BANGKOK GRAPHIC

ภาพแทนความจริง Representation สู่ วัฒนธรรมทางสายตา Visual Culture  

web design

จากภาพแทนความจริง Representation สู่ วัฒนธรรมทางสายตา Visual Culture  

ศิลปะการเดินทางได้ผ่านช่วงเวลาที่สำคัญ ๆ ในยุโรป ตั้งแต่อาณาจักรกรีก โรมันและยุคมืด สำนึกหรือมโนทัศน์ คำว่า “ศิลปะ” คือ เครื่องมือนำเสนอความจริงหรือที่ถูกเรียกว่า Representation ภาพแทนความจริง มาโดยตลอด การเป็นตัวแทนในงานศิลปะ หมายถึง การพรรณนาโลกภายนอกในรูปแบบที่สร้างการจดจำแบบภาษาภาพด้วยงานศิลปะ ภาพแทนสามารถเป็นจริงหรือทำให้เป็นอุดมคติก็ได้ และมีได้หลายรูปแบบ อาทิ ภาพวาด ประติมากรรม การเป็นตัวแทนเป็นลักษณะในพื้นฐานของศิลปะจะถูกนำมาใช้เพื่อพรรณนาถึงวัตถุต่างๆ มาโดยตลอดประวัติศาสตร์ อาทิการนำเสนอคุณสมบัติของพระเจ้า ที่มักใช้กันในยุคกลาง ทำให้สำนึกรู้ของคนยุโรปในยุคนั้นว่า ความรู้เท่ากับความดี ทุกครั้งที่การปรากฏตัวขึ้นของภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในพระคัมภีร์ นั่นเท่ากับผู้คนในสังคมเข้าถึงความจริงผ่านรูปภาพแทนตัวอักษร (คนในสมัยนั้นการอ่านยังน้อยมาก โดยเฉพาะสตรีเพศที่ห้ามอ่านพระคัมภีร์) มันทำให้สำนึกการเรียนรู้หรือความรู้ไปผูกกับความดี พ่วงมาด้วยคำอธิบายต่อสิ่งที่ผิดปกติทางธรรมชาติด้วยเหตุผลทางพระผู้สร้างผ่านภาพเขียน หรือจะสรุปได้คือ Natural ยังไม่ได้แยกออกจาก Culture (มาแยกกันในช่วงยุคแห่งวิทยาศาสตร์ที่ต่างใช้เครื่องมือกันคนละแบบในการเข้าถึงความจริง) จากปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้เห็นถึง “การมอง” เป็นใหญ่ มีอิทธิพลต่อการสร้างการรับรู้ของสังคมยุโรปเสมอมา ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เกิดวิกฤตของการสร้างภาพแทน การเสนอภาพตัวแทน ตั้งอยู่บนสมมุติธรรมที่ว่า มีความจริงอยู่ข้างนอก (the truth is out there) ที่จะถูกนำมาเสนอใหม่แต่นักคิดแนวหลังสมัยใหม่เชื่อว่า ความจริงไม่ได้มาก่อนการเสนอภาพตัวแทน แต่การเสนอภาพตัวแทนต่างหากที่สร้างความจริงที่มันต้องการถ่ายทอดขึ้นมา เพราะฉะนั้นการเสนอภาพตัวแทนขึ้นเป็นสมมุติธรรมที่ผิด เพราะแท้ที่จริงแล้วการเสนอภาพตัวแทนทุกอย่างขึ้นภาพตัวแทนอีกอันหนึ่ง ไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงโดยตรงแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นนักคิดหลังสมัยใหม่เชื่อว่าต้นฉบับไม่มีอยู่จริง ฉะนั้นนักคิดหลังสมัยใหม่เสนอวิธีวิทยาใหม่เข้ามาแทนที่คือ เสนอวิธีรื้อสร้าง และการตีความด้วยญาณทัศนะ (Intuitive Interpretation) (จันทนี เจริญศรี, 2544) จากการตั้งคำถามแนวคิดของ เดส์การตส์ (Descartes) นำมาสู่ปัญหาทางญาณวิทยาเพราะการเติบโตทางความรู้แบบวิทยาศาสตร์ที่เหตุผลอันนำมาสู่ความรู้ความเข้าใจของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง บรูโน ลาตูร์ (Bruno Latour) กับงานเขียน “Ontological Turn” เสนอให้แยกเครื่องมือการเข้าถึงความรู้ ควาวมจริงใหม่ระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาทางสังคมศาสตร์และมนุษย์วิทยา โดยให้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับความจริงในธรรมชาติ ส่วนเครื่องมือทางปรัชญา มานุษยวิทยาศึกษาการรับรู้โลก หรือโลกทัศน์ โดยมีความเชื่อว่าผู้คนแต่ละหน่วยสังคมมีวิธีการเข้าใจ รับรู้โลกที่ต่างกัน (Worldview) (เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, 2562) สิ่งนี้เราเรียกว่า สัญญะ (Semiotics) เพราะสังคมในยุคหลังสมัยใหม่เป็นช่วงแห่งการบริโภคสัญญะมากกว่าความจริงในตัววัตถุ ผู้คนในสังคมหยุดการค้นหาความจริงเชิงเหตุผลกับความเข้าใจระหว่างการรับรู้ที่มีต่อโลกและการเชื่อมโยงกับวัตถุหรือเหตุผลการมีอยู่ของวัตถุ (Exist – Object Oriented Ontology) การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในกระแสความคิดทางสังคมศาสตร์ของตะวันตกที่อาจนับได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดหลังสมัยใหม่ ก็คือการปฏิวัติทางภาษา Linguistic Turn (จันทนี เจริญศรี, 2544) มันทำให้ห้วงเวลาอย่างหลังสมัยใหม่เปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับภาพแทน (Representativeness) บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอแนวคิดนี้คือ  ของ เฟอร์ดินาน เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) (Daniel F M Strauss, 2013) กล่าวถึง การเข้าใจและการรับรู้โลกในช่วงหลังสมัยใหม่ คือ มนุษย์รับรู้ผ่านภาษา และหน่วยย่อยของภาษาถูกบริหารจัดการด้วยสัญญะ ก่อเกิดเป็นการศึกษาสัญญะ เรียกว่า สัญวิทยา (Semiotics) เกิดขึ้น ว่าด้วย การทำงานของสัญญะ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปสัญญะ Signified และความหมายของสัญญะ Signifier ซึ่งทั้ง 2 ทำงานเหมือนกระดาษ 2 หน้าสลับกัน รูปสัญญะจะคงที่ตามรูปที่มันแสดงแต่ตัวรูปไม่สามารถให้ความหมายที่คงตัวได้หากปราศจากความหมายสัญญะที่ให้มัน ซึ่งความหมายเหล่านี้ไม่ได้มาจากไหนไกล มันคือกลไกที่หน่วยในสังคมจัดสร้างให้กับมัน นี่เองที่ ลาตูร์ ต้องการแยกความจริงด้านมนุษยวิทยาออกจากวิทยาศาสตร์ เพราะมันเลื่อนไหลหาความจริงแท้ไม่ได้ มนุษย์จึงมีพลวัตรไปตามการควบคลุมผ่านภาษาหาใช่เหตุผลอย่างที่ เดอการ์ตส์ ว่าไว้ อันนี้คือทางแยกและรอยต่อไปสู่สังคมบริโภคสัญญะจากหลังสมัยใหม่ Post Modern สู่ความเข้าใจในสำนึกในช่วงร่วมสมัย และในช่วงนี้เองจากประเด็นที่อธิบายมาทั้งหมดในฝั่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะ-สังคมวิทยา มีการเคลื่อนไหวในการเสนอวิธีการทำความเข้าใจศิลปะในช่วงร่วมสมัย คือ ให้ใช้ Visual Culture แทน History of Art โดยที่ การมอง (Visual) เท่ากับ ศิลปะ วัฒนธรรม (Culture) เท่ากับ ประวัติศาสตร์ (History)

วัฒนธรรมภาพ Visual Culture : ผู้บุกเบิกวัฒนธรรมภาพในยุคแรกๆ อีกคนหนึ่งคือ W.J.T. Mitchell นักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักวิจารณ์วัฒนธรรมชาวอเมริกัน (M.Joanne and S.Marquard,2006) มิตเชลล์เป็นที่รู้จักจากการบัญญัติคำว่า “ภาพ” และงานของเขามุ่งเน้นไปที่วิธีการที่ภาพมีบทบาทในวัฒนธรรมและสังคม มิทเชลเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาพอย่างกว้างขวาง และหนังสือ “ทฤษฎีภาพ” ในปี 1994 ของเขาถือเป็นข้อความพื้นฐานในสาขานี้ สิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึงก็คือ คำว่า ‘วัฒนธรรมภาพ’ ยังสามารถหมายถึงการศึกษาการสื่อสารด้วยภาพและสัญศาสตร์ซึ่งมีรากเหง้าและจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดย Roland Barthes, Umberto Eco และ Charles Sanders Peirce โดยรวมแล้ว คำว่า “วัฒนธรรมภาพ” เริ่มแพร่หลายในปลายศตวรรษที่ 20 ในประวัติศาสตร์ศิลปะและทัศนศึกษา และถูกนำมาใช้โดยนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานในหลากหลายสาขาวิชา John Berger และ W.J.T Mitchell ถือเป็นบุคคลสำคัญสองคนที่พัฒนาการศึกษาวัฒนธรรมภาพ

หรือจะเรียกได้ว่าสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ กำลังสร้างเรื่องเล่าขนาดใหญ่ (Grand Narrative) นักสังคมวิทยาหลังสมัยใหม่ อย่าง มิเชล ฟูโก (Michel Foucaul) และ นิชเช่ (Nietzsche) ที่ซึ่งทั้งคู่พูดถึงอำนาจที่เป็นข้อสังเกตจากความล้มเหลวทางโครงสร้าง(Structure) เดิมของสังคมแบบสมัยใหม่ ว่าด้วยสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์กำลังสร้างตัวบทชนิดหนึ่ง ที่พยายามจัดระเบียบโลกด้วยเหตุผล แต่ความเป็นจริงระเบียบดังกล่าวไม่มีอยู่จริง มันเป็นเพียงการสร้างอุดมการณ์ของผู้มีอำนาจที่พยายามสร้างแผนที่ของโลกทางสังคมเพื่อการควบคลุมสังคม สิ่งเหล่านี้เองที่ Post Modern มาเพื่อรื้อทอน (Deconstruction) เพื่อเผยให้เห็นความจริงที่เป็นเรื่องเล่าขนาดใหญ่ให้ถูกลดทอนลงมาเป็นหน่วนย่อยอย่างที่ ลาตูร์ เสนอให้แยกเครื่องมือกันเข้าถึงการรับรู้โลกหลังสมัยใหม่ (จันทนี เจริญศรี, 2544)

พัฒนาการของเรื่องเล่าขนาดใหญ่ในปลายศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งสื่อสารมวลชน สื่อมีอิทธิพล และมีบทบาทโดยเฉพาะสังคมวิทยาร่วมสมัย ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาปฏิวัติการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร One to Many เป็น Many to one รวมถึงอิทธิพลทางศิลปกรรมที่หลานศิลปินหยิบยกและพูดถึงการตีความ วัฒนธรรมภาพ Visual Culture ร่วมสมัย หมายถึงวิธีการที่จินตภาพและการเป็นตัวแทนเป็นตัวกำหนดวิธีที่เราเข้าใจโลกรอบตัว ผ่านต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย วิดีโอ สื่อดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยีภาพรูปแบบอื่นๆ ในงานศิลปะ Media Art แบบฉบับแนวคิดร่วมสมัยที่สำคัญคือการใช้ประเด็นทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมผ่านการใช้ภาษาภาพที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลกระทบต่อสังคม นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อมวลชนและวิธีที่สื่อกำหนดการรับรู้เกี่ยวกับโลก

วลีสำคัญที่สะท้อนสังคมร่วมสมัยด้วยอิทธิพลการมาถึงของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต (Internet Revolution) “สื่อคือข้อความ” “Medium is The Message”เป็นวลีสำคัญของ Marshall McLuhan นักปรัชญาและนักทฤษฎีการสื่อสารชาวแคนาดา ในหนังสือของเขา “Understanding Media: The Extensions of Man” ที่ตีพิมพ์ในปี 1964 McLuhan แย้งว่าสื่อที่สื่อผ่านข้อความคือ สำคัญพอๆ กับตัวข้อความ เพราะมันเป็นตัวกำหนดวิธีที่เราตีความและเข้าใจข้อมูลที่กำลังสื่อ (Sayar Ahmad Mir, 2020)ตัวอย่างเช่น สื่อของภาพวาดช่วยให้ศิลปินสามารถสื่อความหมายผ่านการใช้สี การจัดองค์ประกอบ และพู่กัน ในขณะที่สื่อของภาพถ่ายสื่อความหมายผ่านการใช้แสง เปอร์สเปคทีฟ และการจับภาพช่วงเวลาหนึ่ง ประเด็นของ McLuhan คือสื่อเหล่านี้หล่อหลอมการรับรู้และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับโลก และตัวสื่อเองก็คือข่าวสาร McLuhan ยังเชื่อด้วยว่าสื่อใหม่แต่ละรายการมีผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม ก่อให้เกิดวิธีคิดและการใช้ชีวิตแบบใหม่ เขาวางตัวว่าสื่อใหม่สร้างและขยายขีดความสามารถของมนุษย์ และในแง่หนึ่งก็เปลี่ยนวิธีคิดและการใช้ชีวิตในทางสังคมแบบร่วมสมัย