ภูมิศาสตร์สารสนเทศ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
ศิลปกรรมการสื่อสาร กับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ GPS. (Global Positioning System) หรือภูมิศาสตร์สารสนเทศ การระบุพิกัด ค้นหาและแสดงตำแหน่ง ณ จุดที่เราหรือผู้ใช้อยู่จริงซึ่งระบบนี้ถูกนำใช้มากขึ้น เป็นประเด็นความสำคัญในปัจจุบัน เนื่องการเติบโตของอุปกรณ์ เคลื่อน ที่ (Smart Phone) เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ติดพ่วงระบบ GPS. มาด้วย โดยเฉพาะค่ายออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่พัฒนาขีดความสามารถจนถึงระดับที่ผู้ใช้ใช้งานได้อย่างง่ายดายในเรื่องการค้นหาแผนที่ หรือที่เรียกว่า Google Map จึงทำให้การนำระบบความสามารถเหล่านี้ไปพัฒนากับการตลาด การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า การบริการระบุ ตำแหน่ง LBS. Location Base Services แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในขณะที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าวเติบโต การทำความเข้าใจในการใช้งาน ในระยะเวลาอันสั้น และเพื่อสร้างมาตราฐานกลางในการนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรม ทางการตลาดด้านอื่น นั่นคือ การคำนึงถึงแนวคิดในการออกแบบการสื่อสาร สำหรับตัวกลไกแสดงความสามารถ ของระบบการทำงาน GPS. อาทิ การใช้สีที่แสดงเส้นทางที่สำคัญ ตลอดจนการออกแบบพื้นผิวหน้าจอที่เหมาะสม เป็นต้น การรับและส่งสารเพื่อการนำทาง ระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศทั้งเสียง และภาพ ซึ่ง ศิลปการผลิตภาพลายเส้น ( Graphic Art ) ภาพถ่าย (Photo Graphic )ภาพยนต์( Movie ) ภาพสามมิติ( 3D )และภาพเสมือนจริง( Virtual Reality) ของสื่อดิจิตอล ในระบบเทคโนโลยีภูมิ สารสนเทศน่าจะได้รับการ พัฒนาด้านศิลปกรรมการ สื่อสารให้เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพตามหลักการทางจิตวิทยา และ พฤติกรรมการสื่อสารในการป้อนและรับสารระหว่างผู้ใช้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีศิลป เกิดความสดวก ปลอดภัยและมีแรงจูงใจ อย่างมีศิลปเช่นเดียวกันกับไฟเลี้ยวในกระจกมองข้างรถยนตร์ การควบคุมวิทยุและเทปในรถยนตร์ที่พวงมาลัย GPS ในรถยนตร์ขนาด 5 “ ก็นับว่าใหญ่แล้วในการป้อนและนำเสนอข้อมูลอาจจะลดขนาดแผนที่ลงชั่คราว แล้วขยายขนาดของภาพหรืออักษรหรือสัญญาลักษณ์ ของข้อมูลที่ป้อนและนำเสนอให้เหมาะสมกับ หลักการทางพฤติกรรมศาตร์และศิลปกรรมดิจิตอลซึ่แตกต่าง กับศิลปกรรมทั่วไปเพราะสีแดง เหลือง น้ำเงินผสมในสัดส่วนที่เทากันจะเป็นสีเทา ในระบบดิจิตอลสีแดง เขียว น้ำเงินผสมในสัดส่วนที่เท่ากันในด้านความเข้มจะได้สีขาว ( อ้างจากตำราโสตทัศนศึกษา ศาสตราจารย์ ดร. นินธ์ ศุขปรีดี ) ปัจจุบันการมองหาสถานีบริการน้ำมัน ระหว่างการขับรถทางไกลด้วยความเร็ว และเมื่อเห็นสถานีบริการน้ำมันแล้วจอดไม่ทันเพราะกระชันชิด หรืออาจจะเกิดอันตรายได้ไม่เกิดขึ้นแล้ว เพราะรถส่วนใหญ่จะติดตั้ง ระบบ GPS หรือ ระบบภูมิสารสนเทศ GPS คืออะไร ? ผู้เขียนขอย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระยะแรกจนถึงปัจจุบันและอนาคตยังคงวัถุประสงค์เดิม คือมุ่งให้คอมพิวเตอร์มีพัฒนาการเสมือน( Virtual Reality ) มนุษย์ ในทุกด้านและคอมพิวตอร์รุ่นแรกมีความสามารถ ในการจำ ( Memory ) และกระทำตรรกะ ( Logical Processing )การใช้งานคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆเพื่อการคำนวณ บัญชีและต่อมาใช้ระบบ MIS : Management Information System เพื่อการบริหารธุรกิจ ราชการ รัฐกิจและกองทัพ โดยคอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูลทั้งอักขระ( Text ) ลายเส้น ( Graphics ) รูปภาพ ( Picture )ภาพเคลื่อนไหว ( Motion Picture )และภาพสามมิติ ( Three Dimension ) อย่างเป็นระบบที่เรียกว่าฐานข้อมูลและสามารถค้นหาไดัอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่เป็นอักขระ โดยคอมพิวเตอร์สามารถค้นหาได้เร็วกว่ามนุษย์หลายเท่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง ระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองเครื่องขี้นไป ดังนั้นระบบ MIS จึงหมายถึง การสื่อสารข้อมูลเพื่อการบริหารและข้อมูลส่วนใหญ่ จะเป็นข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างเวลากับปริมาณ ความรวดเร็วในการเก็บและโดยเฉพาะค้นหาในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ได้ขี้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอ์แต่ละเครื่องแต่เพียงอย่างเดียว ความเร็วของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาศัยช่องทางการสื่อสารที่เรียกว่าช่องทางหลักหรือ Black Bone ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะใช้ระบบ 4G ซึ่งสามารถสื่อสารหรือส่งถ่ายข้อมูลนับล้านไบท์ภายในหนี่งวินาที ผู้เขียนได้พบระบบ GPS ครั้งแรกบนเครื่งบินโดยสารเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ระบบ GPS ทางอาวกาศและทางการทหารมาก่อนหน้านี้ก็ตาม ระบบโลจิสติก ทั้งการสื่อสาร คมนาคมรวมถึงการรับส่งสินค้าทั่วโลก เริ่มจะตื่นตัวที่จะใช้ระบบ GPS เมื่อไม่นานนัก GPS คืออะไร ? และก่อนจะกล่าวถึง GPS ผู้เขียนขอให้ดูที่ GIS: Geographic Information System นอกจากจะหมายถึงการกระทำข้อมูลปริมาณกับเวลาแล้ว GIS ยังบอกตำแหน่งของข้อมูลว่าอยู่ตำแหน่ง หรือสถานที่ใดอีกด้วย และถ้าเป็นการติดตามตำแหน่งวัตถุที่เคลื่อนที่จะเรียกว่า GPS : Geographic Position System เช่นการใช้ GPS เพื่อการนำร่องและควบคุมการบิน การเดินเรือ การขับขี่รถยนตร์ การใช้ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ 4G ซึ่งสามารถส่งภาพหรีอแผนที่ได้ 1 ภาพ ในเวลาที่น้อยกว่า 1/24 วินาที่คือสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง ( Real Time) ได้ก็จะเป็นระบบ GPS ที่มีประสิทธิภาพ ในบางประเทศที่ใช้ระบบ 4G สามารถรับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ด้วยระบบ GPS จึงทำให้การดับเพลิงมีประสิทธิภาพ การศูนย์เสียทรัพยากรมนุษย์และทรัพย์สินนับพันล้านต่อปี นับว่าคุ้มค่าในการลงทุนระบบ GPS ในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ GPS การรับและแจ้งเหตุ ร้ายของตำรวจ เพื่อการระงับหรือบรรเทาเหตุ ได้อย่างทันทวงทีรวมถึงการติดตั้งระบบ GPS เพื่อติดตัวผู้ที่รอลงอาญาและจากกาวิจัยพบว่าลดอาญากรรมได้กว่า 80 % ปัจจุบัน ระบบ GPS โทรศัพท์พกพาและเครื่องรับโทรทัศน์อยู่ในเครื่องเดียวกันมีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 2 ถึง 200 นิ้วตามความต้องการของผู้ใช้ การบริการสาธารณสุขในปัจจุบันใช้ระบบ GPS เพื่อการป้องกัน และรักษาโรคติดต่อร้ายแรงเฉพาะพื้นที่ โดยการทำฐานข้อมูลสาธารณสุขทางภูมิศาสตร์ เมื่อปี 2554 ประเทศไทยเกิดอุทกภัยอย่างร้ายแรงพยายามที่จะใช้ GPS ติดตามการเคลื่อนที่ ปริมาณ ความเร็วและทิศทางของน้ำเพื่อใช้เตือนประชาชน ให้เตรียมตัวป้องกันหรือลดความเสียหาย จากอุทกภัยในครั้งต่อไป Download File