันกับหัวข่าวในหน้าแรกเพียงแต่ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับในหน้าแรก เนื่องจากความจำกัดในเรื่องเนื้อที่ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องการจำนำเสนอมากประกอบกับข่าวในหน้าในไม่จำเป็นต้องเรียกร้องความสนใจ เท่ากับหัวข่าวในหน้าแรกนอกจากความแตกต่างจากเนื้อเรื่องในแง่ขนาดแล้ว ยังอาจสร้างความเด่นของหัวข่าวได้ด้วยเปลี่ยนรูปแบบของตัวพิมพ์ให้แตกต่างออกไป โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือเปลี่ยนสีตัวอักษรหรือสีพื้นหลังให้เด่นชัดขึนมาจากสีของกระดาษก็ได้การวางพาดหัวนั้นนิยมวางยาวพาดคอลัมน์ตลอดเนื้อหาของข่าวเรื่องนั้นๆ เช่น ข่าวนั้นกินพื้นที่ 4 คอลัมน์ ก็อาจจะวางพาดหัวยาวตลอด 4 คอลัมน์ก็ได้ การวางพาดหัวพาดข้ามคอลัมน์นี้จะช่วยให้ไม่ต้องวางตัวอักษรขนาดใหญ่หลาย ๆ บรรทัด ซึ่งจะยากแก่การอ่านและไม่ค่อยสวยงาม การพิจารณาว่าจะวางพาดหัวกี่คอลัมน์นี้มีหลักการง่ายๆคือ ยิ่งวางอยู่ในคอลัมน์ขึ้น ขนาดของตัวพิมพ์จะต้องยิ่งเพิ่มขึ้น เช่น พาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 1 คอลัมน์ อาจจะมีขนาด 20-40 พอยต์หากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 3 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 40-50 พอยต์ และหากเป็นพาดหัวที่เรียงอยู่ในความกว้าง 6 คอลัมน์ อาจจะมีขนาดประมาณ 50-70 พอยต์ เป็นต้นการปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวข่าวมักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับพาดหัวในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้1) ขนาดของพาดต้งสัมพันธ์กับความสำคัญขงข่าว ข่าวยิ่งสำคัญพาดหัวยิ่งมีขนาดใหญ่ ข่าวที่สำคัญมักจะวางไว้ส่วนบนของหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้นพาดหัวขนาดใหญ่จังมักอยู่ที่ส่วนของหนังสือพิมพ์ด้วย ยิ่งต่ำลงมาพาหัวนิ่งจะเล็กลง2) ไม่ควรวางภาพหรือองค์ประกอบของเรขศิลป์อื่น ๆ ระหว่างพาดหัวกับส่วนเรื่องข่าวนั้นๆ3) ไม่ควรวางพาดหัวของข่าวสองเรื่องที่ติดกันด้วยตัวพิมพ์ขนาดเท่ากันเพราะจะทำให้ผู้อ่านคิดว่าเป็นพาดเดียวกัน2.2)หัวรองหัวรองมักจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเน้อเรื่องแต่เล็กกว่าหัวข่าว หัวรองแทรกอยู่ในส่วนเนื้อเรื่อง การวงหัวรองอาจจะพาดหลายคอลัมน์ก็ได้ รูปแบบของตัวพิมพ์บางครั้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้การปรับแนวบรรทัดหรับหัวรอง มักนิยมเรียงชิดซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้ 2.3) หัวต่อหัวต่อมกจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กวาเนื้อเรื่องแต่เล็กว่าหัวข่าว มีขนาดใกล้เคียงกับหัวรอง โดยจะอยู่นำในส่วนเนื้อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อเรื่งที่ต่อมาจากหน้าแรกหรือหน้ในหน้าอื่น การวางหัวต่อมักจะไม่วางพาดหลายคอลัมน์ คือ จะเป็นหลายบรรทัดในคอลัมน์เดียวมากกว่า รูปแปปของตัวพิมพ์สำหับหัวต่อบางคร้งอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่งก็ได้ การปรับแนวบรรทัดสำหรับหัวตอ มักนิยมเรียงชิซ้าย โดยอาจจะเรียงกลางหรือเรียงเต็มแนวคอลัมน์ก็ได้2.4) หัวคอลัมน์ประจำหัวคอลัมน์ประจำนี้ทำหน้าทีระบุชื่อของคอลัมน์และชื่อผู้เขียน มักนิยมใช้ตัวอักษรที่พิศษแตกต่างไปจากตัวอักษรธรรมดาที่ใช้ในส่วนประกอบอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยแจจะเป็นตัวพิมพ์แบบไม่มีหัวหรือตัวตกแต่ง หรือบางครั้งอาจออกแบบเป็นตราสัญลักษณ์ เช่น อาจจะเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐขึ้นมาเป็นพิเศษและอาจจะมีภาพประกอบเล็กๆ ด้วยก็ได้ซึ่งภาพประกอบที่นิยมใช้กันมาก คือ ภาพของผู้เขียนคอลัมน์ประจำนั้น ๆหัวคอลัมน์ประจำนี้อาจจะอยู่ในส่วนต่างๆ ของหนังสือ เช่น ส่วนบันเทิง หรือ กีฬา ซึ่งแต่ละส่วนของหนังสือนี้ยังอาจจะมีการอยกกันด้วยตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วน (section logo) ซึ่งทำหน้าที่ระบุว่าเนื้อหาในส่วนนั้นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรในการออกแบบตราสัญลักษณ์ฉบับแยกส่วนนั้นจะต้องคำนึงถึงภาพรวมของหนังสือพิมพ์ด้วย คือ ต้องออกแบบให้ดูแตกต่างกันในแต่ละส่วน แต่ก็ต้องมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ คือ ทุกๆ อันจะต้องดูเป็นชุดเดียวกัน ผู้อ่านสามารถระบุได้ว่าอยู่ในหนังสือฉบับเดียวกัน2.5)

ตัวเนื้อเรื่องตัวเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาข่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นข้อความที่มีขนาดยาวที่สุด การเรียงจะเรียงเป็นคอลัมน์ตามระบบกริดที่ได้วางเอาไว้ คอลัมน์ของตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อหาข่าวนั้นบางครั้งก็เรียกว่า ขา (leg) โดยขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ก็ไม่ควรจะกว้างหรือยาวเกินไป เพราะจะมีผลต่อการอ่านง่ายในการกำหนดขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ จะต้องคำนึงถึงขนาดของตัวอักษรเป็นสำคัญ คือ ควรจะมีความกว้างแปรผันตามขนาดของตัวอักษร ตัวอักษรยิ่งเล็กคอลัมน์ยิ่งแคบ (บรรทัดสั้น) ตัวอักษรยิ่งใหญ่คอลัมน์ ยิ่งกว้าง (บรรทัดยาว) วิธีหนึ่งในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์คือ การกำหนดให้บรรทัดมีความยาวเป็นไพก้ากับ 2 เทาของขนาดพอยต์ของตัวพิมพ์ที่เลือกใช้ เชนหากตัวพิมพ์ใช้มีขนาด 12 พอยต์ ก็ควรให้บรรทัดยาวประมาณ 24 ไพก้า (12 พอยต์ x 2)เป็นต้น อย่างไรก็ตามนักออกแบบอาจไม่มีอิสระมากนักในการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ เนื่องจากหน้าหนังสือพิมพ์มักจะถูกแบ่งตัวระบบกริดเป็นคอลัมน์ไว้แล้ว ซึ่งขนาดคอลัมนมักจะค่อนข้างแคบ ดังนั้นขนาดของตัวพิมพ์ที่เหมาะสมจึงเป็นขนาดที่ใหญ่นัก คือ ระหว่าง10-14 พอยต์ ตัวอักษรขนาดใหญ่ในคอลัมน์แคบอาจจะทำให้ช่องว่างระหว่างตัวอักษรและช่องว่างระหว่างคาดูไม่สม่ำเสมอและลดทอนความอ่านง่ายลง ส่วนแบบของตัวอักษรที่เหมาะจะใช้เป็นเนื้อข่าวนั้น ภาษาไทยควรเป็นตัวพิมพ์แบบมีหัวและภาษาอังกฤษควรเป็นตัวพิมพ์แบบเซอริฟ และเนื่องจากตัวอักษรเนื้อข่าวมักมีขนาดเล็ก จึงควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษที่มีความสูงเอ็กซ์มากและมีความสูงเส้นทางบกและความสูงหางล่างสั้น และควรเลือกตัวพิมพ์ภาษาไทยที่มีความสูงระหว่างเส้นฐานและเส้นหลักมาก และส่วนที่เป็นสระบนและสระล่างนั้น เพราะจะช่วยให้ตัวอักษรดูมีขนาดใหญ่การปรับแนวบรรทัดสำหรับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมเรียงเต็มแนวคอลัมน์เสมอ แต่ก็มีบางครั้งที่ใช้การเรียงชิดซ้าย เช่น คำบรรยายภาพ หรือ ภาพในกล่องข้อความ ที่แยกจากเนื้อข่าวเนื่องจากการเรียงตัวเนื้อเรื่องมีลักษณะเป็นคอลัมน์ ดังนั้นนักออกแบบจึงมีทางเลือกในการวางภาพรวมของเนื้อหาแต่ละเรื่องในลักษณะต่างๆ กันได้ ตัวอย่างเช่น ตัวเนื้อเรื่องที่เรียง 1 คอลัมน์และสูง 12 นิ้วนั้น นักออกแบบสามรถเลือกที่จะแบ่งเนื้อเรื่องนี้ออกเป็นลักษณะต่างๆเช่น 2 คอลัมน์ๆ ละ 6 นิ้ว หรือ 3 คอลัมน์ ๆ ละ 4 นิ้ว หรือ 4 คอลัมน์ ๆ ละ 3 นิ้ว หรือ 5 คอลัมน์ๆ ละ 2.4 นิ้ว หรือ 6 คอลัมน์ๆ ละ 2 นิ้ว การใช้คอลัมน์น้อยๆ และความสูงหรือลึกมาก จะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง ในขณะที่การใช้คอลัมน์หลายๆ คอลัมน์และความสูงหรือเล็กน้อยจะทำให้ได้พื้นที่ข่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวนอนตัวเนื้อเองที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวตั้งจะมีข้อดี คือ ดูสะอาดสวยงามและง่ายต่อการติดตามข่าว เนื่องจากเป็นการอ่านไล่จากด้านบนลงด้านล่างเพียงอย่างเดียวแต่ก็มีข้อเสียคือ หากมีความสูงหรือลึกมากๆ อาจจะทำให้เกิดความล้าทางสายตาในการอ่านและในการออกแบบนั้นจะยากในการวางพาดหัว เพราะจะต้องวางแบบ รอว์ แวรบ นอกจานี้หากมีการเรียงตัวเนื้อเรื่องเป็นแท่งสูงๆตลอดทั้งหน้าหนังสือพิมพ์จะทำให้ภาพรวมดูน่าเบื่อตัวเนื้อเรื่องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทางแนวนอนจะมีข้อดีคือ ดูสบายตาและหลอกตาว่าเนื้อข่าวสั้นกว่าที่เป็นจริง และแม้มีข้อดีในการในการวาง8พาดหัวได้หลายๆแบบในกรณีที่ไม่สามารถเรียงเนื้อหาของข่าวให้เป็นรูปสี่เหลี่ยนมผืนผ้าได้ เนื่องจากต้องมีที่สำหรับวางภาพ หรือพื้นที่โฆษณานักออกแบบควรจะพยายามวางให้เนื้อหาทั้งหมดเกิดเป็นภาพรวมที่เรียบง่ายที่สุดหรือใกล้เคียงสีเหลี่ยมผืนผ้าที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ไม่ควรวางเนื้อหาเป็นคอลัมน์ที่มีความสูงแตกต่างกันหลายๆ คอลัมน์ต่อๆ กัน และไม่ควรนำเอาภาพหรือพื้นที่โฆษณาขนาดใหญ่มาคั่นระหว่างส่วนตัวเนื้อข่าวเรื่องเดียวกันส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของตัวเนื้อเรื่องเรียกว่า “ข้อความในเรื่องยกมาโปรย (lift-out) หรืออัญพจน์ (quote) ซึ่งหมายถึงคำพูดเด่นๆ ของบุคคลในข่าว เนื้อหาส่วนนี้ต้องแยกออกมจากส่วนตัวเนื้อเรื่องอย่างเด่นชัด โดยอาจจะเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่หรอหนา หรือใช้ตัวพิมพ์แบบอื่นเป็นพิเศษ นอกจานั้นยังอาจจะใสภาพถายขนาดเล็กของผู้ที่เป็นเจ้าของคำพูดประกอบด้วยก็ได้ ส่วนตำแหน่งที่วางนั้น ไม่ควรจะวางปะปนไปกับส่วนตัวเนื้อหาอย่างสะเปะสะปะ แต่ควรอยู่ในตำแหนงที่เฉพาะเจาะจง เช่น อยู่ติดกับภาพ อยู่ด้านบน ล่าง ซ้าย หรือขวา ของส่วนตัวเนื้อเรื่อง เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีส่วนที่อาจจะดูไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญอย่างมาก คือ ส่วนชื่อเจ้าของผลงาน (byline) ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุชื่อผู้เป็นนักขางและช่างภาพในกรณีที่มีภาพ ส่วนนี้จะนิยมใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างจากตัวเนื้อเรื่อง เช่น ใช้เป็นตัวหนาหรือตัวเอน แต่ไม่นิยมใช้ให้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเนื้อเรื่องมากนัก โดยใช้ข้อความสั้นๆ ว่า “โดย (ชื่อผู้สื่อข่าว).” และอาจมีชื่อสำนักข่าวประกอบอยู่ด้วยก็ได้ ส่วนชื่อเจ้าของผลงานนี้มักจะวางไว้ตอนบนต่อจากพาดหัว หรือหัวต่อ หรือหัวรอง หรือไม่ก็จะวางไว้ตอนท้ายหลังจากจบส่วนตัวเนื้อเรื่องของข่าวนั้นๆ แล้วข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เกี่ยวกับการเลือกแบบ และการจัดวางตัวเนื้อเรื่องในหนังสือพิมพ์ ดังนี้1) ตัวเนื้อเรื่องที่ดีนั้น ควรจะมีความสูงหรือลึกไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และไม่ควรมากกว่า 12 นิ้ว2)

โดยทั่วไปแล้วขนาดความกว้างของคอลัมน์ที่ง่ายแก่การอ่าน ไม่ควรจะน้อยกว่า 10 ไพก้า และไม่ควรจะกว้างกว่า 20 ไพก้า3) ควรเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเอน ตัวหนา หรือตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษอื่นๆ ในจำนวนน้อยคือ ใช้สำหรับส่วนที่ต้องการเน้นให้แตกต่างจริงๆ เท่านั้น4) ตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 พอยต์ จะยากต่อการอ่าน จึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันมากนัก และไม่ควรวางบนพื้นที่สีพิมพ์สกรีนเทา เพราะจะยิ่งทำให้อ่านยากยิ่งขึ้นอีก2.6)

พิมพ์ลักษณ์พิมพ์ลักษณ์เป็นส่วนประกอบที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในหนังสือพิมพ์นั้น ๆปกติแล้วมักใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กเช่นเดียวกับตัวเนื้อเรื่อง มักนิยมใส่กรอบแยกออกจากตัเน้อเรื่อง หรือวางพาดตลอดแนวยาวด้านล่างของหน้า ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่หน้าในหน้าแรกหรือหน้าสุดท้าย

2.7 ภาพประกอบข่าวดังได้กล่าวไปแล้ว การใช้ภาพถ่ายในการอกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบอาจะไม่ได้มีบทบาทมากนักเมื่อเทียบกันการออกแบบในสิ่งพิมพ์อ่นๆ อย่างไรก็ตามการใช้ภาพถ่ายในหน้าในของหนังสือพิมพ์นี้ นักออกแบบมีอิสระที่นำมาใช้ได้อย่างมีลูกเล่นมากกว่าในหน้าแรก เนื่องจาเนื้อข่าวบางเรื่องเป็นเรื่อที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้า ทำให้นักออกแบบมีเวลี่จะเลอกและนำภาพถ่ายนั้นมาปับปรุงหรือตกแต่งให้มีรูปบบที่พิเศษขึ้นจากภาพสี่เหลี่ยมธรรมดาภาพถ่ายส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเป็นภาพในแนวตั้งและภาพในแนวนอน เมื่อนำภาพถ่ายมาวางกับตัวเนื้อเรื่อแล้ว ภาพรวมของพื้นที่ข่าวทั้งหมดทั้งภาพและตัวอักษรควรจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้งหรือแนวนอนแล้วแต่ความต้องการภาพรวมของหน้าหนังสือพิมพ์ภาพถ่ายที่นิยมใช้ในกรณีที่ไม่มีภาพเด่นๆ เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวมาแสดง คือ มัคช้อท (mug shot) ซึ่งหมายถึง ภาพบุคคลครึ่งตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนรูปที่ใช้ติดบัตรต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพขนาดไม่ใหญ่ มักมีความกว้างเท่ากับคอลัมน์เดียวและมีคำบรรยายภาพระบุว่าบุคคลในภาพเป็นใครและอาจจะมีเนื้อความข้อมูลขยายอีกนิดหน่อยว่าเกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวอย่างไรตำแหน่งที่ดีของมัคช้อทคือที่ส่วนบนสุดของคอลัมน์คืออยู่เหนือพาหัวและตัวเนื้อเรื่องการวางภาพไว้ตรงกลางของตัวเนื้อเรื่อง อาจจะทำให้ผู้อ่านนึกว่าเรื่องนั้นๆ จบลงแล้วส่วนการวางภาพไว้ตอนล่างของตัวเนื้อเรื่องอาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนว่าเป็นภาพโฆษณาหรือภาพของข่าวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนตำแหน่งการวางมัคช้อทในตัวเนื้อเรื่องที่จัดเรียงในลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแนวนอนนั้น สามารถจัดวางได้ทั้งคอลัมน์นางซ้ายสุด คอลัมน์ขวาสุด และคอลัมนตรงกลางนอกจากภาพถ่ายแล้ว นักออกแบบยังอาจจะมีเลาพอที่จะสร้างภาพประกอบในลักษณะภาพวาด หรือลักษณะอื่นๆ ขึ้นมาเพิ่มเติมจากการใช้ก็ได้นอกจากภาพประกอบข่าวแล้ว บางครั้งก็อาจจะมีคำบรรยายภาพ ซึ่งมีแนวางในการออกแบบเหมือนการใช้คำบรรยายภาพในหน้าแรก2.8 องค์ประกอบอื่นๆองค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์ที่ใช้ในหน้าในนั้นจะมีมกกว่ามนหน้าแรก ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบพวกเส้น เส้นล้อกรอบ กล่องหรือแรเงาที่ช่วยแบ่งข่าวแต่ละเรื่องออกจากกัน หรือแผนภิ หรือแผนผังต่างๆ ที่เป็นส่วนช่วยส่งเสริมเนื้อหาข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลประเภทสถิติต่างๆ ซึ่งยากตอการติดตามเมื่ออ่านเอาจากข้อความ3. เนื้อที่โฆษณาเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับในนิตยสาร คือ เป็นเนื้อที่มีผลกระทบต่อการออกแบบหน้ากระดาษมกกว่าเนื่องจากในเนื้อที่โฆษณาในนิตยสารนั้นมักจะเป็นการใช้เนื้อที่ทั้งหน้ากระดาษไม่มาเกี่ยวข้องหรือแทรกอยู่ระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อหาเหมือนอย่างในหนังสือพิมพ์ แม้ว่าในหนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะมีเนื้อที่โฆษณาเต็มหน้าก็ตามแต่ก็จะยังมีเนื้อที่โฆษณาแทรกอยู่กับส่วนที่เป็นเนื้อหาอยู่ดีเนื้อที่โฆษณานี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกจะเรียกว่าโฆษณาย่อย (classified advertiising) ซึ่งหมายถึงโฆษณาขนาดเล็กๆ รวมอยู่ด้วยกันทั้งหน้า คือ เป็นหน้าสำหรับโฆษณาโดยเฉพาะ ในกรณีนี้นักออกแบบจะไม่มีภาระในการแก้ปัญหาการจัดวางเนื้อที่ที่เป็นข่าว เพราะส่วนโฆษณานั้นได้แยกออกมาต่างหากแล้วส่วนลักษณะที่สอง เป็นเนื้อที่โฆษณาที่แรกอยู่กับสวนที่เป็นข่าวในหน้าแรก หรือหน้าในของหนังสือพิมพ์เนื้ที่โฆษณาลักษณะนี้เป็นสิ่งที่นักออกแบบหนังสือพมพ์ต้องคอยกั้ญหาเพราะเน้อที่โฆษณาในแต่ละวันนั้นจะแต่กตางกันเนื่องจากโฆษณาส่วนใหญ่ที่ลงในหนังสสือพิมพ์มักจะลลงเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เช่นหนึ่งหรือสองวัน โยจะต้องคอยรักษาสมดุลของส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นเนื้อที่โฆษณา เพาะเนื้อที่โฆษณาที่มีขนาดใหญ่ย่อมจะมีผลต่การดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไปจาเนื้อหาของที่นำเสนอในกรณีที่เนื้อที่โฆษณาเป็นตามขนาดมาตรฐาน คือ ขนาดเต็มหน้า ครึ่งหน้า เศษหนึ่งส่วนสี่หน้า จูเนียร์เพจ หรือแถบโฆษณา ก็จะไม่มีผลให้การจัดวางส่วนเนื้อขายากลำบากมากนัก เพราะพื้นที่ที่เหลือจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สามารถนำเอาส่วนเนื้อข่าวมจัดวางได้ไม่ยากส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาในการจัดวางจะเกิดขึ้นก็เมื่อมีการขายโฆษณาในลักษณะที่เป็น“คอลัมน์นิ้ว” คือกำหนดขนาดความกว้างของเสฃนื้อที่โฆษณาตามขนาดของคอลัมน์ว่าต้องการให้กว้างที่คอลัมน์ ส่วนความสูงนั้นกำหนดเป็นนิ้ว ให้ในหน้ากระดาษมีโฆษณาขนาดเล็กๆหลายชิ้น นักออกแบบไม่ควรจะวางโฆษณาเล็กๆ เหล่านี้ให้กระจายปะปนไปกับส่วนเนื้อข่าวหรือเอาไปแรกไว้ระหว่างเนื้อข่าวเรื่องใดเรื่องแต่ควรจะจัดเอามาวางไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม โดยพยายามวางให้พื้นี่ที่เหลือจากเนื้อที่โฆษณามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากทำไม่ได้จะทำให้ พื้นที่ที่เหลือมีลักษณะเป็นขั้นบันได อันทำให้ต้องวางส่วนเนื้อข่าวเป็นขั้นบันไดไปด้วย ในกรณีนี้นักออกแบบควรจะพิจารณาไม่นำภาพประกอบข่าวใส่เข้าไปหากไม่จำเป็น เพราะจะยิ่งทำให้หน้ากระดาษแน่นไม่น่าดูยิ่งขึ้นไปอีก4. นิตยสารแทรกในหนังสือพิมพ์ส่วนพิเศษส่วนนี้แม้จะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ แต่มีธรรมชาติของเนื้อหา รวมทั้งลักษณะทางการออกแบบเหมือนนิตยสารจนอาจจัดเป็นนิตยสารประเภทหนึ่งได้ การออกแบบจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการออกแบบนิตยสาร (บทที่ 7)โดยสรุป การออกแบบส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์จะต้องพิจารณาถึงเรื่องสำคัญสองเรื่อง คือ สิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์ และองค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในกาออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยในเรื่องของสิ่งที่ต้องกำหนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์จะต้องเริ่มด้วย การศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือพิมพ์ ตามด้วยการกำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์ รูปแบบของปกหน้า รูปแบบของหน้าใน แบบและขนาดตัวอักษรพิมพ์ แบบและจำนวนภาพประกอบ ส่วนในเรื่ององค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบจะต้องพิจารณาถึงขนาดและรูปแบบขององค์ประกอบต่างๆ รวมถึงรูปแบบการจัดวางที่เหมาะสมในแต่ละหน้า


 

แนวทางการออกแบบ สัญรูป interface design

แนวทางการออกแบบ สัญรูป interface design

นวัตกรรมการออกแบบ ส่วนประสาน Interface Design ยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต

Mercedes Vision G-Code : The Jaguar C-X75

โจทย์ : ออกแบบ Icon – Index สำหรับ หน้าปัด ยานยนต์ ต้นแบบ นวัตกรรมแห่งอนาคต 5 แบบ 2 ทางเลือก โดย บังคับ 2 แบบ : icon สำหรับ ประหยัดพลังงาน Index : สำหรับ เตือนพลังงานหมด Mercedes-Benz-Vision_G-Code_Concept_2014_800x600_wallpaper_01 http://youtu.be/VW4kLFToFpA     http://youtu.be/6BrFD8KQ750 งานออกแบบ UI. Innovative Screen http://youtu.be/XVbuk3jizGM http://youtu.be/UTye-7t7ln4